เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ              

  ตถาคต-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
    5 of 6  
 
  จากหนังสือ ตถาคต(พุทธวจน)  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  104 . ทรงมีวิธี “รุก” ข้าศึกให้แพ้ภัยตัว 260  
  105 . ทรงข่มสัจจกนิครนถ์ 263  
  106 . เหตุให้ทรงบัญญัติวินัย 269  
  107 . เหตุที่ทำให้เกิดการแสดงปาติโมกข์ 271  
  108 . เหตุที่ไม่ทำอุโบสถกับสาวกอีกต่อไป 272  
  109 . เมื่อหมู่สัตว์เลวลง สิกขาบทมีมาก ผู้ตั้งอยู่ในอรหัตผลมีน้อย 273  
  110 . ความวิวาทที่เป็นไปเพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย 274  
  การปรินิพพาน 277  
  111 . ทรงมีความชราทางกายภาพเหมือนคนทั่วไป 278  
  112 . ทรงบังเกิดขึ้นเพื่ออนุเคราะห์โลก 279  
  113 . ทรงทำหน้าที่พระพุทธเจ้าบริบูรณ์แล้ว 281  
  114 . พรหมจรรย์ของพระองค์ บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง 283  
  115 . ทรงหวังให้ช่วยกันทำความมั่นคง แก่พรหมจรรย์ 284  
  116 . ทรงปลงอายุสังขาร 286  
  117 . ทรงให้มีตนและธรรมเป็นที่พึ่ง 289  
  118 . แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการปลงอายุสังขาร 291  
  119 . ทรงมุ่งหวังประโยชน์แก่สาวก 292  
  120 . หลักตัดสินธรรมวินัย ๔ ประการ 294  
  121 . เหตุแห่งความเจริญ ไม่เสื่อม 296  
  122 . อย่าเป็นบุรุษคนสุดท้าย 298  
  123 . เสวยสูกรมัททวะ 299  
  124 . ผลแห่งการถวายบิณฑบาต ที่มีผลยิ่งยอดกว่าบิณฑบาตอื่นๆ 300  
  125 . การปรินิพพานหรือ การประทับสีหเสยยาครั้งสุดท้าย 303  
  126 . แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการปรินิพพาน 311  
  127 . การปรินิพพานของพระองค์ คือความทุกข์ร้อนของมหาชน 312  
  128 . หลังปรินิพพาน เทวดาและมนุษย์จะไม่เห็นตถาคตอีก 313  
  129 . สังเวชนียสถานภายหลัง พุทธปรินิพพาน 314  
  130 . สถานที่ที่ควรจะระลึกตลอดชีวิต 316  
  ลักษณะพิเศษของตถาคต 319  
  131 . ทรงมีตถาคตพละสิบอย่าง 320  
  132 . ทรงทราบความยิ่งและหย่อน แห่งอินทรีย์ของสัตว์ 323  
       
 
 





ตถาคต Page 5/6



หน้า 260

104 ทรงมีวิธี “รุก” ข้าศึกให้แพ้ภัยตัว
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๓๘/๕๐๔.

(เรื่องในชั้นแรกมีอยู่ว่า ปริพพาชกชื่อสรภะ เคยบวชอยู่ในธรรมวินัยนี้ แล้วละทิ้งไปบวชเป็นปริพพาชก เที่ยวร้องประกาศ อยู่ว่าตนรู้ถึงธรรมวินัยของพวกสมณสากยบุตรทั่วถึงแล้ว ไม่เห็นดีอะไรจึงหลีกมาเสีย. ครั้นความนี้ทราบถึงพระผู้มี พระภาคเจ้า ได้เสด็จไปสู่อารามของปริพพาชกพวกนั้น และสนทนากันในกลางที่ประชุมปริพพาชก. ทรงถามเฉพาะสรภะ ปริพพาชก ให้บรรยายออกไปว่า ธรรมวินัยของพวกสมณสากยบุตรนั้นเป็นอย่างไร).

ตรัสว่าสรภะ ! ได้ยินว่าท่านกล่าวดังนี้จริงหรือว่า “ธรรมของพวกสมณสากยบุตรนั้น เรารู้ทั่วถึงแล้ว เพราะรู้ทั่วถึงนั่นเอง จึงหลีกมาเสียจากธรรมวินัยนั้น” ดังนี้. (ไม่มีคำตอบ,จึงตรัสถามเป็นครั้งที่สอง)

สรภะ ! ท่านจงพูดไปเถิดว่า ท่านรู้ทั่วถึงธรรมของพวกสมณสากยบุตรอย่างไร. ถ้าท่านพูดไม่ครบถ้วน เราจะช่วยพูดเติม ให้ครบถ้วน. ถ้าคำของท่านครบถ้วนถูกต้องดีแล้ว เราจักอนุโมทนา. (นิ่งไม่มีคำตอบอีก จึงตรัสถามเป็นครั้งที่สาม)

สรภะ ! ท่านจงพูดเถิด. ธรรมวินัยของพวกสมณสากยบุตรนั้นเราเป็นผู้บัญญัติเอง เราย่อมรู้ดี. ถ้าท่านพูดไม่บริบูรณ์ เราจะช่วยพูดเติมให้บริบูรณ์ ถ้าท่านพูดได้บริบูรณ์เราก็จักอนุโมทนา. (นิ่งไม่มีคำตอบ ในที่สุดพวกปริพพาชกด้วยกันช่วยกัน รุมขอร้องให้สรภะปริพพาชกพูด. สรภะก็ยังคงนิ่งตามเดิม. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสข้อความนี้)

ปริพพาชกทั้งหลาย ! ถ้าผู้ใดกล่าวหาเราว่า “ท่านอวดว่าท่านเป็นสัมมาสัมพุทธะ แต่ธรรมเหล่านั้น ท่านยังไม่รู้เลย” ดังนี้.

เราก็จักซักไซ้สอบถามไล่เลียงเขาให้เป็นอย่างดี (ถึงข้อธรรมที่เขาว่าเราไม่รู้ แต่เขารู้). เขานั้น ครั้นถูกเราซักไซ้สอบถาม ไล่เลียงเป็นอย่างดีแล้ว ย่อมหมดหนทางย่อมเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากจะตกอยู่ในฐานะลำบาก๓ ประการอย่างใด อย่างหนึ่ง คือตอบถลากไถลนอกลู่นอกทางบ้าง แสดงความขุ่นเคืองโกรธแค้น น้อยอกน้อยใจออกมาให้ปรากฏบ้าง หรือต้องนิ่งอั้น หมดเสียง เก้อเขิน คอตกก้มหน้า ซบเซา ไม่มีคำพูดหลุดออกมาได้ เหมือนอย่างสรภะปริพพาชกนี้บ้าง.

ปริพพาชกทั้งหลาย ! ถ้าผู้ใดกล่าวหาเราว่า“ท่านอวดว่าท่านสิ้นอาสวะ. แต่อาสวะเหล่านี้ๆ ของท่านยังมีอยู่”ดังนี้.

เราก็จักซักไซ้สอบถามไล่เลียงเขาให้เป็นอย่างดี (ถึงอาสวะที่เขาว่ายังไม่สิ้น). เขานั้น ครั้นถูกเราซักไซ้สอบถามไล่เลียง เป็น อย่างดีแล้ว ย่อมหมดหนทาง ย่อมเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากจะตกอยู่ในฐานะลำบาก ๓ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือตอบถลากไถลนอกลู่นอกทางบ้าง แสดงความขุ่นเคือง โกรธแค้น น้อยอกน้อยใจ ออกมาให้ปรากฏบ้าง หรือต้องนิ่งอั้น หมดเสียง เก้อเขิน คอตกก้มหน้า ซบเซา ไม่มีคำพูดหลุดออกมาได้ เหมือนอย่างสรภะปริพพาชกนี้บ้าง.

ปริพพาชกทั้งหลาย ! ถ้าผู้ใดกล่าวหาเราว่า “ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้น ไม่เป็นทางสิ้นทุกข์ โดยชอบ แก่บุคคลผู้ประพฤติตาม” ดังนี้. เราก็จักซักไซ้สอบถามไล่เลียงเขาให้เป็นอย่างดี (ถึงประโยชน์ที่เขาว่าจะเป็น ทาง สิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ประพฤติตาม).

เขานั้น ครั้นถูกเราซักไซ้สอบถามไล่เลียงเป็นอย่างดีแล้ว ย่อมหมดหนทาง ย่อมเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากจะตกอยู่ใน ฐานะ ลำบาก ๓ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือตอบถลากไถลนอกลู่นอกทางบ้าง,แสดงความขุ่นเคือง โกรธแค้น น้อยอกน้อยใจ ออกมาให้ปรากฏบ้าง หรือต้องนิ่งอั้น หมดเสียง เก้อเขิน คอตกก้มหน้า ซบเซา ไม่มีคำพูดหลุดออกมาได้ เหมือนอย่าง สรภะปริพพาชกนี้บ้าง ดังนี้.

หน้า 263

105 ทรงข่มสัจจกนิครนถ์
-บาลี ม. ม. ๑๒/๔๒๕-๔๓๒/๓๙๖-๓๙๙.

สัจจกนิครนถ์ ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดมแนะนำพวกสาวกอย่างไร และคำสั่งสอนของท่านพระโคดม มีส่วนอย่างไรที่เป็นไปมากในพวกสาวก ?”.

อัคคิเวสสนะ ! เราแนะนำสาวกทั้งหลายอย่างนี้และ คำสั่งสอนของเรามีส่วนอย่างนี้ ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลายว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปไม่ใช่ตน เวทนาไม่ใช่ตนสัญญา ไม่ใช่ตน สังขารทั้งหลายไม่ใช่ตน วิญญาณไม่ใช่ตนสังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตนดังนี้.

อัคคิเวสสนะ ! เราแนะนำสาวกทั้งหลายอย่างนี้และคำสั่งสอนของเรามีส่วนอย่างนี้ ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลาย.

ท่านพระโคดม ! ขออุปมาจงแจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า.

อัคคิเวสสนะอุปมานั้นจงแจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด. ท่านพระโคดม เหมือนพืชพันธุ์ไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ พืชพันธุ์เหล่านั้นทั้งหมด ต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ หรือเหมือน การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ต้องทำด้วยกำลัง อันบุคคลทำอยู่ การงานเหล่านั้นทั้งหมดบุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ต้องตั้งอยู่บนแผ่นดินจึงทำกันได้ ฉันใดบุรุษบุคคลนี้ มีรูปเป็นตน มีเวทนาเป็นตน มีสัญญาเป็นตน มีสังขารเป็นตน มีวิญญาณ เป็นตน ต้องตั้งอยู่ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงได้ประสบผลบุญ ผลบาป ฉันนั้น.

