เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  ตถาคต-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
    4 of 6  
 
  จากหนังสือ ตถาคต(พุทธวจน)  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  ทรงเผยแผ่พระศาสนา 197    
  69 . ทรงท้อพระทัยในการแสดงธรรม 198  
  70 . ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว ๓ เหล่า 200  
  71 . ทรงแสดงธรรมเพราะเห็น ความจำเป็นของสัตว์บางพวก 202  
  72 . ทรงเห็นลู่ทางที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์ 204  
  73 . มารทูลให้นิพพาน 206  
  74 . ทรงระลึกหาผู้รับปฐมเทศนา 207  
  75 . เสด็จพาราณสี - พบอุปกาชีวก 209  
  76 . การโปรดปัญจวัคคีย์ หรือ การแสดงปฐมเทศนา 211  
  77 . ทรงประกาศธรรมจักรที่ อิสิปตนมฤคทายวัน 217  
  78 . เกิดแสงสว่าง เนื่องด้วยการแสดงธรรมจักร 218  
  79 . แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการแสดงธรรมจักร 219  
  80 . จักรของพระองค์ไม่มีใครต้านทานได้ 220  
  81 . ทรงหมุนแต่จักรที่มีธรรมราชา (เป็นเจ้าของ) 222  
  82 . ส่งสาวกออกประกาศพระศาสนา 224  
  83 . อาการที่ทรงแสดงธรรม 225  
  84 . สมาธินิมิตในขณะที่ทรงแสดงธรรม 226  
  85 . ทรงแสดงธรรมด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง 227  
  86 . ทรงมีธรรมสีหนาทที่ทำเทวโลกให้สั่นสะเทือน 229  
  87 . ทรงมีธรรมสีหนาทอย่างองอาจ 231  
  88 . ทรงสอนเช่นเดียวกับ พระพุทธเจ้าทั้งปวง 233  
  89 . ทรงบริหารสงฆ์ จำนวนร้อย 234  
  90 . คำของพระองค์ ตรงเป็นอันเดียวกันหมด 235  
  91 . หลักที่ทรงใช้ในการตรัส (๖ อย่าง) 236  
  92 . ทรงมีการกล่าวที่ไม่ขัดแย้งกับบัณฑิตชนในโลก 238  
  93 . ทรงสอนเฉพาะแต่เรื่องทุกข์ กับความดับสนิทของทุกข์ 240  
  94 . สิ่งที่ตรัสรู้แต่ไม่ทรงนำมาสอนมีมากกว่าที่ทรงนำมาสอนมากนัก 242  
  95 . ทรงยืนยันเอง และทรงให้สาวกยืนยันว่ามีสมณะในธรรมวินัยนี้ 244  
  96 . ส่วนที่สาวกเข้มงวดกว่าพระองค์ 246  
  97 . เหตุที่ทำให้มีผู้มาเป็นสาวกของพระองค์ 248  
  98 . ประโยชน์ที่มุ่งหมายของพรหมจรรย์ 251  
  99 . ทรงเสพเสนาสนะป่าเรื่อยไป เพื่อให้เป็นตัวอย่าง 252  
  100 . ทรงฉันวันละหนเดียว 253  
  101 . ทรงมีการประทม อย่างตถาคต 254  
  102 . วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากตลอดพรรษา 256  
  103 . สิ่งที่ใครๆ ไม่อาจท้วงติงได้ 258  
       
 
 





ตถาคต Page 4/6


หน้า 198

69 ทรงท้อพระทัยในการแสดงธรรม
-บาลี ม. ม. ๑๓/๔๖๑/๕๐๙.1

ราชกุมาร ! ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า “ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้เป็นธรรมอันลึก สัตว์อื่นเห็นได้ยากยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมระงับและประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะ หยั่งลงง่ายๆ แห่งความตรึก เป็นของละเอียดเป็นวิสัยรู้ได้เฉพาะบัณฑิต ก็สัตว์เหล่านี้ มีอาลัยเป็นที่ยินดียินดีแล้วในอาลัย เพลิดเพลินแล้วในอาลัย สำหรับสัตว์ผู้มีอาลัยเป็น ที่ยินดี ยินดีเพลิดเพลินในอาลัยนั้น ยากนักที่จะเห็นปฏิจจสมุปบาทอันมีสิ่งนี้ (คือมีอาลัย) เป็นปัจจัย ยากนักที่จะเห็นธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง คือ ธรรมอันถอนอุปธิ ทั้งสิ้น ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัดความดับโดยไม่เหลือ และนิพพาน. หากเราพึง แสดงธรรมแล้วสัตว์อื่นไม่พึงรู้ทั่วถึง ข้อนั้นจักเป็นความเหนื่อยเปล่าแก่เรา เป็นความลำบาก แก่เรา.”

โอ, ราชกุมาร ! คาถาอันน่าเศร้าเหล่านี้ที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ได้ปรากฏแจ่มแจ้งแก่เราว่า “กาลนี้ไม่ควรประกาศธรรมที่เราบรรลุได้แล้วโดยยาก. ธรรมนี้ สัตว์ที่ถูกราคะโทสะรวบรัด แล้ว ไม่รู้ได้โดยง่ายเลย. สัตว์ที่กำหนัดด้วยราคะ ถูกกลุ่มมืดห่อหุ้มแล้ว จักไม่เห็นธรรม อันให้ถึงที่ทวนกระแส อันเป็นธรรมละเอียดลึกซึ้ง เห็นได้ยากเป็นอณู” ดังนี้.

ราชกุมาร ! เมื่อเราพิจารณาเห็นดังนี้,จิตก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อ การแสดงธรรม.
1. ยังมีในสูตรอื่นอีก เช่น ปาสราสิสูตร -บาลี มู. ม. ๑๒/๓๒๓/๓๒๑. –ผู้แปล

ราชกุมาร ! ครั้งนั้น ความรู้สึกข้อนี้ ได้บังเกิดขึ้นแก่สหัมบดีพรหม เพราะเธอรู้ความปริวิตก ในใจของเราด้วยใจ. ความรู้สึกนั้นมีว่า “ผู้เจริญ ! โลกจักฉิบหายเสียแล้วหนอ ผู้เจริญ ! โลกจักพินาศเสียแล้วหนอ เพราะเหตุที่จิตแห่งพระตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม” ดังนี้.

ลำดับนั้น สหัมบดีพรหมได้อันตรธานจากพรหมโลก มาปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเรา รวดเร็วเท่าเวลาที่บุรุษแข็งแรงเหยียดแขนออกแล้วงอเข้าเท่านั้น.

ราชกุมาร ! ครั้งนั้น สหัมบดีพรหม ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีเข้ามาหาเราถึงที่อยู่ แล้วกล่าวคำนี้กะเราว่า “พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาคจงแสดงธรรมเพื่อเห็นแก่ ข้าพระองค์เถิด ขอพระสุคตจงแสดงธรรมเถิด สัตว์ที่มีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อย ก็มีอยู่ เขาจักเสื่อมเสียเพราะไม่ได้ฟังธรรม. สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมีโดยแท้” ดังนี้.

หน้า 200

70 ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว ๓ เหล่า

-บาลี. ม. ม. ๑๓/๔๖๓/๕๑๑.

ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เรารู้แจ้งคำเชื้อเชิญของสหัมบดีพรหมแล้ว และเพราะอาศัยความกรุณา ในสัตว์ทั้งหลาย เราตรวจดูโลกด้วยพุทธจักขุแล้ว. เมื่อเราตรวจดูโลกด้วยพุทธจักขุอยู่ เราได้เห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีธุลีในดวงตาเล็กน้อยบ้าง มีมากบ้าง ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าบ้าง อ่อนบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้าง อาจสอนให้รู้ได้ง่ายบ้าง ยากบ้าง และบางพวกเห็นโทษ ในปรโลก โดยความเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือนในหนองบัวอุบล บัวปทุม บัวบุณฑริก ดอกบัวบางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ยังจมอยู่ในนํ้า บางเหล่าเกิดแล้ว ในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ ตั้งอยู่เสมอพื้นน้ำ บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำเจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ โผล่ขึ้นพ้นนํ้า อันน้ำไม่ถูกแล้ว มีฉันใด ราชกุมาร ! เราได้เห็นสัตว์ทั้งหลายเป็นต่างๆ กันฉันนั้น.

ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เราได้รับรองกะสหัมบดีพรหมด้วยคำ(ที่ผูกเป็นกาพย์) ว่า

ประตูแห่งนิพพานอันเป็นอมตะ เราเปิดไว้แล้วแก่สัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดมีโสต ประสาท สัตว์เหล่านั้นจงปลงศรัทธาลงไปเถิด พรหม ! เรารู้สึกว่ายาก จึงไม่กล่าว ธรรมอันประณีต ที่เราคล่องแคล่วชำนาญ ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย” ดังนี้.

ราชกุมาร ! ครั้งนั้น สหัมบดีพรหมรู้ว่าตนเป็นผู้ได้โอกาสอันพระผู้มีพระภาค ทรงกระทำแล้วเ พื่อแสดงธรรม จึงไหว้เรากระทำประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้นนั่นเอง.

หน้า 202

71 ทรงแสดงธรรมเพราะเห็น ความจำเป็นของสัตว์บางพวก
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๑๕๒/๔๖๑.

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้เห็นหรือไม่ได้เห็นตถาคตก็ตาม ได้ฟังหรือไม่ได้ ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วก็ตาม ก็หาเข้ามาสู่คลองแห่งกุศลธรรมได้ไม่. แต่บุคคล บางคนในโลกนี้ ได้เห็นหรือไม่ได้เห็นตถาคตก็ตาม ได้ฟังหรือไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคต ประกาศแล้วก็ตาม ย่อมเข้ามาสู่คลองแห่งกุศลธรรมทั้งหลายได้โดยแท้. ส่วนบุคคลบางคน ในโลกนี้ ต่อเมื่อได้เห็นตถาคต หรือได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว จึงเข้ามา สู่ครอง แห่งกุศลธรรมทั้งหลายได้ ถ้าไม่ได้เห็นตถาคต หรือไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมไม่เข้ามาสู่คลองแห่งกุศลธรรมทั้งหลายได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบุคคล ๓ ประเภทนั้น มีบุคคลอยู่ประเภทหนึ่ง ซึ่งต่อเมื่อได้เห็นตถาคต หรือได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว จึงจะเข้ามาสู่คลองแห่งกุศลธรรมทั้งหลายได้ ถ้าไม่ได้เห็นตถาคตหรือไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมไม่เข้ามาสู่คลองแห่ง กุศลธรรมทั้งหลายได้เลย. เราเพราะเห็นแก่บุคคลประเภทนี้แหละ จึงอนุญาตให้มีการ แสดงธรรม. และเพราะอาศัยบุคคลประเภทนี้เป็นหลักอีกเหมือนกัน จึงจำต้องแสดงธรรม แก่บุคคลประเภทอื่นด้วย.

