เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

มูลสูตร : ว่าด้วยรากเหง้าของอกุศล ความโลภคืออยากได้ของผู้อื่น โทสะหรือความโรกธ โมหะหรือความหลง 2150
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐

มูลสูตร : ว่าด้วยรากเหง้าของอกุศล

อกุศลมูล ๓ อย่าง (หรือ ราคะ โทสะ โมหะ)
๑.โลภอกุศลมูล (โลภะ ความโลภ อยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน)
๒.โทสอกุศลมูล (โทสะ ความโกรธ ความคิดประทุษร้าย คิดเบียดเบียน)
๓.โมหอกุศลมูล (ผู้หลง หลงตน มานะ ถือตัว)

กุศลมูล ๓ อย่าง
๑.อโลภกุศลมูล
๒.อโทสกุศลมูล
๓.อโมหกุศลมูล


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๘-๒๓๒

มูลสูตร
ว่าด้วยรากเหง้าของอกุศล

             [๕๐๙] ๗๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
๑.โลภอกุศลมูล
๒.โทสอกุศลมูล
๓.โมหอกุศลมูล


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลภะ จัดเป็นอกุศล บุคคลผู้โลภ กระทำกรรมใดด้วยกาย วาจา ใจ แม้กรรมนั้นก็เป็นอกุศล บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำ มีจิตอันความโลภ กลุ้มรุม ย่อมก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่น โดยไม่เป็น จริง ด้วยการเบียดเบียน การจองจำ ให้เสื่อมติเตียน หรือโดยการขับไล่ ด้วยการอวดอ้าง ว่า ฉันเป็นคนมีกำลัง ตั้งอยู่ในกำลัง แม้ข้อนั้นก็เป็นอกุศล อกุศลธรรมอันลามก เป็นอันมาก ที่เกิดเพราะความโลภ มีความโลภ เป็นเหตุ มีความโลภเป็นแดนเกิด มีความโลภเป็นปัจจัยนี้ ย่อมเกิดมีแก่ บุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทสะ จัดเป็นอกุศล บุคคลผู้โกรธ กระทำกรรมใดด้วย กาย วาจา ใจ แม้กรรมนั้นก็เป็นอกุศล บุคคลผู้โกรธ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตอันโทสะ กลุ้มรุม ย่อมก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นโดยไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน การจองจำ ให้เสื่อม ติเตียน หรือด้วยการขับไล่ ด้วยการอวดอ้างว่า ฉันเป็นคนมีกำลัง ตั้งอยู่ใน กำลัง แม้ ข้อนั้น ก็เป็นอกุศล อกุศลธรรมอันลามกเป็นอันมากที่เกิดเฉพาะความโกรธ มีความโกรธ เป็นเหตุ มีความโกรธเป็นแดนเกิด มีความโกรธเป็นปัจจัยนี้ ย่อมเกิดมีแก่ บุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมหะ จัดเป็นอกุศล บุคคลผู้หลงระทำกรรมใดด้วยกาย วาจา ใจ แม้กรรมนั้นก็เป็นอกุศล บุคคลผู้หลงถูกโมหะครอบงำ มีจิตอันโมหะกลุ้มรุม ย่อมก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นโดยไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสื่อม ติเตียน หรือโดยการขับไล่ ด้วยการอวดอ้างว่าฉันเป็นคนมีกำลัง ตั้งอยู่ในกำลัง แม้ข้อนั้นก็เป็น อกุศล อกุศลธรรมอันลามกเป็นอันมาก ที่เกิดเพราะความหลง มีความหลงเป็นเหตุ มีความหลงเป็นแดนเกิด มีความหลงเป็นปัจจัยนี้ ย่อมเกิดมีแก่บุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้

             ดูกรภิกษุทั้งหลายก็บุคคลเห็นปานนี้เรียกว่า พูดไม่ถูกกาลบ้าง พูดแต่คำ ไม่เป็นจริงบ้าง พูดไม่อิงอรรถบ้าง พูดไม่อิงธรรมบ้าง พูดไม่อิงวินัยบ้าง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไรบุคคลเห็นปานนี้จึงเรียกว่า พูดไม่ถูกกาลบ้าง พูดแต่คำไม่เป็นจริงบ้าง พูดไม่อิงอรรถบ้าง พูดไม่อิงธรรมบ้าง พูดไม่อิงวินัยบ้าง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย จริงอย่างนั้นบุคคลนี้ย่อมก่อทุกข์ให้เกิดแก่ผู้อื่น โดยไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำให้เสื่อม ติเตียน หรือขับไล่ ด้วยการ อวดอ้างว่า ฉันเป็นคนมีกำลัง ตั้งอยู่ในกำลัง และเขาเมื่อถูกกล่าวโทษด้วยเรื่อง ที่เป็นจริง ก็กล่าวคำปฏิเสธ ไม่ยอมรับรู้เมื่อถูกกล่าวโทษด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง กลับไม่พยายามที่จะปฏิเสธเรื่องนั้น แม้เพราะเหตุนี้ๆ เรื่องนี้จึงไม่แท้ ไม่เป็นจริง เพราะฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้จึงเรียกว่า พูดไม่ถูกกาลบ้าง พูดแต่คำไม่เป็นจริงบ้าง พูดไม่อิงอรรถบ้าง พูดไม่อิงธรรมบ้าง พูดไม่อิงวินัยบ้าง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นปานนี้ ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดเพราะ ความโลภครอบงำ มีจิตอันอกุศลธรรมกลุ้มรุม ในปัจจุบันย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อน เมื่อแตกกายตายไปทุคติเป็นอันหวังได้ บุคคลเห็นปานนี้ ถูกธรรม ที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดเพราะความโกรธครอบงำ ฯลฯ ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศล ซึ่งเกิดเพราะโมหะครอบงำ มีจิตอันอกุศลธรรมกลุ้มรุม ในปัจจุบันย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนเมื่อแตกกายตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นปานนี้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศล ซึ่งเกิดเพราะ โลภะ ครอบงำ ... เมื่อแตกกายตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เปรียบเหมือนต้นสาละ ต้นตะแบก หรือต้นสะคร้อ ที่ถูกเครือเถาย่านทราย ๓ ชนิดคลุมยอด พันรอบต้น ย่อมถึง ความเสื่อม ความพินาศ ความฉิบหาย ฉะนั้น

