เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ             

  ตถาคต-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
    3 of 6  
 
  จากหนังสือ ตถาคต(พุทธวจน)  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  51 . ทรงพยายามในเนกขัมมจิตและอนุปุพพวิหารสมาบัติ ก่อนตรัสรู้ 127  
  52 . ทรงกำหนดสมาธินิมิต ก่อนตรัสรู้ 142  
  53 . วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ก่อนตรัสรู้ 149  
  54 . ทรงคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์ ก่อนตรัสรู้ 155  
  55 . ทรงคิดค้นเรื่องเวทนาโดยละเอียด ก่อนตรัสรู้ 157  
  56 . ทรงเที่ยวแสวงหาเพื่อความตรัสรู้ 159  
  57 . ทรงแสวงหาเนื่องด้วยเบญจขันธ์ ก่อนตรัสรู้ 161  
  58 . ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ ก่อนตรัสรู้ 162  
  59 . ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ ก่อนตรัสรู้ (อีกนัยหนึ่ง) 167  
  60 . ทรงอธิษฐานความเพียร ก่อนตรัสรู้ 173  
  61 . อาการแห่งการตรัสรู้ 174  
  62 . สิ่งที่ตรัสรู้ 179  
  63 . การรู้สึกพระองค์ว่าได้ตรัสรู้แล้ว 184  
  64 . การตรัสรู้คือการทับรอยแห่งพระพุทธเจ้าในอดีต 185  
  65 . เกิดแสงสว่าง เนื่องด้วยการตรัสรู้ 188  
  66 . แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการตรัสรู้ 189  
  67 . ทรงเป็นศาสดาประเภทตรัสรู้เอง 190  
  68 . ทรงคิดหาที่พึ่งสำหรับพระองค์เอง 192  
       
 
 




 
ตถาคต Page 3/6

หน้า 127

51 ทรงพยายามในเนกขัมมจิต และอนุปุพพวิหารสมาบัติ
ก่อนตรัสรู้

-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๕๗/๒๔๕.

อานนท์ ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความรู้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เนกขัมมะ (ความหลีกออกจากกาม) เป็นทางแห่งความสำเร็จ ปวิเวก (ความอยู่สงัดจากกาม) เป็นทางแห่งความสำเร็จ ดังนี้ แต่แม้กระนั้น จิตของเรา ก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปในเนกขัมมะ ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่า นั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเรา เป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในกามทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรายัง มองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการ คิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งการออกจากกาม เราก็ยัง ไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็น เช่นนั้น.
................................................................................................................

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้ากระไรเราได้เห็นโทษในกามทั้งหลาย แล้วนำมา ทำการคิดนึก ในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในการหลีกออกจากกาม แล้วพึงเสพ ในอานิสงส์นั้น อย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิต ของเรา พึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่า นั่นสงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเรา จึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปใ นเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะสงัด จากกาม และอกุศลธรรม ทั้งหลาย จึงบรรลุฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้ว แลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไป ในทางกาม ก็ยังเกิด แทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์ เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.
................................................................................................................

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะสงบ วิตกวิจารเสียได้ พึงบรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์ อันเดียว ไม่มีวิตกวิจารมีแต่ปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้ว แลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ !แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไปไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอวิตกธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ.
อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเรา เป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษ ในวิตกธรรม เป็นสิ่งที่เรายังมอง ไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึก ให้มาก และ ทั้งอานิสงส์แห่งอวิตกธรรม เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเล จิตของเราจึงเป็น เช่นนั้น.
................................................................................................................

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในวิตก แล้วนำมาทำการคิด นึกในข้อนั้น ให้มากได้รับอานิสงส์ในอวิตกธรรมแล้ว พึงเสพใน อานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้ จิต ของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอวิตกธรรมโดยที่เห็นอยู่ว่า นั่นสงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้ว อย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอวิตกธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่า นั่นสงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแลเพราะสงบวิตกวิจาร เสียได้ จึงบรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใส แห่งจิตในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิด แต่สมาธิแล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ การทำในใจตามอำนาจ แห่งสัญญา ที่เป็นไปในวิตก ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยัง เป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เราเหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.
................................................................................................................

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะความจาง ไปแห่งปีติ พึงอยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และพึงเสวยสุขด้วยกาบรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใสไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในนิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้นทั้งที่เราห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็น เช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้น แก่เราว่า เพราะว่าโทษในปีติเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึก ให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งนิปปีติกฌาน เรายังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.
................................................................................................................

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในปีติ แล้วนำมาทำการคิดนึก ในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในนิปปีติกฌานแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิต ของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปใน นิปปีติกฌานโดยที่เห็นอยู่ว่า นั่นสงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้ว อย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในนิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้นโดยที่เห็นอยู่ว่า นั่นสงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะความจางไป แห่งปีติ จึงเกิดอุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้า กล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขแล้ว แลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเรา อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญา ที่เป็นไปในปีติก็ยังเกิด แทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุขแล้วยังมีทุกข์ เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.
................................................................................................................

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะละสุขและทุกข์ เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน พึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์ และสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขา แล้วแลอยู่เถิดดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอทุกขมสุข (คือฌานที่ ๔) นั้นทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ.
อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น . อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดแก่เราว่า เพราะว่าโทษในอุเปกขาสุข เป็นสิ่งที่เรา ยังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการ คิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์ แห่งอทุกขมสุขเรา ก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.
................................................................................................................

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอุเปกขาสุข แล้วนำมาทำการ คิดนึกในข้อนั้น ให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอทุกขมสุขแล้ว พึงเสพใน อานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะ ทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุดออกไป ในอทุกขมสุข โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอทุกขมสุข(คือฌานที่ ๔) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะละสุข และทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไป แห่งโสมนัส และ โทมนัสในกาลก่อน จึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุขุ มีแต่ค่ามที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ การทำในใจ ตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในอุเบกขา ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการ อาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา,เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.
................................................................................................................

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้น รูปสัญญา (ความกำหนดหมายในรูป) โดยประการทั้งปวงได้ เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่ง ปฏิฆสัญญา (ความกำหนด หมายอารมณ์ที่กระทบใจ) เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งความกำหนดหมาย ในภาวะต่างๆ(นานัตตสัญญา) พึงบรรลุ อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มี ที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.
อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใสไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอากาสา นัญจายตนะ นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเรา เป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในรูปทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรา ยังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการ คิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่ง อากาสานัญจายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย  จิตของเรา จึงเป็นเช่นนั้น.
................................................................................................................

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็น โทษในรูปทั้งหลาย แล้วนำมาทำการ คิดนึก ในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอากาสานัญจายตนะ แล้วพึงเสพในอานิสงส์นั้น อย่าง ทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุด ออกไปในอากาสานัญจายตนะ โดยที่เห็น อยู่ว่านั่นสงบ.
อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากาสานัญจายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.
อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะผ่านพ้นรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงเสียได้ เพราะความตั้ง อยู่ไม่ได้แห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มี ที่สิ้นสุด”แล้วแลอยู่.
อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญา ที่เป็นไปในรูปทั้งหลาย ก็ยังเกิดแทรก แซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์ เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.
อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้น อากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุวิญญา-ณัญจายตนะ อันมีการทำนใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.
อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปใน วิญญาณัญจายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ.
อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็น เช่นนั้น.
อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในอากาสานัญจายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมอง ไม่เห็น ยังไม่ได้ นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งวิญญาณัญจายตนะ เราก็ยังไม่เคย ได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย  จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.
................................................................................................................

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษใน อากาสานัญจายตนะ แล้วนำมาทำการคิด นึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนะ แล้วพึงเสพ ในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุดออกไป ในวิญญาณัญจายตนะโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.
อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในวิญญาณัญจายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.
อานนท์ !เราแล ผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงบรรลุ วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำ ในใจว่า“วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่.
อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ การทำในใจตามอำนาจ แห่งสัญญาที่เป็นไปใน อากาสานัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต)แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.
................................................................................................................

