พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๔
1)
สุทธกสูตร
อินทรีย์ ๖
[๙๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน? คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มนินทรีย์ ๑
อินทรีย์ ๖ ประการนี้แล.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๕
2)
โสตาปันนสูตร
การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระโสดาบัน
[๙๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน? คือจักขุนทรีย์ ... มนินทรีย์.
[๙๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๕
3)
อรหันตสูตรที่ ๑
การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระอรหันต์
[๙๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน? คือจักขุนทรีย์ ... มนินทรีย์.
[๙๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่นเมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ ของตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพ หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ โดยชอบ.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๕
4)
อรหันตสูตรที่ ๒
การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระพุทธเจ้า
[๙๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน? คือจักขุนทรีย์ ... มนินทรีย์.
[๙๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่อง สลัดออก แห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่า ได้ตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.
[๙๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เรารู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณตนว่าได้ตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แหละ ญาณทัสสนะได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุติของเรา ไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติมีในที่สุด บัดนี้ความเกิดอีกไม่มี.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๖
5)
สมณพราหมณสูตรที่ ๑
ว่าด้วยอินทรีย์ ๖
[๙๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน? คือจักขุนทรีย์ ... มนินทรีย์.
[๙๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัด ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นไม่กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็น สมณะหรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
[๙๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ และว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และของความเป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๗
6)
สมณพราหมณสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการรู้อินทรีย์ ๖
[๙๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งจักขุนทรีย์ ความเกิดแห่งจักขุนทรีย์ ความดับแห่งจักขุนทรีย์ และปฏิปทา ที่จะให้ถึงความดับแห่งจักขุนทรีย์ ไม่รู้ชัดซึ่งโสตินทรีย์ ... ฆานินทรีย์ ... ชิวหินทรีย์ ... กายินทรีย์ ... มนินทรีย์ ความเกิดแห่ง มนินทรีย์ ความดับแห่งมนินทรีย์ และ ปฏิปทา ที่จะให้ถึงความดับแห่งมนินทรีย์ สมณะหรือ พราหมณ์ เหล่านั้น เราไม่นับว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น ไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือของความเป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
[๙๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งจักขุนทรีย์ ความเกิดแห่งจักขุนทรีย์ ความดับแห่งจักขุนทรีย์ และปฏิปทา ที่จะให้ถึงความดับแห่งจักขุนทรีย์ รู้ชัดซึ่งโสตินทรีย์ ... ฆานินทรีย์ ... ชิวหินทรีย์ ... กายินทรีย์ ... มนินทรีย์ ความเกิดแห่งมนินทรีย์ ความดับแห่งมนินทรีย์ และปฏิปทา ที่จะให้ถึงความดับแห่งมนินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ และว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ ของความเป็นสมณะและของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
[๙๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพโกฏฐกะ ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้ว ตรัสว่า
[๙๘๔] ดูกรสารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลง สู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด วิริยินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.
[๙๘๕] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ไม่ถึง ความเชื่อ ต่อพระผู้มีพระภาคว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใด ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำ ให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อ ต่อชนเหล่าอื่น ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แลอมตะนั้นชน เหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น หมดความเคลือบแคลง สงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็น เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อมตะนั้น ข้าพระองค์รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ข้าพระองค์ จึงหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.
[๙๘๖] พ. ดีละๆ สารีบุตร ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความ เชื่อต่อชนเหล่าอื่น ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลง สู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แล อมตะนั้น ชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้ว ด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลง สงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.
|