หน้า 204

72 ทรงเห็นลู่ทางที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๔๖-๒๔๘/๘๒๐-๘๒๔.

ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งหนึ่ง ที่ตำบลอุรุเวลา ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ต้นไทรเป็นที่พักร้อนของ เด็กเลี้ยงแพะเมื่อเราแรกตรัสรู้ได้ใหม่ๆ ความปริวิตกแห่งใจได้เกิดขึ้นแก่เรา ขณะเข้าสู่ที่พัก กำบังหลีกเร้นอยู่ ว่า “นี่เป็นหนทางอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งความโศกและปริเทวะ เพื่อความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ทางนี้ คือ สติปัฏฐานสี่.

สี่เหล่าไหนเล่า ? คือ ภิกษุเป็นผู้มีธรรมดาตามเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่,เป็นผู้มีเพียรเผาบาป มีสติสัมปชัญญะนำอภิชฌา และโทมนัสในโลกออกได้  นี้แหละทางทางเดียว” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ลำดับนั้น สหัมบดีพรหมรู้ปริวิตกในใจของเราจึงอันตรธานจากพรหมโลก มาปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเรา รวดเร็วเท่าเวลาที่บุรุษแข็งแรงเหยียดแขนออก แล้วงอเข้า เท่านั้น. ครั้งนั้นสหัมบดีพรหมทำผ้าห่มเฉวียงบ่าน้อมอัญชลีเข้ามาหาเรา แล้วกล่าวกะเราว่า “อย่างนั้นแล

พระผู้มีพระภาค ! อย่างนั้นแล พระสุคต ! นั่นเป็นทางอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์หมดจด ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงเสียได้ซึ่งความโศกและปริเทวะ … เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง” แล้วได้กล่าวคำ (อันผูกเป็นกาพย์) ว่า “พระสุคต ผู้มีธรรมดาเห็นที่สุดคือความสิ้นไป แห่งชาติ. ผู้มีพระทัยอนุเคราะห์สัตว์ด้วยความเกื้อกูล ย่อมทรงทราบทางเอกซึ่งเหล่า พระอรหันต์ได้อาศัยข้ามแล้วในกาลก่อน และกำลังข้ามอยู่และจักข้าม ซึ่งโอฆะได้” ดังนี้.

หน้า 206

73 มารทูลให้นิพพาน
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๓๑/๑๐๒.

อานนท์ ! ครั้งหนึ่ เมื่อเราอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ต้นไทรเป็นที่พักร้อน ของเด็กเลี้ยงแพะ เมื่อได้ตรัสรู้ใหม่ๆ มารผู้มีบาปได้เข้ามาหาเราถึง ที่นั้น ยืนอยู่ในที่ควรแล้ว กล่าวกะเราว่า “ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพานเถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานเถิด บัดนี้เป็นเวลาสมควรปรนิ พิ พานของพระผมู้ พี ระภาคแลว้ ”.

เราได้กล่าวกะมารนั้นว่า“ท่านผู้มีบาป ! เราจักไม่ปรินิพพานก่อน ตลอดกาลที่ ภิกษุ … ภิกษุณี … อุบาสก … อุบาสิกา ผู้เป็นสาวก(และสาวิกา) ของเรา ยังไม่เป็นผู้ฉลาด ยังไม่ได้รับคำแนะนำยังไม่แกล้วกล้า ยังไม่เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมควรแก่ธรรม ปฏิบัติถูกต้อง ปฏิบัติตามธรรม ยังต้องเรียนความรู้ของอาจารย์ตนต่อไปก่อน จึงจักบอก แสดง บัญญัติแต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น ซึ่งพระสัทธรรม จนข่มขี่ปรัปวาท ที่เกิดขึ้น ให้ราบเรียบโดยธรรม แล้วแสดงธรรมประกอบด้วยความน่าอัศจรรย์ได้.

หน้า 207

74 ทรงระลึกหาผู้รับปฐมเทศนา

-บาลี ม. ม. ๑๓/๔๖๔/๕๑๒.

ราชกุมาร ! ความคิดข้อนี้ได้มีแก่เราว่า “เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ? ใครจักรู้ทั่วถึง ธรรมนี้โดยพลันหนอ ?” ความรู้สึกได้เกิดแก่เราว่า “อาฬารผู้กาลามโคตรนี้แลเป็นบัณฑิต ผู้ฉลาด มีเมธา มีชาติแห่งสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยมานานแล้ว ถ้ากระไร เราควรแสดงธรรมแก่อาฬารผู้กาลามโคตร นี้ก่อนเถิด เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้เป็นแน่”.

ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เทวดาได้เข้ามากล่าวคำนี้กะเราว่า “พระองค์ผู้เจริญ ! อาฬารผู้ กาลามโคตรได้กระทำกาละ๗ วันมาแล้ว”. และความรู้สึกก็ได้เกิดแก่เราว่า “อาฬารผู้ กาลามโคตร ได้กระทำกาละเสีย ๗ วันแล้ว อาฬารผู้กาลามโคตรได้เสื่อมจากคุณ อันใหญ่ เสียแล้ว เพราะหากว่า ถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ไซร้ จักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้โดยพลัน” ดังนี้.

ราชกุมาร ! ความคิดข้อนี้ได้เกิดมีแก่เราว่า “อุทกผู้รามบุตรนี้แล เป็นบัณฑิต ผู้ฉลาด มีเมธา มีชาติแห่งสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยมานานแล้ว ถ้ากระไร เราควรแสดงธรรมแก่ อุทกผู้รามบุตร นั้นก่อน เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้เป็นแน่”.

ราชกุมาร ! เทวดาได้เข้ามากล่าวคำนี้กะเราว่า“พระองค์ผู้เจริญ ! อุทกผู้รามบุตร ได้กระทำ กาละเสียเมื่อตอนดึกคืนนี้แล้ว”. และความรู้สึกอันนี้ได้เกิดแก่เราว่า “อุทกผู้รามบุตร ได้กระทำกาละเสียเมื่อตอนดึกคืนนี้แล้ว อุทกผู้รามบุตรได้เสื่อมจากคุณอันใหญ่เสียแล้ว เพราะหากว่าถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ไซร้ เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมโดยพลันทีเดียว !เราจักแสดงธรรม แก่ใครก่อนเล่าหนอ ? ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้โดยพลัน ?” ดังนี้.

ราชกุมาร ! ความคิดอันนี้ได้เกิดแก่เราว่า “ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้อุปัฏฐากเรา เมื่อบำเพ็ญความ เพียร เป็นผู้มีอุปการะมากแก่เรา ถ้ากระไรเราควรแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อนเกิด”.

ราชกุมาร ! ความสงสัยเกิดแก่เราว่า “บัดนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ ?” ด้วยจักขุเป็น ทิพย์หมดจด ล่วงจักขุสามัญมนุษย์ เราได้เห็นภิกษุปัญจวัคคีย์ผู้อยู่แล้วที่เมืองพาราณสี ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน.

ราชกุมาร ! ครั้งนั้น ครั้นเราอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาตามพอใจแล้ว ได้หลีกไปโดยทางแห่งเมือง พาราณสี.

หน้า 209

75 เสด็จพาราณสี - พบอุปกาชีวก
-บาลี ม. ม. ๑๓/๔๖๖/๔๑๒-๓.1 (1. ยังมีในสูตรอื่นอีก เช่น ปาสราสิสูตร -บาลี ๑๒/๓๒๘/๓๒๕. –ผู้แปล)

ราชกุมาร ! เรา, ครั้นอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาตามพอใจแล้ว ได้หลีกไปโดยทางแห่งเมือง พาราณสี. ราชกุมาร !อาชีวกชื่ออุปกะ ได้พบกะเราที่ระหว่างตำบลคยาและโพธิ. เขาได้กล่าวคำนี้กะเราผู้เดินทางไกลมาแล้วว่า “ผู้มีอายุ !อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก ผิวพรรณของท่านหมดจดขาวผ่อง ผู้มีอายุ !ท่านบวชเจาะจงกะใคร หรือว่าใครเป็นครู ของท่าน หรือว่าท่านชอบใจธรรมของใคร ?” ดังนี้.

ราชกุมาร ! เมื่ออุปกาชีวกถามแล้วอย่างนี้ เราได้ตอบอุปกาชีวกด้วยคำ (ที่ผูกเป็นกาพย์) ว่า“เราเป็นผู้ครอบงำได้หมด, เป็นผู้รู้จบหมด,ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในสิ่งทั้งหลาย ละได้แล้ว ซึ่งสิ่งทั้งปวง หลุดพ้นแล้ว เพราะธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา รู้ยิ่งเองแล้วจะต้องเจาะจงเอาใครเล่า !อาจารย์ของเราไม่มี ผู้ที่เป็นเหมือนเราก็ไม่มี ผู้จะเปรียบกับเราก็ไม่มี ในโลกและทั้ง เทวโลก. เราเป็นอรหันต์ในโลก เราเป็นครูไม่มีใครยิ่งไปกว่า.

เราผู้เดียวเป็นสัมมาสัมพุทธะ เราเป็นผู้ดับแล้วเย็นสนิท จะไปสู่เมืองแห่งชาวกาสี เพื่อแผ่ ธรรมจักร. ในเมื่อโลกเป็นราวกะตาบอด เราได้กระหน่ำตีกลองแห่งอมตธรรมแล้ว.” ดังนี้.“ ผู้มีอายุ ! ท่านเป็นพระอรหันต์ ผู้ชนะไม่มีที่สุด เหมือนอย่างที่ท่านปฏิญญานั้นเชียวหรือ ”“ผู้ที่เป็นผู้ชนะเช่นเดียวกับเรา ก็คือผู้ที่ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว เราชนะธรรมอันลามกแล้ว. แน่ะอุปกะ !เหตุนั้นเราจึงเป็นผู้ชนะ” ดังนี้.

