เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 (ชุด5/5) รวมเรื่องมารผู้มีบาป ทั้งมารที่เป็นสัตว์ และมารที่ทรงอุปมา 1295
 

(โดยย่อ)

40) พระสมิทธิเข้าเฝ้า ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงเรียกว่า มาร มาร
41) ตา รูป จักขุวิญญาณ (ผัสสะ) ... ไม่มีอยู่ที่ใด ที่นั่นไม่มีมาร
42) ขันธ์ ๕ คือ มาร ตรัสกับราธะ จงพิจารณาขันธ์ ๕ ว่าเป็นมาร
43) ขันธ์ ๕ คือ มาร ตรัสกับราธะ จงพิจารณาเห็นว่ามารเป็นผู้ทำให้ตาย-ไม่ตาย
44) มารเข้าสิงกายพรหมปาริสัชชะ อย่ารุกรานพกพรหมเลย
45) มาร สิงกายพรหมปาริสัชชะ อย่าแสดงธรรมกับพวกบรรพชิตเลย
46) มาร ปลอมตัวเป็นคนแก่ ถือไม้เท้าเข้าหาภิกษุหนุ่ม แนะว่าควรเสพกาม
47) มาร เข้าหาพระสมิทธิ ทำเสียงดังปานแผ่นดินถล่ม พ.ตรัสว่า มารทำคาถาบังตา




เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมเรื่อง มาร ชุด5/5


40)
สมิทธิสูตรที่ ๑

          [๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาป สถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูล ถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ ด้วยเหตุเพียง เท่าไรหนอ จึงเป็นมารหรือการบัญญัติว่ามาร ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสมิทธิ ตา รูป จักขุวิญญาณ(ผัสสะ) และธรรมที่จะพึง รู้แจ้งด้วย จักขุวิญญาณ(เกิดการรับรู้) มีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ หู เสียง โสตวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณมีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณและธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ มีอยู่ใน ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณมีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ มีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ มีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ



41)

ตา รูป จักขุวิญญาณ (ผัสสะ)..ไม่มีอยู่ที่ใด ที่นั่นไม่มีมาร
สมิทธิสูตรที่ ๑ -กรณีตรงกันข้ามกัน


          
[๗๒] ดูกรสมิทธิ ตา รูป จักขุวิญญาณ (ผัสสะ) และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วย จักษุวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ หู เสียง โสตวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ 

ดูกรสมิทธิ จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสมิทธิมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้แล.
พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๖ ข้อที่ ๗๑



42)

ขันธ์ ๕ คือ มาร ตรัสกับราธะ จงพิจารณาขันธ์ ๕ ว่าเป็นมาร

(ขันธ์ ๕ คือ มาร นัยที่ ๑)


          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่ามาร มาร ดังนี้ ก็มารเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า.  ราธะ. รูปเป็นมาร เวทนาเป็นมาร สัญญาเป็นมาร สังขารเป็นมาร วิญญาณเป็นมาร 

ราธะ . อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งใน เวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน สัญญา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสังขาร ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นครั้น หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นที่ต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จากหนังสือ ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา-พุทธวจน หัวข้อ 102-103
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๙/๓๗๗.



43)

ขันธ์ ๕ คือ มาร ตรัสกับราธะ จงพิจารณาเห็นว่ามาร เป็นผู้ทำให้ตาย-ไม่ตาย (ขันธ์ ๕ คือ มาร นัยที่ ๒)

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่ามาร มาร ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงถูกเรียกว่ามาร พระเจ้าข้า. 

ราธะ .เมื่อรูปมีอยู่ มารจึงมี ผู้ทำให้ ตายจึงมี ผู้ตายจึงมี.

