เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ             

  ตถาคต-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
    2 of 6  
 
  จากหนังสือ ตถาคต(พุทธวจน)  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  32 . กามสุขกับความหน่าย 63  
  33 . ทรงหลงกามและหลุดจากกาม 66  
  34 . ความรู้สึก ที่ถึงกับทำให้ออกผนวช 67  
  เริ่มแต่ออกบรรพชาแล้วเที่ยวเสาะแสวงหาความรู้ ทรมานพระองค์ จนได้ตรัสรู้ 73  
  35 . การออกบรรพชา 74  
  36 . เสด็จสำนักอาฬารดาบส 75  
  37 . เสด็จสำนักอุทกดาบส 79  
  38 . ทรงพบสถานที่ประกอบความเพียร 83  
  39 . อุปมาปรากฏแจ่มแจ้ง 84  
  40 . บำเพ็ญทุกรกิริยา 88  
  41 . ทรงประพฤติอัตตกิลมถานุโยค (วัตรของเดียรถีย์) 95  
  42 . ทรงแน่พระทัยว่าไม่อาจตรัสรู้เพราะ การทำทุกรกิริยา 104  
  43 . ทรงกลับพระทัยฉันอาหารหยาบ 105  
  44 . ปัญจวัคคีย์หลีกไป 107  
  45 . ความฝันครั้งสำคัญ ก่อนตรัสรู้ 108  
  46 . ทรงทำลายความขลาด ก่อนตรัสรู้ 111  
  47 . ทรงกั้นจิตจากกามคุณในอดีต ก่อนตรัสรู้ 115  
  48 . ทรงคอยควบคุมวิตก ก่อนตรัสรู้ 117  
  49 . ทรงค้นวิธีแห่งอิทธิบาท ก่อนตรัสรู้ 123  
  50 . ธรรมที่ทรงอบรมอย่างมาก ก่อนตรัสรู้ 125  
       
 
 





ตถาคต Page 2/6


หน้า 63

32 กามสุขกับความหน่าย
-บาลี ม. ม. ๑๓/๒๗๔/๒๘๑.

…มาคัณฑิยะ ! ครั้งเมื่อเรายังเป็นคฤหัสถ์ประกอบการครองเรือน ได้อิ่มพร้อมไปด้วยกามคุณ ทั้งห้า ให้เขาบำเรอตน ด้วยรูปที่เห็นได้ด้วยจักขุ ด้วยเสียงที่ฟังได้ด้วยหู ด้วยกลิ่นอันดม ได้ด้วยจมูก ด้วยรสอันลิ้มได้ด้วยลิ้น ด้วยโผฏฐัพพะอันสัมผัสได้ด้วยกาย ล้วนแต่ที่สัตว์ อยากได้ รักใคร่พอใจ ยวนใจ เข้าไปตั้งไว้ซึ่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งราคะ.

มาคัณฑิยะ ! ปราสาทของเรานั้น มีแล้ว ๓ แห่งปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน ปราสาทหนึ่ง เป็นที่อยู่ ในฤดูหนาว ปราสาทหนึ่งสำหรับฤดูร้อน. มาคัณฑิยะ !เราให้บำเรอตนอยู่ด้วย ดนตรี ล้วนแต่สตรี ไม่มีบุรุษ เจือปน ณ ปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูฝนสี่เดือน ไม่ลงจากปราสาท ครั้นล่วงไปถึงสมัยอื่น มามองเห็น เหตุเป็น ที่บังเกิด และความที่ตั้งอยู่ไม่ได้ และความอร่อย และโทษอันตํ่าทราม และอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น แห่งกามทั้งหลาย ตามเป็นจริง จึงละความอยากในกามเสีย บรรเทาความเดือดร้อน
หน้า 64
เพราะกาม ปราศจากความกระหายในกาม มีจิตสงบ ณ ภายใน. เรานั้นเห็นสัตว์เหล่าอื่น ยังไม่ปราศจากความ กำหนัดในกาม ถูกตัณหาในกามเคี้ยวกินอยู่ ถูกความกระวนกระวาย ในกามรุมเผาเอาอยู่ แต่ก็ยังขืนเสพกาม เรามิได้ทะเยอทะยานตามสัตว์เหล่านั้น ไม่ยินดี ในการเสพกามนั้นเลย. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุใด ?

มาคัณฑิยะ ! เพราะว่าคนเรา ถึงแม้ยินดีด้วยความยินดีที่ปราศจากกาม หรือปราศจากอกุศล แล้ว ก็ยังจัดเป็น สัตว์ที่เลวทรามอยู่ เราจึงไม่ทะเยอทะยานตามสัตว์เหล่านั้น ขืนเสพกาม อีกเลย.

มาคัณฑิยะ ! คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้มั่งคั่งมีทรัพย์สมบัติมาก เพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า ให้เขาบำเรอตน ด้วย รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ อันสัตว์ปรารถนารักใคร่ชอบใจ ยั่วยวน เข้าไปตั้งอยู่ด้วยความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งราคะ.

ถ้าหากเขานั้นประพฤติสุจริตด้วยกายวาจา ใจ เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป พึงเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ เป็นสหายกับเหล่าเทพในดาวดึงส์ เทพบุตรนั้นมีนางอัปสรแวดล้อมอยู่ใน นันทวัน อิ่มหนำ เพียบพร้อมด้วยกาม ให้นางอัปสรบำเรอตนด้วยกามคุณห้าอันเป็นทิพย์
หน้า 65
ในดาวดึงส์นั้น. เทวบุตรนั้นหากได้เห็นคฤหบดี หรือบุตรของคฤหบดี (ในมนุษย์โลกนี้) อิ่มหนำ เพียบพร้อมด้วยกาม ให้เขาบำเรอตนด้วยกามอยู่.

มาคัณฑิยะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร เทพบตุ รนนั้จะทะเยอทะยานต่อกามคุณของคฤหบดี หรือบุตร ของคฤหบดี นั้นบ้างหรือ หรือจะเวียนมาเพื่อกามอันเป็นของมนุษย์นี้บ้าง ?

“พระโคดม ! หามิได้เลย เพราะว่ากามที่เป็นทิพย์ น่ารักใคร่กว่าประณีตกว่า กามของมนุษย์”.

หน้า 66

33 ทรงหลงกามและหลุดจากกาม
-บาลี มู. ม. ๑๒/๑๘๐/๒๑๑.

มหานาม ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ แม้เป็นผู้มีสติ ระลึกได้ว่า “กามทั้งหลาย มีรสที่น่ายินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมากโทษ อันแรงร้ายมีอยู่ในกามนั้น อย่างยิ่ง” ก็ดี แต่เรานั้นยังไม่ได้บรรลุสุขอันเกิดแต่ปีติ หรือ ธรรมอื่นที่สงบยิ่งไปกว่าปีติสุขนั้น นอกจากได้เสวยแต่กาม และอกุศลธรรมอย่างเดียว เราจึงเป็นผู้หมุนกลับจากกามไม่ได้, ไม่รู้อย่างแจ่มแจ้งในกามทั้งหลาย อยู่เพียงนั้น.

มหานาม ! เมื่อใด เป็นอันว่าเราได้เห็นข้อนี้อย่างดีด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงว่า “กามทั้งหลาย มีรสที่น่ายินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษอันแรงร้าย มีอยู่ใน กามนั้นอย่างยิ่ง” แล้ว ...เมื่อนั้น เราก็เป็นผู้ไม่หมุนกลับมาสู่กามทั้งหลาย รู้จักกามทั้งหลาย อย่างแจ่มแจ้งได้.

หน้า 67

34 ความรู้สึก ที่ถึงกับทำให้ออกผนวช
-บาลี มู. ม. ๑๒/๓๑๖-๓๑๗/๓๑๖.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในโลกนี้ ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้เมื่อเรายังไม่ได้ ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่
ตนเองมีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่แล้ว
ก็ยังมัวหลงแสวงหา สิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา อยู่นั่นเอง

ตนเองมีความแก่เป็นธรรมดาอยู่แล้ว
ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความแก่ เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง

ตนเองมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอยู่แล้ว
ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อยู่นั่นเอง

ตนเองมีความตายเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง

ตนเองมีความโศกเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความโศก เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง

ตนเองมีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองโดยรอบ ด้านเป็นธรรมดาอยู่นั่นเองอีก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อะไรเล่า เป็นสิ่งที่มีความเกิด(เป็นต้น) … มีความเศร้าหมองโดยรอบด้าน (เป็นที่สุด) เป็นธรรมดา ?

ภิกษุทั้งหลาย !
บุตรและภรรยา มีความเกิดเป็นธรรมดา …
มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา.
ทาสหญิงทาสชาย มีความเกิดเป็นธรรมดา…
มีความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดา.
แพะ แกะ มีความเกิดเป็นธรรมดา …
มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา.
ไก่ สุกร มีความเกิดเป็นธรรมดา …
มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา.
ช้าง โค ม้า ลา มีความเกิดเป็นธรรมดา …
มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา.
ทองและเงิน เป็นสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา
มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา.

สิ่งที่มนุษย์เข้าไปเทิดทูนเอาไว้ เหล่านี้แลที่ชื่อว่าสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา … มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา ซี่งคนในโลกนี้พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากันสยบอยู่ในสิ่งเหล่านี้ จึงทำให้ตนทั้งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา …
มีความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา …ที่มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา อยู่นั่นเองอีก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความคิดอันนี้ ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า “ทำไมหนอ เราซึ่งมีความเกิด … ความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว จะต้องไปมัวแสวงหาสิ่งที่มีความเกิด … ความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดาอยู่อีก.

ไฉนหนอ เราผู้มีความเกิด … ความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว ครั้นได้รู้สึกถึงโทษ อันต่ำทรามของการมีความเกิด … ความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดานี้แล้ว เราพึงแสวงหานิพพาน อันไม่มีความเกิด … ไม่มีความเศร้าหมอง โดยรอบด้าน อันเป็นธรรมที่เกษมจากเครื่องร้อยรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าเถิด”.