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้น วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุ อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไรๆ ไม่มี” แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.
อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปใน อากิญจัญญายตนะ นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เรา สืบไปว่าอะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเรา เป็นเช่นนั้น.
อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในวิญญาณัญจายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมอง ไม่เห็น ยังไม่ได้ นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอากิญจัญญายตนะ เราก็ยังไม ่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.
................................................................................................................

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษใน วิญญาณัญจายตนะ แล้วนำ มาทำการ คิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอากิญ-จัญญายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้น อย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำ เช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในอากิญจัญญายตนะ นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.
อานนท์ ! เราแลผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงบรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำ ในใจว่า “อะไรๆ ไม่มี” แล้วแลอยู่.
อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญา ที่เป็นไปใน วิญญาณัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต)แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.
................................................................................................................

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้น อากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุเนวสัญญา นาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ !แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ไม่หลุดออกไป ใน เนวสัญญานา สัญญายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ.
อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็น เช่นนั้น.
อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในอากิญจัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมอง ไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งเนวสัญญา-นาสัญญายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.
................................................................................................................

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอากิญจัญญายตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึก ในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในเนวสัญญา-นาสัญญายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนวสัญญา นาสัญญายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.
อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุดออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะ โดย ประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่.
อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปใน อากิญ จัญญายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต)แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.
................................................................................................................

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา ผ่านพ้น เนวสัญญา-นาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุสัญญาเวทยิต นิโรธ แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ไม่หลุดออกไป ในสัญญา เวทยิตนิโรธนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่ทำให้จิต ของเราเป็น เช่นนั้น .อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในเนวสัญญา นาสัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้ นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้ง อานิสงส์แห่งสัญญา-เวทยิตนิโรธ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.
................................................................................................................

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษใน เนวสัญญา นาสัญญายตนะ แล้วนำมา ทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในสัญญา-เวทยิตนิโรธแล้ว พึงเสพใน อานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะ ที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ใน สัญญาเวทยิตนิโรธ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ใน สัญญาเวทยิตนิโรธนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้น เนวสัญญา-นาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงบรรลุสัญญา-เวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ (ไม่มีอาพาธอะไรๆ อีกต่อไป).

อนึ่งอาสวะทั้ง หลาย ได้ถึงความสิ้นไปรอบ เพราะเราเห็น (อริยสัจจ์สี) ได้ด้วยปัญญา.

หน้า
142

52 ทรงกำหนดสมาธินิมิต ก่อนตรัสรู้
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๓๐๒/๔๕๒.

อนุรุทธะทั้งหลาย ! นิมิตนั้นแหละ เธอพึงแทงตลอดเถิด. แม้เราเมื่อครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็น โพธิสัตว์อยู่ ก็จำแสงสว่างและการเห็นรูปทั้งหลายได้.ต่อมาไม่นาน แสงสว่างและการเห็นรูปของเรานั้นๆ ได้หายไป. เกิดความสงสัยแก่เราว่า อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้นหายไป ? อนุรุทธะทั้งหลาย !เมื่อคิดอยู่ ก็เกิดความรู้ (ดังต่อไปนี้) ว่า วิจิกิจฉา (ความลังเล) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว ก็เพราะมีวิจิกิจฉาเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป ย่อมหายไป.

เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา จะไม่บังเกิดขึ้นแก่เราได้อีก … (มีคำระหว่างนี้เหมือนท่อนต้น ไม่มีผิด ทุกตอน ตั้งแต่คำว่าต่อมาไม่นาน จนถึงคำว่า เกิดความรู้ (ดังต่อไปนี้) ว่า ) อมนสิการ (ความไม่ทำไว้ในใจ คือไม่ใส่ใจ) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว ก็เพราะมี อมนสิการเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูป ย่อมหายไป. เราจักกระทำ โดยประการที่วิจิกิจฉาและอมนสิการ จะไม่เกิดขึ้นแก่เราได้อีก.
หน้า 143
ถีนมิทธะ (ความเคลิ้มและง่วงงุน) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว,สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีถีนมิทธะ เป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการ ที่วิจิกิจฉา อมนสิการ และ ถีนมิทธะจะไม่บังเกิดขึ้นแก่เราได้อีก.

ฉัมภิตัตตะ (ความสะดุ้งหวาดเสียว) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว,สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมี ฉัมภิตัตตะ เป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป ย่อมหายไป. เหมือนบุรุษ เดินทางไกล เกิดผู้มุ่งหมาย เอาชีวิตขึ้นทั้งสองข้างทาง ความหวาดเสียวย่อมเกิดแก่เขา เพราะ ข้อนั้นเป็นเหตุฉะนั้น. เราจักกระทำโดยประการ ที่วิจิกิจฉา อมนสิการถีนมิทธะ และฉัมภิตัตตะ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

อุพพิละ (ความตื่นเต้น) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอุพพิละนั้นเป็น ต้นเหตุ. เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เหมือนบุรุษแสวงหาอยู่ซึ่ง ขุมทรัพย์ขุมเดียว เขาพบพร้อมกัน คราวเดียวตั้งห้าขุม ความตื่นเต้นเกิดขึ้นเพราะการพบนั้น เป็นเหต ฉะนั้น. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะและอุพพิละ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.
หน้า 144
ทุฏฐุลละ (ความคะนองหยาบ) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว,สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีทุฏฐุลละนั้น เป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการ ที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ และทุฏฐุลละ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

อัจจารัทธวิริยะ (ความเพียรที่ปรารภจัดจนเกินไป) แลเกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอัจจา-รัทธวิริยะนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เปรียบเหมือนบุรุษ จับนกกระจาบด้วยมือทั้งสองหนักเกินไป นกนั้นย่อมตายในมือฉะนั้น. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา อมนสิการถี นมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ ทุฏฐุลละ และอัจจารัทธวิริยะจะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

อติลีนวิริยะ (ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอติลีน วิริยะนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เปรียบเหมือนบุรุษจับนกกระจาบ หลวมมือเกินไป นกหลุดขึ้นจากมือบินหนีเสียได้ ฉะนั้น.เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ ทุฏฐุลละ อัจจารัทธวิริยะ และอติลีนวิริยะจะไม่เกิดแก่เราได้อีก.
หน้า 145
อภิชัปปา (ความกระสันอยาก) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว,สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอภิชัปปา เป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดย ประการที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ ทุฏฐุลละ อัจจารัทธวิริยะ อติลีนวิริยะ และอภิชัปปา จะไม่เกิดขึ้นแก่เราได้อีก.

นานัตตสัญญา (ความใส่ใจไปในสิ่งต่างๆ) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมี นานัตต สัญญา นั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อม หายไป. เราจักกระทำโดยประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ ทุฏฐุลละ อัจจารัทธวิริยะ อติลีนวิริยะ อภิชัปปา และ นานัตต สัญญา จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

รูปานัง อตินิชฌายิตัตตะ (ความเพ่งต่อรูปทั้งหลายจนเกินไป) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิ ของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอตินิชฌายิตัตตะเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่าง และ การเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดย ประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ ทุฏฐุลละ อัจจารัทธวิริยะ อติลีนวิริยะ อภิชัปปานานัตตสัญญา และรูปานัง อตินิชฌา ยิตัตตะ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.
หน้า 146
อนุรุทธะทั้งหลาย ! เรารู้แจ้งชัดวิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) ว่าเป็นอุปกิเลสแห่งจิตแล้ว จึงละแล้ว ซึ่งวิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) อันเป็นอุปกิเลส แห่งจิตเสีย.

อนุรุทธะทั้งหลาย ! เรานั้นเมื่อไม่ประมาท มีเพียรมีตนส่งไปอยู่ย่อมจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป (หรือ) ย่อมเห็น รูป แต่จำแสงสว่างไม่ได้ เป็นดังนี้ทั้งคืนบ้าง ทั้งวันบ้างทั้งคืนและทั้งวันบ้าง. ความสงสัยเกิดแก่เราว่า อะไรเป็น เหตุเป็นปัจจัย ที่เราจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป (หรือ)เห็นรูป แต่จำแสงสว่างไม่ได้ ทั้งคืนบ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืน และทั้งวันบ้าง ?

