|
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า 778
นาม รูป
ดูก่อนอานนท์ ! ก็คำนี้ว่า “ผัสสะมี เพราะปัจจัยคือ นามรูป” ดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ ! ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบาย โดยปริยาย ดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า “ผัสสะมี เพราะปัจจัยคือ นามรูป๑”
ดูก่อนอานนท์ ! การบัญญัติซึ่ง หมู่แห่งนาม ย่อมมีได้โดยอาศัยอาการ ลิงค์ (เพศ) นิมิต อุเทศ ทั้งหลายเป็นหลัก เมื่ออาการ ลิงค์ นิมิต อุเทศ เหล่านั้น ไม่มีเสียแล้ว การสัมผัส ด้วยการเรียกชื่อ (อธิวจนสมฺผสฺโส) ในกรณีอันเกี่ยวกับ รูปกาย จะมีขึ้นมา ให้เห็นได้ไหม หนอ ? (“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”)
ดูก่อนอานนท์ ! การบัญญัติซึ่ง หมู่แห่งรูป ย่อมมีได้โดยอาศัยอาการ ลิงค์ นิมิต อุเทศ ทั้งหลายเป็นหลัก เมื่ออาการ ลิงค์ นิมิต อุเทศ เหล่านั้น ไม่มีเสียแล้ว การสัมผัส ด้วยการกระทบ (ปฏิฆสมฺผสฺโส) ในกรณีอันเกี่ยวกับ นามกาย จะมี ขึ้นมา ให้เห็นได้ไหม หนอ ? (“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”)
ดูก่อนอานนท์ ! การบัญญัติซึ่ง หมู่แห่งนามด้วย ซึ่ง หมู่แห่งรูปด้วย ย่อมมี ได้โดยอาศัยอาการ ลิงค์ นิมิต อุเทศ ทั้งหลายเป็นหลัก เมื่ออาการ ลิงค์ นิมิต อุเทศ เหล่านั้น ไม่มีเสียแล้ว การสัมผัสด้วยการเรียกชื่อ ก็ดี การสัมผัสด้วยการกระทบ ก็ดี จะมีขึ้นมาให้ เห็นได้ไหมหนอ ? (“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”)
ดูก่อนอานนท์ ! การบัญญัติซึ่งนามรูป ย่อมมีได้โดยอาศัยอาการ ลิงค์ นิมิต อุเทศ ทั้งหลายเป็นหลัก เมื่ออาการ ลิงค์ นิมิต อุเทศ เหล่านั้น ไม่มีเสียแล้ว ผัสสะ จะมีขึ้นมา ให้เห็นได้ไหมหนอ ? (“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”)
-----------------------------------------------------------------------------------------
๑. พึงสังเกตไว้ว่า ปฏิจจสมุปบาท แบบที่หยุดลงเพียงนามรูป-วิญญาณ ไม่เลยขึ้นไปถึง สังขาร และอวิชชานี้ สำหรับ สูตรนี้ ไม่มี สฬายตนะ เหมือนสูตรอื่น ๆ แห่งแบบนี้.
-----------------------------------------------------------------------------------------
ดูก่อนอานนท์ ! เพราะเหตุนั้นแหละ ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือ นิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของผัสสะ นั้นคือ นามรูป.
ดูก่อนอานนท์ ! ก็คำนี้ว่า “นามรูปมี เพราะปัจจัยคือวิญญาณ” ดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว.
ดูก่อนอานนท์ ! ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบาย โดยปริยาย ดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า นามรูปมี เพราะปัจจัย คือ วิญญาณ
ดูก่อนอานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณ จักไม่ก้าวลงในท้องแห่งมารดา แล้วไซร้ นามรูป จักปรุงตัวขึ้นมาในท้องแห่ง มารดา ได้ไหม ? (ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”)
ดูก่อนอานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณก้าวลงในท้องแห่งมารดาแล้ว* จักสลายลง เสียแล้วไซร้ นามรูป จักบังเกิดขึ้น เพื่อความเป็นอย่างนี้ได้ไหม ? (“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”)
ดูก่อนอานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณของเด็กอ่อน ที่เป็นชายก็ตาม เป็นหญิงก็ตาม จักขาดลงเสียแล้วไซร้ นามรูป จักถึงซึ่งความเจริญ ความงอกงาม ความไพบูลย์บ้าง หรือ ? (“ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”)
ดูก่อนอานนท์ ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของ นามรูป นั้นคือ วิญญาณ
-----------------------------------------------------------------------------------------
* ข้อความนี้ เป็นข้อความที่มีลักษณะเป็นปฏิจจสมุปบาทอย่างภาษาคน หรือภาษาศีลธรรม. แต่เราอาจถือเอา ข้อความนี้ เป็นเพียงอุปมา แล้วถือเอาข้อความในภาษาธรรมเป็นอุปไมย. หรือมิฉะนั้น ก็ถือว่าเป็นเรื่องศีลธรรม โดยส่วนเดียว.
-----------------------------------------------------------------------------------------
ดูก่อนอานนท์ ! ก็คำนี้ว่า “วิญญาณมี เพราะปัจจัยคือนามรูป” ดังนี้ เช่นนี้ แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว. ดูก่อนอานนท์ ! ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดย ปริยาย ดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า “วิญญาณมี เพราะปัจจัยคือ นามรูป”
ดูก่อนอานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญาณ จักไม่ได้มีที่ตั้งที่อาศัยในนามรูป แล้วไซร้ ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งทุกข์ คือชาติชรามรณะต่อไป จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหม ? (“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”)
ดูก่อนอานนท์ ! เพราะเหตุนั้นแหละ ในเรื่องนี้, นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือ นิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของวิญญาณ นั่นคือ นามรูป.
ดูก่อนอานนท์ ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลก จึงเกิดบ้าง จึงแก่บ้าง จึงตายบ้าง จึงจุติบ้าง จึงอุบัติบ้าง คลองแห่งการเรียก (อธิวจน) ก็มีเพียงเท่านี้ คลองแห่งการพูดจา (นิรุตฺติ) ก็มีเพียงเท่านี้ คลองแห่งการบัญญัติ (ปญฺญตฺติ) ก็มี เพียงเท่านี้ เรื่องที่จะต้องรู้ ด้วย ปัญญา (ปญฺญาวจร) ก็มีเพียงเท่านี้ ความเวียนว่าย ในวัฏฏะ ก็มีเพียงเท่านี้ นามรูปพร้อมทั้งวิญญาณตั้งอยู่ เพื่อการบัญญัติ ซึ่งความเป็น อย่างนี้ (ของนามรูปกับวิญญาณ นั่นเอง)
|