ภิกษุทั้งหลาย ! เรานั้นโดยสมัยอื่นอีก ยังหนุ่มเทียวเกสายังดำจัด บริบูรณ์ ด้วยความหนุ่ม ที่กำลังเจริญ ยังอยู่ในปฐมวัย เมื่อมารดาบิดาไม่ปรารถนาด้วย กำลังพากันร้องไห้ น้ำตานองหน้าอยู่ เราได้ปลงผม และหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนแล้ว.
(ข้อสังเกต: ไม่พบว่ามีพุทธวจน กล่าวถึงการได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง ๔ อันเป็นเหตุให้ตัดสินใจ ออกผนวช ซึ่งการทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง ๔ นั้น พบแต่ในส่วนประวัติของพระพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ดังปรากฏในมหาปทานสูตร -บาลี มหา. ที. ๑๐/๒๔/๓๒. -ผู้รวบรวม) (ในบาลี สคารวสูตร1 ม. ม. ๑๓/๖๖๙/๗๓๘. มีที่ตรัสไว้สรุปแต่สั้นๆ ว่า :-)

ภารทวาชะ ! ในโลกนี้ ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความคิดนี้เกิดมีแก่เราว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี ส่วนบรรพชาเป็นโอกาสว่าง ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขาขัดดี แล้ว,โดยง่ายนั้นไม่ได้. ถ้าไฉนเราพึงปลงผม และหนวดครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด” ดังนี้.ภารทวาชะ ! เรานั้นโดยสมัยอื่นอีก ยังหนุ่มเทียว …
1. นอกจากนี้ยังมีในสูตรอื่นอีก เช่น มหาสัจจกสูตร -บาลี มู. ม. ๑๓/๔๔๒/๔๑๑.เป็นต้น. -ผู้แปล


หน้า 74

35 การออกบรรพชา
-บาลี ม. ม. ๑๓/๔๔๓/๔๘๙, -บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๗๖/๑๓๙.

…ราชกุมาร ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ได้เกิด ความรู้สึกขึ้นภายในใจว่า‘ ชื่อว่าความสุขแล้ว ใครๆ จะบรรลุได้โดยง่ายเป็นไม่มี’ ดังนี้.

ราชกุมาร ! ครั้นสมัยอื่นอีก เรานั้นยังหนุ่มเทียว เกสายังดำจัด บริบูรณ์ด้วยเยาว์อันเจริญ ในปฐมวัย เมื่อมารดาบิดาไม่ปรารถนาด้วย กำลังพากันร้องไห้ น้ำตานองหน้าอยู่ เราได้ปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาดออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนแล้ว…

…เรามีอายุได้ สามสิบหย่อนหนึ่งโดยวัย ได้ออกบรรพชา แสวงหาว่า ‘อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นกุศล’ ดังนี้. ...

หน้า 75

36 เสด็จสำนักอาฬารดาบส
-บาลี ม. ม. ๑๓/๔๔๓-๔๔๖/๔๘๙.1

เรานั้น ครั้นบวชอย่างนี้แล้ว แสวงหาอยู่ว่า อะไรเป็นกุศล ค้นหาแต่สิ่งที่ประเสริฐฝ่ายสันติ ชนิดที่ไม่มีอะไร ยิ่งไปกว่า ได้เข้าไปหาอาฬารดาบสผู้กาลามโคตรถึงที่สำนักแล้วกล่าวว่า “ท่านกาลามะ ! เราอยากประพฤต ิพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ด้วย”.

ราชกุมาร ! ครั้นเรากล่าวดังนี้แล้ว อาฬารดาบสผู้กาลามโคตรได้ตอบว่า“อยู่เถิดท่านผู้มีอายุ ! ธรรมนี้เป็นเช่นนี้ๆ  ถ้าบุรุษเข้าใจความแล้ว ไม่นานเลยคงทำให้แจ้ง บรรลุได้ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ทั่วถึงลัทธิของอาจารย์ตน”.

ราชกุมาร ! เราเล่าเรียนธรรมนั้นได้ฉับไวไม่นานเลย.
ราชกุมาร ! เรานั้นกล่าวได้ทั้ง ญาณวาท และ เถรวาทด้วยอาการมาตรว่าท่องด้วยปาก และด้วยเวลาชั่ว ที่เจรจาตอบตลอดกาลเท่านั้น.
อนึ่ง เราและศิษย์อื่นๆ ปฏิญญาได้ว่าเรารู้เราเห็นดังนี้.

ราชกุมาร ! ความรู้สึกเกิดขึ้นแก่เราว่า “อาฬารผู้กาลามโคตรประกาศให้ผู้อื่นทราบว่า เราทำให้แจ้งธรรมนี้ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วแลอยู่ ด้วยคุณสักว่าศรัทธาอย่างเดียว ก็หามิได้ ที่แท้อาฬารผู้กาลามโคตรคงรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งธรรมนี้เป็นแน่”.

1. ยังมีตรัสในพระสูตรอื่นอีก คือ สคารวสูตร -บาลี ม. ม. ๑๓/๖๗๐/๗๓๘, ปาสราสิสูตร-บาลี มู. ม. ๑๒/๓๑๘/๓๑๗, มหาสัจจกสูตร -บาลี มู. ม. ๑๒/๔๔๒/๔๑๑. –ผู้แปล

ราชกุมาร ! ครั้งนั้นเราเข้าไปหาอาฬารผู้กาลามโคตรถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า“ท่านกาลามะ ! ท่านทำให้แจ้งธรรม นี้ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วและประกาศได้เพียงเท่าไรหนอ ?”.

ครั้นเรากล่าวอย่างนี้ อาฬารผู้กาลามโคตรได้ประกาศให้รู้ถึง อากิญจัญญายตนะแล้ว. ราชกุมาร !ความรู้สึกได้ เกิดขึ้น แก่เราว่า “ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา จักมีแต่ของอาฬารผู้กาลามโคตรผู้เดียวก็หาไม่.

ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเราก็มีอยู่ ; อย่างไรก็ตาม เราจักตั้งความเพียร ทำให้แจ้งธรรมที่ท่าน กาลามะประกาศแล้วว่า ‘เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วแลอยู่’ดังนี้ ให้จงได้”.

ราชกุมาร ! เราได้บรรลุทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองฉับไวไม่นานเลย.

ราชกุมาร ! ครั้งนั้นเราเข้าไปหาอาฬารผู้กาลามโคตรถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “มีเท่านี้หรือ ที่ท่านบรรลุถึง ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศแก่ผู้อื่นอยู่ ?”. “เท่านี้เองผู้มีอายุ ! ที่เราบรรลุถึง ทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศแก่ผู้อื่นอยู่”.

“ท่านกาลามะ ! แม้เราก็บรรลุทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองถึงเพียงนั้นเหมือนกัน”.

ราชกุมาร ! อาฬารผู้กาลามโคตรได้กล่าวกะเราว่า“ลาภของเราแล้วท่านผู้มีอายุ ! เราได้ดีแล้ว ท่านผู้มีอายุ !มิเสียแรงที่ได้พบเพื่อนร่วมพรหมจรรย์เช่นกับท่าน ผู้ทำให้แจ้งธรรม ที่เรารู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แม้เราก็ทำให้แจ้งธรรมที่ท่านทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเองนั้นอย่างเดียวกัน. เรารู้ธรรมใด ท่านรู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เรารู้ธรรมนั้น เราเป็นเช่นใด ท่านเป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเชน่ ใดเราเป็นเช่นนั้น  มาเถิดท่าน ผู้มีอายุ ! เราสองคนด้วยกันจักช่วยกันปกครองคณะนี้ต่อไป”.

ราชกุมาร ! อาฬารกาลามโคตรผู้เป็นอาจารย์ของเรา ได้ตั้งเราผู้เป็นศิษย์ให้เสมอ ด้วยตนแล้ว ได้บูชาเราด้วยการบูชาอย่างยิ่ง. ราชกุมาร ! (เมื่อเราได้เสมอด้วยอาจารย์

ได้การบูชาที่ยิ่งดังนั้น) ได้เกิดความรู้สึกนี้ว่า “ก็ธรรมนี้จะได้เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย เพื่อความคลาย กำหนัด เพื่อความดับสนิท เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน ก็หาไม่ แต่เป็นไป พร้อมเพียงเพื่อการบังเกิดในอากิญจัญญายตนภพ เท่านั้นเอง”.

ราชกุมาร ! ตถาคต (เมื่อเห็นโทษในสมาบัติทั้งเจ็ด)จึงไม่พอใจ เบื่อจากธรรมนั้น หลีกไปเสีย.

หน้า 79

37 เสด็จสำนักอุทกดาบส
-บาลี ม. ม. ๑๓/๔๔๖-๔๔๘/๔๙๐.1

ราชกุมาร ! เรานั้นแสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล ค้นหาแต่สิ่งที่ประเสริฐ ฝ่ายสันติชนิด ที่ไม่มีอะไรยิ่งกว่า ได้เข้าไปหาอุทกดาบสผู้รามบุตรถึงที่สำนัก แล้วกล่าวว่า “ท่านรามะ ! เราอยากประพฤติพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้ด้วย”.

ราชกุมาร ! ครั้นเรากล่าวดังนี้ ท่านอุทกผู้รามบุตรได้กล่าวตอบว่า“อยู่เถิดท่านผู้มีอายุ ! ธรรมนี้เป็นเช่นนี้ๆ  ถ้าบุรุษเข้าใจความแล้ว ไม่นานเลย คงทำให้แจ้ง บรรลุได้ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ทั่วถึงลัทธิของอาจารย์ตน”.

ราชกุมาร ! เราเล่าเรียนธรรมนั้นได้ฉับไวไม่นานเลย.

ราชกุมาร ! เรานั้นกล่าวได้ทั้ง ญาณวาท และ เถรวาทด้วยอาการมาตรว่าท่องด้วยปาก ด้วยเวลาชั่วที่เจรจาตอบตลอดกาลเท่านั้น. อนึ่งเราและศิษย์อื่นๆ ปฏิญญาได้ว่าเรารู้ เราเห็น ดังนี้.
1. ยังมีตรัสในพระสูตรอื่นอีก คือ สคารวสูตร -บาลี ม. ม. ๑๓/๖๗๒/๗๓๙, ปาสราสิสูตร-บาลี มู. ม. ๑๒/๓๒๐/๓๑๘, มหาสัจจกสูตร -บาลี มู. ม. ๑๒/๔๔๔/๔๑๒. -ผู้แปล

ราชกุมาร ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า “อุทกผู้รามบุตรได้ประกาศว่า ‘เราทำให้แจ้งธรรมนี้ ด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้วแลอยู่’ ด้วยคุณสักว่าศรัทธาอย่างเดียวก็หามิได้ ที่แท้อุทก ผู้รามบุตรคงรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งธรรมนี้เป็นแน่”.

ราชกุมาร ! ครั้งนั้นเราเข้าไปหาอุทกผู้รามบุตรถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า“ท่านรามะ ! ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้ว และประกาศได้เพียงเท่าไรหนอ ?”.

ครั้นเรากล่าวอย่างนี้ อุทกรามบุตรได้ประกาศให้รู้ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว. ราชกุมาร ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า “ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญาจักมีแต่ของ อุทกรามบุตรผู้เดียว ก็หาไม่. ศรัทธา วิริยะสติ สมาธิ ปัญญา ของเราก็มีอยู่  อย่างไรก็ตาม เราจักตั้งความเพียร ทำให้แจ้งธรรมที่ท่าน รามะประกาศแล้วว่า เราทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้วแลอยู่’ ดังนี้ ให้จงได้”.

ราชกุมาร ! เราได้บรรลุทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองฉับไวไม่นานเลย.

ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เราเข้าไปหาอุทกผู้รามบุตรถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “มีเท่านี้หรือ ที่ท่านบรรลุถึง ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วประกาศแก่ผู้อื่นอยู่ ?”.