อัคคิเวสสนะ ! ข้อนั้นท่านกล่าวอย่างนี้ว่า รูปเป็นตนของเรา เวทนาเป็นตนของเรา สัญญาเป็นตนของเราสังขารทั้งหลาย เป็นตนของเรา วิญญาณเป็นตนของเราดังนี้มิใช่หรือ.
ท่านพระโคดม ! ข้าพเจ้ากล่าวอย่างนั้น ประชุมชนเป็นอันมากก็กล่าวอย่างนั้น.

อัคคิเวสสนะ ! ประชุมชนเป็นอันมากนั้นจักทำอะไรแก่ท่าน อัคคิเวสสนะ! เชิญท่านยืนยันถ้อยคำของท่านเถิด. ท่านพระโคดม ! เป็นความจริง ข้าพเจ้ากล่าวอย่างนี้ รูปเป็นตนของเรา เวทนาเป็นตนของเรา สัญญาเป็นตนของเรา สังขารทั้งหลายเป็นตนของเรา วิญญาณเป็นตนของเราดังนี้.

อัคคิเวสสนะ ! ถ้าอย่างนั้น เราจักสอบถามท่านในข้อนี้แหละ ท่านเห็นควรอย่างไร ท่านพึงแก้ไขอย่างนั้น

อัคคิเวสสนะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร อำนาจของพระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล หรือพระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิบุตรแห่งมคธ อาจฆ่าคนที่ควรฆ่า ริบทรัพย์คนที่ควรริบทรัพย์ เนรเทศคนที่ควรเนรเทศ พึงให้เป็นไปได้ในพระราชอาณาเขตของพระองค์มิใช่หรือ.

ท่านพระโคดม ! อำนาจของพระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล หรือพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตรแห่งมคธ อาจฆ่าคนที่ควรฆ่า ริบทรัพย์คนที่ควรริบทรัพย์ เนรเทศคนที่ควรเนรเทศ พึงให้เป็นไปได้ในพระราช อาณาเขต ของพระองค์ แม้แต่อำนาจของหมู่คณะเหล่านี้ คือ วัชชี มัลละ อาจฆ่าคนที่ควรฆ่า ริบทรัพย์คนที่ควรริบทรัพย์ เนรเทศคนท่คี วรเนรเทศ ยังเป็นไปได้ในแว่นแคว้นของตนๆเหตุไรเล่า อำนาจเช่นนั้นของพระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว เช่นพระเจ้าปเสนทิโกศล หรือพระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิบุตรแห่งมคธ จะให้เป็นไปไม่ได้ อำนาจเช่นนั้น ของพระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้วนั้น ต้องให้เป็นไปได้ด้วย ควรจะเป็นไปได้ด้วย.

อัคคิเวสสนะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไรข้อที่ท่านกล่าวว่า รูปเป็นตนของเรา อำนาจของท่านเป็นไปในรูปนั้นว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดังนี้หรือ ?

ลำดับนั้น สัจจนิครนถ์ได้นิ่งเสีย พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามอีกเป็นครั้งที่ ๒ สัจจกนิครนถ์ก็ยังคงนิ่งอีก พระผู้มีพระภาคจึงได้ ตรัสกะ สัจจกนิครนถ์ต่อไปว่า

อัคคิเวสสนะ ! กาลบัดนี้ ท่านจงแก้ ไม่ใช่การที่ท่านควรนิ่ง อัคคิเวสสนะ ! ผู้ใดอันตถาคตถามปัญหาที่ชอบแก่เหตุแล้ว ถึงสามครั้ง มิได้แก้ศีรษะของผู้นั้นจะแตกเป็นเจ็ดเสี่ยงในที่เช่นนั้น.

พระโคดมผู้เจริญ ! ขอจงทรงถามเถิด ข้าพเจ้าจักแก้ ณ บัดนี้.

อัคคิเวสสนะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไรท่านกล่าวอย่างนี้ว่ารูปเป็นตนของเรา ดังนี้ อำนาจของท่านเป็นไป ในรูปนั้นว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดังนี้หรือ.

ข้อนี้เป็นไปไม่ได้เลย พระโคดมผู้เจริญ !อัคคิเวสสนะ ! ท่านจงทำไว้ในใจเถิด ครั้นทำไว้ในใจแล้ว จึงกล่าวแก้ เพราะคำหลัง กับคำก่อน หรือคำก่อนกับคำหลังของท่านไม่ต่อกัน อัคคิเวสสนะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาเป็นตนของเรา สัญญาเป็นตนของเรา สังขารทั้งหลายเป็นตนของเราวิญญาณเป็นตนของเรา ดังนี้ อำนาจของท่าน เป็นไปในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณว่าเวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย และวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดังนี้หรือ.

ข้อนี้เป็นไปไม่ได้เลย พระโคดมผู้เจริญ !
อัคคิเวสสนะ ! ท่านจงทำในใจเถิด ครั้นทำไว้ในใจแล้ว จึงกล่าวแก้ เพราะคำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อนกับคำหลัง ของท่าน ไม่ต่อกัน อัคคิเวสสนะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลายและวิญญาณ เที่ยงหรือไม่ เที่ยง.

ไม่เที่ยง พระโคดมผู้เจริญ !
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

สิ่งนั้นเป็นทุกข์ พระโคดมผู้เจริญ !
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตน ของเรา (เอตํ มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตาติ).

ข้อนั้นไม่ควรเลย พระโคดมผู้เจริญ !
อัคคิเวสสนะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไรผู้ใดติดทุกข์ เข้าถึงทุกข์อยู่แล้ว กล้ำกลืนทุกข์แล้ว ยังตามเห็นทุกข์ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเราดังนี้ผู้นั้นกำหนดรู้ทุกข์ได้เอง หรือจะทำทุกข์ให้สิ้นไปได้แล้วจึงอยู่ มีบ้างหรือ ?จะพึงมีได้เพราะเหตุไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระโคดมผู้เจริญ !

อัคคิเวสสนะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไรเมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านติดทุกข์ เข้าถึงทุกข์อยู่แล้ว กล้ำกลืนทุกข์แล้ว ยังตามเห็นทุกข์ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา ดังนี้ มิใช่หรือ.”

ไฉนจะไม่ถูกพระเจ้าข้า ข้อนี้ต้องเป็นอย่างนั้นพระโคดมผู้เจริญ !

อัคคิเวสสนะ ! เปรียบเหมือนบุรุษมีความต้องการแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้อยู่ ถือเอาผึ่งที่คมเข้าไปสู่ป่า เขาเห็นต้นกล้วยใหญ่ต้นหนึ่งในป่านั้น มีต้นตรงยังกำลังรุ่น ไม่คด เขาจึงตัดต้นกล้วยนั้นที่โคนต้น แล้วตัดยอดริดใบออก เขาไม่พบแม้แต่กระพี้ แล้วจะพบแก่นได้แต่ที่ไหน แม้ฉันใด.

อัคคิเวสสนะ ! ท่านอันเราซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน ในถ้อยคำของตนเอง ก็เปล่าว่าง แพ้ไปเอง ท่านได้กล่าววาจานี้ในที่ ประชุมชน ในเมืองเวสาลีว่า เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์แม้ที่ปฏิญญาตนว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ปรารภโต้ตอบวาทะกับเราจะไม่พึงประหม่า ไม่สะทกสะท้านไม่หวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหล จากรักแร้ แม้แต่คนเดียวเลย หากเราปรารภโต้ตอบวาทะกะเสาที่ไม่มีเจตนา แม้เสานั้นปรารภโต้ตอบวาทะกับเรา ก็ต้องประหม่า สะทกสะท้าน หวั่นไหวจะป่วยกล่าวไปไยถึงมนุษย์เล่า ดังนี้.

อัคคิเวสสนะ !หยาดเหงื่อของท่านบางหยาด หยดจากหน้าผากลงยังผ้าห่มแล้วตกที่พื้น ส่วนเหงื่อในกายของเราในเดี๋ยวนี้ ไม่มีเลย.

พระผู้มีพระภาคทรงเปิดพระกายในบริษัทนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกนิครนถ์นั่งนิ่งอึ้ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้าซบเซา หมดปฏิภาณ.

หน้า 269

106 เหตุให้ทรงบัญญัติวินัย
-บาลี มหาวิ. วิ. ๑/๑๕/๘.

สารีบุตร ! เธอจงรอก่อน, ตถาคตเอง จักเป็นผู้รู้เวลาที่ควรบัญญัติวินัย.
สารีบุตร ! ศาสดาย่อมไม่บัญญัติสิกขาบท แสดงขึ้นซึ่งปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย ตลอดเวลาที่ยังไม่มี อาสวฐานิยธรรม1 เกิดขึ้นในหมู่สงฆ์.

สารีบุตร ! เมื่อใด อาสวฐานิยธรรมบางเหล่าปรากฏขึ้นในหมู่สงฆ์ เมื่อนั้นศาสดาย่อมบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์ แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัดเสียซึ่งอาสวฐานิยธรรม เหล่านั้น.

สารีบุตร ! อาสวฐานิยธรรม จะยังไม่ปรากฏขึ้นในหมู่สงฆ์ ตลอดเวลาที่หมู่สงฆ์ยังไม่ใหญ่โต เพราะตั้งมานาน.
สารีบุตร ! เมื่อใด สงฆ์เป็นหมู่ใหญ่โต เพราะตั้งมานาน เมื่อนั้นอาสวฐานิยธรรมบางเหล่า ย่อมปรากฏขึ้น ในหมู่สงฆ์, เมื่อนั้นศาสดาย่อมบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัดเสียซึ่ง อาสวฐานิยธรรมเหล่านั้น.

1. อาสวฐานิยธรรม คือความเสื่อมเสีย, หรือการกระทำ อันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อมเสีย. -ผู้แปล

สารีบุตร ! อาสวฐานิยธรรม จะยังไม่ปรากฏขึ้นในหมู่สงฆ์ ตลอดเวลาที่หมู่สงฆ์ยังไม่ใหญ่โต เพราะแผ่ไปเต็มที่.

สารีบุตร ! เมื่อใด สงฆ์เป็นหมู่ใหญ่โต เพราะแผ่ไปเต็มที่ เมื่อนั้นอาสวฐานิยธรรมบางเหล่า ย่อมปรากฏขึ้น ในหมู่สงฆ์, เมื่อนั้น ศาสดาย่อมบัญญัติสิกขาบทแสดงปาติโมกข์ แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัดเสียซึ่ง อาสวฐานิยธรรมเหล่านั้น.