ราธะ. เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงพิจารณา เห็นรูปว่า เป็นมาร เป็นผู้ทำให้ตาย เป็นผู้ ตาย เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นเหตุเกิดแห่ง ความยาก ลำบาก บุคคลเหล่าใด พิจารณาเห็นรูปนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมเห็นชอบ เมื่อเวทนามีอยู่ … เมื่อสัญญามีอยู่ … เมื่อสังขารมีอยู่ … เมื่อวิญญาณ มีอยู่ มารจึงมี ผู้ทำให้ตายจึงมี ผู้ตายจึงมี 

ราธะ. เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงพิจารณาเห็นวิญญาณว่า เป็นมาร เป็นผู้ทำให้ตาย เป็นผู้ตาย เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความ ยากลำบาก เป็นเหตุเกิดแห่ง ความ ยากบำลาก บุคคล เหล่าใด พิจารณาเห็นวิญญาณนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมเห็นชอบ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเห็นชอบมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า 

ราธะ. ความเห็นชอบมีประโยชน์ให้เบื่อหน่าย ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า ราธะ.ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์ให้คลายกำหนัด ก็ความคลายกำหนัด เล่า มีประโยชน์ อย่างไร พระเจ้าข้า 

ราธะ. ความคลายกำหนัดมีประโยชน์ให้หลุดพ้น ความหลุดพ้นเล่า มีประโยชน์ อย่างไร พระเจ้าข้า ราธะ.ความหลุดพ้นมีประโยชน์เพื่อนิพพาน นิพพานเล่า มีประโยชน์ อย่างไร พระเจ้าข้า ราธะ.เธอถามเลยปัญหาไปเสียแล้ว เธอไม่อาจ เพื่อถือเอาที่สุดของปัญหาได้

ราธะ. อันพรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ หยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นที่สุด.
จากหนังสือ ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา-พุทธวจน หัวข้อ 102-103
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๙/๓๗๗.



44)

มารเข้าสิงกายพรหมปาริสัชชะ อย่ารุกรานพกพรหมเลย
(มารเข้าสิงกายพรหม)

          [๕๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มารผู้ลามกเข้าสิงกายของพรหม ปาริสัชชะ ผู้หนึ่งแล้ว กล่าวกะเราว่า ดูกรภิกษุๆ อย่ารุกรานพกพรหมนี้เลย อย่ารุกราน พกพรหม นี้เลย ดูกรภิกษุเพราะว่า พรหมผู้นี้เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ (ปกครองคณะพรหม) อันคณะพรหมไม่ฝ่าฝืนได้โดยที่แท้เป็นผู้ดูทั่วไป ยังสรรพสัตว์ให้เป็นไปในอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้างโลก นิรมิตโลกเป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้แต่งสัตว์ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นบิดาของเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วและกำลังจะเกิด.

ดูกรภิกษุ สมณะและพราหมณ์พวกก่อนท่าน เป็นผู้ติเตียนดิน เกลียดดิน เป็นผู้ติเตียน น้ำเกลียดน้ำ เป็นผู้ติเตียนไฟ เกลียดไฟ เป็นผู้ติเตียนลม เกลียดลม เป็นผู้ติเตียนสัตว์ เกลียดสัตว์เป็นผู้ติเตียนเทวดา เกลียดเทวดา เป็นผู้ติเตียน ปชาบดี เกลียดปชาบดี เป็นผู้ติเตียนพรหมเกลียดพรหมในโลก (ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา) สมณะและ พราหมณ์เหล่านั้น เมื่อกายแตกขาดจาก ลมปราณ ต้องไปเกิดในหีนกาย(จตุราบาย- นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน)

ดูกรภิกษุ ส่วนสมณพราหมณ์พวกก่อนท่าน เป็นผู้สรรเสริญดิน ชมเชยดิน เป็นผู้ สรรเสริญน้ำ ชมเชยน้ำ เป็นผู้สรรเสริญไฟชมเชยไฟ เป็นผู้สรรเสริญลม ชมเชยลม เป็นผู้สรรเสริญสัตว์ ชมเชยสัตว์ เป็นผู้สรรเสริญเทวดา ชมเชยเทวดา เป็นผู้สรรเสริญ ปชาบดี ชมเชยปชาบดี เป็นผู้สรรเสริญพรหม ชมเชยพรหม สมณพราหมณ์เหล่านั้น เมื่อกายแตกขาดจากลมปราณ ก็ไปเกิดในกาย ที่ประณีต (พรหมโลก)

ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้น เราจึงขอบอกกะท่านอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ เชิญเถิด ท่านจงทำตามคำที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น ท่านจงอย่าฝ่าฝืนคำของพรหมเลย

ดูกรภิกษุ ถ้าท่านจักฝ่าฝืนคำของพรหม.โทษจักมีแก่ท่าน เปรียบเหมือนบุรุษ เอา ท่อนไม้ ตีไล่ศิริที่มาหา หรือเปรียบเหมือนบุรุษผู้จะตกเหวที่ลึก ชักมือ และเท้า ให้ห่าง แผ่นดิน เสีย ฉะนั้น.

ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ เชิญเถิดท่านจงทำตามคำที่พรหมบอก แก่ท่านเท่านั้น ท่านจง อย่าฝ่าฝืนคำของ พรหมเลย ดูกรภิกษุท่านย่อม เห็นพรหมบริษัทประชุมกันแล้ว มิใช่หรือ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารผู้ลามกย่อมเปรียบเทียบเรากะพรหมบริษัทดังนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมารกล่าวอย่างนี้ แล้ว เราได้กล่าวกะมารผู้ลามกนั้นว่า แน่ะมาร เราย่อมรู้จักท่าน ท่านอย่าเข้าใจว่า พระสมณะไม่รู้จักเรา แน่ะมาร ท่านเป็น มารพรหม ก็ดี พวกพรหมบริษัทก็ดี พวกพรหมปาริสัชชะก็ดี ทั้งหมดนั่นแลอยู่ในมือ ของท่าน ตกอยู่ใน อำนาจของท่าน และท่านมีความดำริว่า แม้สมณะก็ต้องอยู่ในมือ ของเรา ต้องตกอยู่ในอำนาจของเรา ก็แต่ว่าเราไม่ได้อยู่ในมือของท่านไม่ได้ตก อยู่ใน อำนาจของท่าน
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๑๗



45)

มารสิงกายพรหมปาริสัชชะ อย่าแสดงธรรมกับพวกบรรพชิต
(มารเข้าสิงกายพรห
มปาริสัชชะ)

          [๕๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มารผู้ลามก เข้าสิงกายพรหมปาริสัชชะ ผู้หนึ่ง แล้วกล่าวกะเราว่า ดูกรท่าน ผู้นฤทุกข์ ถ้าท่านรู้จักอย่างนี้ ตรัสรู้อย่างนี้ ก็อย่าแนะนำ อย่าแสดงธรรมอย่าทำความยินดี กะพวกสาวกและพวก บรรพชิตเลย.

ดูกรภิกษุ สมณะและพราหมณ์พวกก่อนท่านผู้ปฏิญญาว่า เป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าในโลก สมณะ และ พราหมณ์พวกนั้น แนะนำแสดงธรรม ทำความยินดี กะพวกสาวกและพวกบรรพชิต ครั้นกายแตกขาดลมปราณ ก็ไปเกิดในหีนกาย.