ราชกุมาร ! ครั้นเรากล่าวดังนี้ อุปกาชีวกได้กล่าวว่า “เห็นจะเป็นได้ 1 ผู้มีอายุ !” ดังนี้แล้ว ส่ายศีรษะไปมา แลบลิ้นถือเอาทางสูง 2 หลีกไปแล้ว.

1. คำ นี้เห็นจะเป็นคำ เยาะ บาลีตอนนี้มีแต่ “หุเวยฺยาวุโส” เท่านั้น ไม่ได้ใส่ประธานอะไรไว้ คงหมายว่าประธานของประโยคนี้ คือคำ ที่พระองค์ตรัสนั่นเอง อรรถกถาแก้ว่า “ชื่อแม้เช่นนั้นพึงมีได้”. –ผู้แปล
2. บาลีเป็น อุมฺมคฺโค. ตามตัวว่า ทางขึ้น. มีบางท่านแปลว่า ทางผิด, ที่จริงเขาน่าจะเดินสวนทางขึ้นไปทางเหนือ ส่วนพระองค์ลงไปพาราณสี เป็นทางใต้. -ผู้แปล.


หน้า211

76 การโปรดปัญจวัคคีย์ หรือ การแสดงปฐมเทศนา
-บาลี ม. ม. ๑๓/๔๖๗/๕๑๔.1

ราชกุมาร ! ลำดับนั้น เราจาริกไปโดยลำดับเมืองพาราณสีถึงที่อยู่ แห่งภิกษุปัญจวัคคีย์ ณ อิสิปตน-มฤคทายวันแล้ว. ภิกษุปัญจวัคคีย์เห็นเรามาแต่ไกลได้ตั้ง กติกาแก่กันและกัน ว่า “ผู้มีอายุ ! พระสมณโคดมนี้กำลังมาอยู่, เธอเป็นผู้มักมากสลัดความเพียร เวียนมาเพื่อความ เป็นคนตํ่าเสียแล้ว. เช่นนั้นเราอย่าไหว้ อย่าลุกรับ อย่าพึงรับบาตร จีวรของเธอ เป็นอันขาด. แต่จักตั้งอาสนะไว้ ถ้าเธอปรารถนา จักนั่งได้” ดังนี้.

ราชกุมาร ! เราเข้าไปใกล้ภิกษุปัญจวัคคีย์ด้วยอาการอย่างใด เธอไม่อาจถือตามกติกา ของตนได้ด้วยอาการอย่างนั้น บางพวกลุกรับและรับบาตรจีวรแล้ว บางพวกปูอาสนะแล้ว บางพวกตั้งน้ำล้างเท้าแล้ว แต่เธอร้องเรียกเราโดยชื่อ (ว่าโคดม) ด้วย และโดยคำว่า ท่านผู้มีอายุ (อาวุโส) ด้วย.ครั้นเธอกล่าวอย่างนั้น เราได้กล่าวคำนี้กะภิกษุปัญจวัคคีย์นั้นว่า
1. ยังมีในสูตรอื่นอีก เช่น ปาสราสิสูตร -บาลี ๑๒/๓๒๙/๓๒๖. –ผู้แปล

“ภิกษุทั้งหลาย ! เธออย่างเรียกร้องเราโดยชื่อและโดยคำว่า ‘ผู้มีอายุ ! (อาวุโส)’ ภิกษุทั้งหลาย ! เราเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เธอจงเงี่ยโสตลง เราจักสอนอมตธรรม ที่เราได้บรรลุแล้ว เราจักแสดงธรรม เมื่อเธอปฎิบัติอยู่ตามที่เราสอน ในไม่นานเทียว จักกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม อันเป็นยอดสุดแห่งพรหมจรรย์ได้ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ อันเป็นประโยชน์ที่ปรารถนาของกุลบุตร ผู้ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ” ดังนี้.

ราชกุมาร ! ครั้นเรากล่าวดังนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวคำนี้กะเราว่า “ผู้มีอายุ โคดม ! แม้ด้วยอิริยาปฏิปทา และทุกรกิริยานั้น ท่านยังไม่อาจบรรลุอุตตริมนุสสธัมม์ อลมริย-ญาณทัสสนวิเศษได้เลย ก็ในบัดนี้ ท่านเป็นคนมักมาก สลัดความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็น คนมักมากแล้ว ทำไมจะบรรลุอุตตริมนุสสธัมม์อลมริยญาณทัสสนวิเศษได้เล่า ?”

“ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตไม่ได้เป็นคนมักมากสลัดความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคน มักมากดอก ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง. ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงเงี่ยโสตลง เราจะสอนอมตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว เราจักแสดงธรรม.

เมื่อเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสอน ในไม่นานเทียว จักกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม อันเป็นยอดสุดแห่งพรหมจรรย์ได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ อันเป็นประโยชน์ที่ปรารถนาของเหล่ากุลบุตร ผู้ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ”.

ราชกุมาร ! ภิกษุปัญจวัคคีย์ ได้กล่าวคำนี้ กะเราอีกแม้ครั้งที่สอง (อย่างเดียวกับครั้งแรก).
ราชกุมาร ! เราก็ได้กล่าวคำนี้กะภิกษุปัญจวัคคีย์แม้ครั้งที่สอง (อย่างเดียวกับครั้งแรก).
ราชกุมาร ! ภิกษุปัญจวัคคีย์ ได้กล่าวคำนี้ กะเราอีกแม้ครั้งที่สาม (อย่างเดียวกับครั้งแรก).
ราชกุมาร ! ครั้นภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนี้แล้ว,เราได้กล่าวคำนี้กะพวกเธอว่า “ภิกษุทั้งหลาย ! เธอจำได้หรือ ? คำอย่างนี้นี่เราได้เคยกล่าวกะเธอทั้งหลายในกาลก่อนแต่นี้บ้างหรือ เธอตอบว่า “หาไม่ท่านผู้เจริญ !”

1
เรากล่าวอีกว่า “ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง. พวกเธอจงเงี่ยโสตลง เราจะสอน อมต1 เปลี่ยน อาวุโส เป็น ภฺนเต ตรงนี้. -ผู้แปล

ธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว, เราจักแสดงธรรม, เมื่อเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสอน ในไม่นานเทียว จักกระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม อันเป็นยอดสุดแห่งพรหมจรรย์ได้ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ อันเป็นประโยชน์ที่ปรารถนาของเหล่ากุลบุตร ผู้ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ” ดังนี้.

ราชกุมาร ! เราได้สามารถ เพื่อให้ ภิกษุปัญจวัคคีย์เชื่อแล้วแล. ราชกุมาร ! เรากล่าว สอนภิกษุ ๒ รูปอยู่.ภิกษุ ๓ รูปเที่ยวบิณฑบาต เราหกคนด้วยกัน เลี้ยงชีวิตให้เป็นไป ด้วยอาหารที่ภิกษุ ๓ รูปนำมา. บางคราวเรากล่าวสอนภิกษุ ๓ รูปอยู่ ภิกษุ ๒ รูป เที่ยวบิณฑบาต เราหกคนเลี้ยงชีวิตให้เป็นไป ด้วยอาหารที่ภิกษุ ๒ รูปนำมา.1

ราชกุมาร ! ครั้งนั้น, เมื่อเรากล่าวสอน พร่ำสอนภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ ๑ เธอกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม อันเป็นยอดสุดแห่งพรหมจรรย์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ อันเป็นประโยชน์ที่ปรารถนาของเหล่ากุลบุตร ผู้ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ ได้แล้ว.
1. ในที่นี้ ได้แก่การตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตร, เรื่องเบ็ดเตล็ด และอนัตตลักขณสูตร เป็นครั้งสุดท้าย เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว จึงไม่ได้นำ มาใส่ไว้ในที่นี้. -ผู้แปล(ข้อความใน ปาสราสิสูตร -บาลี มู. ม. ๑๒/๓๓๒/๓๒๖ มีแปลกออกไปบ้างเล็กน้อย ในตอนนี้ดังนี้ )

ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งนั้น เมื่อเรากล่าวสอน พร่ำสอนภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอนั้น ทั้งที่เป็นผู้มีการเกิดเป็นธรรมดาอยู่ด้วยตน ก็รู้แจ้งแล้วซึ่งโทษอันต่ำทรามในความ เป็นผู้มีการเกิดเป็นธรรมดา.

เธอแสวงหาอยู่ซึ่งนิพพาน อันเป็นธรรมที่ปลอดภัยจากเครื่องผูกรัดไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นธรรมที่ไม่มีการเกิด ก็ได้เข้าถึงแล้วซึ่งนิพพาน อันเป็นธรรมที่ปลอดภัยจากเครื่องผูกรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นธรรมไม่มีการเกิด.

เธอนั้นทั้งที่เป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดาอยู่ด้วยตน ก็รู้แจ้งชัดแล้วซึ่งโทษอันต่ำทราม ในความเป็นผู้มีความชราเป็นธรรมดา.

เธอแสวงหาอยู่ซึ่งนิพพาน อันเป็นธรรมที่ปลอดภัยจากเครื่องผูกรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นธรรมที่ไม่มีความชรา ก็ได้เข้าถึงแล้วซึ่งนิพพาน อันเป็นธรรมที่ปลอดภัยจากเครื่องผูกรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นธรรมไม่มีความชรา.

เธอนั้น ทั้งที่เป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอยู่ด้วยตน ก็รู้แจ้งชัดแล้ว ซึ่งโทษอันต่ำทราม ในความเป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา.

เธอแสวงหาอยู่ซึ่งนิพพาน อันเป็นธรรมที่ปลอดภัยจากเครื่องผูกรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นธรรมไม่มีความเจ็บไข้ ก็ได้เข้าถึงแล้วซึ่งนิพพาน อันเป็นธรรมที่ปลอดภัยจากเครื่อง ผูกรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นธรรมไม่มีความเจ็บไข้.

เธอนั้น ทั้งที่เป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดาอยู่ด้วยตน ก็รู้แจ้งชัดแล้วซึ่งโทษอันต่ำทราม ในความเป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดา.