สารีบุตร ! อาสวฐานิยธรรมจะยังไม่ปรากฏขึ้นในหมู่สงฆ์ ตลอดเวลาที่หมู่สงฆ์ยังไม่ใหญ่โต เพราะเจริญด้วยลาภ.

สารีบุตร ! เมื่อใด สงฆ์เป็นหมู่ใหญ่โต เพราะเจริญด้วยลาภ เมื่อนั้นอาสวฐานิยธรรมบางเหล่า ย่อมปรากฏขึ้นในหมู่สงฆ์ เมื่อนั้น ศาสดาย่อมบัญญัติสิกขาบทแสดงปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัดเสียซึ่งอาสวฐานิยธรรมเหล่านั้น.

สารีบุตร ! ก็สงฆ์หมู่นี้ ยังประกอบด้วยคุณอันสูงไม่มีความต่ำทราม ไม่มีจุดดำ ยังบริสุทธิ์ ขาวผ่อง ตั้งมั่นอยู่ในสาระ.

สารีบุตร เอย ! ในบรรดาภิกษุห้าร้อยรูปเหล่านี้ รูปที่ล้าหลังเขาที่สุด ก็ยังเป็นโสดาบัน เที่ยงแท้ต่อการตรัสรู้มีอันไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา ดังนี้.

หน้า 271

107 เหตุที่ทำให้เกิดการแสดงปาติโมกข์
-บาลี มหา. วิ. ๔/๒๐๓/๑๔๙.

ภิกษุทั้งหลาย ! ที่นี่เอง ปริวิตกแห่งใจได้เกิดขึ้นแก่เรา เมื่ออยู่ในที่สงัดว่า “ถ้าไฉน เราจะอนุญาตสิกขาบททั้งหลาย ที่ได้บัญญัติ ให้เป็นปาติโมกขุทเทสแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น. ปาติโมกขุทเทสนั้น จักเป็นอุโบสถกรรมของภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้น” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตเพื่อแสดงขึ้นซึ่งปาติโมกข์.

หน้า 272

108 เหตุที่ไม่ทำอุโบสถกับสาวกอีกต่อไป
-บาลี อุ. ขุ. ๒๕/๑๕๒/๑๑๖.

มีภิกษุอลัชชีปนอยู่ในหมู่สงฆ์ที่กำลังจะทำอุโบสถ. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทำอุโบสถ จนพระโมคคัลลานะ ค้นตัวภิกษุรูปนั้น ได้บังคับด้วยอาญาแห่งสงฆ์ให้ออกไปถึงสามครั้ง ก็ไม่ยอมออก จนต้องดึงแขนออกไป แล้วกราบทูล พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ”ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ! บุคคลนั้นข้าพระองค์นำตัวออกไปแล้ว . บริษัทบริสุทธิ์แล้ว . ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปาติโมกข์ แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด” ดังนี้.

น่าอัศจรรย์, โมคคัลลานะ ! ไม่เคยมีเลย,

โมคคลั ลานะ ! โมฆบุรุษ นั้นถึงกับต้องฉุดแขนจึงยอมออกไป.

ภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้ จำเดิมแต่นี้ไปเราไม่ทำอุโบสถ ไม่แสดงปาติโมกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! จำเดิมแต่บัดนี้ไป พวกท่านทั้งหลายด้วยกันจงทำอุโบสถ จงแสดงปาติโมกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ไม่ใช่โอกาสไม่ใช่ฐานะเลยที่ตถาคตจะพึงทำอุโบสถจะพึงแสดงปาติโมกข์ ในบริษัทที่ไม่บริสุทธิ์.

หน้า 273

109 เมื่อหมู่สัตว์เลวลง สิกขาบทมีมาก ผู้ตั้งอยู่ในอรหัตผลมีน้อย
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๖๓/๒๓๑.

ครั้งหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อน สิกขาบทมีน้อย และภิกษุตั้งอยู่ในอรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้บัดนี้สิกขาบท มีมาก และภิกษุตั้งอยู่ใน อรหัตผลมีน้อย ?

กัสสปะ ! ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ คือ เมื่อหมู่สัตว์เลวลงพระสัทธรรมกำลังอันตรธานไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ใน อรหัตผลจึงมีน้อย. สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรม ก็ยังไม่อันตรธานไปและ สัทธรรมปฏิรูป เกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงอันตรธานไป.

ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใดตราบนั้น ทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติ จึงหายไป ฉันใด. พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่อันตรธานไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงอันตรธานไป.

หน้า 274

110 ความวิวาทที่เป็นไปเพื่อความทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๕๑/๕๔.

ท่านพระอานนท์ทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมเหล่าใดอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว แก่พวกข้า พระองค์ทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้าพระองค์ยังไม่เห็นภิกษุแม้สองรูปมีวาทะต่างกันในธรรมเหล่านี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีโอกาสได้แลที่บุคคลทั้งหลายผู้อาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่นั้น พอสมัยที่พระผู้มีพระภาค ล่วงลับไป จะพึงก่อวิวาทให้เกิดในสงฆ์ได้ เพราะเหตุอาชีวะอันยิ่งหรือปาติโมกข์อันยิ่งความวิวาทนั้น มีแต่เป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล แก่มหาชนไม่ใช่ความสุขแก่มหาชน ไม่ใช่ประโยชน์ของมหาชน เพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อความทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย.

อานนท์ ! ความวิวาทที่เกิดเพราะเหตุอาชีวะอันยิ่ง หรือปาติโมกข์อันยิ่งนั้นเล็กน้อย ส่วนความวิวาทอันเกิด ในสงฆ์ ที่เกิดเพราะเหตุมรรคหรือปฏิปทา ความวิวาทนั้นมีแต่เป็นไปเพื่อ ความไม่เกื้อกูลแกมหาชน ไม่ใช่ความ สุขของมหาชน ไม่ใช่ประโยชนข์องมหาชน เพื่อความไม่เกื้อกลู เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

หน้า 278

111
ทรงมีความชราทางกายภาพ เหมือนคนทั่วไป

มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๘๗/๙๖๓.

ลำดับนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายอภิวาท แล้วบีบนวดทั่วพระกาย ของพระผู้มี พระภาคอยู่พลางกล่าวถ้อยคำนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้น่าอัศจรรย์  ข้อนี้ไม่เคยมีมาก่อน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บัดนี้ ฉวีวรรณของพระผู้มีพระภาคไม่บริสุทธิ์ ผุดผ่องเหมือนแต่ก่อน และพระกาย ก็เหี่ยวย่น หย่อนยาน มีพระองค์ค้อมไปข้างหน้า อินทรีย์ทั้งหลาย ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปหมด ทั้งพระจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ”.

อานนท์ ! นั่น ต้องเป็นอย่างนั้น คือ ความชรามี(ซ่อน) อยู่ในความหนุ่ม, ความเจ็บไข้มี (ซ่อน) อยู่ในความไม่มีโรค ความตายมี (ซ่อน) อยู่ในชีวิต ฉวีวรรณจึงไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเสียแล้ว และกายก็เหี่ยวย่น หย่อนยาน มีตัวค้อมไปข้างหน้า อินทรีย์ทั้งหลายก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปหมดทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย ดังนี้.

พระผู้มีพระภาค ครั้นตรัสคำนี้แล้ว ได้ตรัสข้อความนี้อีกว่า โธ่เอ๋ย ! ความแก่อันชั่วช้าเอ๋ย ! อันทำความน่าเกลียดเอ๋ย ! กายที่น่าพอใจ บัดนี้ก็ถูกความแก่ย่ำยีหมดแล้ว.

แม้ใครจะมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี ทุกคนก็ยังมีความตายเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ความตายไม่ยกเว้นให้แก่ใครๆ มันย่ำยีหมดทุกคน.

หน้า 279

112 ทรงบังเกิดขึ้นเพื่ออนุเคราะห์โลก
-บาลี มู. ม. ๑๒/๑๖๓/๑๙๒.

สารีบุตร ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวอย่างนี้เห็นอย่างนี้ว่า ชั่วเวลาที่บุรุษนี้ยังเป็นหนุ่ม มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความ หนุ่มแน่น ตั้งอยู่ในปฐมวัย ก็ยังคงประกอบด้วยปัญญาอันเฉียบแหลมว่องไว อยู่เพียงนั้น เมื่อใดบุรุษนี้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลนาน ผ่านวัยไปแล้วมีอายุ ๘๐ ปี, ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี จากการเกิด เมื่อนั้นเขาย่อมเป็นผู้เสื่อมสิ้นจากปัญญา อันเฉียบ แหลมว่องไว.

สารีบุตร ! ข้อนี้เธออย่าพึงเห็นอย่างนั้น เรานี้แลในบัดนี้เป็นคนแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาแล้ววัย ของเรานับได้ ๘๐ ปี …

สารีบุตร ! ธรรมเทศนาที่แสดงไปนั้น ก็มิได้แปรปรวน บทพยัญชนะแห่งธรรมของตถาคต ก็มิได้แปรปรวนปฏิภาณใน การตอบ ปัญหาของตถาคต ก็มิได้แปรปรวน…

สารีบุตร ! แม้ว่าเธอทั้งหลาย จักนำเราไปด้วยเตียงน้อย (สำหรับหามคนทุพพลภาพ) ความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นแห่ง ปัญญาอันเฉียบแหลมว่องไวของตถาคตก็มิได้มี.

สารีบุตร ! ถ้าผู้ใดจะพึงกล่าวให้ถูกให้ชอบว่า“สัตว์มีความไม่หลงเป็นธรรมดา บังเกิดขึ้น ในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” ดังนี้แล้ว ผู้นั้นพึงกล่าวซึ่งเราผู้เดียวเท่านั้น.

หน้า 281

113 ทรงทำหน้าที่พระพุทธเจ้าบริบูรณ์แล้ว
-บาลี ปา. ที. ๑๑/๑๓๗/๑๐๕.

จุนทะ ! ในบัดนี้เราแล เป็นศาสดา บังเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ อนึ่งธรรมเราได้กล่าวไว้ดีแล้ว ได้ประกาศไว้ ดีแล้ว เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากห้วงทุกข์เป็น ไปพร้อมเพื่อ ความสงบรำงับชื่อว่าประกาศไว้แล้ว โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อนึ่ง สาวกทั้งหลาย เราก็ได้สอนให้รู้แล้วในสัทธรรม พรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง สำหรับสัตว์ เหล่านั้น เราได้กระทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นของหงาย (เข้าใจได้ทันที) ทำให้เป็นบทสงเคราะห์ ทำให้เป็นสิ่งประกอบด้วย ความน่าอัศจรรย์ พอเพียงเพื่อให้ ประกาศได้ดีด้วย โดยเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (สืบไป) แล้ว.