“เท่านี้เองผู้มีอายุ ! ที่เราบรรลุถึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วประกาศแก่ผู้อื่น”.
“ท่านรามะ ! ถึงเราก็ได้บรรลุทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเท่านั้นเหมือนกัน”.

ราชกุมาร ! อุทกผู้รามบุตรได้กล่าวกะเราว่า “ลาภของเราแล้ว ท่านผู้มีอายุ ! เราได้ดีแล้ว
ท่านผู้มีอายุ ! มิเสียแรงที่ได้พบเพื่อนร่วมพรหมจรรย์เช่นกับท่าน ผู้ทำให้แจ้งธรรม ที่รามะรู้ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง แม้รามะก็ทำให้แจ้งธรรมที่ท่านทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเองนั้น อย่างเดียวกัน.

รามะรู้ทั่วถึงธรรมใด ท่านรู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด รามะรู้ทั่วถึงธรรมนั้น, รามะเป็นเช่นใด ท่านเป็นเช่น นั้น  ท่านเป็น เช่นใด รามะเป็น เช่น นั้น  มาเถิด ท่านผู้มีอายุ ! ท่านจงปกครองคณะนี้ต่อไป”.

ราชกุมาร ! อุทกรามบุตรเมื่อเป็นสพรหมจารีต่อเราก็ได้ตั้งเราไว้ในฐานะแห่งอาจารย์นั่นเทียว ได้บูชาเราด้วย การบูชาอันยิ่ง. ราชกุมาร ! (เมื่อเราได้เสมอด้วยอาจารย์ ได้การบูชาที่ยิ่ง ดังนั้น) ได้เกิดความรู้สึกนี้ว่า “ธรรมนี้จะได้เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับสนิท เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน ก็หาไม่ แต่เป็นไปพร้อม เพียงเพื่อการบังเกิดใน เนวสัญญานา สัญญายตนภพ เท่านั้นเอง”.

ราชกุมาร ! ตถาคต (เมื่อเห็นโทษในสมาบัติทั้งแปด)จึงไม่พอใจในธรรมนั้น เบื่อหน่าย จากธรรมนั้น หลีกไปเสีย.

หน้า 83

38 ทรงพบสถานที่ประกอบความเพียร

-บาลี ม. ม. ๑๓/๔๔๘/๔๙๑.

ราชกุมาร ! เรานั้นเมื่อหลีกไปจากสำนักอุทกผู้รามบุตรแล้ว แสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล ค้นหาแต่สิ่งที่ ประเสริฐ ฝ่ายสันติอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า เที่ยวจาริกไปตามลำดับหลายตำบล ในมคธรัฐ จนบรรลุถึงตำบลอุรุเวลา-เสนานิคม พักแรมอยู่ ณ ตำบลนั้น.

ณ ที่นั้น เราได้พบภาคพื้นรมณียสถาน มีชัฏป่าเยือกเย็นแม่น้ำไหลใสเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำ ราบเรียบเป็นอันดี น่าเพลินใจมีบ้านสำหรับโคจรตั้งอยู่โดยรอบ.

ราชกุมาร ! เราได้เห็นแล้ว เกิดความรู้สึกว่า“ภูมิภาคนี้น่ารื่นรมย์จริง ชัฏป่าเย็นเยือก แม่น้ำไหลใสเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบเป็นอันดีน่าเพลินใจ ทั้งที่โคจรก็ตั้งอยู่โดยรอบ ที่นี้สมควร เพื่อจะตั้งความเพียรของกุลบุตร ผู้ต้องการด้วยความเพียร” ดังนี้.

ราชกุมาร ! เรานั่งพักอยู่ ณ ตำบลนั้นเองด้วยคิดว่าที่นี้สมควรแล้วเพื่อการตั้งความเพียร ดังนี้.

หน้า 84

39 อุปมาปรากฏแจ่มแจ้ง
-บาลี ม. ม. ๑๓/๔๔๘/๔๙๒.

ราชกุมาร ! เรื่องประหลาดเกิดมีแก่เรา อุปมาสามข้อ เป็นอัศจรรย์ที่ไม่เคยได้ยินมาแล้ว มาแจ่มแจ้งแก่เรา.

(1) ราชกุมาร ! อุปมาข้อหนึ่ง ว่าเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยาง ทั้งเขาตัดลงแช่น้ำไว้ ถ้าบุรุษตั้งใจว่า เราจะนำไม้ สีไฟอันบน มาสีกับไม้นั้นให้ไฟเกิดปรากฏดังนี้ ราชกุมาร !ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร บุรุษนั้นจักถือไม้สีไฟอันบน มาสีไฟให้เกิดปรากฏขึ้นได้หรือไม่ ?

“พระองค์ผู้เจริญ ! ไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าโน้นเป็นไม้สดชุ่ม ด้วยยาง ทั้ง ยัง แช่อยู่ในน้ำ เขาจะสีตลอดกาล เพียงใด จัก ต้องเหน็ดเหนื่อยคับแค้นเปล่าเพียงนั้น”.

ราชกุมาร ! ฉันใดก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์พวกใด กายยังไม่หลีกออกจากวัตถุกาม ใจก็ยังระคนด้วย กิเลสกามอันทำความพอใจ ความเยื่อใย ความเมาหมกความกระหาย ความรุ่มร้อน ในวัตถุกามทั้งหลาย เขายังละไม่ได้ ยังรำงับไม่ได้ ซึ่งกิเลสกามอันเป็นภายใน เหล่านั้น ท่านสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ถึงจะได้เสวยทุกขเวทนา

อันกล้าแข็งเผ็ดร้อน เพราะการทำความเพียรก็ดี หรือไม่ได้เสวยก็ดี ย่อมไม่ควรเพื่อเกิด ปัญญารู้เห็นอันไม่มี ปัญญาอื่นยิ่งไปกว่าได้เลย. ราชกุมาร ! นี่เป็นอุปมาทีแรก ที่เป็นอัศจรรย์ ที่เราไม่เคยได้ยินมาแล้วแต่ก่อน ได้มาแจ่มแจ้งแก่เราแล้ว.

(2) ราชกุมาร ! อุปมาข้อสอง เป็นอัศจรรย์ที่เราไม่เคยได้ยินมาแล้ว ได้มาแจ่มแจ้งแก่เรา. ราชกุมาร !อุปมาว่าไม้สดชุ่มด้วยยาง วางอยู่บนบกไกลจากน้ำ หากบุรุษตั้งใจว่า เราจักนำไม้สีไฟอันบน มาสีกับไม้นั้นให้ไฟเกิดปรากฏดังนี้ ท่านจักเข้าใจว่าอย่างไร บุรุษนั้นจักถือเอาไม้สีไฟอันบน มาสีให้เกิดไฟปรากฏขึ้นได้หรือไม่ ? “พระองค์ผู้เจริญ ! ไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าโน้นเป็นไม้สดชุ่มด้วยยาง แม้วางอยู่บนบกก็จริง เขาจะสีไปตลอดกาลเพียงใด ก็จักเหน็ดเหนื่อย คับแค้นเปล่าตลอดกาลเพียงนั้น”.

ราชกุมาร ! ฉันใดก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์พวกใด มีกายหลีกออกจากวัตถุกามแล้ว แต่ใจยังระคนด้วย กิเลสกามอันทำความพอใจ ความเยื่อใย ความเมาหมกความกระหาย ความรุ่มร้อน ในวัตถุกามทั้งหลาย เขายังละไม่ได้ ระงับไม่ได้ซึ่งกิเลสกามอันเป็นภายใน เหล่านั้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จะได้เสวยทุกข เวทนาอันกล้าแข็งเผ็ดร้อน เพราะทำความเพียรก็ดี หรือไม่ได้เสวยก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะเกิดปัญญารู้เห็นอันไม่มี ปัญญาอื่นยิ่งไปกว่าได้เลย. ราชกุมาร ! นี่เป็นอุปมาที่สอง ที่เป็นอัศจรรย์ อันเราไม่เคยได้ยินมาแล้วแต่ก่อน ได้มาแจ่มแจ้งแก่เราแล้ว.

(3) ราชกุมาร ! อุปมาข้อสาม ที่เป็นอัศจรรย์อันเราไม่เคยได้ยินมาแล้ว มาแจ่มแจ้งแก่เรา. ราชกุมาร !อุปมาว่าไม้แห้งสนิท ทั้งวางไว้บนบกไกลจากน้ำ หากบุรุษตั้งใจว่า เราจักนำไม้สีไฟอันบน มาสีกับไม้นั้น ให้ไฟเกิดปรากฏขึ้น ดังนี้ ราชกุมาร ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร บุรุษนั้นจักนำไม้สีไฟอันบน มาสีกับไม้นั้น ให้ไฟเกิดปรากฏ ขึ้นได้หรือไม่ ?

“พระองค์ผู้เจริญ ! ได้โดยแท้ เพราะเหตุว่าโน้นเป็นไม้แห้งเกราะ ทั้งอยู่บนบกไกล จากน้ำด้วย”.

ราชกุมาร ! ฉันใดก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์พวกใด มีกายละจากวัตถุกามแล้ว ทั้งใจ ก็ไม่ระคนอยู่ด้วยกิเลส กาม อันทำความพอใจ ความเยื่อใย ความเมาหมก

ความกระหาย ความรุ่มร้อน ในวัตถุกามทั้งหลาย เขาเป็นผู้ละได้ ระงับได้ซึ่งกิเลสกาม อันเป็นภายในเหล่านั้น. สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จะได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าแข็ง เผ็ดร้อน เพราะทำความเพียรก็ดี หรือไม่ได้ เสวยก็ดี ย่อมควรเพื่อเกิดปัญญารู้เห็นอันไม่มี ปัญญาอื่นยิ่งไปกว่าได้.

ราชกุมาร ! นี่เป็นอุปมาที่สาม ที่เป็นอัศจรรย์อันเราไม่เคยได้ยินมาแล้วแต่ก่อน ได้มาแจ่มแจ้งกะเราแล้ว.

หน้า 88

40 บำเพ็ญทุกรกิริยา
-บาลี ม. ม. ๑๓/๔๕๒/๔๙๕.1

(วาระที่ ๑)
ราชกุมาร !
ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึงขบฟันด้วยฟัน อัดเพดาน ด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบให้แน่นจนร้อนจัดดูที.

ราชกุมาร !ครั้นเราคิดดังนั้นแล้ว จึงขบฟันด้วยฟัน อัดเพดานด้วยลิ้นข่มจิตด้วยจิต บีบให้แน่นจนร้อนจัดแล้ว เหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้งสอง ราชกุมาร ! เปรียบเหมือนคน ที่แข็งแรงจับคนกำลังน้อยที่ศีรษะหรือที่คอ บีบให้แน่นจนร้อนจัดฉะนั้น.

ราชกุมาร !
แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะฟั่นเฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะกำลังความเพียรที่ทนได้ยากเสียดแทงเอา.

(วาระที่ ๒)
ราชกุมาร !
ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌาน เอาการไม่หายใจ เป็นอารมณ์เถิด.

