(โยนิโสมนสิการ-วิกิพีเดีย)
1)
โยนิโสมนสิการ หมายถึง
หมายถึง การทำในใจให้ดีละเอียดถี่ถ้วน กล่าวคือ การพิจารณาอย่างรอบคอบ ถี่ถ้วน ทางพุทธศาสนาถือว่า มีคุณค่าเท่ากับความไม่ประมาท หรือ "อัปมาท" ซึ่งเป็นแหล่ง รวมแห่งธรรมฝ่ายดีหรือ "กุศลธรรม" ทั้งปวง
การใช้ความคิดถูกวิธี คือการกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลาย ด้วยความคิดพิจารณา สืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผล จนตลอดสาย แยกแยะออก พิเคราะห์ดูด้วยปัญญา ที่คิดเป็นระเบียบและโดย อุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือ ปัญหานั้นๆ ตามสภาวะ แล ะตามความสัมพันธ์ แห่งเหตุปัจจัย เช่น
คิดจากเหตุไปหาผล
คิดจากผลไปหาเหตุ
คิดแบบ แยกแยะองค์ประกอบ
คิดแบบ มองเป็นองค์รวม
คิดแบบเห็น ความสัมพันธ์ต่อเนื่องเป็นลูกโซ่
คิดเห็น องค์ประกอบที่มาทำให้เจริญ
คิดเห็น องค์ประกอบที่มาทำให้เสื่อม
คิดเน้น เฉพาะจุดที่ทำให้เกิด
คิดเน้น สิ่งที่มาตัดขาดให้ดับ
คิดเทียบเคียง อะไรเป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้
คำ "โยนิโสมนสิการ" นั้นประกอบด้วยคำสองคำ คือ
"โยนิโส" มาจาก "โยนิ" แปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา อุบาย วิธี ทาง "มนสิการ" (จาก มนสิ (สัตตมีวิภัตติของ มนสฺ (ใจ)) + การ (การทำ) (จาก กรฺ ธาตุ + -ณ ปัจจัย)) หมายถึง การทำในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ
ดังนั้น "โยนิโสมนสิการ" จึงหมายถึง การทำในใจให้แยบคาย หรือ การพิจารณา โดยแยบคาย กล่าวคือ ความเป็นผู้ฉลาดในการคิด คิดอย่างถูกวิธี ถูกระบบ พิจารณา ไตร่ตรองสาวไปจนถึงสาเหตุ หรือต้นตอของเรื่องที่กำลังคิด คือคิดถึงรากถึงโคน นั่นเอง แล้วประมวลความคิดรอบด้าน จนกระทั่งสรุปออกมา ได้ว่า สิ่งนั้นควร หรือ ไม่ควร ดีหรือไม่ดี เป็นวิถีทางแห่งปัญญา เป็นธรรมสำหรับ กลั่นกรอง แยกแยะข้อมูล หรือแหล่งข่าวหรือที่เรียก "ปรโตโฆสะ" อีกชั้นหนึ่ง กับทั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งความ คิดชอบ หรือ "สัมมาทิฐิ" ทำให้มีเหตุผล และไม่งมงาย
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๘๓ [๒๔๐]
2)
องค์ของการบรรลุโสดา ๔ อย่าง
๑. สัปปุริสสังเสวะ [การคบสัตบุรุษ]
๒. สัทธัมมัสสวนะ [การฟังพระสัทธรรม]
๓. โยนิโสมนสิการ [การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย]
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ [การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๑
3)
ว่าด้วยการสังวรในอาสวะทั้งปวง
(๒. สัพพาสวสังวรสูตร)
[๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ปริยายว่าด้วยการสังวรอาสวะทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[๑๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะ ของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้อะไร เห็นอยู่อะไร ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้เห็น โยนิโสมนสิการ และ อโยนิโสมนสิการ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย อาสวะทั้งหลาย ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น เมื่อภิกษุ มนสิการ โดยแยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะ
ที่จะพึงละได้ เพราะการเห็นมีอยู่
ที่จะพึงละได้ เพราะการสังวรก็มี
ที่จะพึงละได้ เพราะเสพเฉพาะก็มี
ที่จะพึงละได้ เพราะความอดกลั้นก็มี
ที่จะพึงละได้ เพราะเว้นรอบก็มี
ที่จะพึงละได้ เพราะบรรเทาก็มี
ที่จะพึงละได้ เพราะอบรมก็มี.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๔๕
4)
จงละมนสิการไม่แยบคายเสีย
(อโยนิโสมนสิการสูตรที่ ๑๑)
[๗๘๙] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่ง ในแคว้นโกศล สมัยนั้นแล เธอไปที่พักในกลางวัน ตรึกอกุศลวิตก อันลามก คือกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก ฯ
[๗๙๐] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู ใคร่ประโยชน์ แก่ภิกษุนั้น หวังจะให้ภิกษุนั้นสังเวช จึงเข้าไปหาถึงที่อย่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะ ภิกษุนั้น ด้วยคาถาว่าท่านถูกวิตกกิน เพราะมนสิการไม่แยบคาย ท่านจงละ มนสิการไม่แยบคายเสีย และจงใคร่ครวญโดยแยบคาย ท่านปรารภ พระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ และศีลของตนแล้วจะบรรลุความปราโมทย์ ปีติและสุขโดย ไม่ต้อง สงสัย แต่นั้นท่านจักเป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ จักกระทำ ที่สุดแห่ง ทุกข์ได้ ฯ
ลำดับนั้นแล ภิกษุนั้น เป็นผู้อันเทวดานั้นให้สังเวชถึงซึ่งความสลดใจแล้วแล
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๑
5)
โยนิโสมนสิการ เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
(โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑)
[๑๓๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้น ก่อนสิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อม แห่ง การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำไว้ในใจโดย แยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำ ให้มาก ซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘.
[๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำไว้ในใจ โดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไร?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ สัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๓
6)
โยนิโสมนสิการ เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
(โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒)
[๑๔๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้นสิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความเกิดแห่งอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่ง การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมแห่ง การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบ ด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘.
[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำไว้ในใจโดย แยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอัน กำจัดโทสะ เป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอัน กำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัด โมหะเป็นที่สุด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำไว้ในใจ โดยแยบคาย ย่อมเจริญ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่ง อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๖
7)
โยนิโสมนสิการ มีอุปการะมากแก่อริยมรรค
(โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑)
[๑๕๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะมาก เพื่อ ความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ ความถึงพร้อมแห่ง การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำไว้ในใจโดย แยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำ ให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
[๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำไว้ในใจโดย แยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่ง อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัย วิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๘
8)
โยนิโสมนสิการ มีอุปการะมากแก่อริยมรรค
(โยนิโสมนสิการ สัมปทาสูตรที่ ๒)
[๑๖๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่ง มีอุปการะมาก เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ ความถึงพร้อมแห่ง การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำไว้ในใจโดย แยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้ แจ้งซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
[๑๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำไว้ในใจโดย แยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่ง อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘อย่างไรเล่า?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญ สัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะ เป็นที่สุด
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
|