เธอแสวงหาอยู่ซึ่งนิพพาน อันเป็นธรรมที่ปลอดภัยจากเครื่องผูกรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นธรรมที่ไม่ตาย ก็ได้เข้าถึงแล้วซึ่งนิพพาน อันเป็นธรรมที่ปลอดภัยจากเครื่องผูกรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นธรรมไม่ตาย.

เธอนั้น ทั้งที่เป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาอยู่ด้วยตน ก็รู้แจ้งชัดแล้วซึ่งโทษอัน ต่ำทราม ในความเป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา.

เธอแสวงหาอยู่ซึ่งนิพพานอันเป็นธรรมที่ปลอดภัยจากเครื่องผูกรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นธรรมที่ไม่มีความเศร้าหมอง ก็ได้เข้าถึงแล้วซึ่งนิพพาน อันเป็นธรรมที่ปลอดภัยจาก เครื่องผูกรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นธรรมไม่เศร้าหมอง.

ญาณและทัสสนะ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เธอเหล่านั้นว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป ดังนี้.

หน้า 217

77 ทรงประกาศธรรมจักรที่ อิสิปตนมฤคทายวัน
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๔๔๙/๖๙๙.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะได้ประกาศอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตน-มฤคทายวัน ใกล้นครพาราณสี เป็นธรรมจักรที่สมณะหรือพราหมณ์, เทพ มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จะต้านทานให้หมุนกลับมิได้.

ข้อนี้คือ การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้งการเปิดเผยการจำแนก และการทำให้ตื้น ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่ประการ สี่ประการได้แก่ความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์ ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์ ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ และความจริงอันประเสริฐ คือทางทำผู้ปฏิบัติให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

หน้า 218

78เกิดแสงสว่าง เนื่องด้วย การแสดงธรรมจักร
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๗/๑๒๗.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใดตถาคตประกาศอนุตตร-ธรรมจักร, เมื่อนั้นในโลกนี้และเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ย่อมเกิด แสงสว่างอันยิ่งหาประมาณมิได้ ยิ่งกว่าเทวนุภาพของเทวดา.

ในโลกันตริกนรกอันเปิดโล่งเป็นนิจ แต่มืดมิดจนหาการเกิดแห่งจักขุวิญญาณมิได้ อันแสงแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ที่มีฤทธิ์อานุภาพอย่างนี้ส่องไปไม่ถึง ณ ที่นั้นแสงสว่างอันยิ่งจนประมาณมิได้ ยิ่งกว่าเทวานุภาพ ย่อมบังเกิดขึ้น.

สัตว์ที่เกิดอยู่ ณ ที่นั้น จะรู้จักกันได้ด้วยแสงสว่างนั้น ร้องขึ้นว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! ได้ยินว่าสัตว์อื่นอันเกิดอยู่ในที่นี้ นอกจากเราก็มีอยู่” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็นอัศจรรย์ครั้งที่สี่ ที่ยังไม่เคยมีได้บังเกิดมีขึ้น เพราะการบังเกิดแห่ง ตถาคตผู้อรหันตสัมมา-สัมพุทธะ.

หน้า 219

79 แผ่นดินไหว เนื่องด้วย การแสดงธรรมจักร
-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๒๒, ๓๒๓/๑๖๗.

อานนท์ ! เหตุปัจจัยที่ทำให้ปรากฏการไหวแห่งแผ่นดินอันใหญ่หลวง มีอยู่แปดประการ. …อานนท์ ! เมื่อใด ตถาคตย่อมยังธรรมจักร อันไม่มีจักรอื่นยิ่งกว่าให้เป็นไป เมื่อนั้นแผ่นดิน ย่อมหวั่นไหวย่อมสั่นสะเทือน ย่อมสั่นสะท้าน. อานนท์ ! นี้แล เป็นเหตุปัจจัยคำรบหก แห่งการปรากฏการไหวของแผ่นดินอันใหญ่หลวง.

หน้า 220

80 จักรของพระองค์ไม่มีใครต้า
นทานได้
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๖/๑๓๑.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักรพรรดิราชที่ประกอบไปด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมอาจหมุนจักรโดยธรรม ให้เป็นไปได้.และจักรนั้น เป็นจักรที่มนุษย์ไรๆ ผู้เป็นข้าศึกไม่อาจต้านทานให้หมุนกลับได้ ด้วยมือ. องค์ ๕ ประการ คืออะไรบ้างเล่า ? องค์ ๕ ประการ คือ จักรพรรดิราชนั้น เป็นคนผู้รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักประมาณที่พอเหมาะ รู้จักกาละรู้จักบริษัท.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักรพรรดิที่ประกอบด้วยองค์ห้าเหล่านี้แล ที่สามารถหมุนจักรโดยธรรม ให้เป็นไปได้และเป็นจักรที่ใครๆ ผู้เป็นข้าศึก ไม่อาจต้านทานให้หมุนกลับได้ด้วยมือ ข้อนี้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้เป็นอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง ก็เป็นฉันนั้น.

ตถาคตประกอบด้วยธรรม ๕ ประการแล้ว ย่อมหมุน ธรรมจักรอันไม่มีจักรอื่นยิ่งไปกว่า ให้เป็นไปได้โดยธรรม. และจักรนั้น เป็นจักรที่สมณะหรือพราหมณ์เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่สามารถต้านทานให้หมุนกลับได้. ธรรม ๕ ประการนั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันต์ตรัสรู้ชอบเองย่อมเป็นผู้รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักประมาณ ที่พอเหมาะ รู้จักกาละ รู้จักบริษัท ตถาคตประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล จึงหมุน ธรรมจักรอันไม่มีจักรอื่นยิ่งกว่า ให้เป็นไปได้โดยธรรม และจักรนั้นเป็นจักรที่สมณะ หรือ พราหมณ์เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่สามารถต้านทานให้หมุนกลับได้ ดังนี้.

หน้า 222

81ทรงหมุนแต่จักรที่มีธรรมราชา(เป็นเจ้าของ)
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๘/๑๓๓.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้พระเจ้าจักรพรรดิราชผู้ทรงธรรมเป็นธรรมราชาอยู่แล้ว พระองค์ก็ยังไม่ ทรงหมุน จักรอันไม่มีพระราชา ให้เป็นไป.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามขึ้นว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ใครเล่าจะมาเป็นพระราชาให้แก่พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชาอยู่เองแล้ว”.

ภิกษุ ! ธรรมนะซิ เป็นพระราชาให้แก่พระเจ้าจักรพรรดิราชผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชาอยู่เอง แล้ว. ภิกษุ ! จักรพรรดิราชผู้ประกอบในธรรม เป็นธรรมราชา ย่อมอาศัยธรรมอย่างเดียว สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็น อธิปไตย ย่อมจัดการอารักขาป้องกันและคุ้มครองโดยชอบธรรม ในหมู่ชน ในราชสำนัก ในกษัตริย์ที่เป็นเมืองออกในหมู่พล ในพราหมณ์และคฤหบดี ในราษฎรชาวนิคม และชนบท ในสมณะและพราหมณ์ ทั้งในเนื้อและนกทั้งหลาย. ภิกษุ ! จักรพรรดิราชผู้ประกอบในธรรม เป็นธรรมราชา

ผู้เป็นเช่นนี้แลชื่อว่า เป็นผู้หมุนจักรให้เป็นไป โดยธรรมจักรนั้นเป็นจักรที่มนุษย์ใดๆ ผู้เป็นข้าศึก ไม่อาจต้านทานให้หมุนกลับได้ด้วยมือ ข้อนี้ฉันใด ภิกษุ ! ตถาคตก็ฉันนั้น เหมือนกัน ตถาคตเป็นอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง เป็นธรรมราชาผู้ประกอบด้วยธรรมอาศัยธรรม อย่างเดียว สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรมเป็นยอดธง มีธรรมเป็นอธิปไตย ย่อมจัดการอารักขาป้องกันและคุ้มครองโดยธรรมในหมู่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา โดยการให้โอวาทว่ากายกรรม วจีกรรม มโนกรรมอย่างนี้ๆ ควรประพฤติ อย่างนี้ๆ ไม่ควรประพฤติ ว่า อาชีวะอย่างนี้ๆ ควรดำเนิน อย่างนี้ๆ ไม่ควรดำเนิน  และว่า คามนิคมเช่นนี้ๆ ควรอยู่อาศัย เช่นนี้ๆ ไม่ควรอยู่อาศัย ดังนี้.

ภิกษุ ! ตถาคตผู้เป็นอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง เป็นธรรมราชาผู้ประกอบในธรรม ผู้เป็นเช่นนี้แล ชื่อว่าย่อมยังธรรมจักร อันไม่มีจักรอื่นยิ่งไปกว่าให้เป็นไปโดยธรรมนั่นเทียว. จักรนั้นเป็นจักร ที่สมณะหรือพราหมณ์ เทวดามาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่อาจต้านทานให้หมุนกลับ ได้ฉะนั้น.

หน้า 224

82 ส่งสาวกออกประกาศพระศาสนา
-บาลี มหา. วิ. ๔/๓๙/๓๒.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวงทั้งที่เป็นของทิพย์และเป็นของมนุษย์, แม้พวกเธอทั้งหลายก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์และของมนุษย์.

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย จงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่อความเอ็นดูแก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย อย่าไปทางเดียวกันถึงสองรูป.

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้องต้น ให้งดงามในท่ามกลาง ให้งดงามในที่สุด,จงประกาศพรหมจรรย์ ให้เป็นไปพร้อมทั้งอรรถะ ทั้งพยัญชนะให้ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง  สัตว์ทั้งหลายที่เป็นพวกมีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยก็มีอยู่. สัตว์พวกนี้ย่อมเสื่อมจากคุณที่ควรได้เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมีเป็นแน่.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้เราเอง ก็จักไปสู่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม.

หน้า 225

83 อาการที่ทรงแสดงธรรม
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๕๖/๕๖๕.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่งมิใช่เพื่อไม่รู้ยิ่ง เราย่อมแสดงธรรม มีเหตุผลพร้อม มิใช่ไม่มีเหตุผลพร้อม เราย่อมแสดงธรรม มีความน่าอัศจรรย์มิใช่ ไม่มีอัศจรรย์.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่งมีเหตุผลพร้อม มีความน่าอัศจรรย์ มิใช่แสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง ไม่มีเหตุผล ไม่มีความน่าอัศจรรย์อยู่ดังนี้ โอวาทก็เป็นสิ่งที่ใครๆ ควรทำตาม อนุสาสนี ก็เป็นสิ่งที่ใครๆควรทำตาม.