ส่วนสมณะและพราหมณ์พวกก่อนท่าน ผู้ปฏิญญาว่าเป็นพระอรหันมสัมมา สัมพุทธเจ้า ในโลก สมณะ และ พราหมณ์ พวกนั้น ไม่แนะนำ ไม่แสดงธรรม ไม่ทำ ความยินดี กะพวกสาวกบรรพชิต ครั้นกายแตกขาดลมปราณ ก็ไปเกิดในปณีตกาย. ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้น เราจึงบอกกะท่านอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ เชิญท่าน เป็นผู้มักน้อย ตามประกอบความอยู่สบายในชาตินี้อยู่เถิด เพราะการไม่บอกเป็น ความดี ท่านอย่า สั่งสอนสัตว์อื่นๆ เลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราจึงกล่าวว่า ดูกรมารผู้ลามก เรารู้จัก ท่าน ท่านอย่าเข้าใจว่าพระสมณะไม่รู้จักเรา ท่านเป็นมาร ท่านหามีความ อนุเคราะห์ ด้วยจิตเกื้อกูลไม่ จึงกล่าวกะเราอย่างนี้ ท่านไม่มี ความอนุเคราะห์ ด้วยจิตเกื้อกูล จึงกล่าวกะเราอย่างนี้. ท่านมีความดำริว่า พระสมณโคดมจักแสดง ธรรมแก่ชน เหล่าใด ชนเหล่านั้น จักล่วงวิสัยของเราไป. ก็พวกสมณะและ พราหมณ์นั้น มิได้เป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ปฏิญญาว่าเราทั้งหลาย เป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้า.

ดูกรมารผู้ลามก เราแลเป็นสัมมาสัมพุทธะ ย่อมปฏิญญาว่า เราเป็นสัมมา สัมพุทธะ

ดูกรมารผู้ลามก ตถาคตแม้เมื่อแสดงธรรมแก่พวกสาวก ก็เป็นเช่นนั้น แม้เมื่อไม่แสดงธรรมเก่าพวกสาวก ก็เป็นเช่นนั้น ตถาคตแม้เมื่อแนะนำพวก สาวก ก็เป็นเช่นนั้น แม้เมื่อ ไม่แนะนำพวกสาวกก็เป็นเช่นนั้น นั่นเป็นเพราะเหต อะไร

เพราะอาสวะเหล่าใด อันให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ มีชาติ ชรา มรณะ ต่อไป อาสวะเหล่านั้น ตถาคตละเสียแล้ว มีรากเหง้าอันถอนขึ้นแล้ว ทำไม่ให้มี ที่ตั้งดังว่าต้นตาล แล้วทำไม่ ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เหมือนต้นตาลมียอดถูกตัดเสียแล้ว ไม่อาจ งอกงาม อีกได้ ฉะนั้น.

ไวยากรณภาษิตนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว โดยมารมิได้เรียกร้อง และโดยพรหม เชื้อเชิญดังนี้ เพราะฉะนั้น ไวยากรณภาษิตนี้ จึงมีชื่อว่าพรหมนิมันตนิกสูตร ฉะนี้แล.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๑๗



46)

มาร ปลอมตัวเป็นคนแก่ ถือไม้เท้าเข้าหาภิกษุหนุ่ม แนะว่าควร เสพกาม (สัมพหุลสูตรที่ ๑)
(มารปลอมตัวเป็นคนแก่ถือไม้เท้า เข้ามาหาภิกษุหนุ่ม ขอให้ภิกษุเสพกามที่เป็น ของมนุษย์ ภิกษุตอบว่ากามเป็นของชัวคราว มีทุกข์มาก มารฟังแล้วไม่ชอบใจ จึงสั่นหน้า แลบลิ้นแล้วหลีกไป ภิกษุนำไปเล่าให้พระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า นั้นมิใช่พราหมณ์ นั้นเป็นมารผู้มีบาป มาเพื่อกำบังตาเธอทั้งหลาย)

          [๔๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ที่นครศิลาวดี ในแคว้นสักกะ ฯ ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกัน เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตน อันส่งไปแล้วอยู่ในที่ใกล้พระผู้มีพระภาค

          [๔๗๙] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปนิรมิตเพศเป็นพราหมณ์มุ่นชฎาใหญ่ นุ่ง หนังเสือ เป็นคนแก่หลังโกง หายใจเสียงดังครืดคราด ถือไม้เท้าทำด้วยไม้ มะเดื่อ เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจึงกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านบรรพชิตผู้  เจริญทั้งหลายล้วนแต่เป็นคนหนุ่มกระชุ่มกระชวย มีผมดำ ประกอบด้วยความหนุ่มแน่น ยังไม่เบื่อในกามารมณ์ทั้งหลายด้วยปฐมวัย ขอท่านจงบริโภคกามอันเป็น ของมนุษย์ อย่าละผลอันเห็นเอง วิ่งไปสู่ผล ชั่วคราวเลย

    ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ดูกรพราหมณ์ พวกเราย่อมไม่ละผลอันเห็นเอง วิ่งไปสู่ผล ชั่วคราวแต่เราทั้งหลาย ละผลชั่วคราว วิ่งไปสู่ผลอันเห็นเอง ดูกรพราหมณ์ เพราะว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นของชั่วคราว มีทุกข์มาก มีความคับแค้น มาก โทษในกามทั้งหลายมีโดยยิ่ง ธรรมนี้มีผลอันเห็นเอง ให้ผลไม่จำกัดกาล เป็นของควรเรียกกันมาดู ควรน้อมมาไว้ในตน อันวิญญูชน ทั้งหลายพึงรู้ได้ เฉพาะตน

    เมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว มารผู้มีบาปจึงสั่นศีรษะ แลบลิ้น ทำหน้าขมวด เป็นสามรอย จดจ้องไม้เท้าหลีกไป

          [๔๘๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวาย อภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น ครั้นนั่งแล้ว จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นผู้ ไม่ประมาท บำเพ็ญความเพียร มีตนอันส่งไปแล้ว อยู่ในที่ใกล้พระองค์ ณ ที่นี้ พระเจ้าข้า มีพราหมณ์คนหนึ่ง มุ่นชฎาใหญ่ นุ่งหนังเสือ เป็นคนแก่ หลังโกง หายใจเสียงดัง ครืดคราด ถือไม้เท้าทำด้วยไม้มะเดื่อ เข้าไปหาข้าพระองค์ยังที่อยู่

      ครั้นแล้วได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ท่านบรรพชิตผู้เจริญทั้งหลาย ล้วนแต่เป็น คนหนุ่มกระชุ่มกระชวย มีผมดำ ประกอบด้วยความหนุ่มแน่น ยังไม่เบื่อใน กามารมณ์ ทั้งหลายด้วยปฐมวัย ขอท่านจงบริโภคกามอันเป็นของมนุษย์ อย่าละ ผลอันเห็นเอง วิ่งไปสู่ผลชั่วคราวเลยพระเจ้าข้า เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พวกข้าพระองค์ ได้กล่าวกะพราหมณ์นั้นว่า ดูกรพราหมณ์พวกเราย่อมไม่ละผล อันเห็นเอง วิ่งไปสู่ผล ชั่วคราว แต่พวกเราละผลชั่วคราว วิ่งไปสู่ผลอันเห็นเอง

      ดูกรพราหมณ์ เพราะกามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นของชั่วคราว มี ทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนั้นมีโดยยิ่ง ธรรมนี้มีผลอัน เห็นเอง ให้ผลไม่จำกัดกาล เป็นของควรเรียกมาดู ควรน้อมไว้ในตน อันวิญญูชน ทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์นั้นสั่นศีรษะ แลบลิ้น ทำหน้าขมวดเป็นสามรอย จดจ้องไม้เท้าหลีกไป

          [๔๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั้นมิใช่พราหมณ์   นั้นเป็นมารผู้มีบาป มาเพื่อกำบังตาเธอทั้งหลาย

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงภาษิตพระคาถา นี้ในเวลานั้น ว่าผู้ใดได้เห็นทุกข์มีกามเป็นเหตุแล้ว ไฉนผู้นั้นจะพึงน้อมใจไป ในกามเล่า บุคคลผู้ทราบอุปธิว่า เป็นเครื่องข้องอยู่ในโลกแล้ว พึงศึกษาเพื่อกำจัด อุปธิ นั้นเสีย



47)

มารเข้าหาพระสมิทธิ ทำเสียงดังปานแผ่นดินถล่ม พ.ตรัสว่า มารทำคาถาบังตา (สมิทธิสูตรที่ ๒)

