เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  มหานิทเทส คัมภีร์ว่าด้วยศาสตร์ ขยายความพระไตรปิฎก เชื่อว่าเป็นผลงานของพระสารีบุตร 958
 
   
  มหานิทเทส (2)
  (1) ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง
  (2) ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
  (3) ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
  (4) ว่าด้วยตระหนี่ ๕ ประการ
  (5) ความสงสัยในอนาคต ๑๕ ประการ
  (6) ว่าด้วยสิกขา ๓
  (7) ชีวิตน้อยด้วยเหตุ ๒ ประการ
  (8) ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อยอย่างนี้.
  (9) ว่าด้วยปัญญาที่เรียกว่าธี
  (10) สัตว์ดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัณหา
  (11) ว่าด้วยภพน้อยภพใหญ
  (12) ว่าด้วยความยึดถือ ๒ อย่าง
  (13) ว่าด้วยภพน้อยภพใหญ่
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๙ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส


(1)
ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง

     [๓๓] คำว่า นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก มีความว่า วิเวก ได้แก่ วิเวก ๓ อย่าง คือ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก.

     กายวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัด ด้วยกาย อยู่คือ เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต ผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งอยู่ในที่เร้นลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียว เที่ยว อยู่ เปลี่ยนอริยาบถ ประพฤติรักษาเป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า กายวิเวก.

     จิตตวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุผู้บรรลุปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์
บรรลุทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกและวิจาร
บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ
บรรลุจตุตตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์
บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญานานัตตสัญญา
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตน สัญญา
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา

(เมื่อภิกษุนั้น) เป็นโสดาบันบุคคล มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับ สักกายทิฏฐิเป็นต้น

เป็นสกทาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่างหยาบ กามราคานุสัยปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และจากกิเลสที่ตั้ง อยู่ในเหล่าเดียวกันกัน กามราคสังโยชน์ อย่างหยาบเป็นต้นนั้น

เป็นอนาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกัน กับกามราคสังโยชน์อย่าง ละเอียด เป็นต้นนั้น

เป็นอรหันตบุคคลมีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะอุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกัน กับรูปราคะเป็นต้นนั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก.

     อุปธิวิเวกเป็นไฉน? กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่าอุปธิ.

     อมตะ นิพพานเรียกว่าอุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืน อุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจาก ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก.

     ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตตวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้หมดอุปธิถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร.

      คำว่า ไกลจากวิเวก มีความว่า นรชนนั้นใด เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำอย่างนี้ อันกิเลส มากปิดบัง ไว้อย่างนี้ หยั่งลงในที่หลงอย่างนี้ นรชนนั้นย่อมอยู่ไกลแม้จากกายวิเวก ย่อมอยู่ไกลแม้จาก จิตตวิเวก ย่อมอยู่ไกลแม้จากอุปธิวิเวก คืออยู่ในที่ห่างไกล แสนไกล มิใช่ใกล้มิใช่ใกล้ชิด มิใช่เคียง มิใช่ใกล้เคียง.

    คำว่า อย่างนั้น คือ ผู้หยั่งลงในที่หลง ชนิดนั้นเช่นนั้น ดำรงอยู่ดังนั้น แบบนั้น เหมือนเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจากวิเวก.



(2)
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง (นัยยะ ๑)

[๓๔] คำว่า กามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่ายมีความว่า (๑) กามได้แก่กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑

     วัตถุกามเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจเครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทองบ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท กองพลรบ คลัง และวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวัตถุกาม.
     อีกอย่างหนึ่ง กามที่เป็นอดีต กามที่เป็นอนาคตกามที่เป็นปัจจุบัน ที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก ชนิดเลวชนิดปานกลาง ชนิดประณีต เป็นของสัตว์ผู้เกิดในอบาย เป็นของมนุษย์ เป็นของทิพย์ที่ปรากฏเฉพาะหน้า ที่นิรมิตเอง ที่ผู้อื่นนิรมิต ที่หวงแหน  ที่ไม่ได้หวงแหน ที่ยึดถือว่าของเราที่ไม่ยึดถือ ว่าของเรา ธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นรูปาวจร แม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหา ชื่อว่ากาม เพราะอรรถว่า อันบุคคลพึงใคร่ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด  เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา กามเหล่านี้เรียกว่าวัตถุกาม.

     กิเลสกามเป็นไฉน? คือ ความพอใจ ความกำหนัด ความพอใจและความกำหนัด ความดำริ ความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสนหาในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นกางคือกามฉันทะ ชื่อว่ากาม.
      สมจริงดังคำว่า ดูกรกาม เราเห็นรากฐานของท่านแล้วว่า ท่านย่อมเกิด เพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจักไม่มีอย่างนี้.

     กามเหล่านี้ เรียกว่า กิเลสกาม. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก.

     คำว่า กามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย มีความว่า ก็กามทั้งหลายในโลกเป็นของอันนรชน ละได้โดยยาก สละได้โดยยาก สลัดได้ โดยยาก ย่ำยีได้โดยยาก แหวกออกได้โดยยาก ข้ามได้โดยยาก พ้นได้โดยยาก ก้าวล่วงได้โดยยาก ข้ามพ้นได้โดยยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย.

     เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อัน กิเลสมาก ปิดบังไว้แล้ว นรชนเมื่อ ตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกล จากวิเวก ก็เพราะ กามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย.


ภพ

    [๓๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัตว์เหล่านั้น ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ เพราะเหตุแห่งความปรารถนา มุ่งหวังอยู่ในข้างหลังบ้าง ในข้างหน้าบ้าง ปรารถนาอยู่ ซึ่งกามเหล่านี้ หรือกามที่มีในก่อน เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยังบุคคลอื่น ให้หลุดพ้น.

    [๓๖] คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ เพราะเหตุแห่งความปรารถนา มีความว่าตัณหา เรียกว่า ความปรารถนา ได้แก่ความกำหนัด (๑) ความกำหนัดกล้า ความพอใจ ความชอบใจ ความเพลิดเพลิน ความกำหนัด ด้วยสามารถ แห่งความกำหนัดกล้าแห่งจิต ความปรารถนา ความหลง ความติดใจ ความยินดี ความยินดีทั่วไป ความข้อง ความติดพัน ความแสวงหา ความลวง ความให้สัตว์เกิด ความให้สัตว์เกี่ยวกับทุกข์ ความเย็บไว้

ความที่จิตเป็นดังว่าข่าย ความที่จิตเป็นดังว่ากระแสน้ำ ความซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ความที่จิตเป็นดังว่าเส้นด้าย ความกระจายไป ความให้อายุเสื่อมไป ความเป็นเพื่อน ความตั้งไว้ เครื่องนำไปสู่ภพ ความติดอารมณ์ ความตั้งอยู่ในอารมณ์ ความสนิท ความรัก ความเพ่งเล็ง ความผูกพัน ความหวัง ความจำนง ความประสงค์ ความหวังในรูป  ความหวังในเสียง ความหวังในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ

ความหวังในลาภ ความหวังในทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ความปรารถนา ความให้สัตว์ปรารถนา ความที่จิตปรารถนาความเหนี่ยวรั้ง ความให้สัตว์เหนี่ยวรั้ง ความที่จิตเหนี่ยวรั้ง ความหวั่นไหว อาการแห่งความหวั่นไหว ความพรั่งพร้อมด้วยความหวั่นไหว ความกำเริบ ความใคร่ดี ความกำหนัดในที่ผิดธรรม ความโลภไม่เสมอ ความใคร่ อาการแห่งความใคร่ ความมุ่งหมาย ความปอง ความปรารถนาดี

กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน ความกั้น ความปิด ความบัง ความผูก ความเข้าไปเศร้าหมอง ความนอนเนื่อง ความกลุ้มรุมจิต ความเป็นดังว่าเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุต่างๆ รากเง่าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงมาร เบ็ดมาร วิสัยมาร แม่น้ำ ตัณหาข่ายตัณหา โซ่ตัณหา สมุทรตัณหา อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล.

     คำว่า เพราะเหตุแห่งความปรารถนา คือ เพราะเหตุแห่งความปรารถนา เพราะความปรารถนาเป็นเหตุ เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย เพราะความปรารถนาเป็นตัวการ เพราะความปรารถนาเป็นแดนเกิด
ฉะนั้นจึงชื่อว่า เพราะเหตุแห่งความปรารถนา

     คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ คือ ความแช่มชื่นในภพอย่างหนึ่ง ได้แก่สุขเวทนา.
ความแช่มชื่นในภพ ๒ อย่าง ได้แก่ สุขเวทนา ๑ วัตถุที่ปรารถนา ๑.
ความแช่มชื่นในภพ ๓ อย่าง ได้แก่ ความเป็นหนุ่มสาว ๑ ความไม่มีโรค ๑ ชีวิต ๑.
ความแช่มชื่นในภพ ๔ อย่าง ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข.(โลกธรรม)
ความแช่มชื่นในภพ ๕ อย่าง ได้แก่รูป เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะที่น่าพอใจ.(อายตนะ)
ความแช่มชื่นในภพ ๖ อย่าง ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่งจักษุ ความถึงพร้อมแห่งโสต ความถึงพร้อม แห่งฆานะ ความถึงพร้อมแห่งชิวหา ความถึงพร้อมแห่งกาย ความถึงพร้อม แห่งใจ. (อายตนะภายใน ๖)

     คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ คือ ติดพันในสุขเวทนา ติดพันในวัตถุ ที่ปรารถนา ติดพันในความเป็นหนุ่มสาว ติดพันในความไม่มีโรค ติดพันในชีวิต ติดพันในลาภ ติดพันในยศ ติดพันในสรรเสริญ ติดพันในสุข ติดพันในรูปติดพัน ในเสียง ติดพันในกลิ่นติดพันในรส ติดพันในโผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ติดพันคือเกี่ยวพัน ผูกพัน ข้อง เกี่ยว หมกมุ่น ในความถึงพร้อมแห่งจักษุ ในความถึงพร้อมแห่งโสต ในความถึงพร้อมแห่งฆานะ ในความถึงพร้อมแห่งชิวหา ในความถึงพร้อมแห่งกาย ในความถึงพร้อมแห่งใจ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ เพราะเหตุแห่งความปรารถนา.

     [๓๗] คำว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น มีความว่า ธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพ เหล่านั้นอันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก หรือสัตว์เหล่านั้นเป็นผู้หลุดพ้นได้ยากจากธรรม ที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่น ในภพเหล่านั้น.

      ธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพ เหล่านั้นอันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก อย่างไร? คือ สุขเวทนา วัตถุที่ปรารถนา ความเป็นหนุ่มสาว ความไม่มีโรค ชีวิต ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ความถึงพร้อมแห่งจักษุ ความถึงพร้อมแห่งโสต ความถึงพร้อมแห่งฆานะ ความถึงพร้อมแห่งชิวหา ความถึง พร้อมแห่งกาย ความถึงพร้อมแห่งใจ อันสัตว์พ้นได้ยาก คือหลุดพ้นได้ยาก เปลื้องได้ยาก ปล่อยได้ยากย่ำยีได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวล่วงได้ยาก ประพฤติล่วงได้ยาก.

     ธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพ อันสัตว์หลุดพ้นได้ยากอย่างนี้.
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก จากธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่น ในภพ เหล่านั้นอย่างไร? คือ สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้พ้นได้ยาก หลุดพ้นได้ยาก ถอนขึ้นได้ยาก ปลดเปลื้องได้ยาก พรากออกได้ยาก ฉุดออกได้ยาก จากสุขเวทนา วัตถุที่ปรารถนา ความเป็นหนุ่มสาวความไม่มีโรค ชีวิต ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจความถึงพร้อมแห่งจักษุ ความถึงพร้อมแห่งโสต ความถึงพร้อม แห่งฆานะ ความถึงพร้อมแห่งชิวหา ความถึงพร้อมแห่งกาย ความถึงพร้อมแห่งใจ.

     สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้หลุดพ้นได้ยากจากธรรม ที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่น ในภพ เหล่านั้น อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้หลุดพ้นได้ยากอย่างนี้.

     คำว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น มีความว่า สัตว์เหล่านั้นจมอยู่ด้วยตน ย่อมไม่อาจจะ ฉุด ผู้อื่นที่จมอยู่ให้ขึ้นได้.

     สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรจุนทะ บุคคลนั้นหนอ จมอยู่ด้วยตนแล้ว จักฉุดผู้อื่น ที่จมอยู่ขึ้นได้ ข้อนี้มิใช่ ฐานะที่จะมีได้
ดูกรจุนทะ บุคคลนั้นหนอ ไม่ฝึกฝน ไม่อบรม ไม่ดับกิเลส ด้วยตนแล้ว จักยังผู้อื่น ให้ฝึกฝน ให้อบรมให้ดับกิเลสได้ ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

     สัตว์เหล่านั้นไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้นได้อย่างนี้.

     อีกอย่างหนึ่ง ไม่มีใครๆ อื่นที่จะยังสัตว์เหล่านั้นให้พ้นได้ ถ้าสัตว์เหล่านั้นจะพึง พ้นได้ไซร้สัตว์เหล่านั้นก็ปฏิบัติอยู่ซึ่งสัมมาปฏิบัติ อนุโลมปฏิบัติ อปัจจนิกปฏิบัติ อนวัตถปฏิบัติธัมมานุธัมมาปฏิบัติโดยตนเอง ด้วยเรี่ยวแรง กำลัง ความเพียร ความบากบั่น เรี่ยวแรงของบุรุษ กำลังของบุรุษ ความเพียรของบุรุษ ความบากบั่นบุรุษ ของตนเอง จึงจะพึงพ้นได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น แม้ด้วยประการอย่างนี้.

     สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโธตกมาณพ เราไม่อาจยังใครๆ ที่มี ความสงสัยในโลกให้หลุดพ้นได้ แต่ท่านรู้เฉพาะอยู่ซึ่งธรรมอันประเสริฐ พึงข้าม ห้วงทุกข์นี้ได้ ด้วยประการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้ หลุดพ้น แม้ด้วยประการอย่างนี้.

     สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ความชั่วอันบุคคลกระทำด้วยตน บุคคลนั้น จักเศร้าหมองด้วยตนเอง ความชั่วอันบุคคลไม่กระทำด้วยตน บุคคลนั้นจะบริสุทธิ์ ด้วยตนเอง ความบริสุทธิ์ และความไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน ผู้อื่นไม่พึงให้
ผู้อื่นบริสุทธิ์ได้.

     เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น แม้ด้วยประการอย่างนี้.

     สมจริงดังที่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้ก็ฉันนั้น นิพพานก็ตั้ง อยู่ หนทางไปนิพพานก็ตั้งอยู่ เราผู้ชักชวนก็ตั้งอยู่ ก็เมื่อเป็นดังนั้น สาวกทั้งหลาย ของเรา ผู้อันเราสั่งสอนอยู่อย่างนี้พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกก็บรรลุถึงนิพพาน อันแน่นอนโดยส่วนเดียว  ทางพวกก็ไม่บรรลุดูกรพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไร ได้ ดูกรพราหมณ์ พระตถาคตเป็นเพียงผู้บอกหนทางพระพุทธเจ้าย่อมบอกหนทาง สัตว์ทั้งหลายผู้ปฏิบัติอยู่ด้วยตนเอง จึงจะพึงหลุดพ้นได้เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้นแม้ด้วยประการอย่างนี้.

     เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยังบุคคลอื่น ให้หลุดพ้น.

     [๓๘] คำว่า มุ่งหวังอยู่ในข้างหลังบ้าง ในข้างหน้าบ้าง มีความว่า อนาคตเรียกว่า ข้างหลัง อดีตเรียกว่าข้างหน้า. อีกอย่างหนึ่ง อนาคตใกล้อดีตก็ดี ปัจจุบันใกล้อดีตก็ดี เรียกว่าข้างหลัง อดีตใกล้อนาคตก็ดี  ปัจจุบันใกล้อนาคตก็ดี เรียกว่าข้างหน้า.

     บุคคลทำความมุ่งหวังในข้างหน้า อย่างไร? คือ บุคคลย่อมหวนระลึกถึงความ เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตกาล เราได้มีรูปอย่างนี้ มีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญา อย่างนี้มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้.

     บุคคลชื่อว่า ทำความมุ่งหวังในข้างหน้าแม้ด้วยประการอย่างนี้.

     อีกอย่างหนึ่ง วิญญาณเป็นของพัวพันด้วย ฉันทราคะในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตกาล เราได้มีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะวิญญาณเป็นของพัวพันด้วยฉันทราคะ บุคคลนั้น จึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้น จึงชื่อว่าย่อมกระทำความมุ่งหวัง ในข้างหน้าแม้ด้วยประการอย่างนี้.

     วิญญาณเป็นของพัวพันด้วยฉันทราคะในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตกาลเราได้มีโสต ดังนี้ มีเสียงดังนี้ ... ในอดีตกาล เราได้มีฆานะดังนี้ มีกลิ่นดังนี้ ... ในอดีตกาลเรา ได้มีชิวหาดังนี้ มีรสดังนี้ ... ในอดีตกาล เราได้มีกายดังนี้ มีโผฏฐัพพะดังนี้ ... ในอดีตกาล เราได้มีใจดังนี้ เพราะวิญญาณเป็นของพัวพันด้วยฉันทราคะ บุคคลนั้น จึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้น จึงชื่อว่า ย่อมกระทำความมุ่งหวัง ในข้างหน้าแม้ด้วยประการอย่างนี้.

     อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมยินดี มุ่งหวัง ถึงความปลื้มใจด้วยการหัวเราะ การเจรจา การเล่น กับมาตุคามในกาลก่อน. บุคคลจึงชื่อว่า ย่อมกระทำความมุ่งหวังในข้างหน้า แม้ด้วยประการอย่างนี้.

     บุคคลทำความมุ่งหวังในข้างหลังอย่างไร? คือ บุคคลตามระลึกถึงความ เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีรูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้ สัญญาอย่างนี้ สังขารอย่างนี้วิญญาณอย่างนี้. บุคคลชื่อว่าทำความมุ่งหวังในข้างหลัง แม้ด้วยประการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่งบุคคลตั้งจิต เพื่อจะได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะเหตุแห่งการตั้งจิตไว้ บุคคลนั้น จึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้น จึงชื่อว่าย่อมกระทำ ความมุ่งหวัง ในข้างหลัง แม้ด้วยประการอย่างนี้.

     บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้อารมณ์ที่ไม่ได้ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีโสตดังนี้ มีเสียงดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีฆานะดังนี้ ... มีกลิ่นดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีชิวหาดังนี้ มีรสดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีกายดังนี้มีโผฏฐัพพะดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีใจดังนี้ มีธรรมดังนี้ เพราะเหตุแห่งการตั้งจิตไว้ บุคคลนั้น จึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ทำความ มุ่งหวัง ในข้างหลัง แม้ด้วยประการอย่างนี้.

     อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมตั้งจิตเพื่อจะได้อารมณ์ที่ยัง ไม่ได้ว่า เราจักเป็นเทวราช หรือจักเป็นเทวดาตนใดตนหนึ่ง ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยตบะหรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เพราะเหตุแห่งการตั้งจิตไว้ บุคคลนั้นจึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์ นั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวังในข้างหลัง แม้ด้วยประการอย่างนี้เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุ่งหวังอยู่ในข้างหลังบ้าง ในข้างหน้าบ้าง.

     [๓๙] คำว่า ปรารถนาอยู่ซึ่งกามเหล่านี้ หรือกามที่มีในก่อน มีความว่า คำว่า ซึ่งกามเหล่านี้ คืออยากได้ ยินดี ปรารถนา ทะเยอทะยาน เพ้อฝัน ถึงกามคุณ ๕ ที่เป็นปัจจุบัน.

     คำว่า ปรารถนาอยู่ซึ่งกามที่มีในก่อน มีความว่า ปรารถนาอยู่ บ่นเพ้ออยู่ รำพันอยู่ ซึ่งกามคุณ ๕ ที่เป็นอดีต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปรารถนาอยู่ซึ่งถามเหล่านี้ หรือกามที่มีในก่อน.

     เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สัตว์เหล่านั้น ผู้ติดพันด้วยความ แช่มชื่นในภพ เพราะเหตุแห่งความ ปรารถนา มุ่งหวังอยู่ในข้างหลังบ้าง ในข้างหน้า บ้าง ปรารถนาอยู่ซึ่งกามเหล่านี้ หรือกามที่มีในก่อน เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยัง บุคคลอื่นให้หลุดพ้น.

     [๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัตว์เหล่านั้นปรารถนา ขวนขวาย หลงใหลอยู่ ในกามทั้งหลาย เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ ถึงทุกข์เข้าแล้ว ย่อมรำพัน อยู่ว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้วจักเป็นอะไรหนอ.

(3)
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง

     [๔๑] คำว่า ปรารถนา ขวนขวาย หลงใหลอยู่ในกามทั้งหลาย มีความว่า กามได้แก่กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือวัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ กามเหล่านี้ เรียกว่าวัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม.

     ตัณหาเรียกว่า ความปรารถนา ได้แก่ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล.

     สัตว์ทั้งหลาย กำหนัดปรารถนา หลงใหล ติดใจ ลุ่มหลง ข้อง เกี่ยว พัวพัน ในวัตถุกามทั้งหลายด้วยกิเลสกามเพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปรารถนาในกามทั้งหลาย.

     คำว่า ขวนขวาย มีความว่า แม้สัตว์เหล่าใด ย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหากาม ทั้งหลาย เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกามเอนไปในกาม โอนไป ในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ขวนขวายในกาม.

     แม้สัตว์เหล่าใด ย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหา รูป เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกามหนักในกาม เอนไป ในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่แม้สัตว์ เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ขวนขวายในกาม.

     แม้สัตว์เหล่าใด ได้เฉพาะรูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกามเอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ขวนขวาย ในกาม.

     แม้สัตว์เหล่าใดบริโภครูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกามโอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ คนผู้ทำความทะเลาะ ชื่อว่า ขวนขวายในความทะเลาะ คนทำการงาน ชื่อว่า ขวนขวายในการงาน คนผู้เที่ยวไป อยู่ในโคจรชื่อว่าขวนขวายในโคจร คนผู้เจริญฌาน ชื่อว่าขวนขวายในฌาน ฉันใด

      แม้สัตว์เหล่าใดย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหากามทั้งหลาย เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกามเอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไป ในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ขวนขวายในกาม.

     แม้สัตว์เหล่าใด ย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหา รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกามหนักในกาม เอนไป ในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่แม้สัตว์ เหล่านั้น ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม.

     แม้สัตว์เหล่าใด ได้เฉพาะรูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกามเอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม  มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ขวนขวายในกาม.

     แม้สัตว์เหล่าใดบริโภครูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นเที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ขวนขวายในกาม ฉันนั้น.

     คำว่า หลงใหล มีความว่า โดยมากเทวดาและมนุษย์ ย่อมหลง หลงใหลหลง พร้อมอยู่ในกามคุณ ๕ เป็นผู้หลง หลงใหล หลงพร้อม อันอวิชชาทำให้ตาบอดหุ้ม ห่อไว้ ปิดไว้ ปิดบังไว้ ปกปิดไว้ ปกคลุมไว้ ครอบงำไว้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าปรารถนา ขวนขวาย หลงใหลอยู่ในกามทั้งหลาย.

     [๔๒] คำว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ มีความว่าคำว่า ตกต่ำ คือแม้สัตว์ผู้ไปต่ำ ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ. แม้ผู้มีความตระหนี่ ก็ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ.

     ผู้ไม่เชื่อถือคำ ถ้อยคำ เทศนา คำสอนของพระพุทธเจ้า และสาวกของ พระพุทธเจ้า ทั้งหลายก็ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ.

     ผู้ไปต่ำ ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ อย่างไร? สัตว์ผู้ไปต่ำ คือสัตว์ที่ไปสู่นรก ไปสู่ดิรัจฉาน กำเนิดไปสู่เปรตวิสัย ชื่อว่าไปต่ำ ผู้ไปต่ำอย่างนี้ จึงชื่อว่า ผู้ตกต่ำ.

(4)
ว่าด้วยตระหนี่ ๕ ประการ

     ผู้มีความตระหนี่ อย่างไร? ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ความตระหนี่สกุล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณ ความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่เห็นปานนี้  อาการตระหนี่ ความเป็นผู้ประพฤติตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่างๆ ความเหนียวแน่น ความเป็นผู้มีจิตหดหู่ เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใครๆ ไม่เชื่อถือได้ ในการให้ นี้เรียกว่าความตระหนี่.

     อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะก็ดี นี้เรียกว่า ความตระหนี่.

     ความมุ่งจะเอา ก็เรียกว่าความตระหนี่. นี้ชื่อว่า ความตระหนี่.

     ชนผู้ประกอบด้วยความตระหนี่ ไม่รู้จักถ้อยคำที่ยาจกกล่าว ประมาทอยู่แล้ว ผู้มีความตระหนี่ อย่างนี้ ชื่อว่าผู้ตกต่ำ.

     สัตว์ที่ไม่เชื่อถือคำ ถ้อยคำ เทศนา คำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวกของ พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ อย่างไร? สัตว์ทั้งหลาย ไม่เชื่อถือ ไม่ฟัง ไม่เงี่ยโสตลงฟังไม่ตั้งจิต เพื่อจะรู้คำ ถ้อยคำ เทศนา คำสอนของพระพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ไม่เชื่อฟัง ไม่ทำตามคำ ประพฤติฝ่าฝืน เบือนหน้าไปทางอื่น สัตว์ที่ไม่เชื่อคำ ถ้อยคำ เทศนา คำสอนของพระพุทธเจ้าและ สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ.

     คำว่า สัตว์เหล่านั้นตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ มีความว่า สัตว์เหล่านั้น ตั้งอยู่ตั้งอยู่ เฉพาะ ติดแน่น เข้าถึง ติดพัน ติดใจ ข้อง เกี่ยว เกาะเกี่ยว ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การกล่าวคำเท็จ คำส่อเสียดคำหยาบ คำพ้อเจ้อ ความเพ่งเล็ง ความปองร้าย ความเห็นผิด สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕นิวรณ์ ๕ ความคิดอ่าน ความปรารถนา ความตั้งใจ อันไม่เสมอ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมอัน ไม่เสมอ.

     [๔๓] คำว่า ถึงทุกข์เข้าแล้ว ย่อมรำพันอยู่ มีความว่า คำว่า ถึงทุกข์เข้าแล้วคือ เข้าถึง ทุกข์ ถึงทุกข์ ประสบทุกข์ ประจวบทุกข์ ถึงมาร ประสบมาร ประจวบมาร ถึงมรณะ ประสบมรณะ ประจวบมรณะเข้าแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถึงทุกข์เข้าแล้ว.