ภิกษุทั้งหลาย ! พอละ เพื่อความยินดี ความอิ่มเอิบใจความโสมนัส แก่พวกเธอทั้งหลายว่า “พระผู้มีพระภาคเป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาค ตรัสดีแล้ว พระสงฆ์คือผู้ปฏิบัติดีแล้ว” ดังนี้.

หน้า 226

84 สมาธินิมิตในขณะที่ทรงแสดงธรรม
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๖๐/๔๓๐.

อัคคิเวสนะ ! ก็เราสำนึกอยู่เสมอว่า เราเป็นผู้แสดงธรรม แก่บริษัทเป็นจำนวนร้อยๆ. อาจจะมี คนสักคนหนึ่ง มีความสำคัญอย่างนี้ว่า “พระสมณโคดมแสดงธรรมปรารภเราคนเดียวเท่านั้น ดังนี้  อัคคิเวสนะ !ท่านอย่าพึงเห็นอย่างนั้นเลย ตลอดเวลาที่ตถาคตยังแสดงธรรมอยู่ โดยชอบ เพื่อประโยชน์ให้มหาชนรู้แจ้ง อยู่โดยท่าเดียว.

อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดงกระทั่งคำสุดท้ายแห่งการกล่าวเรื่องนั้นๆ ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิตเป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคยได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้.


หน้า
227

85 ทรงแสดงธรรมด้วยความ ระมัดระวังอย่างยิ่ง
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๓๗/๙๙.

ภิกษุทั้งหลาย ! พญาสัตว์ชื่อสีหะ ออกจากถ้ำที่อาศัยในเวลาเย็น เหยียดยืดกายแล้ว เหลียวดูทิศทั้งสี่โดยรอบ บันลือสีหนาทสามครั้งแล้ว ก็เที่ยวไปเพื่อหาอาหาร.

ราชสีห์นั้น เมื่อตะครุบช้าง ก็ตะครุบด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งไม่หละหลวม. เมื่อตะครุบ ควายป่า ก็ตะครุบด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งไม่หละหลวม. เมื่อตะครุบวัวก็ตะครุบ ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งไม่หละหลวม. เมื่อตะครุบเสือดาว ก็ตะครุบด้วยความระมัดระวัง อย่างยิ่งไม่หละหลวม.

แม้ที่สุดแต่เมื่อตะครุบสัตว์เล็กๆ เช่นกระต่ายและแมว ก็ตะครุบด้วยความระมัดระวัง อย่างยิ่งไม่หละหลวม. เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะราชสีห์นั้นคิดว่าเหลี่ยมคูของราชสีห์ อย่าได้เสื่อมเสียไปเสียเลย ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็คำว่า ราชสีห์ๆ นี้เป็นคำแทนชื่อตถาคตผู้อรหันต์ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง ด้วยเหมือนกันการแสดงธรรมแก่บริษัทนั่นแหละ คือ การบันลือสีหนาทของตถาคต.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ก็แสดงด้วยความระมัดระวังอย่าง ยิ่งไม่หละหลวม.

เมื่อแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ก็แสดงด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งไม่หละหลวม. เมื่อแสดงแก่อุบาสกทั้งหลาย ก็แสดงด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ไม่หละหลวม. เมื่อแสดงแก่อุบาสิกาทั้งหลาย ก็แสดงด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งไม่หละหลวม. แม้ที่สุดแต่เมื่อแสดงแก่ปุถุชนชั้นต่ำทั่วไปเช่น แก่คนขอทานหรือ พวกพรานทั้งหลาย ก็ย่อมแสดงด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ไม่หละหลวมเลย. เพราะเหตุไรเล่าภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุว่า ตถาคตเป็นผู้หนักในธรรมเป็นผู้เคารพต่อธรรม ดังนี้.

หน้า 229

86 ทรงมีธรรมสีหนาทที่ทำเทวโลกให้ สั่นสะเทือน
-บาลี จตุกฺก . อํ. ๒๑/๔๒/๓๓.

ภิกษุทั้งหลาย ! พญาสัตว์ชื่อสีหะ ออกจากถ้ำที่อาศัยในเวลาเย็น เหยียดกายแล้ว เหลียวดูทิศทั้งสี่โดยรอบ บันลือสีหนาทสามครั้งแล้ว ก็เที่ยวไปเพื่อหาอาหาร.

บรรดาสัตว์เดรัจฉานเหล่าใดที่ได้ยินสีหนาท สัตว์เหล่านั้นก็สะดุ้งกลัว เหี่ยวแห้งใจ พวกที่ อาศัยโพรงก็เข้าโพรงที่อาศัยน้ำก็ลงน้ำ พวกอยู่ป่าก็เข้าป่า ฝูงนกก็โผขึ้นสู่อากาศ เหล่าช้างของพระราชาในหมู่บ้าน นิคมและเมืองหลวง ที่เขาผูกล่ามไว้ด้วยเชือกอันเหนียว ก็พากันกลัว กระชากเชือกให้ขาด แล้วถ่ายมูตรและกรีสพลาง แล่นหนีไปพลาง ข้างโน้นและข้างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! พญาสัตว์ชื่อสีหะ เป็นสัตว์มีฤทธิ์มาก มีศักดิ์มาก มีอานุภาพมากกว่าบรรดา สัตว์เดรัจฉานด้วยอาการอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ในกาลใดตถาคตอุบัติขึ้นในโลก เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบ โดยตนเองสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะไปดี รู้แจ้งโลก เป็นผู้ฝึกบุรุษที่พอฝึกได้ไม่มีใคร ยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์

เป็นผู้ปลุกสัตว์ให้ตื่น เป็นผู้จำแนกธรรม. ตถาคตนั้นแสดงธรรมว่า สักกายะ (คือทุกข์) เป็นเช่นนี้ เหตุให้เกิดสักกายะเป็นเช่นนี้ ความดับไม่เหลือแห่งสักกายะเป็นเช่นนี้ทางให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งสักกายะเป็นเช่นนี้.1

พวกเทพเหล่าใด เป็นผู้มีอายืนนาน มีวรรณะ มากไปด้วยความสุข ดำรงอยู่นมนานมาแล้ว ในวิมานชั้นสูง, พวกเทพนั้นๆโดยมาก ได้ฟังธรรมเทศนาของตถาคตแล้ว ก็สะดุ้งกลัวเหี่ยว แห้งใจ สำนึกได้ว่า “ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! พวกเราเมื่อเป็นผู้ไม่เที่ยง ก็มาสำคัญว่าเป็นผู้เที่ยง เมื่อไม่ยั่งยืน ก็มาสำคัญว่ายั่งยืน เมื่อไม่มั่นคง ก็มาสำคัญว่าเราเป็นผู้มั่นคง. พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคงและถึงทั่วแล้วซึ่งสักกายะ คือความทุกข์” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มาก ศักดิ์มากอานุภาพมาก กว่าสัตว์โลก พร้อมทั้ง เทวโลก ด้วยอาการอย่างนี้แล.
1. ในบาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๓/๑๕๕. ทรงแสดงลักษณะ, สมุทัย, อัตถังคมะ แห่งเบญจขันธ์แทนเรื่องสักกายะ ๔ ประการ ดังที่กล่าวข้างบนนี้, โดยข้อความที่เหมือนกัน. -ผู้แปล

หน้า 231

87 ทรงมีธรรมสีหนาทอย่างองอาจ

-บาลี สี. ที. ๙/๒๑๙/๒๗๒.

กัสสปะ ! นี้เป็นเรื่องที่อาจมีได้เป็นได้ คือ เหล่าปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น จะพึงกล่าว ว่า “พระสมณ-โคดม บันลือสีหนาทก็จริงแล แต่บันลือในที่ว่างเปล่า หาใช่บันลือใน ท่ามกลางบริษัทไม่” ดังนี้. ส่วนท่านอย่าพึงกล่าวเช่นนั้นแต่พึงกล่าว (ตามที่เป็นจริง) อย่างนี้ว่า “พระสมณโคดมย่อมบันลือสีหนาทในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย หาใช่บันลือใน ที่ว่างเปล่าไม่”.

กัสสปะ ! นี้ก็เป็นเรื่องที่อาจมีได้เป็นได้ คือ เหล่าปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น จะพึงกล่าวว่า “พระสมณ-โคดม บันลือสีหนาทในท่ามกลางบริษัทก็จริง แต่หาได้บันลือ อย่างองอาจไม่” ดังนี้. ส่วนท่านอย่าพึงกล่าวเช่นนั้น แต่พึงกล่าว(ตามที่เป็นจริง) อย่างนี้ว่า “พระสมณโคดมย่อมบันลือสีหีนาทในท่ามกลางบริษัท และบันลืออย่างองอาจด้วย”.

กัสสปะ ! นี้ก็เป็นเรื่องที่อาจมีได้เป็นได้ คือ เหล่าปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น จะพึงกล่าวว่า “พระสมณ-โคดม บันลือสีหนาทในท่ามกลางบริษัทอย่างองอาจก็จริงแล แต่ว่าหาได้มีใครถามปัญหาอะไรกะเธอ (ในที่นั้น) ไม่ และถึงจะถูกถาม เธอก็หา พยากรณ์ได้ไม่ และถึงจะพยากรณ์ก็ไม่ทำความชอบใจให้แก่ผู้ฟังได้

และถึงจะทำความชอบใจให้แก่ผู้ฟังได้ เขาก็ไม่สำคัญถ้อยคำนั้นๆ ว่าเป็นสิ่งควรฟัง และถึง จะสำคัญว่าเป็นสิ่งควรฟัง ก็ไม่เลื่อมใส และถึงจะเลื่อมใส ก็ไม่แสดงอาการของผู้เลื่อมใส, และถึงจะแสดงอาการของผู้เลื่อมใส ก็ไม่ปฏิบัติตามคำสอนนั้น และถึงจะปฏิบัติ ตามคำสอน นั้นก็ไม่ปฏิบัติอย่างอิ่มอกอิ่มใจ” ดังนี้.