อนุรุทธะทั้งหลาย ! ความรู้ได้เกิดแก่เราว่า สมัยใดเราไม่ทำรูปนิมิตไว้ในใจ แต่ทำโอภาสนิมิต ไว้ในใจ สมัยนั้นเรา ย่อมจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป. สมัยใดเราไม่ทำโอภาสนิมิตไว้ในใจ แต่ทำ รูปนิมติ ไว้ในใจ สมัยนั้นเราย่อม เห็นรูป แต่จำแสงสว่างไม่ได้ ตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดทั้งวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง.
หน้า 147
อนุรุทธะทั้งหลาย ! เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรมีตนส่งไปอยู่ ย่อมจำแสงสว่างได้นิดเดียว เห็นรูป ก็นิดเดียวบ้าง, จำแสงสว่างมากไม่มีประมาณ เห็นรูปก็มากไม่มีประมาณบ้าง เป็นดังนี้ทั้งคืนบ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืนและทั้งวันบ้าง. ความสงสัยเกิดแก่เราว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่เราจำแสงสว่าง ได้นิดเดียว เห็นรูปก็นิดเดียวบ้าง จำแสงสว่าง ได้มากไม่มีประมาณ เห็นรูปก็มากไม่มีประมาณ ตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดทั้งวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง.

อนุรุทธะทั้งหลาย ! ความรู้ได้เกิดแก่เราว่า สมัยใดสมาธิของเราน้อย สมัยนั้นจักขุก็มีน้อย ด้วยจักขุ อันน้อยเรา จึงจำแสงสว่างได้น้อย เห็นรูปก็น้อย. สมัยใดสมาธิของเรามากไม่มีประมาณ สมัยนั้น จักขุของเราก็มากไม่มี ประมาณ ด้วยจักขุอันมากไม่มีประมาณนั้น เราจึงจำแสงสว่างได้มาก ไม่มีประมาณ เห็นรูปได้มากไม่มีประมาณ ตลอดคืนบ้าง ตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง.

อนุรุทธะทั้งหลาย ! ในกาลที่เรารู้แจ้งว่า (ธรรมมี)วิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) เป็นอุปกิเลส แห่งจิตแล้ว และ ละมันเสียได้แล้ว กาลนั้นย่อมเกิดความรู้สึกขึ้นแก่เราว่า “อุปกิเลสแห่งจิตของเรา เหล่าใด อุปกิเลสนั้นๆ เราละ ได้แล้ว เดี๋ยวนี้เราเจริญแล้วซึ่งสมาธิโดยวิธีสามอย่าง.”
หน้า 148
อนุรุทธะทั้งหลาย ! เราเจริญแล้ว ซึ่งสมาธิอันมีวิตกวิจาร  ซึ่งสมาธิอันไม่มีวิตก แต่มีวิจารพอ ประมาณ ซึ่งสมาธิอันไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ซึ่งสมาธิอันมีปีติ ซึ่งสมาธิอันหาปีติมิได้ ซึ่งสมาธิอันเป็นไป กับด้วยความยินดี และสมาธิอันเป็นไปกับด้วยอุเบกขา.

อนุรุทธะทั้งหลาย !กาลใดสมาธิอันมีวิตกมีวิจาร (เป็นต้นเหล่านั้นทั้ง ๗ อย่าง) เป็นธรรมชาติ อันเราเจริญแล้ว กาลนั้นญาณเป็นเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า “วิมุตติของเราไม่กลับ กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีก” ดังนี้.

หน้า 149

53 วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ก่อนตรัสรู้

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๙, ๔๐๑/๑๓๒๔, ๑๓๒๙.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกายหรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ด้วย อำนาจแห่งการเจริญทำให้มาก ซึ่งสมาธิใด สมาธินั้นภิกษุย่อมจะได้โดย ไม่หนักใจได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบากเลย

ภิกษุทั้งหลาย ! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกายหรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ด้วย อำนาจแห่งการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิไหนกันเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกายหรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ด้วย อำนาจแห่งการเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิอยู่อย่างไรเล่า ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตามย่อมมีขึ้นไม่ได้ ?
หน้า 150
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า หรือโคนไม้หรือเรือนว่างก็ตาม แล้วนั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรง สติเฉพาะหน้า. ภิกษุนั้นหายใจเข้าก็มีสติ หายใจออกก็มีสติ.

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว. เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น.

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะ ซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”.

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราจักเป็นผู้ทำกายสังขารให้สงบรำงับ หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้ทำกาย สังขารให้สงบรำงับ หายใจออก”.

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะ ซึ่งปีติ หายใจออก”.

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะ ซึ่งสุข หายใจออก”.

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้รู้สึก พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”.
หน้า 151
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้สงบรำงับ หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตต สังขารให้สงบรำงับ หายใจออก”.

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะ ซึ่งจิต หายใจออก”.

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์บันเทิง หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ ปราโมทย์ บันเทิง หายใจออก”.

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราจักเป็นผู้ดำรงจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า ” ว่า“เราจักเป็น ผู้ดำรงจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”.

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปลดปล่อย หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปลดปล่อย หายใจออก”.

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราจักเป็นผู้มองเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้มองเห็นความ ไม่เที่ยง หายใจออก”.
หน้า 152
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราจักเป็นผู้มองเห็นความจางคลาย หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้มองเห็นความ จางคลาย หายใจออก”.

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราจักเป็นผู้มองเห็นความดับสนิท หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้มองเห็นความ ดับสนิท หายใจออก”.

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราจักเป็นผู้มองเห็นความสลัดคืน หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้มองเห็นความ สลัดคืน หายใจออก”. ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลเจริญ ทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิอยู่อย่างนี้แล ความหวั่นไหว โยกโคลงแห่งกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตามย่อมมีขึ้นไม่ได้…

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้เราเองก็เหมือนกัน ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ด้วย วิหารธรรม คืออานาปานสติสมาธินี้เป็นส่วนมาก เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก กายก็ไม่ลำบาก ตาก็ไม่ ลำบาก และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มีอุปาทาน.
หน้า 153
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่ากายของเราก็อย่าลำบาก ตาของเราก็อย่า ลำบาก และ จิตของเราก็จงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่มีอุปาทานเถิด ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้นจงทำ ในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า ความครุ่นคิดอันเกี่ยวข้องไปทางเหย้าเรือนของเรา จงหายไปอย่าง หมดสิ้นดังนี้แล้ว  ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าปฏิกูล ต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี. ภิกษุทั้งหลาย ! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูล ต่อสิ่งที่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้นจงทำ ในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าปฏิกูล ทั้งต่อสิ่ง ที่ไม่ปฏิกูล และต่อสิ่ง ที่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว  ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธิ นี้ให้เป็นอย่างดี.
หน้า 154
ภิกษุทั้งหลาย ! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูล ทั้งต่อสิ่ง ที่ปฏิกูล และต่อสิ่ง ที่ไม่ปฏิกูลดังนี้แล้ว  ภิกษุนั้น จงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็น อย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้ไม่ใส่ใจเสียเลย ทั้งต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และต่อ สิ่งที่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเถิดดังนี้แล้ว  ภิกษุนั้นจงทำ ในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.

(ต่อแต่นี้ ได้ตรัสทำนองนี้เรื่อยไปจนถึง ความหวังจะได้ ปฐมฌานทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะอากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และสัญญา เวทยิตนิโรธ จนกระทั่งความดับเย็นแห่งเวทนา เพราะความไม่เพลิดเพลินในเวทนานั้นเป็นที่สุด โดยผู้ต้องการพึงทำในใจ ซึ่งอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดีและสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้จาก พุทธวจน-หมวดธรรมฉบับที่ ๖ อานาปานสติ -ผู้รวบรวม).

หน้า 155

54 ทรงคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์ ก่อนตรัสรู้
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๔/๕๙.

ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความสงสัยได้ เกิดขึ้นแก่เราว่า อะไรหนอ เป็นรสอร่อยของรูป อะไรเป็นโทษของรูป อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้น ไปได้จากรูป ? อะไรหนอเป็นรส อร่อยของเวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณ อะไรเป็นโทษ ของเวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณ อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จากเวทนา … สัญญา … สังขาร… วิญญาณ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้ข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่าสุขโสมนัสใดๆ ที่อาศัยรูปแล้วเกิดขึ้น สุขและโสมนัส นั้นแลเป็น รสอร่อย ของรูป  รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทรมาน มีการแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด อาการนั้นเป็นโทษ ของรูป  การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ การละความ กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูปเสียได้ นั้นเป็นอุบายเครื่องออกไปพ้นจากรูปได้. (ในเวทนา... สัญญา... สังขาร... และวิญญาณ ก็มีนัยเดียวกัน).
หน้า 156
ภิกษุทั้งหลาย ! ตลอดเวลาเพียงไร ที่เรายังไม่รู้จักรสอร่อยของอุปาทานขันธ์ทั้งห้าว่าเป็นรสอร่อย ไม่รู้จักโทษ ว่าเป็นโทษ ไม่รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออกตามที่เป็นจริง ตลอดเวลา เพียงนั้น เรายังไม่รู้สึกว่า ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกนี้พร้อมทั้ง เทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล เรารู้จักรสอร่อยของอุปาทานขันธ์ทั้งห้าว่าเป็นรสอร่อย รู้จักโทษว่าเป็น โทษ รู้จักอุบาย เครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออก ตามที่เป็นจริง เมื่อนั้น เราก็รู้สึกว่าได้ตรัสรู้พร้อม เฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมา-สัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์. ก็แหละญาณทัสสนะเครื่องรู้เครื่องเห็น เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นชาติ สุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ มิได้มีอีก ดังนี้.

[นอกจากการคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์นี้แล้ว ยังมีการคิดค้นอีก ๓ เรื่อง ด้วยวิธีการที่บรรยายไว้เป็น คำพูด อย่างเดียว กันกับเรื่องนี้ทุกระเบียบอักษร คือคิดค้นเรื่องธาตุสี่ (-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐๓/๔๐๔), เรื่องอายตนะภายในหก (-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๘/๑๓), และเรื่องอายตนะภายนอก หก (-บาลี สฬา. สํ.๑๘/๙/๑๔). -ผู้แปล]

หน้า 157

55 ทรงคิดค้นเรื่องเวทนาโดยละเอียด ก่อนตรัสรู้

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๘๙/๔๓๙-๔๔๐.

ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความสงสัยได้เกิด ขึ้นแก่เราว่า
อะไรหนอ เป็น เวทนา ?
อะไรเป็น ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งเวทนา ?
อะไรเป็น ปฏิปทาให้ถึงความเกิดขึ้นพร้อม แห่งเวทนา ?
อะไรเป็น ความดับไม่เหลือ แห่งเวทนา ?
อะไรเป็น ปฏิปทา ให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งเวทนา ?
อะไรเป็น รสอร่อย ของเวทนา ?
อะไรเป็น โทษของเวทนาอะไร เป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จาก เวทนา ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้ข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเวทนา ๓ อย่างเหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขม-สุขเวทนา เหล่านี้เรียกว่า เวทนา 
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ ตัณหาเป็นปฏิปทา ให้ถึงความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา 
ความดับไม่เหลือแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ

มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้เอง เป็นปฏิปทาให้ถึง
ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ ถูกต้องการพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้อง การเลี้ยงชีวิตที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง

สุขโสมนัสใดๆ ที่อาศัยเวทนาแล้วเกิดขึ้น
สุขและโสมนัสนั้นแล เป็นรสอร่อยของ เวทนา


เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ด้วยอาการใด อาการนั้น เป็นโทษของเวทนา

การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในเวทนา เสียได้
นั้นเป็นอุบายเครื่องออกไปพ้นจากเวทนาได้ ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลาย ที่ไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่า
“เหล่านี้ คือเวทนาทั้งหลาย”
… “นี้ คือความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา”  
… “นี้ คือปฏิปทาให้ถึงความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา”  
… “นี้ คือความดับไม่เหลือแห่งเวทนา”
… “นี้ คือปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา”  
… “นี้ คือรสอร่อยของเวทนา”  
… “นี้ คือโทษของเวทนา”  
… “นี้ คืออุบายเครื่องออกไปพ้นจากเวทนา” ดังนี้.

หน้า 159

56 ทรงเที่ยวแสวงหาเพื่อความตรัสรู้

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๓๓/๕๔๔.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราได้เที่ยวไปแล้วเพื่อแสวงหารสอร่อย (คือเครื่องล่อใจสัตว์) ของโลก. เราได้พบ รสอร่อยของ โลกนั้นแล้ว. รสอร่อยในโลกมีประมาณเท่าใด เราเห็นมันอย่างดีด้วยปัญญาของเรา เท่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราได้เที่ยวไปแล้วเพื่อแสวงหา(ให้พบ) โทษ (คือความร้ายกาจ) ของโลก. เราได้พบโทษของ โลกนั้นแล้ว. โทษในโลกมีเท่าใด เราเห็นมันอย่างดี ด้วยปัญญาของเราเท่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราได้เที่ยวไปแล้วเพื่อแสวงหาอุบายเครื่องออกจากโลกของโลก. เราได้พบอุบาย เครื่องออกจาก โลกนั้นแล้ว. อุบายเครื่องออกจากโลกมีอยู่เท่าใด เราเห็นมันอย่างดีด้วยปัญญา ของเรา เท่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตลอดเวลาเพียงไร ที่เรายังไม่รู้เท่ารสอร่อยของโลกว่าเป็นรสอร่อย (เครื่องล่อใจสัตว์) ไม่รู้จัก โทษของโลกโดยความเป็นโทษ ไม่รู้จักอุบายเครื่องออก ว่าเป็นอุบาย เครื่องออก ตามที่เป็นจริง ตลอดเวลาเพียง นั้นแหละ เรายังไม่รู้สึกว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวดา มารพรหม ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล เราได้รู้ยิ่งซึ่งรสอร่อยของโลกว่าเป็นรสอร่อย รู้โทษของโลก โดยความ เป็นโทษ รู้อุบายเครื่องออกของโลก ว่าเป็นอุบายเครื่องออก ตามที่เป็นจริง เมื่อนั้นแหละ เรารู้สึกว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหมหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อม ทั้งมนุษย์.

ก็แหละญาณทัสสนะเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีก ดังนี้.

หน้า 161

57 ทรงแสวงหาเนื่องด้วยเบญจขันธ์ ก่อนตรัสรู้
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๖/๖๑.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราได้เที่ยวแสวงหาแล้ว ซึ่งรสอร่อยของรูป  เราได้พบรสอร่อยของรูปนั้นแล้ว  รสอร่อยของรูปมี ประมาณเท่าใด เราเห็นมันแล้วเป็นอย่างดี ด้วยปัญญาของเรามีประมาณเท่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราได้เที่ยวแสวงหาให้พบโทษของรูป เราได้พบโทษของรูปนั้นแล้ว. โทษของรูปมีประมาณ เท่าใด เราเห็นมันแล้วเป็นอย่างดีด้วยปัญญาของเราเท่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราได้เที่ยวแสวงหาแล้ว ซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกจากรูป เราได้พบอุบายเครื่องออก จากรูปนั้น แล้ว. อุบายเครื่องออกจากรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นมันแล้วเป็นอย่างดี ด้วยปัญญา ของเราเท่านั้น.

(ในเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็มีนัยอย่างเดียวกัน.และตอนท้ายก็มีว่า ยังไม่พบรสอร่อย-โทษ-อุบาย เครื่องออกของรูปเป็นต้นเพียงใด ยังไม่ชื่อว่า ได้ตรัสรู้เพียงนั้น ต่อเมื่อทรงพบแล้ว จึงได้ชื่อว่าตรัสรู้ และมีชาติสิ้นแล้ว ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป เหมือนกันทุกๆ สิ่งที่พระองค์ทรงค้น ซึ่งยังมีอีก ๓ อย่าง คือ เรื่อง ธาตุ ๔, เรื่องอายตนะภายใน ๖ และ อายตนะภายนอก ๖ เห็นว่าอาการเหมือนกันหมด ต่างกันแต่เพียงชื่อ จึงไม่นำมาใส่ไว้ในที่นี้ด้วย -ผู้แปล).

หน้า 162

58 ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ ก่อนตรัสรู้
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑/๒๖.

ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ได้เกิดความรู้สึก อันนี้ขึ้นว่า “สัตว์โลกนี้หนอ ถึงทั่วแล้วซึ่งความยากเข็ญ ย่อมเกิด แก่ตาย จุติ และบังเกิดอีก ก็เมื่อสัตว์โลกไม่รู้จักอุบาย เครื่องออกไปพ้นจากทุกข์ คือชรามรณะแล้ว การออกจากทุกข์ คือชรามรณะนี้ จักปรากฏขึ้นได้อย่างไร”.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า “เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ชรามรณะ จึงได้มี  ชรามรณะมี เพราะปัจจัย อะไรหนอ”.

ภิกษุทั้งหลาย ! ได้เกิดความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย แก่เราว่า

“เพราะชาติ นี่เองมีอยู่ ชรามรณะจึงได้มี 
ชรามรณะมี เพราะชาติเป็นปัจจัย
 
เพราะ ภพ นี่เองมีอยู่ ชาติจึงได้มี 
ชาติมี เพราะภพเป็นปัจจัย  

เพราะ อุปาทาน นี่เองมีอยู่ ภพจึงได้มี 
ภพมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย  

เพราะ ตัณหา นี่เองมีอยู่ อุปาทานจึงได้มี 
อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

เพราะ เวทนา นี่เองมีอยู่ ตัณหาจึงได้มี 
ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

เพราะ ผัสสะ นี่เองมีอยู่ เวทนาจึงได้มี 
เวทนามี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

เพราะ สฬายตนะ นี่เองมีอยู่ ผัสสะจึงได้มีผัสสะมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย

เพราะ นามรูป นี่เองมีอยู่ สฬายตนะจึงได้มี
สฬายตนะมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย

เพราะ วิญญาณ นี่เองมีอยู่ นามรูปจึงได้มี
นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

เพราะ สังขาร นี่เองมีอยู่ วิญญาณจึงได้มี
วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย

เพราะ อวิชชา นี่เองมีอยู่ สังขารทั้งหลายจึงได้มี
สังขารทั้งหลายมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย” ดังนี้

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดสังขารทั้งหลาย
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดวิญญาณ
 
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดนามรูป  
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิด สฬายตนะ

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงเกิดผัสสะ  
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา  

เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา  
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ  
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ  

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะโสกปริเทว ทุกขโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย 
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างในสิ่งที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ได้เกิดขึ้น แล้วแก่เราว่าความเกิดขึ้นพร้อม ! ความเกิดขึ้นพร้อม ! ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความฉงนได้มีแก่เราอีกว่า “เมื่ออะไรไม่มีหนอ ชรามรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับไป หนอชรามรณะจึงดับไป”.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ได้เกิดความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา แก่เราว่า “เพราะชาตินี่เองไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี ชรามรณะดับเพราะชาติดับ เพราะ ภพ นี่เองไม่มี ชาติจึงไม่มี  ชาติดับ เพราะภพดับ

เพราะ อุปาทาน นี่เองไม่มี ภพจึงไม่มี : ภพดับ เพราะอุปาทานดับ
เพราะ ตัณหา นี่เองไม่มี อุปาทานจึงไม่มี : อุปาทานดับ เพราะตัณหาดับ
เพราะ เวทนา นี่เองไม่มี ตัณหาจึงไม่มี : ตัณหาดับเพราะเวทนาดับ
เพราะ ผัสสะ นี่เองไม่มี เวทนาจึงไม่มี : เวทนาดับ เพราะผัสสะดับ
เพราะ สฬายตนะ นี่เองไม่มี ผัสสะจึงไม่มี : ผัสสะดับ เพราะสฬายตนะดับ
เพราะ นามรูป นี่เองไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี :สฬายตนะดับ เพราะนามรูปดับ
เพราะ วิญญาณ นี่เองไม่มี นามรูปจึงไม่มี : นามรูปดับ เพราะวิญญาณดับ
เพราะ สังขาร นี่เองไม่มี วิญญาณจึงไม่มี : วิญญาณดับ เพราะสังขารดับ
เพราะ อวิชชา นี่เองไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี : สังขารดับ เพราะอวิชชาดับ” ดังนี้

เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ  
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ  
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ  
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ  
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ  
เพราะชาติดับ ชรามรณะ โสกปริเทว ทุกขโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับ
ความดับไม่เหลือ แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างในสิ่งที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่าความดับไม่เหลือ ! ความดับไม่เหลือ ! ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

หน้า 167

59 ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ ก่อนตรัสรู้ (อีกนัยหนึ่ง)
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๖/๒๕๐.

ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ได้เกิดความรู้สึก อันนี้ขึ้นว่า“สัตว์โลกนี้หนอ ถึงแล้วซึ่งความยากเข็ญ ย่อมเกิด ย่อมแก่ย่อมตาย ย่อมจุติ และ ย่อมอุบัติ ก็เมื่อสัตว์โลกไม่รู้จักอุบาย เครื่องออกไปพ้นจากทุกข์ คือชรามรณะแล้ว การออกจากทุกข์ คือชรามรณะนี้ จักปรากฏขึ้นได้อย่างไร.”

ภิกษุทั้งหลาย ! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า“เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ชรามรณะจึงได้มี เพราะมีอะไร เป็นปัจจัยหนอ จึงมีชรามรณะ” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ได้เกิดความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย แก่เราว่า “เพราะชาติ นั่นแล มีอยู่ ชรามรณะ จึงได้มีเพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ” ดังนี้.

…1เพราะ ภพ นั่นแล มีอยู่ ชาติ จึงได้มี
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ” ดังนี้.

…เพราะ อุปาทาน นั่นแล มีอยู่ ภพ จึงได้มี
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ” ดังนี้.

…เพราะ ตัณหา นั่นแล มีอยู่ อุปาทาน จึงได้มี
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน” ดังนี้.

…เพราะ เวทนา นั่นแล มีอยู่ ตัณหา จึงได้มี
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา” ดังนี้.

…เพราะ ผัสสะ นั่นแล มีอยู่ เวทนา จึงได้มี
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา” ดังนี้.

…เพราะ สฬายตนะ นั่นแล มีอยู่ ผัสสะ จึงได้มี
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ” ดังนี้.

…เพราะ นามรูป นั่นแล มีอยู่ สฬายตนะ จึงได้มี
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ” ดังนี้.

…เพราะ วิญญาณ นั่นแล มีอยู่ นามรูป จึงได้มี
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป” ดังนี้.

1. ข้อความตามที่ละ … ไว้นั้น หมายความว่า ได้มีความฉงนเกิดขึ้นทุกๆ ตอน แล้วทรงทำ ในใจโดย แยบคาย จนความรู้แจ้งเกิดขึ้นทุกๆ ตอน เป็นลำ ดับไปจนถึงที่สุดทั้งฝ่ายสมุทยวารและ นิโรธวาร ในที่นี้ละไว้โดยนัย ที่ผู้อ่านอาจจะเข้าใจเอาเองได้ คือเป็นการตัดความรำ คาญ ในการอ่าน. -ผู้แปล

ภิกษุทั้งหลาย ! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า“เมื่ออะไรมีอยู่หนอ วิญญาณจึงได้มี เพราะมีอะไร เป็น ปัจจัย จึงมีวิญญาณ” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า “เพราะนามรูป นั่นแล มีอยู่ วิญญาณ จึงได้มี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า“วิญญาณนี้ ย่อมเวียนกลับจากนามรูป ย่อมไม่เลยไปอื่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกนี้ พึงเกิดบ้าง พึงแก่บ้าง พึงตายบ้าง พึงจุติบ้าง พึงอุบัติบ้าง

ข้อนี้ได้แก่การที่
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ  
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป  
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ  
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา  
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา  
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน  
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ  
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน  ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้”.
หน้า 170
ภิกษุทั้งหลาย ! ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้วปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า “ความเกิดขึ้นพร้อม (สมุทัย) ! ความเกิดขึ้นพร้อม (สมุทัย) !” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราต่อไปว่า “เมื่ออะไรไม่มีหนอชรามรณะ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่งชรามรณะ” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญาเพราะการทำในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า

“เพราะชาติ นั่นแล ไม่มี ชรามรณะ จึงไม่มี
เพราะความดับแห่งชาติจึงมีความดับแห่งชรามรณะ” ดังนี้.

…เพราะ ภพ นั่นแล ไม่มี ชาติ จึงไม่มี 
เพราะความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ” ดังนี้.

…เพราะ อุปาทาน นั่นแล ไม่มี ภพ จึงไม่มี 
เพราะความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ” ดังนี้.