     คำว่า ย่อมรำพันอยู่คือ ย่อมร่ำไรถึง เพ้อถึง โศกถึง ลำบากใจ รำพัน ตบ อก คร่ำครวญถึง ถึงความหลงใหลเพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถึงทุกข์เข้าแล้ว ย่อมรำพึงอยู่.

(5)
ความสงสัยในอนาคต ๑๕ ประการ

     [๔๔] คำว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้วจักเป็นอะไรหนอ มีความว่า สัตว์เหล่านั้น แล่นไปสู่ความสงสัย แล่นไปสู่ความเคลือบแคลง เกิดไม่แน่ใจ ย่อมพูดถึง เพ้อถึงโศกถึง ลำบากใจ รำพัน ตบอกคร่ำครวญถึง ถึงความหลงใหล อยู่ว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้ว จักเป็นอะไรหนอ (๑)- คือ จักเป็นสัตว์เกิด ในนรก จักเป็นสัตว์เกิดในดิรัจฉาน*กำเนิด จักเป็นสัตว์เกิดในเปรตวิสัย จักเป็นมนุษย์ จักเป็นเทวดา จักเป็นสัตว์มีรูป จักเป็นสัตว์ไม่มีรูป จักเป็นสัตว์มีสัญญา จักเป็นสัตว์ ไม่มีสัญญา หรือจักเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราทั้งหลายจักมีในอนาคต หรือหนอ หรือจักไม่มีในอนาคต เราทั้งหลายจักเป็นอะไรหนอแล ในอนาคต เราทั้งหลายจักเป็นอย่างไรหนอแลในอนาคต เราทั้งหลาย เป็นอะไรแล้วจึงจัก เป็นอะไรอีกในอนาคตกาล ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า (สัตว์เหล่านั้นย่อมรำพันว่า) เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้ว จักเป็นอะไรหนอ.

     เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าสัตว์เหล่านั้น ปรารถนา ขวนขวาย หลงใหล อยู่ใน กามทั้งหลายเป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ ถึงทุกข์เข้าแล้ว ย่อมรำพันอยู่ว่า เราทั้งหลาย เคลื่อนจากภพนี้แล้ว จักเป็นอะไรหนอ.

     [๔๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาในศาสนา นี้แหละ พึงรู้กรรมอันไม่เสมออย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่าเป็นกรรมอันไม่เสมอ ไม่พึง ประพฤติกรรม อันไม่เสมอ เพราะเหตุแห่งกรรมอันไม่เสมอนั้น นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้กล่าวชีวิตนี้ว่า เป็นของน้อย.

(6)
ว่าด้วยสิกขา ๓

     [๔๖] คำว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาในศาสนานี้แหละ มีความว่า คำว่า เพราะฉะนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น คือ เพราะ เห็นโทษ นั้นในกามทั้งหลาย.

     คำว่าพึงศึกษา มีความว่า พึงศึกษาสิกขาทั้ง ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑.

     อธิศีลสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วด้วยการสำรวม ในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทาน ศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีล ที่ตั้ง เบื้องต้น เบื้องบาท ความสำรวม ความระวัง ปาก ประธาน แห่งความถึงพร้อมด้วย กุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา.

     อธิจิตตสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.

     เพราะวิตกและวิจารสงบไป จึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น ธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.

     เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ ตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่ เป็นสุข.

     เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ จึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา.

     อธิปัญญาสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา อันให้ถึง ความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ อาสวะ นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา.

     สัตว์ผู้เกิดมา เมื่อนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้ เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐาน จิต เมื่อน้อมใจไปด้วยความเชื่อ เมื่อประคองความเพียร เมื่อตั้งสติ เมื่อตั้งจิต เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญ ธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง พึงศึกษา พึงประพฤติเอื้อเฟื้อประพฤติ เอื้อเฟื้อ โดยชอบสมาทานประพฤติ.

     คำว่า ในศาสนานี้ คือ ในความเห็นนี้ ในความควรนี้ ในความชอบใจนี้ ในความ ยึดถือนี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้ ในอัตภาพนี้ ในมนุษย์โลกนี้. คำว่า สัตว์ผู้เกิดมา คือ สัตว์นระ ฯลฯ มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาในศาสนานี้แหละ.

     [๔๗] คำว่า พึงรู้กรรมอันไม่เสมออย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่าเป็นกรรมอันไม่เสมอ มีความว่า คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ทั้งปวงโดยอาการทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการ ทั้งปวง ไม่เหลือ ไม่มีเหลือ คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่งนี้ เป็นเครื่องกล่าวกรรมทั้งสิ้น.

     คำว่า พึงรู้ว่าเป็นกรรมอันไม่เสมอ มีความว่า สัตว์ผู้เกิดมา พึงรู้ พึงรู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสาวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ อันไม่เสมอ ว่าเป็นกรรมอันไม่เสมอ. คำว่า ในโลก คือในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงรู้กรรมอันไม่เสมอ อย่างใด อย่างหนึ่งในโลก ว่าเป็นกรรมอันไม่เสมอ.

     [๔๘] คำว่า ไม่พึงประพฤติกรรมอันไม่เสมอเพราะเหตุแห่งกรรมอันไม่เสมอนั้น มีความว่า สัตว์ผู้เกิดมา ไม่พึงประพฤติ ไม่พึงเอื้อเฟื้อประพฤติ ไม่พึงเอื้อเฟื้อ ประพฤติโดยชอบ ไม่พึง สมาทานประพฤติ ซึ่งกรรมอันไม่เสมอเพราะเหตุแห่ง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสาวาจา สัมผัปปลาปะอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เจตนา ความปรารถนาความตั้งใจ อันไม่เสมอ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงประพฤติกรรมอันไม่เสมอ เพราะเหตุแห่งกรรมอันไม่เสมอนั้น.

(7)

ชีวิตน้อยด้วยเหตุ ๒ ประการ

[๔๙] คำว่า นักปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวชีวิตนี้ว่า เป็นของน้อย มีความว่า ชีวิตได้แก่ อายุ ความตั้งอยู่ ความดำเนินไป ความให้อัตภาพดำเนินไป ความเคลื่อนไหว ความเป็นไป ความเลี้ยง ความเป็นอยู่ ชีวิตินทรีย์.