จุนทะ ! ในบัดนี้ เราเป็นศาสดาที่แก่เฒ่า รู้ราตรีนาน บวชนาน มีวัยยืดยาวผ่านไปแล้วโดยลำดับ.

จุนทะ ! ในบัดนี้ ภิกษุผู้เถระ ผู้เป็นสาวกของเราก็มีอยู่ ล้วนเป็นผู้ฉลาด เป็นผู้จูงได้  เป็นผู้แกล้วกล้า ลุธรรม เป็นเครื่องเกษม จากโยคะแล้ว  สามารถจะบอกสอนสัทธรรมสามารถข่มขี่ถ้อยคำอันเป็นข้าศึกที่บังเกิดแล้ว ให้สงบราบคาบโดยธรรม แล้วแสดงธรรมพร้อมทั้งความน่าอัศจรรย์ได้.

จุนทะ ! ในบัดนี้ ภิกษุผู้ปูนกลาง, ผู้ใหม่, ผู้เป็นสาวกของเราก็มีอยู่. จุนทะ ! ในบัดนี้ ภิกษุณีผู้เถระ ผู้ปูนกลาง ผู้ใหม่, ผู้เป็นสาวิกาของเราก็มีอยู่.

จุนทะ ! ในบัดนี้ อุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เป็นสาวกของเราก็มีอยู่, ผู้เป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มขาว ยังบริโภคกาม ผู้เป็นสาวกของเราก็มีอยู่.

จุนทะ ! ในบัดนี้ อุบาสิกา ผู้เป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ และพวกที่ยังบริโภคกามผู้เป็นสาวิกา ของเราก็มีอยู่.

จุนทะ ! ในบัดนี้ พรหมจรรย์ (คือศาสนา) ของเรามั่งคั่ง เจริญ แพร่หลาย เป็นที่รู้จักของมหาชน เป็นปึกแผ่นพอเพื่อเทวดา และ มนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดี (สืบไป)ได้แล้ว.

หน้า 283

114 พรหมจรรย์ของพระองค์ บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
-บาลี ปา. ที. ๑๑/๑๓๘/๑๐๗.

จุนทะ ! ศาสดาทั้งหลาย เท่าที่เกิดขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้, เราไม่เห็นว่ามีศาสดาอื่นใดสักผู้เดียว ที่เป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่งลาภ และยศ เหมือนอย่างเรานี้.

จุนทะ ! สงฆ์หรือหมู่คณะเท่าที่เกิดขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้ เราไม่เห็นว่ามีสงฆ์ หรือคณะอื่นใดสักหมู่เดียว ที่เป็นหมู่ที่ถึงแล้ว ซึ่งลาภและยศ เหมือนอย่างภิกษุสงฆ์นี้.

จุนทะ ! บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ ซึ่งพรหมจรรย์ใดว่าสมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ว่าบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง มีการกล่าวดีแล้วบริบูรณ์สิ้นเชิงประกาศไว้ดีแล้ว แล้วไซร้  เขาเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวพรหมจรรย์นี้แหละ ว่าสมบูรณ์ด้วยอาการทั้ง ปวง ว่าบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง มีการกล่าวดีแล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิงประกาศไว้ดีแล้ว ดังนี้.

หน้า 284

115 ทรงหวังให้ช่วยกันทำความมั่นคง แก่พรหมจรรย์
-บาลี ปา. ที. ๑๑/๑๓๙/๑๐๘.

จุนทะ ! เพราะเหตุนั้น เธอพึงปฏิบัติในกรณีนี้ว่าธรรมเหล่าใด อันเราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ในธรรมเหล่านั้น อันเธอทั้งหลายทุกคน พึงประชุมกัน มั่วสุมกัน แล้วพึงสังคายนาซึ่งอรรถโดยอรรถ ซึ่งพยัญชนะโดยพยัญชนะพึงประพฤติ กระทำให้วิเศษ โดยประการที่พรหมจรรย์นี้ จักดำรงอยู่ยืนนาน จักตั้งอยู่ตลอดกาลยาวนาน. พรหมจรรย์นั้นแหละ จักเป็นไป เพื่อความเกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลเพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

จุนทะ ! ธรรมทั้งหลายอันเราแสดงแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง เหล่านั้นเป็นอย่างไรเล่า … ข้อนี้ได้แก่ธรรมเหล่านี้คือ สติปัฏฐานทั้งหลายสี่ สัมมัปปธานทั้งหลายสี่ อิทธิบาทท้งั หลายสี่ อินทรีย์ทั้งหลายห้า พละทั้งหลายห้า สัมโพชฌงค์ทั้งหลายเจ็ด อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์แปด.

จุนทะ ! ธรรมเหล่านี้แล เป็นธรรมอันเราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง อันเธอทั้งหลาย ทุกคนเทียวพึงประชุมกัน

มั่วสุมกัน แล้วพึงสังคายนาซึ่งอรรถโดยอรรถ ซึ่งพยัญชนะโดยพยัญชนะ พึงประพฤติกระทำให้วิเศษ โดยประการที่พรหมจรรย์นี้ จักดำรงอยู่ยืนนาน จักตั้งอยู่ตลอดกาลยาวนาน. พรหมจรรย์นั้นแหละ จักเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่มหาชนเพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

หน้า 286

116 ทรงปลงอายุสังขาร
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๑๖/๙๔.

อานนท์ ! เธอจงถือผ้าปูนั่งไป เราจักไปสู่ปาวาลเจดีย์เพื่อนั่งพักตลอดเวลากลางวัน. (ณ ที่นี้ ได้ตรัสอานุภาพของอิทธิบาท สี่ประการ ว่าอาจทำบุคคลผู้เจริญได้เต็มที่ ให้มีชีวิตอยู่กัปป์หนึ่ง ก็ได้แต่พระอานนท์มิได้ทูลขอให้ทรงอยู่ เพราะรู้ไม่ทัน ทรงขับพระอานนท์ไปแล้ว มารได้ฟื้นคำสัญญาเรื่องจะปรินิพพาน ในเมื่อพระศาสนาเป็นปึกแผ่นดีแล้ว พระองค์จึงทรงตัดสิน พระทัยในการปรินิพพาน เรียกว่าปลงอายุสังขาร แผ่นดินไหว และตรัสเหตุที่ทำให้แผ่นดินไหว คือ ลมกำเริบ ผู้มีฤทธิ์บันดาล โพธิสัตว์จุติ ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร ปลงอายุสังขาร ปรินิพพาน).

อานนท์ ! เมื่อตะกี้นี้ มารผู้ใจบาป ได้เข้ามาหาเราที่ปาวาลเจดีย์นี้ ยืนอยู่ ณ ที่ข้างหนึ่ง แล้วกล่าวแก่เราว่า “พระผู้มีพระภาค เจ้าจงปรินิพพานเสียเถิด บัดนี้ถึงเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้แต่ก่อนว่า ‘มาร เราจักยังไม่ปรินิพพาน จนกว่าพวกภิกษุสาวก ภิกษุณีสาวิกา อุบาสกสาวก อุบาสิกาสาวิกา จักมีพร้อมบริบูรณ์ จนกว่าพรหมจรรย์ (คือศาสนา) จักมั่งคั่งเจริญ แพร่หลาย เป็นที่รู้จักของมหาชน เป็นปึกแผ่นพอเพื่อมนุษย์ และเทวดา ทั้งหลาย ประกาศได้ด้วยดี (สืบไป)’ ดังนี้

พระองค์ผู้เจริญ ! บัดนี้พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาค มั่งคั่ง เจริญแพร่หลาย เป็นที่รู้จักของมหาชน เป็นปึกแผ่นพอเพื่อ มนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย ประกาศได้ด้วยดีแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานเถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานเถิด” ดังนี้. เราตอบว่า “มารผู้ใจบาป ! เธอไม่ต้องขวนขวายดอก, ไม่นานเลย ตถาคตจักปรินิพพาน อีกสามเดือนจากนี้ ตถาคตก็จัก ปรินิพพาน”ดังนี้.

อานนท์ ! บัดนี้ เรามีสติสัมปชัญญะ ปลงอายุสังขารแล้ว ณ ปาวาลเจดีย์นี้. (พระอานนท์ได้สติ จึงทูลขอให้ดำรง พระชนม์ชีพ อยู่ด้วยอิทธิบาทภาวนา กัปป์หนึ่งหรือยิ่งกว่ากัปป์ ทรงปฏิเสธ)

อานนท์ ! อย่าเลย, อย่าวิงวอนตถาคตเลยมิใช่เวลาจะวิงวอนตถาคตเสียแล้ว. (พระอานนท์ทูลวิงวอนอีก จนครบ สามครั้ง ได้รับพระดำรัสตอบอย่างเดียวกัน ตรัสว่าเป็นความผิดของพระอานนท์ ผู้เดียว แล้วทรงจาระไนสถานที่ ๑๖ แห่งที่เคยให้โอกาสแก่พระอานนท์ในเรื่องนี้ แต่พระอานนท์รู้ไม่ทัน สักครั้งเดียว)

อานนท์ ! ในที่นั้นๆ ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจักห้ามเสียสองครั้ง แล้วจักรับคำในครั้งที่สาม อานนท์ ! ตถาคตได้บอก แล้ว มิใช่หรือ ว่าสัตว์จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น สัตว์จะได้ตามปรารถนา ในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า ข้อที่สัตว์จะหวังเอาสิ่งที่เกิดแล้วเป็นแล้ว มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีการแตกดับ เป็นธรรมดาว่าสิ่งนี้อย่าฉิบหายเลย ดังนี้ ย่อมไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

หน้า 289

117 ทรงให้มีตนและธรรมเป็นที่พึ่ง
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๖/๗๓๗-๗๔๐.

อานนท์ ! เราได้กล่าวเตือนไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า“ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่นจากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น ย่อมมี”.

อานนท์ ! ข้อนั้น จักได้มาแต่ไหนเล่า สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแล้ว มีความชำรุดไปเป็นธรรมดา สิ่งนั้นอย่าชำรุดไปเลย ดังนี้ ข้อนั้น ย่อมเป็นฐานะที่มีไม่ได้.

อานนท์ ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายจงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงมีธรรม เป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ.

อานนท์ ! ภิกษุ มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่น เป็นสรณะนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเนืองๆ อยู่
พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเนืองๆ อยู่
มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

อานนท์ ! ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่ามีตนเป็นประทีปมีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่.

อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดีใครก็ตาม จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่ง อื่นเป็นสรณะ  มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ.”

อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุด แล.

หน้า 291

118 แผ่นดินไหว เนื่องด้วย การปลงอายุสังขาร
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๒๖, ๑๒๗/๙๘, -บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๒๒, ๓๒๓/๑๖๗.

อานนท์ ! เหตุปัจจัยที่ทำให้ปรากฏการไหวแห่งแผ่นดินอันใหญ่หลวงมีอยู่ ๘ ประการ. …อานนท์ ! ในกาลใด ตถาคต มีสติ สัมปชัญญะปลงอายุสังขาร  ในกาลนั้นแผ่นดินย่อมหวั่นไหว ย่อมสั่นสะเทือน ย่อมสั่นสะท้าน.

อานนท์ ! นี่เป็นเหตุที่ ๗ เป็นปัจจัยที่ ๗ แห่งการปรากฏการไหวของแผ่นดินอันใหญ่หลวง.

หน้า 292

119 ทรงมุ่งหวังประโยชน์แก่สาวก 119
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๓๙/๑๐๖.

อานนท์ ! มาเถิด, เราจักไปสู่ป่ามหาวัน เราจักไปยังกูฏาคารศาลา. อานนท์ ! เธอจงให้ภิกษุทุกรูป บรรดาอาศัย เมืองเวสาลี มาประชุมพร้อมกัน ที่อุปัฏฐานสาลาเถิด.(ครั้นภิกษุประชุมพร้อมกันแล้ว ได้ตรัสอภิญญาเทสิตธรรม ดังนี้)

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ธรรมเหล่านั้น พวกเธอพึงเรียนเอาให้ดีพึงเสพ ให้ทั่ว พึงเจริญ ทำให้มาก โดยอาการที่พรหมจรรย์ (คือศาสนา) นี้ จักมั่นคง ตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง คือ สติปัฏฐานสี่ สัมมัปปธานสี่ อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ด อริยมรรคมีองค์แปด.

ภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้เราจักเตือนเธอทั้งหลาย :
สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด การปรินิพพาน ของตถาคต จักมีในกาลไม่นานเลย ตถาคตจักปรินิพพาน โดยกาลล่วงไปแห่งสามเดือนจากนี้.

สัตว์ทั้งปวง ทั้งที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่, ทั้งที่เป็นคนพาลและบัณฑิต ทั้งที่มั่งมีและยากจน ล้วนแต่มีความตาย เป็นที่ไปถึงในเบื้องหน้า. เปรียบเหมือนภาชนะดินที่ช่างหม้อปั้นแล้ว ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกแล้วและยังดิบ ล้วนแต่มีการแตกทำลาย เป็นที่สุด ฉันใด ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลาย ก็มีความตายเป็นเบื้องหน้า ฉันนั้น. วัยของเรา แก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราริบหรี่แล้ว เราจักละพวกเธอไป. สรณะของตัวเองเราได้ทำไว้แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลเป็นอย่างดี มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี ตามรักษา ซึ่งจิตของ ตนเถิด. ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว จักละชาติสงสาร ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

หน้า 294

120 หลักตัดสินธรรมวินัย ๔ ประการ

-บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๔๔-๖/๑๑๓-๖.

๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่าผู้มีอายุ ! ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”…

๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่าในอาวาสชื่อโน้น มีสงฆ์อยู่ พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ (หัวหน้า) ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า“นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”…

๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่าในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูต เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัยนี้เป็นคำสอน ของพระศาสดา”…

๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่าในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นพหูสูตเรียน คัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอน ของพระศาสดา” เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชมยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าว ของผู้นั้น พึงเรียนบทและ พยัญชนะ เหล่านั้นให้ดี แล้วพึงสอบสวนลงใน พระสูตร เทียบเคียงดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตร ก็ไม่ได้เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด” เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย.

ถ้าบทและพยัญนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้เป็นพระดำรัสของ พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้นแน่นอนและภิกษุนั้นรับมาด้วยดี”. เธอทั้งหลาย พึงจำมหาปเทสนี้ไว้.

หน้า 296

121 เหตุแห่งความเจริญ ไม่เสื่อม
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๑/๒๑.

ภิกษทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักหม่นั ประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันให้มากพอ อยู่เพียงใด ความเจริญก็เป็นสิ่ง ที่ภิกษุ ทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักพร้อมเพรียงกันเข้าประชุม จักพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม จักพร้อมเพรียงกัน ทำกิจที่สงฆ์ จะต้องทำ อยู่เพียงใด ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว จักสมาทาน ศึกษาใน สิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักสักการะ เคารพนับถือ บูชา ภิกษุพวกที่เป็นเถระ มีพรรษายุกาล บวชนานเป็น บิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ และตนจักต้องเข้าใจตัวว่า ต้องเชื่อฟังถ้อยคำของท่านเหล่านั้น อยู่เพียงใด ความเจริญ ก็เป็นสิ่งที่ภิกษุ ทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่ลุอำนาจแก่ตัณหาซึ่งเป็นตัวเหตุก่อให้เกิดภพใหม่ที่เกิดขึ้นแล้ว อยู่เพียงใด ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลยอยู่เพียงนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักมีใจจดจ่อในเสนาสนะป่า อยู่เพียงใด ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลาย หวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักเข้าไปตั้งสติไว้อย่างมั่นเหมาะว่า “ทำไฉนหนอ ขอเพื่อนผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ ด้วยกัน ซึ่งมีศีลเป็นที่รักยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่เป็นสุขเถิด” ดังนี้ อยู่เพียงใด ความเจริญก็เป็นสิ่ง ที่ภิกษุทั้งหลาย หวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อมเจ็ดประการเหล่านี้ ยังคงดำรงอยู่ได้ในภิกษุทั้งหลาย และพวกเธอก็ยัง เห็นพ้องต้องกันในธรรมเจ็ดประการเหล่านี้อยู่เพียงใด ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลาย หวังได้ ไม่มี ความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

หน้า 298

122 อย่าเป็นบุรุษคนสุดท้าย
-บาลี ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.

อานนท์ ! ก็กัลยาณวัตรอันเราต้งั ไว้ในกาลนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.

อานนท์ ! กัลยาณวัตรนี้ เป็นอย่างไรเล่า นี้คืออริยมรรคมีองค์ ๘ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะสัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

อานนท์ ! เกี่ยวกับกัลยาณวัตรนั้น เราขอกล่าวกะเธอโดยประการที่เธอทั้งหลาย จะพากันประพฤติตามกัลยาณวัตร ที่เราตั้งไว้แล้วนี้ เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย.

อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลป์ยาณวัตรนี้มีในยุคแห่งบุรุษใด  บุรุษนั้นชื่อว่าบุรุษคนสุดท้ายแห่ง บุรุษทั้งหลาย.

อานนท์ ! เกี่ยวกับกัลยาณวัตรนั้น เราขอกล่าว(ย้ำ) กับเธอ โดยประการที่เธอทั้งหลายจะพากันประพฤติ ตามกัลยาณวัตร ที่เราตั้งไว้แล้วนี้  เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย.

หน้า 299

123 เสวยสูกรมัททวะ
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๔๗/๑๑๗.

อานนท์ ! มาเถิด, เราจักไปสู่เมืองปาวา (ที่นี้ ประทับที่สวนมะม่วงของนายจุนท์ กัมมารบุตร. ทรงแสดงธรรมแก่ นายจุนท์และเสด็จไปรับภัตตาหารที่บ้านในวันรุ่งขึ้น).

จุนทะ ! สูกรมัททวะที่จัดไว้ จงนำมาเลี้ยงเรา ขาทนียะ โภชนียะอย่างอื่น ที่ตกแต่งไว้ จงนำไปเลี้ยงภิกษุสงฆ์.

จุนทะ ! สูกรมัททวะที่เหลือนี้ ท่านจงฝังเสียในบ่อ เราไม่มองเห็นใครในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ที่บริโภคแล้ว จักให้ย่อยได้ นอกจากตถาคต (ต่อจากนี้ก็ประชวร ด้วยโรคปักขันทิกาพาธอย่างกล้า จวนสิ้นพระชนมายุ).

หน้า 300

124 ผลแห่งการถวายบิณฑบาต ที่มีผลยิ่งยอดกว่าบิณฑบาตอื่นๆ
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๔๙/๑๑๗.

อานนท์ ! มาเถิด, เราจักไปเมืองกุสินารา (แล้วเสด็จทั้งที่ยังประชวร ในกลางทาง ทรงแวะนั่ง ณ ร่มไม้แห่งหนึ่ง) อานนท์ !เธอจงปูผ้าสังฆาฏิที่พับเป็นสี่ชั้น ให้เราเถิด เราลำบากกายนัก จักนั่งพัก  อานนท์ ! เธอจงนำน้ำดื่ม มาให้เรา เราระหายนัก

(พระอานนท์ทูลผัดว่า เกวียนห้าร้อยเพิ่งจะผ่านไป น้ำขุ่นหมด ขอให้ทรงทนไปหาน้ำที่แม่นน้ำ กกธุนทีข้างหน้า จนตรัสซ้ำถึง ๒ ครั้ง พระอานนท์จึงไปตักน้ำ แต่น้ำมิได้ขุ่นเลย กลับมาแล้วทูลความอัศจรรย์ข้อนี้. ต่อจากนี้ ทรงพบและสนทนาเรื่องสมาธิอย่างยิ่ง กับปุกกุสะ มัลลบุตร.ในที่สุด เขารับถือสรณะแล้วถวายผ้าเนื้อดีสองผืน).


ปุกกุสะ ! ถ้าอย่างนั้น เธอจงคลุมให้เราผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่ง ให้อานนท์เถิด.

(แต่เมื่อปุกกุสะทำดังนั้นหลีกไปแล้ว พระอานนท์น้อมเข้าไปสู่พระกายพระผู้มีพระภาค ทั้งสองผืน เห็นพระฉวีผ่องใสยิ่งนัก ก็ทูลถาม).

อานนท์ ! เป็นอย่างนั้น, กายของตถาคตย่อมมีฉวีผุดผ่องในกาลสองครั้ง คือ ในราตรีที่ตรัสรู้อนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ และราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

อานนท์ ! การปรินิพพานของตถาคตจักมีในระหว่างต้นสาละคู่ ในสวนสาละอันเป็นที่แวะพักกลางทาง ของพวก มัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินาราในตอนปัจฉิมยามแห่งคืนนี้.

มาเถิด, อานนท์ ! เราจักไปยังแม่น้ำกกุธนทีด้วยกัน. (ทรงสรงในแม่น้ำแล้ว เสด็จเข้าสวนอัมพวัน ประทับนอน สีหเสยยา เพื่อพักผ่อนบนสังฆาฏิพับเป็นสี่ชั้น ปูถวายโดยพระจุนทกะ และตรัสปรารถถึงนายจุนท์).