…เพราะ ตัณหา นั่นแล ไม่มี อุปาทาน จึงไม่มี
เพราะความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน” ดังนี้.

…เพราะ เวทนา นั่นแล ไม่มี ตัณหา จึงไม่มี 
เพราะความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา” ดังนี้.

…เพราะ ผัสสะ นั่นแล ไม่มี เวทนา จึงไม่มี 
เพราะความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา” ดังนี้.

…เพราะ สฬายตนะ นั่นแล ไม่มี ผัสสะ จึงไม่มี
เพราะความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ”ดังนี้.

…เพราะ นามรูป นั่นแล ไม่มี สฬายตนะ จึงไม่มี เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ”ดังนี้.

…เพราะ วิญญาณ นั่นแล ไม่มี นามรูป จึงไม่มี
เพราะความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป”ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
“ เมื่ออะไรไม่มีหนอ วิญญาณจึงไม่มี  เพราะความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า “เพราะนามรูปนั่นแลไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า“หนทางเพื่อการตรัสรู้นี้ อันเราได้ถึงทับแล้วแล ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ

เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป  
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ  
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ  
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา  
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา  
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ  
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ  
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้”.

ภิกษุทั้งหลาย ! ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้วปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า“ความดับไม่เหลือ (นิโรธ) ! ความดับไม่เหลือ (นิโรธ) !”ดังนี้.

หน้า 173

60 ทรงอธิษฐานความเพียร ก่อนตรัสรู้
-บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๖๔/๒๕๑.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราได้รู้ถึงธรรมสองอย่าง คือความไม่รู้จักพอ ในกุศลธรรมทั้งหลาย และความเป็น ผู้ไม่ถอยหลัง ในการตั้งความเพียร. เราตั้งความเพียรคือความไม่ถอยหลังว่า “หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่เนื้อและเลือดในสรีระ จักเหือดแห้งไปก็ตามที เมื่อยังไม่ลุถึงประโยชน์อันบุคคลจะลุได้ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักหยุดความเพียรนั้น เสีย เป็นไม่มีเลย” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เรานั้นได้บรรลุความตรัสรู้เพราะความไม่ประมาท ได้บรรลุโยคักเขมธรรมอันไม่มีอื่น ยิ่งไปกว่าเพราะความไม่ประมาทแล้ว.

(ในบาลี มหา. วิ. ๔/๔๒/๓๕, -บาลี สคา. สํ. ๑๕/๑๕๓/๔๒๕.ก็ได้ตรัสว่าพระองค์ได้บรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ซึ่งวิมุตติอันไม่มีไม่มีวิมุตติอื่นยิ่งกว่า (อนุตฺตรา วิมุตฺติ) ด้วยการทำในใจโดย แยบคาย ้วยความเพียรอันชอบ โดยแยบคาย -ผู้แปล).

หน้า 174

61 อาการแห่งการตรัสรู้
-บาลี ม. ม. ๑๓/๔๕๗/๕๐๕.

1
ราชกุมาร ! ครั้นเรากลืนกินอาหารหยาบ ทำกายให้มีกำลังได้แล้ว เพราะสงัดจากกาม และ อกุศลธรรมทั้งหลายจึงบรรลุฌานที่ ๑ มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุฌานที่ ๒เป็นเครื่องผ่องใสในภายใน เป็นที่เกิดสมาธิแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่.

เพราะความจางไปแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยกาย จึงบรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข แล้วแลอยู่. และเพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงได้บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธ์ิ เพราะอุเบกขาแล้ว แลอยู่.

1. ยังพบใน สคารวสูตร -บาลี ม. ม. ๑๓/๖๘๕/๗๕๔, มหาสัจจกสูตร -บาลีมู. ม. ๑๒/๔๕๘/๔๒๗, ซึ่งตอนนี้ ปาสราสิสูตร ไม่มี, ต่อไปใน สคารวสูตรและมหาสัจจกสูตร ก็ไม่มี. -ผู้แปล

เรานั้น ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่ การงาน ถึงความไม่หวั่นไหวตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเฉพาะต่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ.

เรานั้นระลึก ถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อนได้หลายประการ คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ สามชาติ สี่ชาติ ห้าชาติบ้าง สิบชาติ ยี่สิบชาติสามสิบชาติ สี่สิบชาติ ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติบ้าง ตลอดหลายสังวัฏฏกัปป์ หลายวิวัฏฏกัปป์หลาย สังวัฏฏกัปป์ และ วิวัฏฏกัปป์บ้าง ว่าเมื่อเราอยู่ในภพโน้น มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร มีวรรณะ มีอาหารอย่างนั้นๆ เสวยสุข และทุกข์เช่นนั้นๆ มีอายุสุดลงเท่านั้น  

ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้เกิดในภพโน้น มีชื่อ โคตร วรรณะ อาหารอย่างนั้นๆ ได้เสวยสุขและทุกข์เช่นนั้นๆ มีอายุสุดลงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น แล้ว มาเกิด ในภพนี้.

เรานั้นระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อนได้หลายประการพร้อมทั้งอาการและลักษณะ ดังนี้.
ราชกุมาร ! นี่เป็นวิชชาที่ ๑ ที่เราได้บรรลุแล้วในยามแรกแห่งราตรี. อวิชชาถูกทำลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกทำลายแล้ว ความสว่างเกิดขึ้นแทนแล้ว เช่นเดียวกับที่เกิดแก่ผู้ไม่ ประมาท มีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้วแลอยู่ โดยควร.

เรานั้น ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่ การงาน ถึงความไม่หวั่นไหวตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเฉพาะต่อจุตูปปาตญาณ. เรามีจักขุทิพย์ บริสุทธิ์กว่าจักขุของสามัญมนุษย์ ย่อมแลเห็นสัตว์ทั้งหลายจุติอยู่ บังเกิดอยู่ เลวทรามประณีต มีวรรณะดี มีวรรณะเลว มีทุกข์ มีสุข.

เรารู้แจ้งชัด หมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย !สัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตพูดติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบการงานด้วยอำนาจ มิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป ย่อมพากันเข้าสู่อบายทุคติวินิบาตนรก.

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! ส่วนสัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบกายสุจริต วจีสุจริตมโนสุจริต ไม่ติเตียนพระ อริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ประกอบการงานด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไปย่อม พากันเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์”.

เรามีจักขุทิพย์บริสุทธิ์ล่วงจักขุสามัญมนุษย์ เห็นเหล่าสัตว์ผู้จุติอยู่ บังเกิดอยู่ เลวประณีต มีวรรณะดี วรรณะทราม มีทุกข์ มีสุข. รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมได้ฉะนี้.
หน้า 177
ราชกุมาร ! นี้เป็นวิชชาที่ ๒ ที่เราได้บรรลุแล้วในยามกลางแห่งราตรี. อวิชชาถูกทำลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกทำลายแล้ว ความสว่างเกิดขึ้นแทนแล้ว เช่นเดียวกับที่เกิดแก่ผู้ไม่ ประมาท มีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้วแลอยู่ โดยควร.

เรานั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่ การงาน ถึงความไม่หวั่นไหวตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ เราย่อมรู้ชัดตาม เป็นจริงว่า “นี่ทุกข์ นี่เหตุแห่งทุกข์ นี่ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี่ทางให้ถึงความดับไม่มีเหลือ แห่งทุกข์  และเหล่านี้เป็นอาสวะทั้งหลาย นี้เหตุแห่งอาสวะทั้งหลาย นี้ความดับไม่มีเหลือแห่ง อาสวะ ทั้งหลาย นี้เป็นทางให้ถึงความดับไม่มีเหลือแห่งอาสวะทั้งหลาย”. เมื่อเรารู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ.

ครั้นจิตพ้นวิเศษแล้วก็เกิดญาณ หยั่งรู้ว่า จิตพ้นแล้ว. เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์จบแล้ว กิจที่ต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่น ที่จะต้องทำเพื่อความ (หลุดพ้น) เป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก.

ราชกุมาร ! นี่เป็นวิชชาที่ ๓ ที่เราได้บรรลุแล้วในยามปลายแห่งราตรี. อวิชชาถูกทำลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกทำลายแล้ว ความสว่างเกิดขึ้นแทนแล้ว เช่นเดียวกับที่เกิด แก่ผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้วแลอยู่ โดยควร.