ราชกุมาร !
ครั้นคิดดังนั้นแล้ว เราจึงกลั้นลมหายใจออกเข้าทั้งทางจมูกและทางปาก.

ราชกุมาร !
ครั้นเรากลั้นลมหายใจทั้งทางจมูกและทางปาก เสียงลมออกทางช่องหูทั้งสอง ดังเหลือประมาณ เหมือนเสียงลมในสูบแห่ง นายช่างทองที่สูบไปสูบมาฉะนั้น.

ราชกุมาร !
แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะฟั่นเฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กาย กระสับ กระส่ายไม่สงบ เพราะกำลังแห่งความเพียรที่ทนได้ยากเสียดแทงเอา.
1. ยังมีตรัสในพระสูตรอื่นอีก คือ สคารวสูตร -บาลี ม. ม. ๑๓/๖๗๘ /๗๔๔, มหาสัจจกสูตร -บาลี มู. ม. ๑๒/๔๕๐/๔๑๗, ความตอนนี้ ปาสราสิสูตรไม่มี. -ผู้แปล
หน้า 89
(วาระที่ ๓)
ราชกุมาร ! ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌาน มีการไม่หายใจนั่น แหละ(ให้ยิ่งขึ้น) เป็นอารมณ์เถิด.

ราชกุมาร ! ครั้นคิดดังนั้นแล้วเราจึงกลั้นลมหายใจออกเข้า ทั้งทางจมูกทางปากและทาง ช่องหูทั้งสองแล้ว.

ราชกุมาร !
ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้า ทั้งทางจมูกทางปากและทางช่องหูทั้งสองแล้ว ลมกล้าเหลือประมาณ แทงเซาะขึ้นไปทางบนกระหม่อมเหมือนถูกบุรุษแข็งแรง เชือดเอา ที่แสกกระหม่อมด้วยมีดโกนอันคมฉะนั้น.

ราชกุมาร !
แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะได้ฟั่นเฟือนไป ก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะความเพียรที่ทนได้แสนยากเสียดแทงเอา.
หน้า 90
(วาระที่ ๔)
ราชกุมาร ! ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌาน มีการไม่หายใจ นั่นแหละ (ให้ยิ่งขึ้นไปอีก) เป็นอารมณ์เถิด.

ราชกุมาร ! ครั้นคิดดังนั้นแล้ว เราได้กลั้นลมหายใจออกเข้า ทั้งทางจมูกทางปากและ ทางช่องหูทั้งสองแล้ว.

ราชกุมาร !
ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้า ทั้งทางจมูกทางปาก และทางช่องหูทั้งสอง แล้วรู้สึกปวดศีรษะทั่วไปทั้งศีรษะเหลือประมาณ เปรียบปานถูก บุรุษแข็งแรง รัดศีรษะ เข้าทั้งศีรษะด้วยเชือกมีเกลียวอันเขม็งฉะนั้น.

ราชกุมาร !
แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะฟั่นเฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับ กระส่ายไม่สงบ เพราะความเพียรที่ทนได้แสนยากเสียดแทงเอา.

(วาระที่ ๕)
ราชกุมาร ! ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌานมีการไม่หายใจ นั่นแหละ (ให้ยิ่งขึ้นไปอีก) เป็นอารมณ์เถิด.

ราชกุมาร ! ครั้นคิดดังนั้นแล้ว เราได้กลั้นลมหายใจออกเข้า ทั้งทางจมูกและทางปากและ ทางช่องหูทั้งสอง.

ราชกุมาร !
ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้า ทั้งทางจมูกและทางปาก และทางช่องหู ทั้งสองแล้ว ลมกล้าเหลือ ประมาณหวนกลับลงแทงเอาพื้นท้อง ดุจถูกคนฆ่าโค หรือลูกมือตัวขยันของเขา เฉือนเนื้อพื้นท้องด้วยมีด สำหรับเฉือนเนื้อโคอันคมฉะนั้น.

ราชกุมาร !
แต่ความเพียรของเราจะได้ย่อหย่อนก็หาไม่สติจะได้ฟั่นเฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับ กระส่ายไม่สงบ เพราะกำลังแห่งความเพียรที่ทนได้แสนยาก เสียดแทงเอา.
หน้า 91
(วาระที่ ๖)
ราชกุมาร !
ความคิดอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌานมีการไม่หายใจนั่นแหละ (ให้ยิ่งขึ้นไปอีก) เป็นอารมณ์เถิด.

ราชกุมาร ! ครั้นคิดดังนั้นแล้ว เราได้กลั้นลมหายใจออกเข้าไว้ทั้งทางจมูก และทางปากและทางช่องหู ทั้งสอง.

ราชกุมาร !
ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้า ไว้ทั้งทางจมูกทางปากและทางช่องหูทั้งสอง ก็เกิดความร้อนกล้าขึ้นทั่วกาย ดุจถูกคนแข็งแรงสองคนช่วยกันจับคนกำลังน้อย ที่แขนข้างละคนแล้ว ย่างรมไว้เหนือหลุมถ่านเพลิงอันระอุฉะนั้น.

ราชกุมาร ! แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะฟั่นเฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กาย กระวนกระวายไม่สงบ เพราะกำลังแห่งความเพียรที่ทนได้แสนยาก เสียดแทงเอา.

โอ ราชกุมาร ! พวกเทวดาเห็นเราแล้วพากันกล่าวว่า พระสมณโคดมทำกาละเสียแล้ว บางพวกกล่าวว่า พระสมณโคดมไม่ใช่ทำกาละแล้ว เป็นแต่กำลังทำกาละอยู่ บางพวกกล่าวว่าไม่ใช่เช่นนั้นจะว่าพระสมณโคดม ทำกาละแล้วหรือกำลังทำกาละอยู่ ก็ไม่ชอบทั้งสองสถาน พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ นั่นเป็นการอยู่ของ ท่าน การอยู่เช่นนั้นเป็นการอยู่ของพระอรหันต์ ดังนี้.

(วาระที่ ๗)
ราชกุมาร ! ความคิดอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึงปฏิบัติการอดอาหาร โดยประการทั้งปวงเสีย.

ราชกุมาร !
ครั้งนั้นพวกเทวดาเข้ามาหาเราแล้วกล่าวว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ ! ท่านอย่าปฏิบัติก ารอดอาหารโดย ประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติการอดอาหาร โดยประการทั้งปวงไซร้ พวกข้าพเจ้าจักแทรกโอชา อันเป็นทิพย์ ลงตามขุมขนของท่าน ท่านจักมีชีวิตอยู่ได้ด้วยโอชาทิพย์นั้น”.

ราชกุมาร ! ความคิดนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเราปฏิญญาการไม่บริโภคอาหารด้วยประการทั้งปวงด้วยตนเอง ถ้าเทวดาเหล่านี้ แทรกโอชาอันเป็นทิพย์ลงตามขุมขนแห่งเราแล้ว ถ้าเราจะมีชีวิตอยู่ด้วย โอชานั้น ข้อนั้นจักเป็นมุสาแก่เราไป ดังนี้.

ราชกุมาร ! เราบอกห้ามกะเทวดาเหล่านั้นว่าอย่าเลย.

ราชกุมาร ! ความคิดอันนี้ได้เกิดมีแก่เราว่า ถ้ากระไรเราบริโภคอาหารผ่อนให้น้อยลง วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อ ในเมล็ดบัวบ้าง ดังนี้.

ราชกุมาร !
เราได้บริโภคอาหารผ่อนน้อยลงวันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้างแล้ว.

ราชกุมาร ! เมื่อเป็นเช่นนั้นร่างกายของเราได้ถึง การซูบผอมลงยิ่งนัก. เพราะโทษที่เรา มีอาหารน้อย อวัยวะใหญ่น้อยของเราเป็นเหมือนเถาวัลย์ อาสีติกบรรพหรือเถากาฬบรรพ เนื้อที่ตะโพกที่นั่งทับของเรา มีสัณฐานดังเท้าอฐู ข้อกระดูก สันหลัง ของเราผุดขึ้นระกะ ราวกะเถาวัลย์วัฏฏนาวลี ซี่โครงของเราโหรงเหรง เหมือนกลอนศาลาอันเก่าคร่ำคร่า ดาวคือดวงตาของเรา ถล่มลึกอยู่ในกระบอกตา ดุจเงาแห่งดวงดาวที่ปรากฏ อยู่ในบ่อน้ำ อันลึกฉะนั้น ผิวหนังศีรษะของเราเหี่ยวย่น เหมือนน้ำเต้าอ่อนที่ตัดมาแต่ยังสด ถูกแดดเผาเหี่ยวย่น เช่นเดียวกัน.

ราชกุมาร ! เราคิดว่า จะจับพื้นท้องครั้นจับเข้าก็ถูกถึงกระดูกสันหลังตลอดไป คิดว่าจะ จับกระดูกสันหลัง ครั้นจับเข้าก็ถูกถึงพื้นท้องด้วย หนังท้องกับกระดูกสันหลังของเราชิดกัน สนิท เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย.

ราชกุมาร ! เราคิดจะถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ ก็เซล้มราบอยู่ ณ ที่นั้นเอง.
หน้า 94
ราชกุมาร ! เราหวังจะให้กายมีความสุขบ้าง จึงลูบไปตามตัวด้วยฝ่ามือ ขนมีรากอันเน่า หลุดตกลงจากกาย เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย.

โอ ราชกุมาร ! มนุษย์ทั้งหลายเห็นเราแล้วกล่าวว่าพระสมณโคดมดูดำไป บางพวกกล่าวว่า พระสมณโคดม ไม่ดำ เป็นแต่คล้ำไป บางพวกกล่าวว่าจะดำก็ไม่เชิง จะคล้ำก็ไม่เชิง พระสมณโคดมมีผิวเผือดไปเท่านั้น.

ราชกุมาร !
ผิวพรรณที่เคยบริสุทธิ์ผุดผ่องของตถาคต มากลายเป็นถูกทำลายลงแล้ว เพราะความที่ตน มีอาหารน้อยนั้น.

หน้า 95

41 ทรงประพฤติอัตตกิลมถานุโยค (วัตรของเดียรถีย์)
-บาลี มู. ม. ๑๒/๑๕๕/๑๗๗.

สารีบุตร ! เราตถาคตรู้เฉพาะซึ่ง พรหมจรรย์อันประกอบด้วยองค์ ๔ ที่ได้ประพฤติแล้ว ตปัสสีวัตรเราก็ได้ ประพฤติอย่างยิ่ง ลูขวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง เชคุจฉิวัตร เราก็ได้ ประพฤติอย่างยิ่ง ปวิวิตตวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง.