อานนท์ ! คงมีใครทำความเดือดร้อนให้แก่จุนทะ กัมมารบุตรโดยกล่าวว่า “จุนทะ ! การที่ท่านถวายบิณฑบาต เป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งหาได้โดยยากนั้น ไม่เป็นลาภเสียแล้ว” ดังนี้.

อานนท์ ! เธอพึงกำจัดความเดือดร้อนนั้นเสีย โดยกล่าวว่า “จุนทะ ! การถวายบิณฑบาตครั้งสุดท้ายของท่าน เป็นความดีแล้ว เป็นลาภของท่านแล้ว เราได้ฟังมาแล้วเฉพาะพระพักตร์ว่า บิณฑบาตทั้งสอง มีผลเสมอกัน มีผลยิ่งยอดกว่าบิณฑบาตอื่นๆ คือ บิณฑบาตที่พระตถาคตเจ้าเสวยแล้วตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อย่างหนึ่ง และที่เสวยแล้วเสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

อย่างหนึ่ง. กุศลกรรมที่นายจุนทะสร้างสมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ อายุ วรรณะ สุขะ ยศ สวรรค์ และความเป็นใหญ่.”

อานนท์ ! เธอพึงกำจัดความเดือดร้อนของนายจุนทะกัมมารบุตร ด้วยการกล่าวอย่างนี้แล. (จากนั้นทรงเปล่ง พระอุทานว่า) บุญ ย่อมเจริญ งอกงาม แก่ทายกผู้ให้อยู่ๆ เวรย่อมไม่สืบต่อ แก่บุคคลผู้ระงับเวรเสียได้ คนฉลาดเท่านั้น ละบาปเสียได้แล้วก็นิพพาน เพราะความสิ้นไปแห่ง ราคะโทสะ และโมหะ.

หน้า 303

125 การปรินิพพานหรือ การประทับสีหเสยยาครั้งสุดท้าย
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๕๙/๑๒๘.

อานนท์ ! มาเถิด, เราจักไปสู่ฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญญวดี ไปยังสวนป่าสาละเป็นที่แวะพักของมัลลกษัตริย์ใกล้ เมืองกุสินารา. (ครั้นถึงที่นั้นแล้ว ตรัสสั่งให้ตั้งเตียงปรินิพพาน).

อานนท์ ! เธอจงจัดตั้งเตียงน้อย ระหว่างต้นสาละคู่มีศีรษะทางทิศเหนือ เราลำบากกายนัก จักนอน. (ประทับสีหเสยยาแล้ว มีอัศจรรย์ ดอกสาละผลิผิดฤดูกาล โปรยลงบนพระสรีระดอกมัณฑารพ จุรณ์ไม้จันทน์ ดนตรีล้วนแต่ของทิพย์ ได้ตกลงและ บรรเลงขึ้น เพื่อบูชาพระตถาคตเจ้า).

อานนท์ ! การบูชาเหล่านี้ หาชื่อว่า ตถาคตเป็นผู้ที่ได้รับสักการะ เคารพ นับถือบูชาแล้วไม่.

อานนท์ ! ภิกษุภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใด ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าย่อม สักการะเคารพ นับถือ บูชาตถาคต ด้วยการบูชาอันสูงสุด.

อานนท์ !เพราะฉะนั้นเธอพึงกำหนดใจว่า ‘เราจักประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่’ ดังนี้.(ต่อจากนี้ ทรงขับท่านพระอุปวาณะ ที่เข้ามาอยู่งานพัด พระอานนท์ทูลถามถึงเหตุที่ขับ, ตรัสตอบดังต่อไปนี้)

อานนท์ ! พวกเทวดาในโลกธาตุทั้งสิบโดยมากมาประชุมกันแล้วเพื่อเห็นตถาคต.

อานนท์ ! สวนป่าสาละที่แวะพักของมัลลกษัตริย์แห่งเมือง กุสินารา ๑๒ โยชน์โดยรอบมิได้มีที่ว่างแม้เท่าปลาย ขนทราย ที่เทวดามีศักดิ์มิได้ตั้งอยู่.

เทวดาทั้งหลาย ย่อมยกโทษว่า ‘เราทั้งหลายมาแต่ไกลเพื่อเห็นพระตถาคต ต่อนานนักพระตถาคตจึงจะเกิดขึ้น ในโลก สักคราวหนึ่ง และการปรินิพพานของพระตถาคต ก็จักมีในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ก็พระภิกษุผู้มีศักดิ์ใหญ่ รูปนี้ มายืนเสีย ตรงพระพักตร์ บังอยู่ เราทั้งหลาย ไม่ได้เห็นพระตถาคตในกาลสุดท้าย’ ดังนี้. (ต่อจากนี้ พระอานนท์ทูลถามถึงความรู้สึก ภายในใจของพวกเทวดา ได้ตรัสดังต่อไปนี้)

อานนท์ ! มีพวกเทวดา ผู้มีความสำคัญในอากาศว่าเป็นแผ่นดิน และพวกที่มีความสำคัญในแผ่นดินว่าแผ่นดิน พากันสยายผม ร้องไห้ คร่ำครวญ กอดแขนร้องไห้คร่ำครวญ ล้มกลิ้ง เกลือกไปมา ดุจว่า มีเ ท้าถูกตัดขาดออก รำพันอยู่ว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักปรินิพพาน เสียเร็วนัก พระสุคตจักปรินิพพานเสียเร็วนัก พระผู้เป็นดวงจักษ ุในโลกจักดับหายไปเสียเร็วนัก’ ดังนี้. ส่วนเทวดาเหล่าใด ปราศจากราคะแล้ว เทวดาทั้งหลาย เหล่านั้น มีสติ สัมปชัญญะ อดกลั้น

ด้วยรู้สึกว่า ‘สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ข้อที่จะให้ได้ตามใจหวังในเรื่องนี้นั้น สัตว์จักได้มาแต่ที่ไหนเล่า’ ดังนี้. (ต่อจากนี้พระอานนท์ทูลถึง เมื่อไม่มีพระองค์แล้วสาวกก็ไม่ได้พบปะกันเหมือนดั่งบัดนี้ ทรงแสดงสถานที่สี่แห่ง คือ ที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร และนิพพาน ว่าเป็นที่ควรเห็น และพบปะกันของพุทธบริษัทดังที่ปรากฏอยู่ ในช่วงท้าย. ต่อจากนั้น ตรัสเรื่อง การปฏิบัติในสตรี คือ การไม่พบปะด้วย ถ้าต้องพบปะก็ไม่พูด ถ้าต้องพูดพึงมีสติ ต่อจากนั้น พระอานนท์ได้ทูลถาม ถึงการจัดพระศพ).

อานนท์ ! พวกเธออย่าขวนขวาย เพื่อจัดการบูชาสรีระของตถาคตเลย จงสืบต่อ จงพยายาม ในประโยชน์ของตน (คือการตั้งหน้าปฏิบัติ) เถิด จงอย่าประมาท จงมีความเพียร กำหนดอยู่ในประโยชน์ของตนเถิด.

อานนท์ !กษัตริย์ พราหมณ์ หรือคหบดี ผู้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ในตถาคตก็มีอยู่ เขาเหล่านั้น จักจัดการบูชาสรีระ ของตถาคต.

“ข้าแต่พระองค์ ! เขาเหล่านั้น พึงจัดการอย่างไร”อานนท์ ! เขาพึงจัดเหมือนที่จัดในสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิ  เขาพันสรีระ ของพระเจ้าจักรพรรดิด้วยผ้าใหม่ แล้วซับสำลี แล้วพันด้วยผ้าใหม่โดยอุบายนี้ ๕๐๐ คู่แล้วเชิญลง ในรางเหล็ก เต็มด้วยน้ำมัน ปิดด้วยรางเหล็กอีกรางหนึ่ง กระทำจิตกาธานด้วยของหอมทุกอย่างแล้ว จึงถวายพระเพลิง กระทำสถูป (ที่ระลึก) สำหรับพระมหาจักรพรรดิไว้ ณ หนทางสี่แยก.

อานนท์ ! ชนเหล่านั้นพึงปฏิบัติในสรีระของตถาคต เช่นเดียวกับที่ชนทั้งหลายปฏิบัติในสรีระของ พระมหาจักรพรรดิ นั้นแล ชนเหล่าใดวางพวงมาลัยหรือของหอม หรือจุรณ์หอม ณ ที่นั้นก็ดี หรืออภิวาท หรือทำความเลื่อมใส อยู่ในจิตก็ดี ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่เขาสิ้นกาลนาน.

(ต่อจากนั้นตรัสเรื่องเกี่ยวกับบุคคลควรแก่การก่อสถูป ๔ จำพวก คือ พระตถาคต พระปัจเจกพุทธะ พระสาวก พระเจ้าจักรพรรดิ พระอานนท์เลี่ยงไปยืนเหนี่ยวไม้เต้ากปิสีสะร้องไห้อยู่ ตรัสให้ไปเรียกตัวมา ตรัสสรรเสริญว่า เป็นยอดของ อุปัฏฐากผู้หนึ่ง ในบรรดายอดอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าทั้งปวง.

และสรรเสริญการรอบรู้ในหน้าที่นี้ และการกล่าววาจาเป็นที่ชอบใจแก่ผู้เข้าไปคบหา ต่อจากนั้น พระอานนท์ทูล ขอให้เสด็จไป ปรินิพพานเมืองอื่น เพราะเมืองนี้เป็นเมืองกิ่ง เมืองดอน).

อานนท์ ! เธออย่ากล่าวว่า เมืองน้อย เมืองดอนกิ่งเมือง ดังนี้เลย ครั้งก่อนโน้น ราชาพระนามว่ามหาสุทัศน์ เป็นพระเจ้า จักรพรรดิธรรมราชา มีอาณาเขตกระทั่งมหาสมุทรทั้งสี่ ชนะสงคราม มีชนบทมั่งคั่ง ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ชนิด.

อานนท์ ! เมืองกุสินารานี้แล เป็นราชธานี

ของพระเจ้ามหาสุทัศน์ (ในครั้งนั้น) ชื่อว่ากุสาวดี ยาวทางบุรพทิศ และปัจฉิมทิศ ๑๒ โยชน์ กว้างทางอุตตรทิศ และทักขิณ ทิศ ๗ โยชน์ เกลื่อนกล่นด้วยหมู่มนุษย์ อานนท์ ! เธอจงเข้าไปในเมืองกุสินารา จงบอกแก่มัลลกษัตริย์ ทั้งหลาย แห่งเมืองกุสินาราว่า ‘กษัตริย์ผู้วาเสฏฐโคตรทั้งหลาย ! ในยามสุดท้ายแห่งราตรีวันนี้ การปรินิพพาน ของพระตถาคตเจ้าจักมี.