ก็ชีวิตน้อยโดยเหตุ ๒ ประการ คือ ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อย ๑ ชีวิตน้อยเพราะมีกิจน้อย ๑.
ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อยเป็นอย่างไร? ชีวิตเป็นอยู่แล้วในขณะจิตเป็นอดีต ย่อมไม่เป็นอยู่ จักไม่เป็นอยู่.
ชีวิตจักเป็นอยู่ ในขณะจิตเป็นอนาคต ย่อมไม่เป็นอยู่ ไม่เป็นอยู่แล้ว.
ชีวิตย่อมเป็นอยู่ในขณะจิตเป็นปัจจุบัน ไม่เป็นอยู่แล้ว จักไม่เป็นอยู่.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าชีวิต อัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งมวล เป็นธรรม ประกอบกันเสมอ ด้วยจิตดวงเดียว ขณะย่อมเป็นไปพลัน เทวดาเหล่าใด ย่อมตั้งอยู่ ตลอดแปดหมื่นสี่พันกัป เทวดาเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นผู้ประกอบด้วยจิตสองดวง ดำรงอยู่เลย ขันธ์เหล่าใดของสัตว์ผู้ตาย หรือของสัตว์ ที่เป็นอยู่ในโลก นี้ดับแล้ว ขันธ์เหล่านั้นทั้งปวงเทียว เป็นเช่นเดียวกันดับไปแล้ว มิได้สืบเนื่องกัน ขันธ์เหล่าใด แตกไปแล้วในอดีตเป็นลำดับ และขันธ์เหล่าใดแตกไปแล้วในอนาคตเป็นลำดับ ความแปลกกันแห่งขันธ์ทั้งหลาย ที่ดับไปในปัจจุบันกับด้วยขันธ์เหล่านั้น ย่อมมิได้มี ในลักษณะสัตว์ ไม่เกิดแล้วด้วยอนาคตขันธ์ ย่อมเป็นอยู่ด้วยปัจจุบันขันธ์ สัตว์โลก ตายแล้วเพราะความแตกแห่งจิต นี้เป็นบัญญัติทางปรมัตถ์ ขันธ์ทั้งหลาย แปรไปโดย ฉันทะ ย่อมเป็นไป ดุจน้ำไหลไปตามที่ลุ่ม

ฉะนั้นย่อมเป็นไปตามวาระ อันไม่ขาดสายเพราะอายตนะ ๖ เป็นปัจจัย ขันธ์ทั้งหลาย แตกแล้ว มิได้ถึงความตั้งอยู่ กองขันธ์มิได้มีในอนาคต ขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดแล้ว ย่อมตั้งอยู่ เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด ตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม

ฉะนั้น ก็ความแตกแห่งธรรมขันธ์ ทั้งหลายที่เกิดแล้วนั้น สกัดอยู่ข้างหน้าแห่งสัตว์ เหล่านั้น ขันธ์ทั้งหลายมีความทำลายเป็นปกติ มิได้รวมกับขันธ์ ที่เกิดก่อน ย่อมตั้งอยู่ ขันธ์ทั้งหลายมาโดยไม่ปรากฏแตกแล้วก็ไปสู่ที่ไม่ปรากฏ ย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป เหมือนสายฟ้าแลบในอากาศ ฉะนั้น.

(8)
ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อยอย่างนี้.


ชีวิตน้อยเพราะมีกิจน้อยอย่างไร? ชีวิตเนื่องด้วยลมหายใจออก ชีวิตเนื่องด้วยลมหายใจเข้า ชีวิตเนื่องด้วยลมหายใจออกและลมหายใจเข้า ชีวิตเนื่องด้วยมหาภูตรูป ชีวิตเนื่องด้วยไออุ่น ชีวิตเนื่องด้วยอาหารที่กลืนกิน ชีวิตเนื่องด้วยวิญญาณ.

กรัชกายอันเป็นที่ตั้งแห่งลมหายใจออก และลมหายใจเข้าเหล่านี้ก็ดี อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพอันเป็นเหตุเดิม แห่งลมหายใจออก และลมหายใจเข้าเหล่านี้ ก็ดี ปัจจัยทั้งหลายก็ดี ตัณหาอันเป็นแดนเกิดก่อนก็ดี รูปธรรม และอรูปธรรมที่เกิด ร่วมกัน แห่งลมหายใจออก และ ลมหายใจเข้า เหล่านี้ก็ดีอ รูปธรรมที่ประกอบกัน แห่งลมหายใจออก และลมหายใจเข้าเหล่านี้ก็ดี ขันธ์ที่เกิดร่วมกันแห่งลมหายใจออก และลมหายใจเข้า เหล่านี้ก็ดี ตัณหาอันประกอบกันก็ดีก็มีกำลังทราม

ธรรมเหล่านี้มี กำลังทรามเป็นนิตย์ต่อกันและกัน มิได้ตั้งมั่นต่อกันและกัน ย่อมยังกัน และกันให้ตกไป เพราะความต้านทานมิได้มีแก่กันและกัน ธรรมเหล่านี้จึงไม่ดำรงกัน และกันไว้ได้ ธรรมใดให้ธรรมเหล่านี้เกิดแล้ว ธรรมนั้นมิได้มี ก็แต่ธรรมอย่างหนึ่ง มิได้เสื่อมไปเพราะธรรมอย่างหนึ่ง ก็ขันธ์เหล่านี้แตกไปเสื่อมไปโดยอาการทั้งปวง ขันธ์เหล่านี้อันเหตุปัจจัยมีในก่อนให้เกิดแล้ว แม้เหตุปัจจัยอันเกิดก่อนเหล่าใด เหตุปัจจัยเหล่านั้น ก็ตายไปแล้วในก่อน ขันธ์ที่เกิดก่อนก็ดี ขันธ์ที่เกิดภายหลังก็ดี มิได้เห็นกันและกันในกาลไหนๆ ฉะนั้น ชีวิตจึงชื่อว่าเป็นของน้อยเพราะมีกิจน้อย อย่างนี้.

     อนึ่ง เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา ชีวิตมนุษย์ก็น้อยคือ เล็กน้อยนิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไปชั่วกาลบัดเดี๋ยว เดียว ตั้งอยู่ไม่ช้า ไม่ดำรงอยู่นาน.

เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ... เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นยามา ... เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นดุสิต ... เพราะเทียบชีวิตของเทวดา ชั้นนิมมานรดี ... เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ... เพราะเทียบชีวิตของเทวดาที่เนื่องในหมู่พรหม ชีวิตมนุษย์น้อยคือ เล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไปชั่วกาลบัดเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่ช้าดำรงอยู่ไม่นาน.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายุของพวกมนุษย์นี้น้อย จำต้องละไปสู่ปรโลก มนุษย์ทั้งหลายจำต้องประสบความตาย ตามที่รู้กันอยู่แล้ว ควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีมนุษย์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดย่อมเป็นอยู่นานผู้นั้นก็เป็นอยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปี หรือที่เกินกว่า ๑๐๐ ปี ก็มีน้อย.

     พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า อายุของพวกมนุษย์น้อย บุรุษผู้ใคร่ความดี พึงดูหมิ่นอายุที่น้อยนี้ พึงรีบประพฤติให้เหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น เพราะภาวะความตาย จะไม่มาถึง มิได้มี วันคืนย่อมล่วงเลยไป ชีวิตก็กระชั้นเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมสิ้นไป เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อยย่อมสิ้นไป ฉะนั้น.                      