ในวัตร ๔ อย่างนั้น นี้เป็น ตปัสสีวัตร (วัตรเพื่อมีตบะ) ของเรา คือ เราได้ประพฤติเปลือยกาย มีมรรยาท อันปล่อยทิ้งเสียแล้ว เป็นผู้ประพฤติเช็ดอุจจาระของตนด้วยมือ ถือเป็นผู้ไม่รับอาหารที่เขาร้องเชิญว่าท่าน ผู้เจริญจงมาไม่รับอาหารที่เขาร้องนิมนต์ว่า
ท่านผู้เจริญ จงหยุดก่อนไม่ยินดีในอาหาร ที่เขานำมาจำเพาะ
ไม่ยินดีในอาหารที่เขาทำอุทิศเจาะจง
ไม่ยินดีในอาหารที่เขาร้องนิมนต์
เราไม่รับอาหารจากปากหม้อ
ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ
ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู
ไม่รับอาหารคร่อมท่อนไม้
ไม่รับอาหารคร่อมสาก
ไม่รับอาหาร ของชนสองคนผู้บริโภคอยู่
ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์
ไม่รับอาหารของหญิงที่กำลังให้บุตรดื่มนมอยู่
ไม่รับอาหาร ของหญิงผู้ไปในระหว่างแห่งบุรุษ
ไม่รับอาหารในอาหารที่มนุษย์ชักชวนร่วมกันทำ
ไม่รับอาหารในที่ที่มีสุนัขเข้าไปยืนเฝ้าอยู่
ไม่รับอาหารในที่ที่เห็นแมลงวันบินไปเป็นหมู่ๆ
ไม่รับปลาไม่รับเนื้อไม่รับสุรา ไม่รับเมรัย ไม่ดื่มน้ำอันดอง ด้วยแกลบ

เรารับเรือนเดียวฉันคำเดียวบ้าง
รับสองเรือนฉันสองคำบ้าง
รับสามเรือนฉันสามคำบ้าง …
รับเจ็ดเรือนฉัน เจ็ดคำบ้าง
เราเลี้ยงร่างกายด้วยอาหารในภาชนะน้อยๆ ภาชนะเดียวบ้าง
เลี้ยงร่างกายด้วยอาหารใน ภาชนะน้อยๆ สองภาชนะบ้าง…
เลี้ยงร่างกายด้วยอาหาร ในภาชนะน้อยๆ เจ็ด ภาชนะบ้าง
เราฉันอาหาร ที่เก็บไว้วันเดียวบ้าง
ฉันอาหารที่เก็บไว้ สองวันบ้าง …
ฉันอาหารที่เก็บไว้เจ็ดวันบ้าง
เราประกอบความเพียร ในภัตรและโภชนะ มีปริยาย อย่างนี้
จนถึงกึ่งเดือนด้วยอาการอย่างนี้.

เรานั้น มีผักเป็นภักษาบ้าง
มีสารแห่งหญ้ากับแก้เป็นภักษาบ้าง
มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง
มีเปลือกไม้ เป็นภักษาบ้าง
มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง
มีรำข้าวเป็นภักษาบ้าง
มีข้าวตัง เป็นภักษาบ้าง
มีข้าวสารหัก เป็นภักษาบ้าง
มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง
มีโคมัย (ขี้วัว) เป็นภักษาบ้าง
มีผลไม้และรากไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง
บริโภคผลไม้อันเป็นไป (หล่นเอง) ยังชีวิตให้เป็นไปบ้าง.

เรานั้นนุ่งห่มด้วยผ้าป่านบ้าง
นุ่งห่มผ้าเจือกันบ้าง
นุ่งห่มผ้าที่เขาทิ้งไว้กับซากศพบ้าง
นุ่งห่มผ้าคลุกฝุ่นบ้าง
นุ่งห่มเปลือกไม้บ้างนุ่งห่มหนังอชินะบ้าง
นุ่งห่มหนังอชินะทั้งเล็บบ้าง
นุ่งห่มแผ่นหญ้าคากรองบ้าง
นุ่งห่มแผ่นปอกรองบ้าง
นุ่งห่มแผ่นกระดานกรองบ้าง
นุ่งห่มผ้ากัมพลผมคนบ้าง
นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยขน หางสัตว์บ้าง นุ่งห่มปีกนกเค้าบ้าง (ศัพท์นี้แปลกที่ไม่มีคำว่ากัมพล)

เราตัดผมและหนวด ประกอบตามซึ่งความเพียรในการตัดผมและหนวด
เราเป็นผู้ยืนกระหย่ง ห้ามเสียซึ่งการนั่ง
เป็นผู้เดินกระหย่ง ประกอบตามซึ่งความเพียร ในการเดินกระหย่งบ้าง
เราประกอบการยืนการเดินบนหนาม สำเร็จการนอนบนที่นอนทำด้วยหนาม เราประกอบตามซึ่งความเพียร ในการลงสู่น้ำเวลาเย็นเป็นครั้งที่สามบ้าง เราประกอบตามซึ่งความเพียร ในการทำ(กิเลสใน) กายให้เหือดแห้ง
ด้วยวิธีต่างๆ เช่นนี้ ด้วยอาการอย่างนี้.

สารีบุตร ! นี่แล เป็นวัตรเพื่อความเป็นผู้มีตบะของเรา.
หน้า 98
สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น ลูขวัตร (วัตรในการเศร้าหมอง) ของเราคือ ธุลีเกรอะกรังแล้ว ที่กายสิ้นปี เป็นอันมากเกิดเป็นสะเก็ดขึ้น.

สารีบุตร ! เปรียบเหมือนตอตะโกนานปีมีสะเก็ดขึ้นแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้น ธุลีเกรอะกรัง แล้วที่กายสิ้นปี เป็นอันมาก จนเกิดเป็นสะเก็ดขึ้น.

สารีบุตร ! ความคิดนึกว่า โอหนอ เราพึงลูบธุลีนี้ออกเสียด้วยฝ่ามือเถิดดังนี้ ไม่มีแก่เรา แม้ความคิดนึกว่าก็ หรือชนเหล่าอื่นพึงลูบธุลีนี้ออกเสียด้วยฝ่ามือเถิด ดังนี้ ก็มิได้มีแก่เรา.

สารีบุตร ! นี้แล เป็นวัตรในความเป็นผู้เศร้าหมองของเรา.

สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น เชคุจฉิวัตร (วัตรในความเป็นผู้รังเกียจ) ของเรา คือ สารีบุตร ! เรานั้นมีสติก้าวขาไป มีสติก้าวขากลับ โดยอาการเท่าที่ความเอ็นดูอ่อนโยน ของเรา พึงบังเกิดขึ้น แม้ในหยาดแห่งน้ำ ว่าเราอย่าทำสัตว์น้อยๆ ทั้งหลาย ที่มีคติไม่เสมอกันให้ลำบากเลย.

สารีบุตร ! นี้แลเป็นวัตรในความเป็นผู้รังเกียจของเรา.

สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น ปวิวิตตวัตร (วัตรในความเป็นผู้สงัดทั่วแล้ว) ของเรา คือ สารีบุตร ! เรานั้นเข้าสู่ราวป่าแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วแลอยู่ เมื่อเห็นคนเลี้ยงโค หรือคนเลี้ยง ปศุสัตว์ หรือคนเกี่ยวหญ้า หรือคนหาไม้ หรือคน
หน้า 99
ทำงานในป่ามา เราก็รีบลัดเลาะจากป่านี้ไปป่าโน้นจากรกชัฏนี้สู่รกชัฏโน้น จากลุ่มนี้สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้ สู่ดอนโน้น เพราะเหตุคิดว่า ขอคนพวกนั้นอย่าเห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็น ชนพวกนั้น.

สารีบุตร ! เปรียบเหมือนเนื้ออันอยู่ในป่า เห็นมนุษย์แล้วย่อมเลาะลัดจากป่านี้สู่ป่าโน้น จากรกชัฏนี้สู่รกชัฏโน้น จากลุ่มนี้สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ดอนโน้น ฉันใดก็ฉันนั้น ที่เราเมื่อเห็นคนเลี้ยงโค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนเกี่ยวหญ้า หรือคนหาไม้ หรือคนทำงานในป่ามา ก็รีบเลาะลัดจากป่านี้สู่ป่าโน้น จากรกชัฏนี้สู่รกชัฏโน้น จากลุ่มนี้สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ดอนโน้น ด้วยหวังว่า คนพวกนี้อย่าเห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นคนพวกนั้น.

สารีบุตร ! นี้แล เป็นวัตรในความเป็นผู้สงัดทั่วของเรา.

สารีบุตร ! เรานั้น โคเหล่าใดออกจากคอกหาคนเลี้ยงมิได้ เราก็คลานเข้าไปในที่นั้น ถือเอาโคมัยของลูกโค น้อยๆ ที่ยังดื่มนมแม่เป็นอาหาร.

สารีบุตร ! มูตรและกรีส (ปัสสาวะและอุจจาระ)ของตนเอง ยังไม่หมดเพียงใดเราก็ถือมูตร และกรีสนั้นเป็น อาหารตลอดกาลเพียงนั้น.

สารีบุตร ! นี้แล เป็นวัตรใน มหาวิกฏโภชนวัตร ของเรา.
หน้า 100
สารีบุตร ! เราแลเข้าไปสู่ชัฏแห่งป่าน่าสะพรึงกลัวแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วแลอยู่. เพราะชัฏแห่งป่านั้นกระทำซึ่ง ความกลัวเป็นเหตุ ผู้ที่มีสันดานยังไม่ปราศจากราคะเข้าไป สู่ชัฏป่านั้นแล้ว โลมชาติย่อมชูชันโดยมาก.

สารีบุตร ! เรานั้นในราตรีทั้งหลาย อันมีในฤดูหนาวระหว่างแปดวัน เป็นสมัยที่ตกแห่งหิมะ อันเย็นเยือก กลางคืน เราอยู่ที่กลางแจ้งกลางวันเราอยู่ในชัฏแห่งป่า. ครั้นถึงเดือนสุดท้าย แห่งฤดูร้อน กลางวัน เราอยู่ในที่แจ้ง กลางคืนเราอยู่ในป่า.

สารีบุตร ! คาถาน่าเศร้านี้ อันเราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนมาแจ้งแก่เราว่า “เรานั้นแห้ง (ร้อน) แล้วผู้เดียว เปียกแล้วผู้เดียว อยู่ในป่าน่าพึงกลัวแต่ผู้เดียว เป็นผู้มีกายอันเปลือยเปล่าไม่ผิงไฟ เป็นมุนีขวนขวาย แสวงหาความบริสุทธิ์.” ดังนี้.

สารีบุตร ! เรานั้นนอนในป่าช้า ทับกระดูกแห่งซากศพทั้งหลาย ฝูงเด็กเลี้ยงโคเข้ามาใกล้เรา โห่ร้องใส่หู เราบ้าง ถ่ายมูตรรดบ้าง ซัดฝุ่นใส่บ้าง เอาไม้แหลมๆทิ่มช่องหูบ้าง.
สารีบุตร ! เราไม่รู้สึกซึ่งจิตอันเป็นบาปต่อเด็กเลี้ยงโคทั้งหลายเหล่านั้น แม้ด้วยการทำความคิดนึกให้เกิดขึ้น.