เชิญท่านทั้งหลายรีบไป, ขออย่าต้องเดือดร้อนในภายหลังว่า การปรินิพพานของพระตถาคตเจ้า ได้มีแล้วใน คามเขต ของพวกเรา แต่พวกเรามิได้เห็นพระตถาคตเจ้าเป็นครั้งสุดท้าย’. (พระอานนท์ผู้เดียวเข้าไปแจ้ง แก่มัลลกษัตริย์ มัลลกษัตริย์ คร่ำครวญโดยนัยเดียวกับพวกเทวดาที่กล่าวมาแล้ว พากันออกมาเฝ้าพระองค์. พระอานนท์จัดให้เฝ้าโดยขานชื่อถวาย ทีละพวก เสร็จก่อนปฐมยาม.

ต่อจากนี้สุภัททปริพพาชกมีโอกาสเข้าเฝ้า ทูลถามความผิดหรือถูกของลัทธิอื่นๆ. ตรัสห้ามเสียแล้วตรัสถึงเรื่อง สมณะ ที่แท้จริงมีเฉพาะในศาสนาที่มีอริยมรรค ประกอบด้วยองค์แปด ไม่มีในศาสนาที่ไม่มีอริยมรรคมีองค์แปด).

สุภัททะ ! เราเมื่อมีวัย ๒๙ ปี บวชแล้วแสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศลๆ นับแต่บวชแล้วได้ ๕๑ ปี ความเป็นไป แห่งธรรมประเทศ เครื่องตรัสรู้ มิได้มีภายนอกจากธรรม-วินัยนี้ แม้สมณะ (สมณะที่ ๑ คือ โสดาบัน) ก็มิได้มี.

ภายนอกจากธรรมวินัยนี้ แม้สมณะที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็มิได้มี. วาทะเครื่องสอนของผู้อื่น ว่างจากสมณะของพวกอื่น สุภัททะ !ก็ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้พึงอยู่โดยชอบเถิด โลกก็จะไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย. (ต่อจากนี้ สุภัททะทูล สรรเสริญเทศนา ขอบรรพชาอุปสมบท ได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาสก่อนอุปสมบท ต่อมาไม่นาน ได้บรรลุอรหัตตผล. (เธอเป็นสาวกองค์สุดท้ายในบรรดาสาวกที่ทันเห็นพระพุทธองค์) ต่อจากนี้ได้ตรัสพระโอวาทที่สำคัญๆ ต่างๆ อีก ๔-๕ เรื่อง).

อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า‘ ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดาล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา’ ดังนี้. อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดดังนั้น. อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา.

อานนท์ ! เวลานี้ พวกภิกษุทั่วไป เรียกกันด้วยคำว่าอาวุโส แก่กันและกัน (ทั้งแก่ทั้งอ่อน) โดยกาลที่เราล่วงลับ ไปแล้ว ไม่ควรเรียกร้องกันดั่งนั้น ผู้แก่กว่า จงเรียกผู้อ่อนโดยชื่อ หรือโดยชื่อสกุล หรือโดยคำว่าอาวุโส ผู้อ่อนกว่าจงร้องเรียก ผู้แก่กว่า ว่า ภันเต หรือ อายัส๎มา.

อานนท์ !โดยกาลที่เราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์จงเลิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ ถ้าต้องการ.
อานนท์ ! โดยกาลที่เราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์จงลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุฉันนะ คือ ภิกษุฉันนะจงกล่าวอะไรได้ตาม พอใจ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนเธอ. (ต่อจากนี้ตรัสประทานโอกาสครั้งสุดท้ายให้ผู้นั้น กล่าวออกมาได้ ถ้าใครยังสงสัยรังเกียจอันใดบ้าง ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์).

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ถ้ามีภิกษุแม้รูปหนึ่ง มีความเคลือบแคลง เห็นแย้งในพระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์ ในมรรค ในข้อปฏิบัติก็ดี จงถามเสีย. อย่าเป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังว่า ‘เราอยู่เฉพาะหน้า พระศาสดาแล้ว ไม่กล้าถามในที่เฉพาะหน้า’ ดังนี้. (ไม่มีภิกษุรูปใดทูลถาม ตลอดเวลาที่ทรงเตือนซ้ำ จนครบ สามครั้ง ในที่สุดตรัสว่า ถ้าไม่กล้าถามเอง ให้วานเพื่อนถามแทน ก็ไม่มีใครทูลถาม. พระอานนท์ทูลสรรเสริญ ความที่ภิกษุสงฆ์แม้แต่รูปหนึ่ง ก็ไม่มีใครเคลือบแคลงในพระศาสดา หรือธรรมวินัยของตน ตรัสว่า)

อานนท์ ! เธอกล่าวด้วยความเลื่อมใสและหยั่งถึง. ที่จริงในเรื่องนี้ ความรู้สึกของตถาคตก็มีแล้วว่า ความเคลือบแคลง เห็นแย้ง ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

ในมรรค ในข้อปฏิบัติ ของภิกษุแม้รูปเดียว ในภิกษุสงฆ์นี้ไม่มีเลย, อานนท์ ! เพราะว่าในบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้รูปใด ที่ต่ำที่สุดกว่าเขาทั้งปวง รูปนั้น ก็ยังเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงต่อนิพพาน มีการตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า

(ในที่สุด ได้ทรงเตือนเป็นครั้งสุดท้ายว่า) :

ภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้ เราจักเตือนพวกเธอทั้งหลายว่า‘ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็น ธรรมดา. พวกเธอทั้งหลาย จงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด’ ดังนี้.

นี่เป็นวาจาครั้งสุดท้ายของตถาคต.

หน้า 311

126 แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการปรินิพพาน

-บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๒๖, ๑๒๗/๙๘.

อานนท์ ! ในกาลใด ตถาคตปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในกาลนั้น ปฐวีย่อมไหว ย่อมสั่นย่อมสะเทือน. อานนท์ ! นี่เป็นเหตุที่แปด เป็นปัจจัยที่แปด แห่งการปรากฏของแผ่นดินไหวอันใหญ่.

หน้า 312

127 การปรินิพพานของพระองค์ คือความทุกข์ร้อนของมหาชน
-บาลี เอก. อํ. ๒๐/๒๙/๑๔๒.

ภิกษุทั้งหลาย ! การทำกาลกิริยาของบุคคลเอกย่อมเป็นความทุกข์ร้อนของมหาชนเป็นอันมาก. การทำกาลกิริยาของบุคคล เอกคนใดเล่า ? คือการทำกาลกิริยาของพระตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง.

ภิกษุทั้งหลาย ! การทำกาลกิริยาของบุคคลเอกนี้แล ย่อมเป็นความทุกข์ร้อนของมหาชนเป็นอันมาก.

หน้า 313

128 หลังปรินิพพาน เทวดาและมนุษย์ จะไม่เห็นตถาคตอีก
-บาลี สี. ที. ๙/๕๙/๙๐.

ภิกษุทั้งหลาย ! กายของตถาคตนี้ มีตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปหาภพ ถูกตถาคตถอนขึ้นเสียได้แล้ว ดำรงอยู่. กายนี้ยังดำรง อยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังคงได้เห็นตถาคตนั้น อยู่เพียงนั้น เพราะการทำลายแห่งกาย หลังจากการควบคุม กันอยู่ได้ของชีวิต เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จักไม่เห็นตถาคตนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อขั้วพวงมะม่วงขาดแล้ว มะม่วงทั้งหลายเหล่าใดที่เนื่องขั้วเดียวกัน มะม่วงเหล่านั้นทั้งหมดย่อมเป็น ของตกตามไปด้วยกันนี้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ! กายของตถาคตก็ฉันนั้น กายของตถาคตมีตัณหา เครื่องนำไปหาภพ ถูกตถาคตถอนขึ้นเสียได้แล้ว ดำรงอยู่.

กายนี้ดำรงอยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังคงเห็นตถาคตอยู่ชั่วเวลาเท่านั้น. เพราะการทำลายแห่งกาย หลังจาก การควบคุมกันอยู่ได้ของชีวิต เทวดาและมนุษย์ท้งั หลาย จักไม่เห็นตถาคตเลย.

หน้า 314

129 สังเวชนียสถานภายหลัง พุทธปรินิพพาน
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๖๓/๑๓๑.

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แต่ก่อนนี้ ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาในทิศต่างๆ แล้วย่อมมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้มีโอกาสเห็นภิกษุทั้งหลายผู้น่าเจริญใจเหล่านั้น ได้มีโอกาสเข้าพบปะภิกษุทั้งหลาย ผู้น่าเจริญใจเหล่านั้น .

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าล่วงลับไปแล้ว พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย ย่อมหมดโอกาสที่จะได้เห็น หรือได้เข้าพบปะ ภิกษุ ทั้งหลายผู้น่าเจริญใจเหล่านั้นอีกต่อไป”อานนท์ ! สถานที่ที่ควรเห็น และควรเกิดความสังเวช แก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา มีอยู่ ๔ ตำบล.

๔ ตำบล อะไรเล่า ?

(๑) สถานที่ ที่ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา ว่าตถาคตประสูติ แล้ว ณ ที่นี้.
(๒) สถานที่ ที่ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา ว่าตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมา -สัมโพธิญาณแล้ว ณ ที่นี้.
(๓) สถานที่ ที่ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา ว่าตถาคตได้ประกาศอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ณ ที่นี้.
(๔) สถานที่ ที่ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา ว่าตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-นิพพานธาตุแล้ว ณ ที่นี้.

อานนท์ ! สถานที่ ที่ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา มี ๔ ตำบลเหล่านี้แล.
อานนท์ ! ภิกษุทั้งหลาย หรือภิกษุณีทั้งหลายหรืออุบาสกทั้งหลาย หรืออุบาสิกาทั้งหลาย ผู้มีศรัทธาจักพากันมาสู่สถานที่ ๔ ตำบลเหล่านี้ โดยหมายใจว่า

ตถาคตได้ประสูติแล้ว ณ ที่นี้บ้าง
ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมา-สัมโพธิญาณแล้ว ณ ที่นี้บ้าง
ตถาคตได้ประกาศอนุตตร-ธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ณ ที่นี้บ้าง
ตถาคตได้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ณ ที่นี้บ้าง ดังนี้.

อานนท์ ! ชนเหล่าใด เที่ยวไปตามเจดียสถานจักมีจิตเลื่อมใส ทำกาละแล้ว ชนเหล่านั้น จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกายดังนี้.