(9)
ว่าด้วยปัญญาที่เรียกว่าธี

คำว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย มีความว่า นักปราชญ์ทั้งหลายได้แก่ผู้มีปัญญาทรงจำ ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาทรงจำ ผู้ติเตียนบาป. ปัญญาเรียกว่าธี ได้แก่ความรู้ ความรู้ทั่ว ความเลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว ความเลือกเฟ้นธรรม ความกำหนดดีความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความเป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน ปัญญาเป็นเครื่องจำแนก ปัญญาเป็นเครื่องคิด ปัญญาเป็นเครื่องเข้าไปเห็นปัญญาอันกว้างขวาง ดุจแผ่นดิน ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ปัญญาเป็นเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้สึกตัว ปัญญาเป็นเครื่องเจาะแทง ปัญญาเป็นเครื่องเห็นชัด ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาเป็นศาตรา ปัญญาเพียงดังปราสาท ปัญญาอันสว่างปัญญาอันแจ่มแจ้ง ปัญญาอันรุ่งเรือง ปัญญาเป็นดังแก้ว ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา [ที่เรียกว่า ธี] นั้น จึงชื่อว่า ธีรา[นักปราชญ์].

อีกอย่างหนึ่ง ชนผู้มีปัญญาในขันธ์ มีปัญญาในธาตุ มีปัญญาในอายตนะ มีปัญญาใน ปฏิจจสมุปบาท มีปัญญาในสติปัฏฐาน มีปัญญาในสัมมัปปธาน มีปัญญาในอิทธิบาท มีปัญญาในอินทรีย์ มีปัญญาในพละ มีปัญญาในโพชฌงค์ มีปัญญาในมรรค มีปัญญา ในผลมีปัญญาในนิพพาน ชื่อว่า ธีรา.

ผู้มีปัญญาทั้งหลายนั้นได้กล่าว คือ กล่าว บอก พูด แสดงแถลงว่า ชีวิตมนุษย์น้อย คือ เล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไป ตลอดกาลบัดเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ตลอดกาลไม่ช้า ไม่ดำรงอยู่นาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาใน ศาสนานี้แหละ พึงรู้กรรมอันไม่เสมออย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่า เป็นกรรมอันไม่เสมอ ไม่พึงประพฤติกรรม อันไม่เสมอเพราะเหตุแห่งกรรมอันไม่เสมอนั้น นักปราชญ์ ทั้งหลายได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย.

     [๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  เราย่อมเห็นหมู่สัตว์นี้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย ดิ้นรนอยู่ในโลกนรชนทั้งหลายที่เลว ยังไม่ปราศจากตัณหา ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ.

(10)
สัตว์ดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัณหา

[๕๑] คำว่า เราย่อมเห็น ... ดิ้นรนอยู่ในโลก มีความว่า คำว่า ย่อมเห็น คือ ย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู ด้วยมังสจักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง ปัญญาจักษุบ้าง พุทธจักษุบ้าง สมันตจักษุบ้าง.

คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลกธาตุโลก อายตนโลก. คำว่า ดิ้นรนอยู่ คือ เราย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู [ซึ่งหมู่สัตว์นี้] ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา ด้วยความดิ้นรน เพราะตัณหา ด้วยความดิ้นรน เพราะทิฏฐิ ด้วยความดิ้นรนเพราะกิเลส ด้วยความดิ้นรนเพราะความประกอบ ด้วยความดิ้นรนเพราะผลกรรม ด้วยความดิ้นรนเพราะทุจริตด้วยราคะ ของผู้กำหนัด ด้วยโทสะของผู้ขัดเคือง ด้วยโมหะของผู้หลงแล้ว ด้วยมานะเป็นเครื่องผูกพัน ด้วยทิฏฐิที่ยึดถือไว้ ด้วยความฟุ้งซ่านที่ฟุ้งเฟ้อแล้ว ด้วยความสงสัยที่ไม่แน่ใจ ด้วยอนุสัยที่ถึงกำลัง ด้วยลาภ ด้วยความเสื่อมลาภ ด้วยยศ ด้วยความเสื่อมยศ ด้วยสรรเสริญด้วยนินทา ด้วยสุข ด้วยทุกข์ ด้วยชาติ ด้วยชรา ด้วยพยาธิ ด้วยมรณะ ด้วยโสกะปริเทวะทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ด้วยทุกข์คือความเกิดในนรก ด้วยทุกข์คือความเกิด ในกำเนิด สัตว์ดิรัจฉาน ด้วยทุกข์คือความเกิดในวิสัยแห่งเปรต ด้วยทุกข์คือความเกิดในมนุษย์ ด้วยทุกข์มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล ด้วยทุกข์มีความตั้งอยู่ ในครรภ์ เป็นมูล ด้วยทุกข์มีความคลอดจากครรภ์เป็นมูล ด้วยทุกข์อันติดตามสัตว์ที่เกิดแล้ว ด้วยทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิดแล้ว ด้วยทุกข์ อันเกิดแต่ความขวนขวายของตน ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของผู้อื่น ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ทุกขเวทนา ด้วยทุกข์อันเกิดแต่สังขาร ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความแปรปรวน ด้วยทุกข์เพราะโรคทางจักษุ โรคทางตา โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคทางศีรษะ โรคทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่อมซึมโรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราดหูด โรคละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวงด้วยอาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดขึ้นเพราะการบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดขึ้นแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่ผลกรรม ด้วยความหนาว ด้วยความร้อน ด้วยความหิวด้วยความกระหาย ด้วยความปวดอุจจาระ ด้วยปวดปัสสาวะ ด้วยความทุกข์เกิดแต่สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เสือกคลาน ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งมารดา ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งบิดา ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งพี่ชายน้องชาย ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งพี่สาวน้องสาว ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งบุตร ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งธิดา ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหาย แห่งญาติ ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหาย แห่งโภคทรัพย์ ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายอันเกิดแต่โรค ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมเห็น ... ดิ้นรนอยู่ในโลก.

     [๕๒] คำว่า หมู่สัตว์นี้ผู้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย มีความว่า คำว่าหมู่สัตว์ เป็นชื่อของสัตว์.
คำว่า ตัณหา คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหาธัมมตัณหา.
คำว่า ผู้ไปในตัณหา คือ ไปในตัณหา ไปตามตัณหา ซ่านไปตามตัณหา จมอยู่ในตัณหา อันตัณหาให้ตกไปแล้ว อันตัณหาครอบงำแล้ว มีจิตอันตัณหาครอบงำแล้ว
คำว่าในภพทั้งหลาย คือ ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าหมู่สัตว์นี้ผู้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย.