สารีบุตร ! นี้เป็น วัตรในการอยู่อุเบกขา ของเรา.
หน้า 101
สารีบุตร ! สมณพราหมณ์บางพวกมักกล่าวมักเห็นอย่างนี้ว่า “ความบริสุทธิ์มีได้เพราะอาหาร” สมณพราหมณ์พวกนั้นกล่าวกันว่า พวกเราจงเลี้ยงชีวิตให้เป็นไปด้วยผลกะเบา1 ทั้งหลายเถิด.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงเคี้ยวกินผลกะเบาบ้าง เคี้ยวกินกะเบาตำผงบ้าง ดื่มน้ำคั้นจากผลกะเบาบ้าง ย่อมบริโภคผลกะเบาอันทำให้แปลกๆ มีอย่างต่างๆ บ้าง.

สารีบุตร ! เราก็ได้ใช้กะเบาผลหนึ่งเป็นอาหาร.

สารีบุตร ! คำเล่าลืออาจมีแก่เธอว่า ผลกะเบาในครั้งนั้นใหญ่มาก ข้อนี้เธออย่าเห็นอย่างนั้น ผลกะเบาในครั้ง นั้นก็โตเท่านี้เป็นอย่างยิ่ง เหมือนในครั้งนี้เหมือนกัน.
สารีบุตร !เมื่อเราฉันกะเบาผลเดียวเป็นอาหาร ร่างกาย ได้ถึงความซูบผอมอย่างยิ่ง.

เถาวัลย์อาสีติกบรรพ หรือเถากาฬบรรพมีสัณฐานเช่นไร อวัยวะน้อยใหญ่ของเรา ก็เป็นเหมือนเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย.

รอยเท้าอูฐมีสัณฐานเช่นไรรอยตะโพกนั่งทับของเรา ก็มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย.

เถาวัฏฏนาวฬีมีสัณฐานเช่นใด กระดูกสันหลังของเรา ก็เป็นข้อๆ มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. กลอน (หรือจันทัน) แห่ง ศาลาที่คร่ำคร่า
1. ศัพท์ โกล นี้ แปลว่า พุทราก็ได้, โกเลหีติ พทเรหิ, ปปญฺ. ๒/๖๕. -ผู้แปล
หน้า 102
เกะกะมีสัณฐานเช่นไร ซี่โครงของเราก็เกะกะมีสัณฐานเช่นนั้นเพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย.

ดวงดาวที่ปรากฏในน้ำในบ่อน้ำอันลึก ปรากฏอยู่ลึกฉันใด ดวงดาว คือลูกตาของเราปรากฏ อยู่ลึก ในเบ้าตาฉันนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย.

น้ำเต้าที่เขาตัดแต่ยังอ่อน ครั้นถูกลมและแดดย่อมเหี่ยวยู่ยี่ มีสัณฐานเช่นไร หนังศีรษะแห่งเรา ก็เหี่ยวยู่มีสัณฐานเช่นนั้นเพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย.

สารีบุตร ! เราตั้งใจว่าลูบท้อง ก็ลูบถูกกระดูกสันหลังด้วย, ตั้งใจว่าลูบกระดูกสันหลัง ก็ลูบถูกท้องด้วย.

สารีบุตร ! หนังท้องกับกระดูกสันหลังของเราชิดกันสนิทเพราะความเป็น ผู้มีอาหารน้อย. สารีบุตร ! เราเมื่อคิดว่าจักถ่ายอุจจาระปัสสาวะก็ล้มพับอยู่ตรงนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหาร น้อย.

สารีบุตร ! เราเมื่อจะบรรเทาซึ่งกายนั้นให้มีความสุขบ้าง จึงลูบตัวด้วยฝ่ามือ เมื่อเราลูบตัว ด้วยฝ่ามือ ขนที่มีรากเน่าแล้วได้หลุดออกจากกายร่วงไป เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย.

(ต่อจากนี้ มีเรื่องการบริสุทธิ์เพราะอาหารอย่างเดียวกันกับการบริโภคผลกะเบา ต่างกัน แต่แทนผล กะเบา กลายเป็น ถั่วเขียว, งา,ข้าวสาร เท่านั้น . พระองค์ได้ทดลองเปลี่ยน ทุกๆอย่าง. เรื่องตั้งแต่ต้นมาแสดงว่า พระองค์ได้เคยทรงประพฤติวัตรของเดียรถีย์ ที่เรียกว่าอัตตกิลมถานุโยค แล้วทุกๆ อย่าง สรุปเรียกได้ว่า ส่วนสุด ฝ่ายข้างตึงที่พระองค์ สอนให้เว้นในยุคหลัง. วัตรเหล่านี้ สันนิษฐานว่าทำทีหลังการไปสำนัก ๒ ดาบส. ถ้าทีหลังก็ต้องก่อนเบญจวัคคีย์ไปอยู่ด้วยยุติ เป็นอย่างไรแล้วแต่จะวินิจฉัย เพราะระยะทำ ความเพียรนานถึง ๖ ปีได้เหตุผลเป็นอย่างไรโปรดเผยแผ่กันฟังด้วย. -ผู้แปล)

หน้า 104

42 ทรงแน่พระทัยว่าไม่อาจตรัสรู้เพราะ การทำทุกรกิริยา
-บาลี มู. ม. ๑๒/๑๖๒/๑๘๖.

สารีบุตร ! ด้วยอิริยา1 (เครื่องออกไปจากข้าศึก) แม้ชนิดนั้น ด้วยปฏิปทาชนิดนั้น ด้วยทุกรกิริยาชนิดนั้น เราไม่ได้บรรลุแล้วซึ่งอลมริยญาณทัสสนวิเสส ที่ยิ่งไปกว่าธรรมดา แห่งมนุษย์เลย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุว่าไม่มีการถึงทับซึ่งอริยปัญญา อันเป็นอริยปัญญาที่ถึงทับแล้ว จักเป็นนิยยานิกธรรม อันประเสริฐ นำผู้ปฏิบัติตามนั้นให้ถึง
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ นั่นเทียว.

1. อิริยา คำ นี้ถือเอาตามพระบาลีในปาสราสิสูตร ม. ม. และโพธิกุมารสูตร ม. ม.ซึ่งเป็นอิริยาย ตรงกัน ; ส่วนบาลี มหาสีหนาทสูตร นี้เป็น อิริยา. -ผู้แปล

หน้า 105

43 ทรงกลับพระทัยฉันอาหารหยาบ

-บาลี ม. ม. ๑๓/๔๕๘/๕๐๔.

ราชกุมาร ! ความคิดอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ในอดีตกาลอันยาวยืดก็ดี … ในอนาคตกาล อันยาวยืดก็ดี …แม้ในปัจจุบันนี้ก็ดี สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดที่ได้เสวยทุกขเวทนา กล้าแข็ง เผ็ดร้อน อันเกิดจากการทำความเพียรอย่างสูงสุด ก็เท่าที่เราได้เสวยอยู่นี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ได้ ก็แต่ว่าเราหาอาจบรรลุธรรมอันยิ่งกว่า ธรรมของมนุษย์ หรืออลมริย-ญาณทัสสนะวิเศษ ด้วยทุกรกิริยาอันกล้าแข็ง แสบเผ็ดนี้ไม่.

ชะรอยหนทางแห่งการตรัสรู้จักพึงมีโดยประการอื่น.

ราชกุมาร ! ความระลึกอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเออก็เรายังจำได้อยู่เมื่องานแรกนาแห่งบิดา เรานั่ง ณ ร่มไม้หว้า มีเงาเย็นสนิท มีใจสงัดแล้วจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายบรรลุ ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิด แต่วิเวกแล้วแลอยู่ ชะรอยนั่นจักเป็นทางแห่ง การตรัสรู้บ้าง ดังนี้.

ราชกุมาร ! วิญญาณอันแล่นไปตามความระลึกได้มีแล้วแก่เราว่า นี่แล แน่แล้วหนทางแห่งการตรัสรู้ ดังนี้.

ราชกุมาร ! ความสงสัยอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเราควรจะกลัวต่อความสุข ชนิดที่เว้นจากกาม และอกุศลธรรม หรือไม่หนอ ? ราชกุมาร ! ความแน่ใจอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเรา ไม่ควรกลัวต่อสุข อันเว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย.

ราชกุมาร ! ความคิดได้มีแก่เราสืบไปว่า ก็ความสุขชนิดนั้น คนที่มีร่างกายหิวโหย เกินกว่าเหตุเช่นนี้ จะบรรลุได้โดยง่ายไม่ได้เลย ถ้าไฉนเราพึงกลืนกินอาหารหยาบ คือข้าวสุก และขนมสดเถิด.

ราชกุมาร ! เราได้กลืนกินอาหารหยาบ คือข้าวสุกและขนมสดแล้ว.

หน้า 107

44 ปัญจวัคคีย์หลีกไป

-บาลี ม. ม. ๑๓/๔๕๙/๕๐๕.

ราชกุมาร ! เรานั้นไดก้ ลืนกินอาหารหยาบ คอื ข้าวสุกและขนมสดแล้ว.
ราชกุมาร ! ก็ครั้งนั้นมีภิกษุผู้เป็นพวกกัน ๕ รูป(ปัญจวัคคีย์) เป็นผู้คอยบำรุงเรา ด้วยหวังอยู่ว่า พระสมณโคดม ได้บรรลุธรรมใด จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย.

ราชกุมาร ! ครั้นตถาคตกลืนกินอาหารหยาบ คือข้าวสุก และขนมสดแล้วภิกษุผู้เป็นพวกกัน ๕ รูป นั้น พากันหน่ายในเรา หลีกไปเสีย ด้วยคิดว่าพระสมณโคดมเป็นคนมักมาก คลายความเพียรเวียนมา เป็นคนมักมากเสียแล้ว ดังนี้.

หน้า 108

45 ความฝันครั้งสำคัญ ก่อนตรัสรู้
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๖๗/๑๙๖.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความฝันครั้งสำคัญ (มหาสุบิน) ๕ อย่างได้ปรากฏแก่ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งเมื่อก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่.

๕ อย่างคืออะไรบ้างเล่า ? คือ

(1) มหาปฐพีนี้เป็นที่นอนอันใหญ่ของตถาคต จอมเขาหิมวันต์เป็นหมอน มือข้างซ้ายพาดลงที่สมุทร ด้านตะวันออก มือข้างขวาพาดลงที่สมุทรด้านตะวันตก เท้าทั้งสองหย่อนลง ที่สมุทรด้านทักษิณ.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เป็นมหาสุบิน-ข้อที่ ๑ ได้มีแล้วแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งเมื่อก่อนแต่การ ตรัสรู้ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่.

ข้ออื่นอีก : หญ้าคา1 งอกขึ้นจากสะดือ ขึ้นไปสูงจดฟ้า. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เป็นมหาสุบิน-ข้อที่ ๒ ได้มีแล้วแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งเมื่อก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่.