          [๔๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ กรุง ศิลาวดี ในแคว้นสักกะ ฯ ก็สมัยนั้นแล ท่านสมิทธิเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอัน ส่งไปแล้ว อยู่ในที่ใกล้พระผู้มีพระภาค

    ครั้งนั้นแล ท่านสมิทธิผู้พักผ่อนอยู่ในที่ลับ มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้น อย่างนี้ ว่า เป็นลาภของเราดีแท้ ที่เราได้พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็น พระศาสดา ของเรา เป็นลาภของเรา ดีแท้ที่เราได้บวชในพระธรรมวินัย อันพระศาสดาตรัสดีแล้ว อย่างนี้ เป็นลาภของเราดีแท้ที่เราได้เพื่อนพรหมจรรย์อันมี  ศีลมีกัลยาณธรรม

          [๔๘๓] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปทราบความปริวิตกแห่งจิต ของท่านสมิทธิ ด้วยจิตแล้วเข้าไปหาท่านสมิทธิถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จึงทำเสียงดังน่ากลัวน่า หวาดเสียว ประดุจแผ่นดินจะถล่ม ณ ที่ใกล้ท่านสมิทธิ

          [๔๘๔] ลำดับนั้น ท่านสมิทธิเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวาย อภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ท่านสมิทธิครั้นนั่ง ณที่ควร ข้างหนึ่ง แล้วแล จึงได้กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่ในที่ใกล้พระองค์ ณ ที่นี้ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์อยู่ในที่ลับเร้น มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เป็นลาภของ เราดีแท้ที่เราได้พระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นพระศาสดาของเราเป็นลาภ   ของเราดีแท้ที่เราได้บวช ในพระธรรมวินัย อันพระศาสดาตรัสดีแล้วอย่างนี้ เป็นลาภของเราดีแท้ที่เราได้เพื่อน พรหมจรรย์ อันมีศีลมีกัลยาณธรรม พระเจ้าข้า ขณะนั้น ก็ได้มีเสียงดังน่ากลัว น่าหวาด เสียวประดุจแผ่นดินจะถล่ม เกิดขึ้นใน  ที่ใกล้ข้าพระองค์

          [๔๘๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สมิทธิ นั้นไม่ใช่แผ่นดินจะถล่มนั้น เป็นมาร ผู้มีบาปมาเพื่อกำบังตาเธอ เธอจงไปเถิด สมิทธิจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่ในที่นั้นตามเดิมเถิด

    ท่านสมิทธิรับพระดำรัสแล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป

          [๔๘๖] แม้ครั้งที่สอง ท่านสมิทธิเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตน  อันส่งไปแล้วอยู่ในที่นั้นนั่นเอง แม้ในครั้งที่สอง ท่านสมิทธิไปในที่ลับเร้นอยู่ มีความปริวิตกเกิดขึ้นอย่างนี้ฯลฯ แม้ในครั้งที่สอง มารผู้มีบาปทราบความปริวิตก แห่งจิตของท่านสมิทธิ ด้วยจิตแล้ว ฯลฯ จึงทำเสียงดังน่ากลัว น่าหวาดเสียว  ประดุจแผ่นดินจะถล่ม ณ ที่ใกล้ท่านสมิทธิ

          [๔๘๗] ลำดับนั้น ท่านสมิทธิทราบว่า ผู้นี้เป็นมารผู้มีบาป จึงกล่าวกะ มาร ผู้มีบาปด้วยคาถาว่าเราหลีกออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนด้วยศรัทธา สติและ ปัญญาของเรา เรารู้แล้ว อนึ่ง จิตของเราตั้งมั่นดีแล้ว ท่านจักบันดาลรูปต่างๆ อันน่ากลัวอย่างไร ก็จักไม่ยังเราให้หวาดกลัวได้เลยโดยแท้
ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค หน้าที่ ๑๔๖






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์