หน้า 179

62 สิ่งที่ตรัสรู้
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔.

ภิกษุทั้งหลาย ! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งอยู่สองอย่างที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะด้วย. สิ่งที่แล่นดิ่งไป สุดโต่งนั้นคืออะไร คือ การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย อันเป็นการกระทำ ที่ยังต่ำ เป็นของชาวบ้าน เป็นของคนชั้นปุถุชนไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และการประกอบความเพียร ในการทรมานตนให้ลำบาก อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์สองอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติ ที่ตถาคต ได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิด ญาณ เป็นไป เพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการนี่เอง.

แปดประการคืออะไรเล่า ? คือความเห็น ที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้อง การอาชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียร ที่ถูกต้องความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลคือข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติ ทำให้เกิดจักษุ ทำให้เกิดญาณเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่งเพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐเรื่องความทุกข์ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์1 ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รัก เป็นทุกข์ ความพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ขันธ์ห้า ที่ประกอบด้วยอุปาทาน เป็นทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐเรื่องแดนเกิดของความทุกข์ คือตัณหา อันเป็นเครื่อง ทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลิด เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ ตัณหาในกาม ตัณหาในความมี ความเป็นตัณหา ในความไม่มี ไม่เป็น.

1. ในพระไตรปิฎกสยามรัฐ มีคำ ว่า พฺยาธิปิ ทุกฺขา ด้วย, ซึ่งฉบับสวดมนต์ ไม่มี แต่ไปมีบทว่า โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสาปิ ทุกฺขา ซึ่งในพระไตรปิฎกไม่มี.-ผู้แปล
หน้า 181
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐเรื่องความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือความดับสนิท เพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้นนั่นเอง คือ ความสลัดทิ้ง ความสละคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่อาศัยซึ่งตัณหานั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐเรื่องข้อปฏิบัติ อันทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ ของความทุกข์ คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ อันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้ ได้แก่ ความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้องการอาชีพ ที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้วปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอัน ประเสริฐ คือความทุกข์ เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือความทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควร กำหนดรู้ เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือความทุกข์นี้ เราตถาคตกำหนดรู้รอบแล้ว.
หน้า 182
ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้วปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอัน ประเสริฐ คือแดนเกิดของทุกข์ เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือแดนเกิดของทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรละเสีย เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือแดนเกิดของความทุกข์นี้ เราตถาคตละได้แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้วปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอัน ประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของความทุกข์ เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือความดับ ไม่เหลือของความทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของความทุกข์นี้ เราตถาคตได้ทำให้แจ้งแล้ว.
หน้า 183
ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้วปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอัน ประเสริฐ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์ เกิดขึ้นแก่เราว่าก็ความจริง อันประเสริฐ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิด มี เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือของความ ทุกข์นี้ เราตถาคตได้ทำให้เกิดมีแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตลอดกาลเพียงไร ที่ญาณทัสสนะเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา อันมีปริวัฏฏ์สาม มีอาการสิบสอง ในอริยสัจจ์ทั้งสี่เหล่านี้ ยังไม่เป็นญาณทัสสนะที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี  ตลอดกาล เพียงนั้น เรายังไม่ปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อม ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาแลมนุษย์.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใด ญาณทัสสนะเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา อันมีปริวัฏฏ์สาม มีอาการ สิบสองในอริยสัจจ์ทั้งสี่ เหล่านี้เป็นญาณทัสสนะที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี เมื่อนั้น เราก็ปฏิญญาว่า เป็นผู้ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์…

หน้า 184

63 การรู้สึกพระองค์ว่าได้ตรัสรู้แล้ว
-บาลี มู. ม. ๑๒/๓๒๓/๓๒๐.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็เมื่อเราเป็นผู้มีความเกิด ความแก่ความเจ็บ ความตายเป็นธรรมดา มีความโศกเป็น ธรรมดามีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาด้วยตน ก็รู้จักโทษแห่งสิ่งที่มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โศก เศร้าหมองเป็นธรรมดา.

ครั้นรู้แล้ว จึงได้แสวงหานิพพาน อันไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายไม่โศก ไม่เศร้าหมองเป็นธรรมดา อันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งไปกว่าอันเกษมจากโยคธรรม เราก็ได้บรรลุพระนิพพานนั้น. อนึ่งปัญญาเครื่องรู้ เครื่องเห็นได้เกิดแก่เราว่า “ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย ภพเป็นที่เกิดใหม่มิได้มีอีก” ดังนี้.

หน้า 185

64 การตรัสรู้คือการทับรอยแห่ง พระพุทธเจ้าในอดีต
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๘/๒๕๓.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษเที่ยวไปในป่าทึบ เกิดพบรอยทางซึ่งเคยเป็นหนทางเก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว. บุรุษนั้นจึงเดินตามทางนั้นไปเมื่อเดินไปตามทางนั้นอยู่ ได้พบซากนคร ซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ทั้งหลายแต่กาลก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อัน สมบูรณ์ด้วยสวน สมบูรณ์ด้วยป่าไม้ สมบูรณ์ด้วยสระโบกขรณี มีซากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่า รื่นรมย์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ลำดับนั้น บุรุษนั้นเข้าไปกราบทูลแจ้งข่าวนี้แก่พระราชา หรือแก่มหาอำมาตย์ของ พระราชาว่า“ขอท้าวพระกรุณาจงทรงทราบเถิด ข้าพระเจ้าเมื่อเที่ยวไปในป่าทึบได้เห็นรอยทาง ซึ่งเคยเป็นหนทางเก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว.

ข้าพระเจ้าได้เดินตามทางนั้นไป เมื่อเดินไปตามทางนั้นอยู่ ได้พบซากนคร ซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ทั้งหลายแต่กาลก่อน เคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยสวน สมบูรณ์ด้วยป่าไม้ สมบูรณ์ด้วยสระโบกขรณี มีซาก กำแพงล้อม มีภูมิภาคน่ารื่นรมย์. ขอพระองค์จงปรับปรุงสถานที่นั้นให้เป็นนครเถิด พระเจ้าข้า !”
ดังนี้.
หน้า 186
ภิกษุทั้งหลาย ! ลำดับนั้น พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้น จึงปรับปรุงสถานที่นั้นขึ้นเป็น นคร. สมัยต่อมา นครนั้นได้กลายเป็นนครที่มั่งคั่ง และรุ่งเรืองมีประชาชนมาก เกลื่อนกล่นด้วยมนุษย์ ถึงแล้วซึ่งความเจริญไพบูลย์ นี้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น เราได้เห็นแล้วซึ่งรอยทางเก่า ที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อน เคยทรงดำเนินแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็รอยทางเก่า ที่เคยเป็น หนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อน เคยทรงดำเนินแล้วนั้น เป็นอย่างไรเล่านั่นคือ อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นเทียว ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล รอยทางเก่าที่เป็นหนทางเก่า อันพระสัมมา- สัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว.

เรานั้นได้ดำเนินไปตามแล้วซึ่งหนทางนั้น. เมื่อดำเนินไปตามซึ่งหนทางนั้นอยู่ เราได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้ว ซึ่งชรามรณะ ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ ซึ่ง

ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ซึ่งข้อปฎิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ  …
หน้า 187
 (ข้อความต่อไปจากนี้ ได้ตรัสถึงชาติ-ภพ- อุปาทาน-ตัณหา-เวทนา- ผัสสะ-สฬายตนะ- นามรูป-วิญญาณ สุดลงเพียงสังขารโดยอาการทั้งสี่ ดังที่ได้ตรัสในกรณีแห่งชรามรณะ เหมือนกันทุกตัว อักษร เว้นแต่ชื่อของตัวปฏิจจสมุปปันนธรรมนั้นๆ เท่านั้น -ผู้แปล).