(2) ข้ออื่นอีก หนอนทั้งหลาย มีสีขาวหัวดำ คลานขึ้นมาตามเท้าจนถึงเข่า. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นมหาสุบิน1.  ศัพท์นี้ บาลีเป็น ติริยา นาม ติณชาติ แปลว่าหญ้าแพรกก็เคยแปลกัน. -ผู้แปล

(3) ข้อที่ ๓ ได้มีแล้วแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่.

(4) ข้ออื่นอีก นกทั้งหลาย สี่จำพวกมีสีต่างๆกันมาแล้ว จากทิศทั้งสี่ หมอบลงที่ใกล้เท้าแล้ว กลายเป็นสีขาว หมด. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เป็นมหาสุบิน-ข้อที่ ๔ ได้มีแล้วแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ครั้งก่อนแต่ การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่.

(5) ข้ออื่นอีก ตถาคตได้เดินไปบนอุจจาระกองใหญ่เหมือนภูเขา อุจจาระมิได้เปื้อนเลย. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็น มหาสุบิน-ข้อที่ ๕ ได้มีแล้วแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมา-สัมพุทธเจ้า ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อว่ามหาปฐพีนี้เป็นที่นอนใหญ่ของตถาคต จอมเขาหิมวันต์เป็นหมอน มือข้างซ้ายพาดลง ที่สมุทรด้านตะวันออก มือข้างขวาพาดลงที่สมุทรด้านตะวันตกเท้าทั้งสอง หย่อนลงในสมุทรด้านทักษิณนั้น เป็นมหาสุบินข้อที่ ๑ เพื่อให้รู้ข้อที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ.

ข้อว่าหญ้าคางอกจากสะดือ ขึ้นไปสูงจดฟ้า เป็นมหา-สุบินข้อที่ ๒ เพื่อให้รู้ข้อที่ตถาคต ผู้อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรค แล้วประกาศเพียงไร แก่มนุษย์และเทวดา.

ข้อว่าหนอนทั้งหลายมีสีขาวหัวดำคลานขึ้นมาตามเท้าจนถึงเข่านั้น เป็นมหาสุบินข้อที่ ๓ เพื่อให้รู้ข้อที่คฤหัสถ์ ผู้นุ่งขาวเป็นอันมาก ถึงตถาคตเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต.

ข้อว่านกสี่จำพวกมีสีต่างๆ กัน มาจากทิศทั้งสี่ หมอบลงที่เท้าแล้วกลายเป็นสีขาวหมดนั้น เป็นมหาสุบิน-ข้อที่ ๔ เพื่อให้รู้ข้อที่ วรรณะสี่จำพวกเหล่านี้ คือ กษัตริย์พราหมณ์ เวสส์ สูทท์ ได้ออกจากเรือนมาบวช ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อย่างไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน ย่อมทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอันไม่มีอื่นยิ่งไปกว่าได้.

ข้อว่าตถาคตเดินไปบนกองอุจจาระใหญ่เหมือนภูเขา อุจจาระไม่เปื้อนเลยนั้น เป็นมหาสุบิน-ข้อที่ ๕ เพื่อให้รู้ข้อที่ตถาคตเป็นผู้มีลาภในบริกขาร คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัช ทั้งหลาย แต่ตถาคตไม่ติดจม ไม่หมกใจในลาภนั้น เมื่อบริโภค ก็บริโภคด้วยความเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องออก ไปพ้นจากทุกข์ได้.

หน้า 111

46 ทรงทำลายความขลาด ก่อนตรัสรู้
-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๙/๓๐.

ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ มีความรู้สึกว่า เสนาสนะอันสงัด คือป่า และป่าเปลี่ยว เป็นเสนาสนะยากที่จะเสพได้ ความสงัดยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีในการอยู่ผู้เดียว ป่าทั้งหลายเป็นประหนึ่งว่า นำไปเสียแล้วซึ่งใจแห่งภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิ.

พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด มีกรรมทางกายไม่บริสุทธิ์ เสพเสนาสนะสงัด คือป่าและป่าเปลี่ยวอยู่ เพราะโทษคือกรรมทางกาย อันไม่บริสุทธิ์ของตนแล สมณ-พราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องมา ซึ่งความขลาด และความกลัวอย่างอกุศล. ส่วนเราเอง หาได้เป็นผู้มีกรรมทางกาย อันไม่บริสุทธิ์ แล้วเสพเสนาสนะสงัด คือป่าและป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้มีกรรมทางกายอันบริสุทธิ์.

ในบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีกรรมทางกายอันบริสุทธ์ิ และเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่าเปลี่ยว เราเป็นอริยเจ้าองค์หนึ่งในพระอริยเจ้าเหล่านั้น. พราหมณ์ ! เรามองเห็นความเป็นผู้มีกรรมทางกาย อันบริสุทธิ์ในตนอยู่ จึงถึงความมีขนอันตกสนิทแล้ว (ไม่ขนพอง) อยู่ในป่าได้.

พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด มีวจีกรรมไม่บริสุทธิ์ … มีมโนกรรมไม่บริสุทธ์ … มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ … มีอภิชฌามาก มีความกำหนัดแก่กล้าในกามทั้งหลาย …มีจิต พยาบาท มีดำริชั่วในใจ … มีถีนมิทธะกลุ้ม รุมจิต …มีจิตฟุ้งขึ้นไม่สงบ … มีความระแวงมีความสงสัย … เป็นผู้ยกตนข่มท่าน … เป็นผู้มักหวาดเสียว มีชาติแห่งคนขลาด… มีความปรารถนาเต็มที่ ในลาภสักการะและสรรเสรญิ… เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม … เป็นผ้ลู ะสติปราศจากสัมปชัญญะ … มีจิตไม่ต้้งมั่่่น มีจิตหมุนไปผิด… มีปัญญาเสื่อมทราม เป็น คนพูดบ้าน้ำลา (อย่างหนึ่งๆ) …เสพเสนาสนะสงัด คือป่าและป่าเปลี่ยวอยู่ เพราะโทษ(อย่างหนึ่งๆ) นั้นของตนแล สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องมาซึ่งความขลาด และความกลัวอย่างอกุศล.

ส่วนเราเองหาได้เป็นผู้ (ประกอบด้วยโทษนั้นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง) มีวจีกรรมไม่บริสุทธ์ิ (เป็นต้น) ไม่ เราเป็น ผู้มีวจีกรรมอันบริสุทธ์ิ (และปราศจากโทษเหล่านั้นทุกอย่าง) ในบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้มีวจีกรรม อันบริสุทธิ์ (เป็นต้น) และเสพเสนาสนะสงัดคือป่า และป่าเปลี่ยว เราเป็นอริยเจ้าองค์หนึ่งในพระอริยเจ้า เหล่านั้น. พราหมณ์ ! เรามองเห็นความเป็น

ผู้มีวจีกรรมอันบริสุทธิ์ (เป็นต้น) ในตนอยู่จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกสนิทแล้ว แลอยู่ในป่าได้.

พราหมณ์ ! ความตกลงใจอันนี้ได้มีแก่เราว่าถ้ากระไรในราตรีอันกำหนดได้แล้วว่า เป็นวัน ๑๔, ๑๕ และ๘ ค่ำแห่งปักข์ สวนอันถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ ป่าอันถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ ต้นไม้อันถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ เหล่าใด เป็นที่น่าพึงกลัวเป็นที่ชูชันแห่งโลมชาติ เราพึงอยู่ในเสนาสนะเช่นนั้นเถิดบางที เราอาจเห็นตัวความขลาด และความกลัวได้.

พราหมณ์ !เราได้อยู่ในเสนาสนะเช่นนั้น ในวันอันกำหนดนั้นแล้ว.

พราหมณ์ ! เมื่อเราอยู่ในเสนาสนะเช่นนั้นสัตว์ป่าแอบเข้ามา หรือว่านกยูง ทำกิ่งไม้แห้งให้ตกลงมา หรือว่าลมพัดหยากเย่อื ใบไม้ให้ตกลงมา ความตกใจกลัวได้เกิดแก่เราว่า นั่นความกลัวและความขลาด มาหาเราเป็นแน่.

ความคิดค้นได้มีแก่เราว่า ทำไมหนอ เราจึงเป็นผู้พะวงแต่ในความหวาดกลัว ถ้าอย่างไร เราจะหักห้ามความ ขลาดกลัวนั้นๆ เสีย โดยอิริยาบถที่ความขลาดกลัวนั้นๆ มาสู่เรา.

พราหมณ์ ! เมื่อเราจงกรมอยู่ ความกลัวเกิดมีมาเราก็ขืนจงกรมแก้ความขลาดนนั้ ตลอดเวลานั้น เราไม่ยืนไม่นั่ง ไม่นอน. เมื่อเรายืนอยู่ ความกลัวเกิดมีมา เราก็ขืนยืนแก้ความขลาดนั้น ตลอดเวลานั้น เราไม่จงกรม ไม่นั่ง ไม่นอน.

เมื่อเรานั่งอยู่ ความกลัวเกิดมีมา เราก็ขืนนั่งแก้ความขลาดนั้น ตลอดเวลานั้น เราไม่จงกรม ไม่ยืน ไม่นอน.

พราหมณ์ ! เมื่อเรานอนอยู่ ความขลาดเกิดมีมา เราก็ขืนนอนแกค้ วามขลาดนั้น ตลอดเวลานั้น เราไม่จงกรม ไม่ยืนไม่นั่งเลย.

หน้า 115

47 ทรงกั้นจิตจากกามคุณในอดีต ก่อนตรัสรู้
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๒๑/๑๗๓.

ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ มีความรู้สึกเกิดขึ้นว่า กามคุณห้าที่เป็นอดีต ที่เราเคยสัมผัสมาแล้วแต่ก่อน ได้ดับไปแล้ว เพราะความแปรปรวนก็จริง แต่โดยมากจิต ของเราเมื่อจะแล่น ก็แล่นไปสู่กามคุณเป็นอดีต นั้น น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณในปัจจุบันหรืออนาคตดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความตกลงใจได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ความไม่ประมาทและสติ เป็นสิ่ง ซึ่งเราผู้หวัง ประโยชน์แก่ตนเองพึงกระทำให้เป็นเครื่องป้องกันจิต ในเพราะกามคุณห้า อันเป็นอดีต ที่เราเคยสัมผัสมา และดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้, แม้จิตของพวกเธอทั้งหลาย เมื่อจะแล่น ก็คงแล่นไปในกามคุณห้า อันเป็นอดีต ที่พวกเธอเคยสัมผัสมาและดับไปแล้ว เพราะความแปรปรวน (เหมือนกัน) โดยมาก น้อยนัก ที่จะแล่นไปสู่กามคุณในปัจจุบัน หรืออนาคต.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะ เหตุนั้น ในเรื่องนี้ ความไม่ประมาท และสติ จึงเป็นสิ่งที่พวกเธอ ผู้หวังประโยชน์แก่ตัวเอง พึงกระทำให้เป็นเครื่องป้องกันจิต ในเพราะเหตุ กามคุณห้าอันเป็นอดีต ที่พวกเธอเคยสัมผัสมา และดับไปแล้ว เพราะความแปรปรวนนั้น.

