เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 #2/4 รวมพระสูตร โยนิโสมนสิการ การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย และ อโยนิโสมนสิการ  1297
 


โยนิโสมนสิการ.
.. ..การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
อโยนิโสมนสิการ... การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

9) โยนิโสมนสิการ เป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
10) โยนิโสมนสิการ เป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
11) อโยนิโสมนสิการ(ไม่กระทำในใจโดยแยบคาย) คืออาหารของนิวรณ์ ๕
12) โยนิโสมนสิการ (กระทำในใจโดยแยบคาย)คืออาหารของโพชฌงค์ ๗
13) โยนิโสมนสิการ เป็นเบื้องแรกแห่งโพชฌงค์
14) ธรรมที่เป็นกุศล มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล
15) โยนิโสมนสิการ(กระทำในใจโดยแยบคาย) เป็นปัจจัยแห่งโพชฌงค์
16) อโยนิโสมนสิการ (ไม่กระทำในใจโดยแยบคาย) คืออาหารของนิวรณ์

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมเรื่อง โยนิโสมนสิการ ชุด 2/4


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๔๑


9)
โยนิโสมนสิการ เป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
(โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑)

        [๑๗๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนความถึงพร้อมแห่ง การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำไว้ในใจโดย แยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำ ให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

[๑๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำไว้ในใจโดย แยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่ง อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘อย่างไรเล่า?

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจ


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๔๓


10)
โยนิโสมนสิการ เป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
(โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒
)

 

        [๑๘๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรม อันอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นหรือที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความบริบูรณ์ เหมือนความถึงพร้อม แห่งการ กระทำไว้ในใจโดยแยบคายเลย

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อม ด้วยการ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึงหวัง ข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มาก ซึ่ง อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘.


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๙๒

11)
อโยนิโสมนสิการ(กระทำในใจโดยไม่แยบคาย) คืออาหารของนิวรณ์ ๕
(กายสูตร)


        [๓๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัย อาหาร ไม่มีอาหาร ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้ เพราะ อาศัยอาหารไม่มีอาหาร ดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

        [๓๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหาร ให้กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือ ที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศุภนิมิตมีอยู่ การกระทำ ให้มากซึ่ง อโยนิโสมนสิการ ในศุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้กามฉันท์ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

        [๓๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือ ที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง อโยนิโสมนสิการ ในปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้พยาบาท ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

        [๓๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ถิ่นมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือ ที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความเมาอาหาร ความที่ใจหดหู่ มีอยู่ การกระทำ ให้มากซึ่ง อโยนิโสมนสิการ ในสิ่งเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

        [๓๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะ ที่ยัง ไม่เกิด เกิดขึ้น หรือ ที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่ สงบใจมีอยู่ การกระทำให้มาก ซึ่ง อโยนิโสมนสิการ ในความไม่สงบใจนั้น นี้เป็น อาหาร ให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

        [๓๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือ ที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่ง วิจิกิจฉา มีอยู่การกระทำให้มากซึ่ง อโยนิโสมนสิการ ในธรรม เหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ ยิ่งขึ้น.

        [๓๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอ าหาร ไม่มีอาหาร ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้ เพราะอาศัย อาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๙๓

12)
โยนิโสมนสิการ (กระทำในใจโดยแยบคาย)คืออาหารของโพชฌงค์ ๗

 

        [๓๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัย อาหาร ไม่มีอาหาร ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัย อาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

        [๓๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ ที่ยัง ไม่เกิด เกิดขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย เป็นที่ตั้ง แห่งสติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การกระทำให้มาก ซึ่ง โยนิโสมนสิการ ในธรรม เหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญ บริบูรณ์.

        [๓๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศลและอกุศลที่มีโทษ และไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีอยู่ การกระทำให้มาก ซึ่ง โยนิโสมนสิการ ในธรรม เหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือ ที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

        [๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ความริเริ่ม ความพยายาม ความบากบั่น มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง โยนิโสมนสิการ ในสิ่งเหล่านี้ นี้เป็นอาหารให้ วิริยสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

        [๓๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ ที่ยัง ไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย เป็นที่ตั้งแห่ง ปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง โยนิโสมนสิการ ในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ปีติ สัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

        [๓๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงบกาย ความสงบจิตมีอยู่ การกระทำให้มาก ซึ่ง โยนิโสมนสิการ ในความ สงบนั้น นี้เป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

        [๓๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต มีอยู่การกระทำ ให้มาก ซึ่ง โยนิโสมนสิการ ในนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร ให้สมาธิสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

        [๓๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่ยัง ไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา สัมโพชฌงค์ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง โยนิโสมนสิการ ในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่ เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

        [๓๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัย
อาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙

13)
โยนิโสมนสิการ เป็นเบื้องแรกแห่งโพชฌงค์
(สุริยูปมสูตรที่ ๒)

        [๔๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นก่อน สิ่งที่เป็น นิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ คือ การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำไว้ในใจ โดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.

        [๔๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจ โดย แยบคาย ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙  หน้าที่ ๑๑๙

14)
ธรรมที่เป็นกุศล มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล

(กุสลสูตรที่ ๒)


        [๔๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง อันเป็นไป ในส่วนแห่ง กุศล เป็นไปในฝ่ายแห่งกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีโยนิโสมนสิการ เป็นมูล ประชุมลงใน โยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการ เรากล่าวว่าเป็นยอด ของธรรม เหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย โยนิโสมนสิการ พึงหวังข้อนี้ ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.

        [๔๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย โยนิโสมนสิการ ย่อมเจริญ โพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย โยนิโส มนสิการ ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๒๙

15)
โยนิโสมนสิการ(กระทำในใจโดยแยบคาย) เป็นปัจจัยแห่งโพชฌงค์
(อังคสูตรที่ ๑)

 

        [๕๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทำปัจจัยภายในให้เป็นเหตุแล้ว เรายังไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อันหนึ่งเพื่อความบังเกิดแห่งโพชฌงค์ ๗ เหมือน โยนิโสมนสิการ เลย ดูกรภิกษุทั้งหลายโยนิโสมนสิการ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.

        [๕๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ย่อมเจริญ โพชฌงค์๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป ในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย โยนิโสมนสิการ ย่อมเจริญ โพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๓๑

16)
อโยนิโสมนสิการ (ไม่กระทำในใจโดยแยบคาย)คืออาหารของนิวรณ์

 

        [๕๒๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาหาร และสิ่งที่มิใช่ อาหารของนิวรณ์ ๕ และโพชฌงค์ ๗ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

        [๕๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศุภนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง อโยนิโสมนสิการ ในศุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้กามฉันทะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

        [๕๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง อโยนิโสมนสิการ ในปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้พยาบาท ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

        [๕๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่ยินดี ความเกียจคร้านความบิดขี้เกียจ ความเมาอาหาร ความที่ใจหดหู่มีอยู่ การกระทำ ให้มากซึ่ง อโยนิโสมนสิการ ในสิ่งเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

        [๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะ ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่สงบใจมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง อโยนิโสมนสิการ ในความไม่สงบใจนั้น นี้เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ ยิ่งขึ้น.

        [๕๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือ ที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่ง วิจิกิจฉามีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง อโยนิโสมนสิการ ในธรรม เหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญ ไพบูลย์ ยิ่งขึ้น.

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์