     [๕๓] คำว่า นรชนทั้งหลายที่เลว ... ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ มีความว่า นรชนทั้งหลายที่เลว คือ ผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสาวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิสังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจอันเลว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า นรชนทั้งหลายที่เลว.

คำว่า ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ มีความว่า นรชนทั้งหลายเป็นผู้ถึงมัจจุ ประจวบกับมัจจุ เข้าถึงมัจจุ ถึงมาร ประจวบกับมาร เข้าถึงมาร ถึงมรณะ ประจวบ กับมรณะ เข้าถึงมรณะ ย่อมร่ำไร บ่นเพ้อ เศร้าโศก ลำบากใจ รำพัน ตบอกคร่ำครวญถึงความหลงใหล ใกล้ปากมัจจุ ปากมาร ปากมรณะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนทั้งหลายหลายที่เลว ... ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ.

(11)
ว่าด้วยภพน้อยภพใหญ่

[๕๔] คำว่า ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่ มีความว่า ตัณหา คือรูปตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา.

     คำว่า ในภพน้อยและภพใหญ่ ได้แก่ภพน้อย และภพใหญ่ คือกรรมวัฏและวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิด ในกามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดใน อรูปภพ ในความเกิดบ่อยๆ ในความไปบ่อยๆในความเข้าถึงบ่อยๆ ในปฏิสนธิบ่อยๆ ในอันบังเกิดขึ้นแห่งอัตภาพบ่อยๆ.

     คำว่า ยังไม่ปราศจากตัณหา คือยังไม่ปราศจากตัณหา มีตัณหายังไม่หมดไป มีตัณหายังไม่สละแล้ว มีตัณหายังไม่สำรอกแล้ว มีตัณหายังไม่พ้นไป แล้ว มีตัณหายังไม่ละเสียแล้ว มีตัณหายังไม่สละคืนแล้วเพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่.

     เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าเราย่อมเห็นหมู่สัตว์นี้ ผู้ไปในตัณหาในภพ ทั้งหลาย ดิ้นรนอยู่ในโลกนรชนทั้งหลายที่เลว ยังไม่ปราศจาก ตัณหา ในภพน้อย ภพใหญ่ ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ.

     [๕๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่าท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุ ที่ยึดถือว่าของเรา เหมือนฝูงปลาดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อย อันมีกระแส สิ้นไป นรชนเห็น โทษแม้ นั้นแล้ว ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้อง ในภพทั้งหลาย พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือว่า ของเราประพฤติ.

(12)
ว่าด้วยความยึดถือ ๒ อย่าง

[๕๖] คำว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา มีความว่า ความยึดถือว่าของเรา ได้แก่ความยึดถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความยึดถือว่าของเรา ด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑.

โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราดหูด โรคละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวงด้วยอาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดขึ้นเพราะการบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดขึ้นแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่ผลกรรม ด้วยความหนาว ด้วยความร้อน ด้วยความหิวด้วยความกระหาย ด้วยความปวดอุจจาระ ด้วยปวดปัสสาวะ ด้วยความทุกข์เกิดแต่สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เสือกคลาน ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งมารดา ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งบิดา ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งพี่ชายน้องชาย ด้วยทุกข์เพราะความตาย แห่งพี่สาวน้องสาว ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งบุตร ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งธิดา ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหาย แห่งญาติ ด้วยทุกข์เพราะความ ฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหาย อันเกิดแต่โรค ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหาย แห่งทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมเห็น ... ดิ้นรนอยู่ในโลก.

     [๕๒] คำว่า หมู่สัตว์นี้ผู้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย มีความว่า
คำว่าหมู่สัตว์ เป็นชื่อของสัตว์.
คำว่า ตัณหา คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา.
คำว่า ผู้ไปในตัณหา คือ ไปในตัณหา ไปตามตัณหา ซ่านไปตามตัณหา จมอยู่ใน ตัณหา อันตัณหาให้ตกไปแล้ว อันตัณหาครอบงำแล้ว มีจิตอันตัณหาครอบงำแล้ว
คำว่าในภพทั้งหลาย คือ ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หมู่สัตว์นี้ ผู้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย.

     [๕๓] คำว่า นรชนทั้งหลายที่เลว ... ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ มีความว่า นรชน ทั้งหลายที่เลว คือ ผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสาวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิสังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจอันเลว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า นรชนทั้งหลายที่เลว.

คำว่า ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ มีความว่า นรชนทั้งหลายเป็นผู้ถึงมัจจุ ประจวบ กับมัจจุ เข้าถึงมัจจุ ถึงมาร ประจวบกับมาร เข้าถึงมาร ถึงมรณะ ประจวบ กับมรณะ เข้าถึงมรณะ ย่อมร่ำไร บ่นเพ้อ เศร้าโศก ลำบากใจ รำพัน ตบ อก คร่ำครวญ ถึงความหลงใหล ใกล้ปากมัจจุ ปากมาร ปากมรณะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนทั้งหลายหลายที่เลว ... ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ.

(13)
ว่าด้วยภพน้อยภพใหญ่


[๕๔] คำว่า ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่ มีความว่า ตัณหา คือรูปตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา.

คำว่า ในภพน้อยและภพใหญ่ ได้แก่ภพน้อยและภพใหญ่ คือกรรมวัฏและวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดใน กามภพในกรรมวัฏ เป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่อง เกิดใน อรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในความเกิดบ่อยๆ ในความไป บ่อยๆในความเข้าถึงบ่อยๆ ในปฏิสนธิบ่อยๆ ในอันบังเกิดขึ้นแห่งอัตภาพบ่อยๆ.

คำว่า ยังไม่ปราศจากตัณหา คือยังไม่ปราศจากตัณหา มีตัณหายังไม่หมดไป มีตัณหา ยังไม่สละแล้ว มีตัณหายังไม่สำรอกแล้ว มีตัณหายังไม่พ้นไปแล้ว มีตัณหายังไม่ละ เสียแล้ว มีตัณหายังไม่สละคืนแล้วเพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ยังไม่ปราศจากตัณหา ในภพน้อยและภพใหญ่.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าเราย่อมเห็นหมู่สัตว์นี้ ผู้ไปในตัณหาในภพ ทั้งหลาย ดิ้นรนอยู่ในโลกนรชนทั้งหลายที่เลว ยังไม่ปราศจากตัณหา ในภพ น้อย ภพใหญ่ ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ.

     [๕๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ ผู้ดิ้นรนอยู่ใน เพราะ วัตถุที่ยึดถือว่าของเราเหมือนฝูงปลา ดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อย อันมีกระแสสิ้นไป นรชนเ ห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้อง ในภพทั้งหลาย พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือ ว่า ของเราประพฤติ.

(มหานิทเทส คัมภีร์ว่าด้วยศาสตร์ขยายความพระไตรปิฎก ชื่อว่าเป็นผลงานของพระสารีบุตร)



 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์