ส่วนท่านอย่าพึงกล่าวเช่นนั้น แต่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “พระสมณโคดมบันลือสีหนาท ท่ามกลางบริษัทอย่างแกล้วกล้า มีผู้ถามปัญหา ถูกถามแล้วก็พยากรณ์ ด้วยการพยากรณ์ ย่อมทำจิตของผู้ฟังให้ชอบใจ ผู้ฟังย่อมสำคัญถ้อยคำนั้นๆว่าเป็นสิ่งควรฟัง ฟังแล้วก็เลื่อมใส เลื่อมใสแล้วก็แสดงอาการของผู้เลื่อมใส และปฏิบัติตามคำสอนนั้น ปฏิบัติแล้ว ก็เป็นผู้อิ่มอกอิ่มใจได้” ดังนี้.

กัสสปะ ! ครั้งหนึ่ง เราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. ปริพพาชกผู้เป็นสพรหมจารี ของท่านคนหนึ่งชื่อว่า นิโค๎รธะ ได้ถามปัญหาเรื่องการเกียดกันบาปอย่างยิ่งกะเรา ณ ที่นั้น. เราได้พยากรณ์แก่เขา ในการพยากรณ์นั้นเขาได้รับความพอใจยิ่งกว่าประมาณ (คือยิ่งกว่าที่เขาคาดไว้ก่อน).

หน้า 233

88 ทรงสอนเช่นเดียวกับ พระพุทธเจ้าทั้งปวง
-บาลี ม. ม. ๑๓/๒/๒.

กันทรกะ ! บรรดาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้มีแล้วในกาลยืดยาวส่วนอดีต พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ล้วนแต่ได้สอนให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบแล้ว มีอย่างนี้เป็น อย่างยิ่ง คือเหมือนอย่างที่เราสอนให้แก่ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ ปฏิบัติชอบอยู่.

กันทรกะ ! บรรดาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จักมีมาในกาลยืดยาวส่วนอนาคต พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ก็ล้วนแต่จักได้สอนให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบ มีอย่างนี้เป็นอย่างยิ่ง คือเหมือนอย่างที่เราสอนให้ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ปฏิบัติชอบอยู่.

กันทรกะ ! เหล่าภิกษุผู้เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะ จบพรหมจรรย์ หมดกิจควรทำ ปลงภาระลงได้ ผู้มีประโยชน์ของตัวเองอันตามบรรลุได้แล้ว มีสัญโญชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ทั่วถึงโดยชอบ มีอยู่ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ และเหล่าภิกษุผู้เป็นเสขะ (คือพระโสดา สกิทาคา อนาคา) ผู้มีศีลทุกเมื่อ มีวัตรทุกเมื่อ มีปัญญา มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญาเครื่องรักษาตน ก็มีอยู่ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้.

หน้า 234

89 ทรงบริหารสงฆ์ จำนวนร้อย
-บาลี ปา. ที. ๑๑/๘๓/๔๘.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุ (ยืดยาวออกถึง) แปดหมื่นปี พระผู้มีพระภาคนามว่า เมตเตยยะจักบังเกิดขึ้นในโลก เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นผู้เบิกบาน จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ เช่นเดียวกับเราในบัดนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมตเตยยะนั้น จักทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยพระปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ด้วย เช่นเดียวกับเราในบัดนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมตเตยยะนั้น จักแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง เบื้องปลาย จักประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เช่นเดียวกับเรา ในบัดนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมตเตยยะนั้น จักบริหารภิกษุสงฆ์จำนวนพันเป็นอเนก (หลายพัน) เช่นเดียวกับเราในบัดนี้บริหารภิกษุสงฆ์จำนวนร้อยเป็นอเนก (คือหลายร้อย) อยู่.

หน้า 235

90 คำของพระองค์ ตรงเป็นอันเดียวกันหมด
-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓.

ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึง ราตรี ที่ตถาคตปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้ กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใดถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดย ประการเดียวทั้งสิ้นไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น,ทำอย่างใด กล่าวอย่างนั้น.

หน้า 236

91 หลักที่ทรงใช้ในการตรัส (๖ อย่าง)
-บาลี ม. ม. ๑๓/๙๑/๙๔.

ราชกุมาร !
(๑) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่นตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น.

(๒) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่นตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น.

(๓) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้อันประกอบด้วยประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่นตถาคตย่อมเลือกให้เหมาะกาลเพื่อกล่าววาจานั้น.

(๔) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่นตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น.

(๕) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แม้เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่นตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น.

(๖) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้อันประกอบด้วยประโยชน์ และเป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่นตถาคตย่อมเป็นผู้รู้จักกาละที่เหมาะสมเพื่อกล่าววาจานั้น.

ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า ราชกุมาร ! เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย.

หน้า 238

92 ทรงมีการกล่าวที่ไม่ขัดแย้งกับ บัณฑิตชนในโลก
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๖๙/๒๓๙.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมไม่กล่าวขัดแย้ง (วิวาท)กะโลก แต่โลกต่างหาก ย่อมกล่าวขัดแย้ง ต่อเรา. ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้เป็นธรรมวาที ย่อมไม่กล่าวขัดแย้งกะใครๆในโลก. ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งใดที่บัณฑิตในโลก สมมติ(รู้เหมือนๆ กัน) ว่าไม่มี แม้เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่าไม่มี. ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่ามี.

ภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่า ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี และเราก็กล่าวว่าไม่มี ? ภิกษุทั้งหลาย ! รูป ที่เที่ยง ที่ยั่งยืน ที่เที่ยงแท้ ที่ไม่มีการแปรปรวนเป็นธรรมดา บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี แม้เราก็กล่าวว่าไม่มี. (ในกรณีแห่งเวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณก็ตรัสไว้โดยหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้ว).

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้แล ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี และเราก็กล่าวว่าไม่มี.

ภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่า ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี และเราก็กล่าวว่ามี.

ภิกษุทั้งหลาย ! รูป ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีการแปรปรวน เป็นธรรมดาบัณฑิตในโลกสมมติ ว่ามี แม้เราก็กล่าวว่ามี. (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสไว้โดย หลักเกณฑ์อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้ว). ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้แล ที่บัณฑิต ในโลกสมมติว่ามี และเราก็กล่าวว่ามี, ดังนี้.

[ในบาลี โปฏฐปาทสูตร สี.ที. ๙/๒๔๘/๓๑๒, มีตรัสว่าพระองค์ (ตถาคต) ก็ทรงกล่าวด้วย ถ้อยคำหรือว่าภาษาที่ชาวโลกกล่าว แต่ไม่ทรงยึดถือเหมือนอย่างที่ชาวโลกกล่าวนั้น. ใน ทีฆนขสูตร-บาลี ม.ม. ๑๓/๒๖๘/๒๗๓, มีตรัสว่า ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วย่อมไม่กล่าวคำ ประจบกับใครๆ ไม่กล่าวคำขัดแย้งใครๆ และโวหารใดที่เขากล่าวกันอยู่ในโลก ภิกษุนั้น ก็กล่าวด้วยโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นถือมั่นความหมายใดๆ อย่างชาวโลก คำว่า “ภิกษุ” ในคำตรัสนั้น เล็งถึงพระองค์เองก็ได้ เพราะพระองค์ก็รวมอยู่ในคำว่าพระอรหันต์ด้วย ซึ่งเป็นพระอรหันต์ประเภทสัมมาสัมพุทธะ, เป็นอันว่าพระองค์ มีหลักในการตรัสดังนั้น. -ผู้แปล]

หน้า 240

93 ทรงสอนเฉพาะแต่เรื่องทุกข์ กับความดับสนิทของทุกข์
-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๗๘/๒๘๖.

ภิกษุทั้งหลาย ! ทั้งที่เรามีถ้อยคำอย่างนี้ มีการกล่าวอย่างนี้ สมณะและพราหมณ์บางพวก ยังกล่าวตู่เราด้วยคำเท็จเปล่าๆ ปลี้ๆ ไม่มีจริงเป็นจริงว่า “พระสมณโคดมซึ่งเป็นคนจูงคนให้เดิน ผิดทางไปสู่ความฉิบหายย่อมบัญญัติลัทธิความสูญเปล่า ความวินาศ ความไม่มี ของสัตว์ คน ตัวตนเราเขาขึ้นสั่งสอน” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมณะและพราหมณ์บางพวกเหล่านั้น กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ เปล่าๆ ปลี้ๆ ไม่มีจริงเป็นจริงโดยประการที่เรามิได้กล่าว หรือจะกล่าวอย่างนั้น ก็หามิได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลก่อนก็ตาม ในบัดนี้ก็ตามเราบัญญัติขึ้นสอนแต่เรื่องความทุกข์ และความดับสนิทไม่มีเหลือของความทุกข์ เท่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในการกล่าวแต่เรื่องความทุกข์และความดับสนิทของความทุกข์ เช่นนี้ แม้จะมีใครมาด่าว่าถากถาง กระทบกระเทียบ เสียดสี ตถาคตก็ไม่มีความโกรธแค้นขุ่นเคือง เดือดร้อนใจเพราะเหตุนั้นแต่ประการใด.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในเรื่องเดียวกันนั้นเอง แม้จะมีใครมาสักการะเคารพสรรเสริญบูชา, ตถาคต ก็ไม่มีความรู้สึกเพลิดเพลินชื่นชม หรือเคลิ้มใจไปตาม. ถ้ามีใครมาสักการะเคารพสรรเสริญบูชา ตถาคตย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่าก่อนหน้านี้เรามีความรู้สึกตัวทั่วถึงอย่างไร บัดนี้เราก็ต้องทำความรู้สึกตัวทั่วถึงอย่างนั้น ดังนี้.

หน้า 242

94 สิ่งที่ตรัสรู้แต่ไม่ทรงนำมาสอน มีมากกว่าที่ทรงนำมาสอนมากนัก
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๘/๑๗๑๒.

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายเข้าใจว่าอย่างไร ใบไม้สีสปา ที่เรากำขึ้นหน่อยหนึ่งนี้มาก หรือว่า ใบไม้สีสปาที่ยังอยู่บนต้นเหล่านั้นมาก.

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ใบไม้ที่พระผู้มีพระภาคทรงกำขึ้นหน่อยหนึ่งนั้นเป็นของน้อย ส่วนใบไม้ ที่ยังอยู่บนต้นสีสปาเหล่านั้นย่อมมีมาก.”