หน้า 316

130 สถานที่ที่ควรจะระลึกตลอดชีวิต
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๑๓๔/๔๕๑.

ภิกษุทั้งหลาย ! สถานที่ ๓ แห่ง เป็นที่ระลึกตลอดชีวิตของพระราชา ผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษกแล้ว.  

๓ แห่งที่ไหนบ้างเล่า ? ๓ แห่ง คือ :-

พระราชา ผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก ประสูติ ณ ตำบลใดตำบลนี้เป็นที่ระลึกตลอดชีวิตของพระราชา พระองค์นั้นเป็นแห่งที่หนึ่ง
พระราชา ได้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษกแล้วณ ตำบลใด ตำบลนี้เป็นที่ระลึกตลอดชีวิตของพระราชาพระองค์นั้น เป็นแห่งที่สอง
พระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธา-ภิเษก ทรงผจญสงครามได้ชัยชนะแล้ว เข้ายึดครองสนามรบนั้นไว้ได้ ณ ตำบลใด ตำบลนี้เป็นที่ระลึกตลอดชีวิตของพระราชาพระองค์นั้น เป็นแห่งที่สาม.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น สถานที่สามแห่งเป็นที่ระลึกตลอดชีวิตของภิกษุเหมือนกัน. สามแห่งที่ไหน บ้างเล่า ? สามแห่งคือ :-

ภิกษุ ปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน ณ สถานที่ใด สถานที่นี้เป็นที่ ควรระลึกตลอดชีวิตของภิกษุนั้นเป็นแห่งที่หนึ่ง.

ภิกษุ ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า ทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ เหตุให้เกิดทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ และ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ ณ สถานที่ใด สถานที่นี้ก็เป็นที่ควรระลึกตลอดชีวิต ของภิกษุนั้น เป็นแห่งที่สอง.

ภิกษุ กระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่นี้ก็เป็นที่ควรระลึกตลอดชีวิต ของภิกษุนั้น เป็นแห่งที่สาม.

ภิกษุทั้งหลาย ! สถานที่สามแห่งเหล่านี้ เป็นที่ควรระลึกตลอดชีวิตของภิกษุแล.

หน้า 320

131 ทรงมีตถาคตพละสิบอย่าง
-บาลี มู. ม. ๑๒/๑๔๐/๑๖๖, -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๓๓/๖๕.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเป็นผู้ประกอบด้วยพละ๑๐ อย่าง และประกอบด้วยเวสารัชชญาณ ๔ อย่างจึงปฎิญญา ตำแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร ในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย.

สารีบุตร ! เหล่านี้เป็นตถาคตพละ ๑๐ อย่าง ของตถาคต ที่ตถาคตประกอบพร้อมแล้ว ปฎิญญาตำแหน่งจอมโลก บันลือ สีหนาทประกาศพรหมจักร ในท่ามกลางบริษัททั้งหลายได้ สิบอย่างคือ

(๑) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งสิ่งเป็นฐานะ(คือมีได้เป็นได้) โดยความเป็นสิ่งมีฐานะ ซึ่งสิ่งไม่เป็นฐานะ (คือไม่มีได้ไม่เป็นได้) โดยความเป็นสิ่งใช่ฐานะ นี้เป็นตถาคตพละของตถาคต.

(๒) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริงซึ่งวิบาก (คือผล) ของการทำกรรมที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้ทั้งโดยฐานะ และโดยเหตุ  นี่ก็เป็นตถาคตพละของตถาคต.

(๓) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งปฏิปทาเครื่องทำผู้ปฏิบัติให้ไปสู่ภูมิทั้งปวงได้  นี่ก็เป็นตถาคตพละของตถาคต.

(๔) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งโลกนี้อันประกอบด้วยธาตุมิใช่อย่างเดียว ด้วยธาตุต่างๆกัน นี่ก็เป็นตถาคต พละของตถาคต.

(๕) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งอธิมุติ (คือฉันทะและอัธยาศัย) อันต่างๆกัน ของสัตว์ทั้งหลาย  นี่ก็เป็นตถาคต พละของตถาคต.

(๖) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่น  นี่ก็เป็นตถาคต พละของตถาคต.

(๗) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมองความผ่องแผ้ว ความออก แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ทั้งหลาย นี่ก็เป็นตถาคตพละของตถาคต.

(๘) ตถาคต ย่อมระลึกได้ ซึ่งขันธ์อันตนเคยอยู่อาศัยในภพก่อน มีชนิดต่างๆ กัน คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง1 …  นี่ก็เป็นตถาคตพละของตถาคต.
1. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหน้า ๑๗๕ ว่าด้วยวิชชาที่หนึ่ง.

(๙) ตถาคต ย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลายด้วยทิพยจักขุอันหมดจด ก้าวล่วงจักขุมนุษย์ เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้เคลื่อน อยู่บังเกิดอยู่1 นี่ก็เป็นตถาคตพละของตถาคต.

(๑๐) ตถาคต ย่อมทำให้แจ้ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ 2 … นี่ ก็เป็นตถาคตพละของตถาคต.

สารีบุตร ! เหล่านี้แล เป็นตถาคตพละสิบอย่างของตถาคต ที่ตถาคตประกอบแล้ว ย่อมปฏิญญาตำแหน่งจอมโลก บันลือ สีหนาทประกาศพรหมจักร ให้เป็นไปในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย.
1. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหน้า ๑๗๖ ว่าด้วยวิชชาที่สอง.
2. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหน้า ๑๗๗ ว่าด้วยวิชชาที่สาม.


หน้า 323

132 ทรงทราบความยิ่งและหย่อน แห่งอินทรีย์ของสัตว์
-บาลี ม. ม. ๑๓/๑๘๗/๑๘๑.

อุทายิ ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่ในโลก.สี่จำพวกเหล่าไหนเล่า ? สี่จำพวก คือ :-

อุทายิ ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละเพื่อสลัดคืนซึ่งอุปธิ ความดำริอันซ่านไป (สรสงฺกปฺปา) ซึ่งประกอบด้วย อุปธิ กลุ้มรุมเขาอยู่  เขาทนมีความดำริอันซ่านไปเหล่านั้น ไม่ละเสีย ไม่บรรเทาเสีย ไม่กระทำให้สิ้นสุดเสียไม่กระทำให้ถึง ซึ่งความไม่มี  

อุทายิ ! เราย่อมกล่าวบุคคลนี้แลว่า เป็นผู้ประกอบอยู่ด้วยกิเลส (สํยุตฺโต) หาใช่เป็นผู้ปราศจากกิเลส (วิสํยุตฺโต) ไม่. เพราะเหตุไรเราจึงกล่าวอย่างนั้น ?

อุทายิ ! เพราะเหตุว่า เรารู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ (ที่มีอยู่) ในบุคคลนี้.

อุทายิ ! แต่ว่าบุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละ เพื่อสลัดคืนซึ่งอุปธิ ความดำริอันซ่านไป ซึ่งประกอบด้วยอุปธิ กลุ้มรุมเขาอยู่  เขาไม่ทนมีความดำริอันซ่านไปเหล่านั้น เขาละอยู่ บรรเทาอยู่ กระทำให้สิ้นสุดอยู่ กระทำ

ให้ถึงซึ่งความไม่มีอยู่ อุทายิ ! เราย่อมกล่าวบุคคลแม้นี้ว่ายัง เป็นผู้ประกอบอยู่ด้วยกิเลส หาใช่เป็นผู้ปราศจาก กิเลสไม่อยู่ นั่นเอง. เพราะเหตุไรเราจึงกล่าวอย่างนั้น ?

อุทายิ !เพราะเหตุว่า เรารู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ (ที่มีอยู่) ในบุคคลนี้.

อุทายิ ! แต่ว่าบุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละ เพื่อสลัดคืนซึ่งอุปธิ  เพราะการหลงลืมแห่งสติในกาล บางคราว ความดำริอันซ่านไป ซึ่งประกอบด้วยอุปธิก็กลุ้มรุมเขาอยู่  

อุทายิ ! (ระยะเวลาที่) สติ (จะกลับ) เกิดขึ้นก็ยังช้า (กว่าระยะเวลาที่) เขาทำให้ความดำรินั้นละไป บรรเทาไปสิ้นสุดไป ถึงความไม่มีไปอย่างฉับพลัน ไปเสียอีก.

อุทายิ ! เปรียบเหมือนบุรุษหยดน้ำสองสามหยดลงไปในกระทะเหล็ก ที่ร้อนเปรี้ยงอยู่ทั้งวัน (ระยะเวลาที่) น้ำหยดลงไปยัง ช้า(กว่าระยะเวลาที่) น้ำนั้นถึงซึ่งความเหือดแห้งหายไปอย่างฉับพลัน ฉันใด  

อุทายิ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันกล่าวคือ บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละ เพื่อสลัดคืนซึ่งอุปธิ  เพราะการ หลงลืมแห่งสติในกาลบางคราว ความดำริ อันซ่านไป ซึ่งประกอบด้วยอุปธิ ก็กลุ้มรุมเขาอยู่

อุทายิ ! (ระยะเวลาที่) สติ (จะกลับ) เกิดขึ้นก็ยังช้า (กว่าระยะเวลาที่) เขาทำให้ความดำรินั้นละไป บรรเทาไป สิ้นสุดไปถึงความไม่มี ไปอย่างฉับพลัน ไปเสียอีก  

อุทายิ ! เราย่อมกล่าวบุคคล แม้นี้ว่า ยังเป็นผู้ประกอบอยู่ด้วยกิเลส หาใช่เป็นผู้ปราศจากกิเลสไม่ อยู่นั่นเอง. เพราะเหตุไรเราจึงกล่าวอย่างนั้น ?

อุทายิ ! เพราะเหตุว่า เรารู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ (ที่มีอยู่) ในบุคคลนี้.

อุทายิ ! ก็แต่ว่า บุคคลบางคนในกรณีนี้ รู้แจ้งว่า “อุปธิเป็นมูลแห่งทุกข์” ดังนี้แล้ว เป็นผู้ปราศจากอุปธิหลุดพ้น แล้ว เพราะความสิ้นแห่งอุปธิ

อุทายิ ! เราย่อมกล่าวบุคคลนี้แล ว่าเป็นผู้ปราศจากกิเลส หาใช่เป็นผู้ประกอบอยู่ ด้วยกิเลสไม่.

เพราะเหตุไรเราจึงกล่าวอย่างนั้น อุทายิ !เพราะเหตุว่า เรารู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ (ที่มีอยู่) ในบุคคลนี้.

อุทายิ ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้แล มีอยู่ในโลก.