หน้า 188

65 เกิดแสงสว่าง เนื่องด้วยการตรัสรู้
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๗/๑๒๗.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใด ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตร-สัมมาสัมโพธิญาณ ในขณะนั้นแสงสว่าง อันโอฬารจนหาประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้ ได้ปรากฏขึ้นในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลกพรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์. ถึงแม้ในโลกันตริกนรก อันโล่งโถงไม่มีอะไรปิดกั้น แต่มืดมนหาการเกิดแห่งจักขุวิญญาณมิได้ อันแสงสว่างแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพอย่างนี้ส่องไปไม่ถึงนั้น แม้ในที่นั้น แสงสว่างอันโอฬารหาประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้ ก็ได้ปรากฏขึ้นเหมือนกัน. สัตว์ที่เกิดอยู่ ณ ที่นั้น จะรู้จักกันได้ด้วยแสงสว่างนั้น พากันร้องว่า“ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย ! ผู้อื่นอันเกิดอยู่ในที่นี้นอกจากเราก็มีอยู่เหมือนกัน” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลเป็น อัศจรรย์ครั้งที่สาม ที่ยังไม่เคยมี ได้บังเกิดมีขึ้นเพราะการบังเกิด แห่ง ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ.

หน้า 189

66 แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการตรัสรู้

-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๒๒, ๓๒๓/๑๖๗.

อานนท์ ! เหตุปัจจัยที่ทำให้ปรากฏการไหวแห่งแผ่นดินอันใหญ่หลวง มีอยู่แปดประการ. …อานนท์ ! เมื่อใด ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ  เมื่อนั้น แผ่นดินย่อมหวั่นไหวย่อมสั่นสะเทือน ย่อมสั่นสะท้าน.

อานนท์ ! นี้เป็นเหตุปัจจัยที่คำรบห้า แห่งการปรากฏการไหวของแผ่นดินอันใหญ่หลวง.

หน้า 190

67 ทรงเป็นศาสดาประเภทตรัสรู้เอง

-บาลี ม. ม. ๑๓/๖๖๘/๗๓๗.

“พระโคดมผู้เจริญ ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งๆ ผู้ถึงที่สุดแห่งบารมี เพื่อบรรลุอภิญญาใน ธรรมอันตนเห็นแล้ว (ตามแบบของตนๆ)แล้วบัญญัติหลักลัทธิพรหมจรรย์อย่างหนึ่งๆ.

พระโคดมผู้เจริญ !ในบรรดาสมณพราหมณ์ผู้บัญญัติหลักลัทธิพรหมจรรย์อย่างหนึ่งๆเหล่านั้น พระโคดมผู้เจริญ ! พระองค์เป็นพวกไหน ?”

ภารท๎วาชะ ! เรากล่าว มาตรฐานที่ต่างกัน ในบรรดาสมณพราหมณ์ผู้ถึงที่สุดแห่งบารมีเพื่อ บรรลุอภิญญาในธรรมอันตนเห็นแล้ว (ตามแบบของตนๆ) เหล่านั้น

ภารท๎วาชะ ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ถึงที่สุดแห่งบารมีเพื่อบรรลุอภิญญาในธรรม อันตน เห็นแล้ว (ตามแบบของตนๆ), เขาเป็นพวกมีหลักลัทธิที่ฟังตามๆ กันมา(อนุสฺสวิกา) โดยการฟังตามๆ กันมานั้น เขาได้บัญญัติหลักลัทธิพรหมจรรย์ขึ้นมา ดังเช่นพวกพราหมณ์ ไตรเพท(พฺราหฺมณา เตวิชฺชา) นี้มีอยู่พวกหนึ่ง.

ภารท๎วาชะ ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ถึงที่สุดแห่งบารมีเพื่อบรรลุอภิญญา ในธรรมอันตน เห็นแล้ว (ตามแบบของตนๆ)  เพราะอาศัยสัทธาอย่างเดียวเป็นมาตรฐาน
(เกวลํ สทธฺ ามตตฺ กา) เขาไดบ้ ญั ญตั หิ ลกั ลทั ธพิ รหมจรรยข์ นึ้ มาดังเช่นพวกนักตรึกตรอง (ตกฺกี วีมํสี) นี้ก็มีอยู่พวกหนึ่ง.

ภารทว๎าชะ ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่งซึ่งก็ถึงที่สุดแห่งบารมีเพื่อบรรลุอภิญญาในธรรม อันตนเห็นแล้ว (ตามแบบของตนๆ) ได้บัญญัติหลักลัทธิพรหมจรรยข์ นึ้ มา ด้วยปัญญา เป็นเครื่องรู้ยิ่ง (อภิญญา) ซึ่งธรรมด้วยตนเองโดยแท้ในธรรมทั้งหลาย ที่ไม่เคยฟังมา แต่ก่อน นี้ก็มีอยู่พวกหนึ่ง.

ภารทวาชะ ! ท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้ว่า เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดาสมณพราหมณ์พวกนั้น.

หน้า 192

68 ทรงคิดหาที่พึ่งสำหรับพระองค์เอง
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๕/๒๑.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเราอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ต้นไทรเป็นที่พักร้อน ของเด็กเลี้ยงแพะคราวเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเราเร้นอยู่ ณ ที่สงัดเกิดปริวิตก ขึ้นในใจว่า “ผู้อยู่ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่พึ่งพำนักย่อมเป็นทุกข์ เราจะพึงสักการะเคารพสมณะ หรือพราหมณ์คนไหนหนอแล้วแลอยู่ ?”

ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้สึกอันนี้ได้เกิดแก่เราว่า“เรามองไม่เห็น สมณพราหมณ์อื่นที่ไหน ในโลกนี้ และเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-พราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์ ซึ่งสมบูรณ์ด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ด้วยวิมุตติยิ่งกว่าเรา ซึ่งเรา ควรสัก การะเคารพแล้วเข้าไปอาศัยอยู่”.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความคิดอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า“ถ้าไฉน ธรรมอันใดที่เราได้ตรัสรู้แล้ว. เราพึงสักการะเคารพธรรมนั้น เข้าไปอาศัยแล้วแลอยู่เถิด”. สหัมบดีพรหมรู้ความคิดในใจ ของเรา อันตรธานจากพรหมโลก มาปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเรา ในชั่วเวลาที่คนแข็งแรง เหยียดแขนออกแล้วคู้เข้า เท่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! สหัมบดีพรหม ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง จดเข่าข้างขวาที่พื้นดิน น้อมอัญชลีเข้ามาหาเราแล้วกล่าวกะเราว่า “อย่างนั้นแหละ พระผู้มีพระภาค ! อย่างนั้นแหละพระสุคต ! ข้าแต่พระองค์ ! แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ล่วงไปแล้ว ในอดีต ก็ได้สักการะเคารพธรรมนั่นเอง เข้าไปอาศัยแล้วแลอยู่, แม้ที่จักมาตรัสรู้ข้างหน้า ก็จักสักการะเคารพธรรมนั่นเอง จักเข้าไปอาศัยแล้วแลอยู่. ข้าแต่พระองค์ ! แม้พระผู้มี พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ขอจงสักการะเคารพธรรมนั่นแหละ เข้าไปอาศัย แล้วแลอยู่เถิด”.

สหัมบดีพรหม ได้กล่าวคำนี้แล้ว  ได้กล่าวคำอื่นอีก (ซึ่งผูกเป็นกาพย์) ว่าพระสัมพุทธเจ้า เหล่าใดในอดีตด้วย พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดในอนาคตด้วย และพระสัมพุทธเจ้า ผู้ทำความโศกแห่งสัตวโลกเป็นอนั มากให้ฉิบหายไปด้วย พระสัมพุทธเจ้า ทั้งหมดนนั้ ล้วนแล้วแต่เคารพพระสัทธรรมแล้วแลอยู่แล้ว อยู่อยู่ และจักอยู่ ข้อนี้เป็นธรรมดาแห่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล คนผู้รักตน หวังอยู่ต่อคุณอันใหญ่ระลึกถึงซึ่ง พระพุทธศาสนาอยู่ จงเคารพพระสัทธรรมเถิด.” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สหัมบดีพรหมได้กล่าวคำนี้แล้ว อภิวาทเราแล้ว กระทำประทักษิณหายไป ในที่นั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! เราเข้าใจในการเชื้อเชิญของพรหม และการ

กระทำที่สมควรแก่ตน เราได้ตรัสรู้ธรรมใด ก็สักการะเคารพธรรมนั้น เข้าไปอาศัยธรรมนั้น อยู่แล้ว.ภิกษุทั้งหลาย ! อนึ่ง ในกาลใดแล หมู่สงฆ์ประกอบพร้อมด้วยคุณอันใหญ่ ในกาลนั้น เรามีความเคารพแม้ในสงฆ์ ดังนี้.