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ธรรมะส่วนที่เรารู้ยิ่งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วไม่กล่าวสอนนั้น มีมากกว่าส่วนที่นำมากล่าวสอน. ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุไรเล่าเราจึงไม่กล่าวสอนธรรมะส่วนนั้นๆ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุว่า ธรรมะส่วนนั้นๆ ไม่ประกอบอยู่ด้วยประโยชน์ ที่เป็นเงื่อนต้นแห่ง พรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อ นิพพาน, ฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวสอน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมะอะไรเล่า เป็นธรรมะที่เรากล่าวสอน ? ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมะที่เรากล่าวสอน คือข้อที่ว่า ความทุกข์ เป็นอย่างนี้ๆ เหตุเป็นที่เกิดของความทุกข์ เป็นอย่างนี้ๆ ความดับสนิทของความทุกข์ เป็นอย่างนี้ๆ ข้อปฎิบัติเพื่อถึงความดับสนิท ของความทุกข์ เป็นอย่างนี้ๆ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุไรเล่า ธรรมส่วนนี้เราจึงนำมากล่าวสอน ? ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะว่าธรรมะส่วนนี้ประกอบอยู่ด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความ หน่าย เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัดเป็นไปเพื่อความดับ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อ ความรู้ยิ่ง เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้นแล เราจึงนำมากล่าวสอน.

หน้า244


95ทรงยืนยันเอง และทรงให้สาวก
ยืนยันว่ามีสมณะในธรรมวินัยนี้

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๒๓/๒๔๑.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมณะมีในธรรมวินัยนี้ โดยแท้.สมณะที่สอง ก็มีในธรรมวินัยนี้. สมณะที่สาม ก็มีในธรรมวินัยนี้. สมณะที่สี่ ก็มีในธรรมวินัยนี้. ลัทธิอื่นก็ว่างจากสมณะของลัทธิอื่น. ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้เถิด.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมณะ (ที่หนึ่ง) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสัญโญชน์สามย่อมเป็นโสดาบัน (คือแรกถึงกระแสแห่งนิพพาน) มีอันไม่กลับตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อการตรัสรู้ ในวันหน้า.นี้แลสมณะ (ที่หนึ่ง).

ภิกษุทั้งหลาย ! สมณะที่สอง เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสัญโญชน์สามอย่างก็สิ้นไป ราคะ โทสะ โมหะ ก็เบาบางน้อยลง ย่อมเป็นสกทาคามี, มาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น ก็ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. นี้แลสมณะที่สอง.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมณะที่สาม เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสัญโญชน์ในเบื้องต่ำ ๕ อย่าง ย่อมเป็นโอปปาติกะ มีการปรินิพพานในภพนั้นๆ ไม่เวียนกลับจากโลกนัน้ ๆ เป็นธรรมดา. นี้แลสมณะที่สาม.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมณะทีสี่ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะ สิ้นอาสวะด้วยปัญญาอันยิ่งเองในชาติเป็นปัจจุบันนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่. นี้แลสมณะที่สี่.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมณะมีในธรรมวินัยนี้โดยแท้.
สมณะที่สอง ก็มีในธรรมวินัยนี้.
สมณะที่สาม ก็มีในธรรมวินัยนี้.
สมณะที่สี่ ก็มีในธรรมวินัยนี้.
ลัทธิอื่นก็ว่างจาก สมณะของลัทธิอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้.

หน้า 246

96 ส่วนที่สาวกเข้มงวดกว่าพระองค์
-บาลี ม. ม. ๑๓/๓๑๘/๓๒๔.

อุทายิ ! สาวกของเรา ฉันอาหารเพียงโกสะหนึ่งบ้าง (โกสะ - ขันจอกขนาดเล็ก) ครึ่งโกสะบ้าง เท่าผลมะตูมบ้างเท่าครึ่งผลมะตูมบ้าง ก็มีอยู่. ส่วนเรา อุทายิ ! บางคราวฉันเต็มบาตรเสมอ ขอบปากบ้าง ยิ่งขึ้นไปกว่าบ้าง…อุทายิ ! สาวกของเรา ถือผ้าบังสุกุล ทรงจีวรเศร้าหมอง. เธอเหล่านั้น เก็บผสมผ้าชายขาด จากป่าช้าบ้างจากกองขยะบ้าง จากที่เขาทิ้งตามตลาดบ้าง ทำเป็นผ้าสังฆาฏิ(ผ้าคลุมนอก) แล้วทรงไว้ ก็มีอยู่.

ส่วนเราเอง, อุทายิ !บางคราว ก็ครองจีวร ที่พวกคหบดีถวาย มีเนื้อนิ่มละเอียด…อุทายิ ! สาวกของเรา ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยวไปตามลำดับเป็นวัตร ยินดีแต่ในภัตต์อันมีอยู่เพื่อภิกษุ ตามธรรมดา เมื่อเที่ยวไปตามระวางเรือน แม้มีผู้เชื้อเชิญด้วยอาสนะ (ฉันบนเรือน) ก็ไม่ยินดีรับ, ก็มีอยู่. ส่วนเราเอง, อุทายิ ! ในบางคราว ฉันข้าวสุกแห่งข้าวสาลีไม่ดำเลย มีแกงและกับเป็น อันมาก…

อุทายิ ! สาวกของเรา ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร, อยู่กลางแจ้งเป็นวัตรก็มีอยู่. เธอเหล่านั้น ไม่เข้าสู่ ที่มุงที่บังเลยตั้ง ๘ เดือน (ในปีหนึ่ง) ก็มีอยู่. ส่วนเราเอง อุทายิ ! บางคราวอยู่อาศัยในเรือน มียอด อันเขาฉาบทาทั้งขึ้นและลงไม่มีรูรั่วให้ลมผ่าน มีลิ่มสลักอันขัดแล้ว มีหน้าต่างอันปิดสนิท แล้ว…

อุทายิ ! สาวกของเราผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ถือเอาป่าชัฏเป็นเสนาสนะอันสงัด เธอเหล่านั้น มาสู่ท่าม กลางสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เพื่อฟังปาติโมกข์เท่านั้น ก็มีอยู่.

ส่วนเราเอง อุทายิ ! ในบางคราว อยู่เกลื่อนกล่นด้วยหมู่ภิกษุ ภิกษุณีอุบาสก อุบาสิกา พระราชา อำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์และสาวกของเดียรถีย์…อุทายิ ! ถ้าสาวกของเรา จะสักการะ เคารพ นับถือบูชาเรา แล้วเข้ามาอาศัยเราอยู่ เพราะคิดว่า พระสมณโคดมเป็นผู้ฉันอาหารน้อย (เป็นต้น) แล้วไซร้ อุทายิ ! สาวกของเรา เหล่าที่มีอาหารเพียงโกสะหนึ่ง (เป็นต้น) ก็จะไม่สักการะเคารพ นับถือ บูชาเราแล้ว อาศัยเราอยู่เพราะเหตุนี้…

หน้า 248

97 เหตุที่ทำให้มีผู้มาเป็นสาวก ของพระองค์

-บาลี ม. ม. ๑๓/๓๒๑/๓๒๙.

อุทายิ ! มีเหตุห้าอย่าง ที่ทำให้สาวก สักการะ เคารพ นับถือบูชาแล้ว มาอยู่อาศัยเรา.
ห้าอย่างอะไรบ้าง ?
อุทายิ ! สาวกของเราพอใจเรา ในเพราะอธิศีล ว่าพระสมณโคดม ประกอบด้วยศีลขันธ์อย่างยิ่ง, … นี่เป็นข้อที่ ๑.

อุทายิ ! สาวกของเราพอใจเรา ในเพราะปัญญาเครื่องรู้ เครื่องเห็น อันก้าวไปได้แล้วอย่างยิ่งว่า พระสมณ-โคดม เมื่อพระองค์รู้อยู่จริงๆ จึงจะกล่าวว่า ‘เรารู้’, เมื่อพระองค์เห็นอยู่จริงๆ จึงจะกล่าวว่า ‘เราเห็น’ พระสมณโคดมแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่ใช่เพื่อความไม่รู้ยิ่ง พระสมณโคดมแสดงธรรมมีเหตุผล ไม่ใช่ไม่มีเหตุผล พระสมณโคดมแสดงธรรมประกอบด้วย ปาฏิหาริย์ ไม่ใช่ไม่ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ … นี่เป็นข้อที่ ๒.

อุทายิ ! สาวกของเราพอใจเรา ในเพราะอธิปัญญาว่าพระสมณโคดมประกอบด้วย ปัญญาขันธ์ อย่างยิ่ง .

และข้อที่จะมีว่า พระองค์จักไม่เห็นแนวสำหรับคำตรัสต่อไปข้างหน้า หรือพระองค์จักไม่อาจข่ม ให้ราบคาบโดยถูกต้อง ซึ่งวาจาอันเป็นข้าศึกนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีขึ้นได้เลย … นี่เป็นข้อที่ ๓.

อุทายิ ! สาวกของเรา ถูกความทุกข์ใด หยั่งเอา หรือครอบงำเอาแล้ว ย่อมเข้าไปถามเราถึง ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์, ถึงความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์ ถึงความจริงอันประเสริฐ คือความดับทุกข์เสียได้ และความจริงอันประเสริฐ คือหนทางให้ถึงความดับทุกข์นั้น. เราถูกถามแล้ว ก็พยากรณ์ให้แก่พวกเธอ ทำจิตของพวกเธอให้ชุ่มชื่น ด้วยการพยากรณ์ปัญหาให้ … นี่เป็นข้อที่ ๔.

อุทายิ ! ข้อปฏิบัติเป็นสิ่งที่เราบอกแล้วแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้เจริญได้ คือภิกษุในศาสนานี้เป็นผู้มีปรกติตามเห็นกายในกาย มีปรกติตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย, มีปรกติตามเห็นจิตในจิต มีปรกติตามเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลาย มีเพียรเผาบาป มีความรู้ตัวทั่วพร้อม มีสตินำออกเสียซึ่งอภิชฌา และโทมนัส ในโลก (คือความยินดียินร้าย) เพราะการปฏิบัติเช่นนั้น สาวกของเรา เป็นอันมาก ได้บรรลุแล้วซึ่ง อภิญญาโวสานบารมี (คืออรหัตตผล) แล้วแลอยู่. (ตอนนี้ตรัสยืดยาว จนตลอด โพธิปักขิยธรรม สมาบัติ และวิชชาแปดด้วยแต่จะไม่ยกมาใส่ไว้ เพราะเกินต้องการไป -ผู้แปล),นี่เป็นข้อที่ ๕.

