นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ
กามฉันทะ.. ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่
พยาบาท.. ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปรารถนา ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่
ถีนมิทธะ... ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
อุทธัจจะกุกกุจจะ... ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใด ๆ
วิจิกิจฉา... ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ
............................................................................................................................................
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๗๘
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน. นีวรณบรรพ.
[๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕
ภิกษุพิจารณา เห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์๕ อย่างไรเล่า?
(1) ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เมื่อกามฉันทะ มีอยู่ ณภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่ากามฉันทะมีอยู่ ณภายในจิตของเรา
หรือ
เมื่อกามฉันทะ ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตย่อมรู้ชัดว่ากามฉันทะไม่มีอยู่ ณภายในจิตของเรา
อนึ่ง
กามฉันทะ ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
กามฉันทะ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
กามฉันทะ ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
...................................................................................................
(2) อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อพยาบาท มีอยู่ ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่าพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือ
เมื่อพยาบาท ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่าพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง
พยาบาท ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย
พยาบาท ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
พยาบาท ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
...................................................................................................
(3) อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อถีนมิทธะ มีอยู่ ณ ภายในจิตย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ
เมื่อถีนมิทธะ ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่าถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณภายในจิตของเรา
อนึ่ง
ถีนมิทธะ ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ถีนมิทธะ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ถีนมิทธะ ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
...................................................................................................
(4) อีกอย่างหนึ่ง
เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะ มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าอุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต ของเรา หรือ
เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะ ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะ ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง
อุทธัจจกุกกุจจะ ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อุทธัจจกุกกุจจะ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อุทธัจจกุกกุจจะ ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย
...................................................................................................
(5) อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อวิจิกิจฉา มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ
เมื่อวิจิกิจฉา ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง
วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
วิจิกิจฉา ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
วิจิกิจฉา ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
...................................................................................................
ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อม
พิจารณา เห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง
พิจารณา เห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
พิจารณา เห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณา เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
พิจารณา เห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง
พิจารณา เห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่
อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้
เพียงสักว่าอาศัยระลึก เท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕ อยู่
จบ นีวรณบรรพ
|