หน้า 117

48 ทรงคอยควบคุมวิตก ก่อนตรัสรู้
-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๓๒/๒๕๒.

ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ได้เกิดความรู้สึกอันนี้ขึ้นว่า เราพึงทำวิตกทั้งหลายให้เป็นสองส่วนเถิด.

ภิกษุทั้งหลาย !เราได้ทำ กามวิตก พย๎าปาทวิตก วิหิงสาวิตก สามอย่างนี้ให้เป็นส่วนหนึ่ง ได้ทำ เนกขัมมวิตก อัพ๎ยาปาทวิตกอวิหิงสาวิตก สามอย่างนี้ให้เป็นอีก ส่วนหนึ่งแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรมีตนส่งไปอยู่อย่างนี้ กามวิตกเกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดแก่เราแล้ว กามวิตกนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียน ทั้งสองฝ่าย (คือทั้งตนและผู้อื่น) บ้าง เป็นไปเพื่อความดับ แห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน.

ภิกษุท้้งหลาย ! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่ … อย่างนี้กามวิตกย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! เราได้ละและบรรเทากามวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้ว กระทำ ให้สิ้นสุดได้แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรมีตนส่งไปอยู่อย่างนี้ พ๎ยาปาทวิตกเกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า พ๎ยาปาทวิตกเกิดแก่เราแล้ว ก็พ๎ยาปาทวิตกนั้นย่อมเป็นไปเพื่อ เบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นไปเพื่อความดับ แห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปพร้อม เพื่อนิพพาน.

ภิกษุท้้ง หลาย ! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่ … อย่างนี้พ๎ยาปาทวิตกย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! เราได้ละและบรรเทาพ๎ยาปาทวิตก อันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้ว กระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรมีตนส่งไปอยู่อย่างนี้ วิหิงสาวิตกเกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ก็วิหิงสาวิตกนั้นย่อมเป็นไปเพื่อ เบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นไปเพื่อความดับแห่ง ปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปพร้อม เพื่อนิพพาน.

ภิกษุท้้งหลาย ! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่ … อย่างนี้วิหิงสาวิตกย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุทั้งหลาย !เราได้ละและบรรเทาวิหิงสาวิตก อันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้ว กระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว.
หน้า 119
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆ มาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการ อย่างนั้นๆ ถ้าภิกษุ ตรึกตามตรองตามถึงกามวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละเนกขัมม-วิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งกามวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในกาม.

ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงพ๎ยาปาทวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละอัพ๎ยาปาทวิตกเสียกระทำแล้ว อย่างมากซึ่ง พ๎ยาปาทวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพ่อื ความตรึกในการพยาบาท.

ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงวิหิงสาวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละอวิหิงสาวิตกเสียกระทำแล้ว อย่างมาก ซึ่งวิหิงสาวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการทำสัตว์ให้ลำบาก.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนในคราวฤดูสารทคือเดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝน คนเลี้ยงโค ต้องเลี้ยงฝูงโค ในที่แคบ เพราะเต็มไปด้วยข้าวกล้า เขาต้องตีต้อนห้ามกันฝูงโคจาก ข้าวกล้านั้น ด้วยท่อนไม้ เพราะเขาเห็นโทษ คือการถูกประหาร การถูกจับกุม การถูกปรับไหม การติเตียน เพราะมีข้าวกล้านั้นเป็นเหตุ ข้อนี้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! ถึงเราก็ฉันนั้น ได้เห็นแล้วซึ่งโทษ ความเลวทรามเศร้าหมอง แห่งอกุศลธรรม ทั้งหลาย เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม ความเป็นฝักฝ่ายของความ ผ่องแผ้ว แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย.
หน้า 120
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรมีตนส่งไปอยู่อย่างนี้ เนกขัมมวิตก ย่อมเกิดขึ้น …1 อัพ๎ยาปาท-วิตกย่อมเกิดขึ้น … อวิหิงสาวิตกย่อมเกิดขึ้น.

เราย่อมรู้แจ้งชัดว่า อวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ก็อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อ เบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย แต่เป็นไปพร้อม เพื่อความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน.

แม้เราจะตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดคืนก็มองไม่เห็น ภัยที่จะเกิดขึ้นนึ้ เพราะอวิหิงสาวิตกนั้น เป็นเหตุ. แม้เราจะตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดวัน หรือตลอดทั้งกลางคืนกลางวัน ก็มองไม่เห็น ภัยอันจะเกิดขึ้นเพราะอวิหิงสาวิตกนั้นเป็นเหตุ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเราคิดเห็นว่า เมื่อเราตรึกตามตรองตามนานเกินไปนัก กายจะเมื่อยล้า เมื่อกาย เมื่อยล้าจิตก็อ่อนเพลีย เมื่อจิตอ่อนเพลีย จิตก็ห่างจากสมาธิ เราจึงได้ดำรงจิต ให้หยุดอยู่ในภายใน กระทำให้มีอารมณ์อันเดียวตั้งมั่นไว้ ด้วยหวังอยู่ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งขึ้นเลย ดังนี้.

1. ที่ละด้วยจุดนี้ หมายความว่าตรัสทีละวิตก แต่คำ ตรัสเหมือนกันหมด ผิดแต่ชื่อเท่านั้น ทุกๆ วิตกมี เนื้อความอย่างเดียวกัน. -ผู้แปล
หน้า 121
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆ มาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างน้้นๆ. ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงเนกขัมมวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละกามวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมาก ซึ่งเนกขัมมวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไป เพื่อความตรึกในการออกจากกาม.

ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอัพ๎ยาปาทวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละพ๎ยาปาทวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมาก ในอัพ๎ยาปาทวิตกจติ ของเธอนนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการ ไม่พยาบาท. ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละวิหิงสาวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากใน อวิหิงสาวิตก.

จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการไม่ยังสัตว์ให้ลำบาก.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนในเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน ข้าวกล้าทั้งหมด เขาขนนำไปในบ้านเสร็จแล้ว คนเลี้ยงโคพึงเลี้ยงโคได้. เมื่อเขาไปพักใต้ร่มไม้ หรือไปกลางทุ่งแจ้งๆ พึงทำแต่ความกำหนดว่า นั่นฝูงโค ดังนี้(ก็พอแล้ว) ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ! ถึงภิกษุก็เพียงแต่ทำความระลึกว่า นั่นธรรมทั้งหลายดังนี้ (ก็พอแล้ว) ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรเราได้ปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน สติเราได้ดำรงไว้แล้วไม่ฟั่นเฟือน กายสงบระงับ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์อันเดียวแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! เรานั้น เพราะสงัดจากกาม และ อกุศลธรรมทั้งหลาย ได้เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. (ข้อความต่อไปนี้เหมือนในตอนที่กล่าวด้วยการตรัสรู้ ในหัวข้อว่า “อาการแห่งการตรัสรู้” ที่หน้า ๑๗๔ ; จนกระทั่งจบวิชชาที่ ๓)

หน้า 123

49 ทรงค้นวิธีแห่งอิทธิบาท ก่อนตรัสรู้
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๖๒/๑๒๐๕.

ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ มีความสงสัยเกิดขึ้นว่า อะไรหนอเป็นหนทาง เป็นข้อปฏิบัติ1 เพื่อความเจริญแห่งอิทธิบาท ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้ข้อนี้เกิดขึ้นแก่เราว่าภิกษุนั้นๆ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยฉันทะ เป็นปธานกิจว่าด้วยอาการอย่างนี้ ฉันทะของเราย่อมมีในลักษณะที่จักไม่ย่อหย่อน ที่จักไม่เข้มงวดเกิน ที่จักไม่สยบอยู่ในภายใน ที่จักไม่ส่ายไปในภายนอก และเธอเป็นผู้มีความรู้สึก ทั้งในกาลก่อน และกาลเบื้องหน้าอยู่ด้วย ก่อนนี้เป็นเช่นใดต่อไป ก็เช่นนั้น ต่อไปเป็นเช่นใด ก่อนนี้ก็เช่นนั้น, เบื้องล่างเช่นใด เบื้องบนก็เช่นนั้น เบื้องบนเช่นใด เบื้องล่างก็เช่นนั้น กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวัน เหมือนกลางคืน

1. มีข้อความอีกสูตรหนึ่ง (-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๓๙/๑๑๓๖) ซึ่งมีข้อความเหมือนกับสูตรนี้ตลอดเรื่อง, ผิดกันแต่ใช้คำ ว่า “เป็นเหตุ เป็นปัจจัย” แทนคำ ว่า “เป็นหนทาง เป็นข้อปฏิบัติ” ดังที่ปรากฏอยู่ในสูตรนี้. -ผู้แปล

เธอย่อมอบรมจิตอันมีแสงสว่างด้วยทั้งจิตอันเปิดแล้ว ไม่มีอะไรพัวพัน ให้เจริญอยู่ด้วยอาการ อย่างนี้… (ข้อต่อไปอีก ๓ ข้อก็เหมือนกัน แต่เปลี่ยนจากคำว่าอิทธิบาทเป็นวิริยะ จิต ตะวิมังสา เท่านั้น . พระองค์ทรง พบการเจริญอิทธิบาทด้วยวิธีคิดค้นอย่างนี้).

หน้า 125

50 ธรรมที่ทรงอบรมอย่างมากก่อนตรัสรู้
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๔/๖๘.

ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, เราได้อบรมทำ ให้มากแล้ว ซึ่งธรรมห้าอย่าง. ธรรมห้าอย่างอะไรบ้าง ? ธรรมห้าอย่างคือ เราได้อบรม อิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นปธานกิจ และความเพียรมีประมาณโดยยิ่ง เป็นที่ห้า.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะความที่เราได้อบรมทำให้มากในธรรม มีความเพียร มีประมาณโดยยิ่ง เป็นที่ห้า เราได้น้อมจิตไปเฉพาะต่อธรรมใดๆ ซึ่งควรทำให้แจ้งโดยปัญญาอันยิ่ง เพื่อทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ในธรรมนั้นๆ เราได้ถึงแล้วซึ่งความสามารถทำได้ จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าเราหวังว่า เราพึงมีอิทธิวิธีมีประการต่างๆ ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน หลายคน เป็นคนเดียว ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบังไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ ผุดขึ้น และดำลงในแผ่นดินได้ เหมือนในน้ำเดิน ได้หนือน้ำเหมือนเดิน บนแผ่นดิน  ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งขัดสมาธิคู้บัลลังก์.

ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพมากอย่างนี้ได้ ด้วยฝ่ามือ และ แสดงอำนาจทางกาย เป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้ ดังนี้ก็ตาม ในอิทธิวิธีนั้นๆ เราก็ถึงแล้ว ซึ่งความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! หรือถ้าเราหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะหมด อาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ ดังนี้ ก็ตาม. ในวิชชานั้นๆ เราก็ถึงแล้วซึ่งความ สามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่.