อุทายิ ! เหตุห้าอย่างนี้แล ที่ทำให้สาวกของเราสักการะ เคารพนับถือ บูชาแล้วอาศัยเราอยู่.
(หาใช่เพราะพระองค์เป็นผู้ฉันอาหารน้อย มีธุดงค์ต่างๆ เป็นต้นดังกล่าวแล้วในหัวข้อว่า “ส่วนที่สาวก เข้มงวดกว่าพระองค์” ข้างต้น นั้นไม่-ผู้แปล).

หน้า 251

98 ประโยชน์ที่มุ่งหมายของพรหมจรรย์
-บาลี มู. ม. ๑๒/๓๗๓/๓๕๒.

ภิกษุทั้งหลาย ! พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะและเสียงสรรเสริญเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ พรหมจรรย์นี้มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็น อานิสงส์ พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อม แห่งญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบอันใด มีอยู่,พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุตตินั้นนั่นแหละ เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย. เจโตวิมุตตินั่นแหละ เป็นแก่นสาร เป็นผลสุดท้ายของพรหมจรรย์.

หน้า 252

99 ทรงเสพเสนาสนะป่าเรื่อยไป เพื่อให้เป็นตัวอย่าง
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๑/๕๑.

พราหมณ์ ! ท่านอาจมีความเห็นอย่างนี้ก็ได้ว่า“ขณะนี้พระสมณโคดมยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ เป็นแน่ เพราะฉะนั้น จึงได้เสพเสนาสนะป่าอันเงียบสงัด” ดังนี้.

พราหมณ์เอย ! ท่านไม่พึงมีความเห็นอย่างนั้นเลย.พราหมณ์ ! เรามองเห็นอยู่ซึ่งประโยชน์ ๒ ประการ จึงเสพเสนาสนะป่าอันเงียบสงัด คือเพื่อความอยู่เป็นสุขทันตาเห็นแก่เราเองอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่ง เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ที่ตามมาภายหลัง (จะมีกำลังใจปฏิบัติในการเสพเสนาสนะป่าอันเงียบสงัด) ดังนี้.

หน้า 253

100 ทรงฉันวันละหนเดียว
-บาลี ม. ม. ๑๓/๑๖๓/๑๖๐.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียว (คือฉันหนเดียว ลุกขึ้นแล้วไม่ฉันอีก ในวันนั้น). ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเราฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียวอยู่ ย่อมรู้สึกว่าเป็นผู้มีอาพาธ น้อย มีทุกข์น้อย มีความเบากายกระปรี้กระเปร่า มีกำลัง และมีความผาสุกด้วย.

ภิกษุทั้งหลาย ! มาเถิด แม้พวกเธอทั้งหลาย ก็จงฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียว. ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย เมื่อฉันอยู่ซึ่งโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียว จักรู้สึกความที่เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย มีความเบากายกะปรี้กะเปร่า มีกำลัง และมีความผาสุกด้วยแล.

หน้า 254

101 ทรงมีการประทม อย่างตถาคต
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๑/๒๔๖.

ภิกษุทั้งหลาย ! การนอนมีสี่อย่าง คือ การนอนอย่างเปรต, การนอนอย่างคนบริโภคกาม, การนอนอย่างสีหะ,การนอนอย่างตถาคต.

ภิกษุทั้งหลาย ! การนอนอย่างเปรต เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! โดยมาก พวกเปรตย่อมนอนหงาย นี่เรียกว่าการนอนอย่างเปรต.

ภิกษุทั้งหลาย ! การนอนอย่างคนบริโภคกาม เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! โดยมาก คนบริโภคกามย่อมนอนตะแคงโดยข้างเบื้องซ้าย นี่เรียกว่า การนอนอย่างคนบริโภคกาม.

ภิกษุทั้งหลาย ! การนอนอย่างสีหะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! สีหะเป็นพญาสัตว์ ย่อมสำเร็จการนอนโดยข้างเบื้องขวา เท้าเหลื่อมเท้า สอดหางไว้ที่ระหว่างแห่งขา.สีหะนั้นครั้นตื่นขึ้น ย่อมชะเง้อกายตอนหน้าขึ้นสังเกตกายตอนท้าย ถ้าเห็นความดิ้นเคลื่อนที่ของกาย (ในขณะหลับ)ย่อมมีความเสียใจ เพราะข้อนั้น. ถ้าไม่เห็น ย่อมมีความดีใจ.นี่เรียกว่า การนอนอย่างสีหะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! การนอนอย่างตถาคต เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การนอนอย่างตถาคตคือ ภิกษุในศาสนานี้เพราะสงัดแล้วจากกามทั้งหลาย

สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงฌานที่ ๑ ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่ วิเวกแล้วแลอยู่.

เพราะวิตกวิจารรำงับไป เธอเข้าถึงฌานที่ ๒ อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายในสามารถให้ สมาธิผุดขึ้นเป็นธรรมเอก ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่.

เพราะปีติจางหายไปเธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วย กาย เข้าถึงฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า “เป็นผู้ เฉยอยู่ได้มีสติอยู่เป็นสุข” แล้วแลอยู่.

เพราะละสุขและทุกข์เสียได้เพราะความดับหายไป แห่งโสมนัสและโทมนัสในกาล ก่อน เธอเข้าถึงฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่.

นี่เรียกว่า การนอนอย่างตถาคต.


หน้า 256

102 วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากตลอดพรรษา
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๑๒/๑๓๖๔.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าพวกปริพาชกเดียรถีย์ลัทธิอื่นจะพึงถามเธอทั้งหลาย อย่างนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุ ! พระสมณโคดมทรงอยู่จำพรรษาส่วนมาก ด้วยวิหารธรรมไหนเล่า ?” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้วพึงตอบแก่พวกปริพาชกเดียรถีย์ลัทธิอื่นเหล่านั้น อย่างนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุ ! พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอยู่ตลอดพรรษากาลเป็นอันมาก ด้วยวิหาร ธรรมคือ อานาปานสติสมาธิแล” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ เราเป็นผู้มีสติ หายใจเข้า มีสติหายใจออก  เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว  เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น ……เราจักเป็นผู้มองเห็นความสลัดคืนหายใจออก.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใครผู้ใดจะกล่าวสิ่งใดให้ถูกต้องชอบธรรม ว่าเป็นอริยวิหารก็ดี ว่าเป็น พรหมวิหารก็ดี ว่าเป็นตถาคตวิหารก็ดี เขาพึงกล่าวอานาปานสติสมาธินี้แหละว่าเป็น อริยวิหาร ว่าเป็นพรหมวิหาร ว่าเป็นตถาคตวิหาร.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเหล่าใดยังเป็นเสขะ ยังไม่ลุถึงธรรมที่ต้องประสงค์แห่งใจ ปรารถนาอยู่ ซึ่งโยคเขมธรรมอันไม่มีอะไรยิ่งกว่า  ภิกษุเหล่านั้น เมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วซึ่ง อานาปานสติ สมาธิ ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.

ส่วนภิกษุทั้งหลายเหล่าใด เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้วมีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีสิ่งที่ต้องทำ อันตนทำเสร็จแล้วมีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันลุถึงแล้ว มีสัญโญชน์ในภพทั้งหลาย สิ้นรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อเจริญทำให้มากแล้ว ซึ่งอานาปาน-สติสมาธิ ย่อมเป็นสุขวิหารในทิฏฐธรรมนี้ด้วย เพื่อความสมบูรณ์แห่งสติ สัมปชัญญะด้วย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉะนั้น เมื่อใครจะกล่าวสิ่งใดให้ถูกต้องชอบธรรม ว่าเป็นอริยวิหารก็ดี ว่าเป็นพรหมวิหารก็ดี ว่าเป็นตถาคตวิหารก็ดี เขาพึงกล่าว อานาปานสติสมาธินี้แหละ ว่าเป็นอริยวิหาร ว่าเป็นพรหมวิหาร ว่าเป็นตถาคตวิหารดังนี้.

หน้า 258

103 สิ่งที่ใครๆ ไม่อาจท้วงติงได้
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๘๔/๕๕.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเป็นผู้ที่ใครๆ ไม่อาจท้วงติงได้ด้วยธรรม ๓ อย่างคือ :-ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตมีธรรมอันตนกล่าวไว้ดีแล้วในธรรมนั้นๆ ตถาคตไม่มองเห็น วี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักท้วงติงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า “ท่านไม่ใช่เป็นผู้มีธรรม อันตนกล่าวไว้ดีแล้ว เพราะเหตุเช่นนี้ๆ” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ปฏิปทาเครื่องทำผู้ปฏิบัติให้ถึงพระนิพพาน เป็นสิ่งที่เราบัญญัติไว้ ดีแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย โดยอาการที่สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติแล้ว ย่อมกระทำให้ แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย ได้ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในธรรมอันตนเห็นแล้วนี่เอง เข้าถึงวิมุตตินั้นแล้ว แลอยู่.

ในปฏิปทานั้นๆ ตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่าสมณะหรือพราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกจักท้วงติงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า “ปฏิปทาเครื่องทำ ผู้ปฏิบัติ

ให้ถึงพระนิพพาน เป็นสิ่งที่ท่านบัญญัติไว้ดีแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย โดยอาการที่สาวก ทั้งหลาย ของเราปฏิบัติแล้วย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในธรรม อันตนเห็นแล้วนี่เอง เข้าถึงวิมุตต ินั้นแล้วแลอยู่ก็หาไม่” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกบริษัทของเรา นับด้วยร้อยเป็นอเนก ที่ได้ทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ …ในข้อนั้น เราไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกจักท้วงติงเราได้ด้วย ทั้งเหตุผลว่า “สาวกบริษัทของท่าน มีนับด้วยร้อยเป็นอเนกก็หามิได้ ที่ได้ทำให้แจ้ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ…” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเรามองไม่เห็นวี่แววช่องทางนั้นๆก็เป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้. นี้แล เป็นสิ่งที่ใครไม่อาจท้วงติง ตถาคตได้ ๓ อย่าง.