เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สมถสูตร 1688
  (ย่อ)

หากว่าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นพึง ศึกษาว่า เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน

ภิกษุนั้น ควรตั้ง อยู่ในความสงบจิตภายใน
แล้วพึงทำความเพียรในความเห็นแจ้งธรรม ด้วยปัญญาอันยิ่ง เปรียบเหมือนบุคคล ผู้มีผ้าถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือ ไฟไหม้ ศีรษะนั้น นั่นเทียว แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอยสติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้ซึ่งกุศลธรรมเหล่านั้น นั่นเทียว ฉันนั้นเหมือนกันแล
----------------------------------------------------------------------------------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งจีวรโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบิณฑบาตโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งเสนาสนะโดยส่วนสอง คือที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบ้านและนิคมโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งชนบทและประเทศโดยส่วนสอง คือที่ควรเสพก็มีที่ไม่ควรเสพก็มี
เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบุคคลโดยส่วนสอง คือที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี

เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งจีวรโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
 - จีวรชนิดใดภิกษุรู้ว่า เมื่อเราเสพจีวรนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป
จีวรเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ
 - จีวรใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพจีวร นี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง จีวรเห็นปานนี้ควรเสพ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งจีวรโดยส่วนสอง คือที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
ระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๐๒-๑๐๕

สมถสูตร

               [๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นพึง ศึกษาว่า เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึง ศึกษาอย่างนี้แล

               ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสตรี หรือบุรุษที่เป็นหนุ่มสาว มีปรกติชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนในคันฉ่องอันบริสุทธิ์หมดจด หรือในภาชนะน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลี หรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ย่อมพยายามกำจัดธุลี หรือจุดดำนั้นเสีย ถ้าไม่เห็นธุลีหรือจุดดำ ที่หน้านั้น ย่อมดีใจ มีความดำริอันบริบูรณ์ด้วยเหตุนั้นแลว่า เป็นลาภของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การพิจารณาของภิกษุว่า เราเป็นผู้ได้ความสงบจิตภายในหรือหนอ หรือว่าไม่เป็นผู้ได้ความสงบจิตภายใน เราเป็นผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรม ด้วยปัญญาอันยิ่งหรือหนอ หรือว่าเราไม่เป็นผู้ได้ ความเห็นแจ้งธรรม ด้วยปัญญาอันยิ่ง ดังนี้ ย่อมเป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล

               ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เราได้ความ สงบจิตภายใน ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้น ควรตั้ง อยู่ในความสงบจิตภายในแล้ว พึงทำความเพียรในความเห็นแจ้งธรรม ด้วยปัญญา อันยิ่ง สมัยต่อมา ภิกษุนั้นย่อมได้ความสงบจิตภายใน และได้ความเห็น แจ้งธรรม ด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เราได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ไม่ได้ความสงบจิตภายใน ดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้น ควรตั้งอยู่ในความเห็นแจ้งธรรม ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว พึงทำความเพียรใน ความสงบจิตภายใน

               สมัยต่อมา ภิกษุนั้นย่อมได้ความเห็นแจ้งธรรม ด้วยปัญญาอันยิ่ง และได้ ความสงบจิตภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เราไม่ได้ ความสงบจิตภายใน ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้น ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะความขะมักเขม้น ความไม่ ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้ซึ่งกุศลธรรมเหล่านั้นนั่นเทียว

               ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคล ผู้มีผ้าถูกไฟไหม้ หรือมี ศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือ ไฟไหม้ ศีรษะนั้นนั่นเทียว แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอยสติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้ซึ่งกุศลธรรมเหล่านั้นนั่นเทียว ฉันนั้นเหมือนกันแล

               สมัยต่อมา ภิกษุนั้นย่อมได้ความสงบจิตภายใน และได้ความเห็น แจ้งธรรม ด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ อย่างนี้ว่า เราได้ความสงบจิตภายใน ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้น ควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ แล้วพึงทำความเพียร ให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

--------------------------------------------------------------------------------------------------

               ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งจีวรโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบิณฑบาตโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งเสนาสนะโดยส่วนสอง คือที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบ้านและนิคมโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งชนบทและประเทศโดยส่วนสอง คือที่ควรเสพก็มีที่ไม่ควรเสพก็มี
เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบุคคลโดยส่วนสอง คือที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี

               ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งจีวรโดย ส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ในจีวร ๒ อย่างนั้น จีวรชนิดใดภิกษุรู้ว่า เมื่อเราเสพจีวรนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป จีวรเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ จีวรใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพจีวร นี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง จีวรเห็นปานนี้ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งจีวรโดยส่วนสอง คือที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว

               ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบิณฑบาตโดย ส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ใน บิณฑบาต ๒ อย่างนั้น บิณฑบาตใด ภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพบิณฑบาตนี้แล อกุศลธรรม ย่อม เจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บิณฑบาตเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ บิณฑบาตใด ภิกษุ พึงรู้ว่า เมื่อเราเสพบิณฑบาตนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรม ย่อมเจริญยิ่ง บิณฑบาตเห็นปานนี้ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลายก็คำที่เรา กล่าวว่า เราย่อมกล่าว แม้ซึ่ง บิณฑบาตโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มีที่ไม่ควรเสพ ก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้ กล่าวแล้ว

               ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าว แม้ซึ่งเสนาสนะโดย ส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้วใน เสนาสนะ ๒ อย่างนั้น เสนาสนะใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพเสนาสนะนี้แลอกุศลธรรม ย่อมเจริญ ยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป เสนาสนะเห็นปานนี้ไม่ควรเสพเสนาสนะใด ภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพเสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อม เจริญยิ่ง เสนาสนะ เห็นปานนี้ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลายก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่ง เสนาสนะ โดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มีที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว

               ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบ้าน และนิคม โดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้วในบ้าน และนิคมทั้ง ๒ อย่างนั้น บ้านและนิคมใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพบ้านและ นิคมนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บ้านและนิคมเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ บ้านและนิคมใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพบ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บ้านและนิคมเห็นปานนี้ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรา กล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบ้านและนิคมโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพ ก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว

               ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เรากล่าวแม้ซึ่งชนบท และประเทศ โดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ในชนบทและประเทศทั้ง ๒ นั้น ชนบทและประเทศใด ภิกษุพึงรู้ว่าเมื่อเราเสพชนบท และประเทศนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ชนบทและประเทศ เห็นปานนี้ไม่ควรเสพ ชนบทและประเทศใด ภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพชนบท และ ประเทศนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ชนบทและประเทศ เห็นปานนี้ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เรากล่าวแม้ซึ่งชนบท และ ประเทศโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มีที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว

               ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เรากล่าวแม้ซึ่งบุคคลโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ในบุคคลทั้ง ๒ นั้น บุคคลใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพบุคคลนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อม เสื่อมไป บุคคลเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ บุคคลใดภิกษุพึงรู้ว่าเมื่อเราเสพบุคคลนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บุคคลเห็นปานนี้ควรเสพ

               ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบุคคลโดย ส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์