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล ๓ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กุศลมูล ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
๑.อโลภกุศลมูล
๒.อโทสกุศลมูล
๓.อโมหกุศลมูล

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อโลภะก็จัดเป็นกุศล บุคคลผู้ไม่โลภกระทำกรรมใดด้วย กาย วาจา ใจ แม้กรรมนั้นก็เป็นกุศล บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่ถูกความโลภครอบงำ มีจิตอัน ความโลภไม่กลุ้มรุม ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดแก่ผู้อื่นโดยความไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสื่อม หรือโดยการขับไล่ด้วยการอวดอ้างว่า ฉันเป็นคนมีกำลัง ตั้งอยู่ในกำลัง แม้ข้อนั้นก็เป็นกุศล กุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดเพราะความไม่โลภ มีความไม่โลภ เป็นเหตุ มีความไม่โลภเป็นแดนเกิด มีความไม่โลภเป็นปัจจัย ย่อมเกิดมีแก่บุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อโทสะก็จัดเป็นกุศล บุคคลผู้ไม่โกรธ กระทำกรรมใด ด้วยกาย วาจา ใจ แม้กรรมนั้นก็เป็นกุศล บุคคลผู้ไม่โกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ มีจิตอันความโกรธไม่กลุ้มรุม ไม่ก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นโดยความไม่เป็นจริง ด้วยการ เบียดเบียน จองจำ ให้เสื่อม ติเตียนหรือโดยการขับไล่ ด้วยการอวดอ้างว่าฉันเป็นคน มีกำลัง ตั้งอยู่ในกำลัง แม้ข้อนั้นก็เป็นกุศล กุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดเพราะความ ไม่โกรธ มีความไม่โกรธเป็นเหตุ มีความไม่โกรธเป็นแดนเกิดมีความไม่โกรธเป็นปัจจัยนี้ ย่อมเกิดมีแก่บุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อโมหะก็จัดเป็นกุศล บุคคลผู้ไม่หลง กระทำกรรมใด ด้วยกาย วาจาใจ แม้กรรมนั้นก็เป็นกุศล บุคคลผู้ไม่หลง ไม่ถูกความหลงครอบงำ มีจิต อันความหลงไม่กลุ้มรุม ไม่ก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นโดยความไม่เป็นจริง ด้วยการ เบียดเบียน จองจำ ให้เสื่อม ติเตียน หรือโดยการขับไล่ ด้วยการอวดอ้างว่าฉันเป็นคน มีกำลัง ตั้งอยู่ในกำลัง แม้ข้อนั้นก็เป็นกุศล กุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดเพราะความ ไม่หลง มีความไม่หลงเป็นเหตุ มีความไม่หลงเป็นแดนเกิดมีความไม่หลงเป็นปัจจัยนี้ ย่อมเกิดมีแก่บุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเห็นปานนี้เรียกว่า พูดถูกกาลบ้าง พูดแต่คำที่ เป็นจริงบ้าง พูดอิงอรรถบ้าง พูดอิงธรรมบ้าง พูดอิงวินัยบ้าง ก็เพราะเหตุไร บุคคล เห็นปานนี้เรียกว่าพูดถูกกาลบ้าง พูดแต่คำที่เป็นจริงบ้าง พูดอิงอรรถบ้าง พูดอิงธรรม บ้าง พูดอิงวินัยบ้าง จริงอย่างนั้น บุคคลนี้ย่อมไม่ก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นโดยไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสื่อม ติเตียน หรือโดยการขับไล่ ด้วยการอวดอ้าง ว่าฉัน เป็นคนมีกำลัง ตั้งอยู่ในกำลัง และเมื่อเขาถูกกล่าวโทษด้วยเรื่อง ที่เป็นจริงก็ยอมรับ ไม่กล่าวคำปฏิเสธ เมื่อถูกกล่าวโทษด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ก็พยายามที่จะปฏิเสธ ข้อที่ถูกกล่าวหานั้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ เรื่องนี้จึงไม่แท้ ไม่จริงเพราะเหตุนั้น บุคคลเห็นปานนี้จึงเรียกว่า พูดถูกกาลบ้าง พูดแต่คำที่เป็นจริงบ้าง พูดอิงอรรถบ้าง พูดอิงธรรมบ้าง พูดอิงวินัยบ้าง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นปานนี้ ละธรรมฝ่ายบาปอกุศลที่เกิด เพราะ โลภะได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปเป็นธรรมดา ย่อมอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ไม่มีทุกข์ ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อน ปรินิพพานในปัจจุบันนี้เอง บุคคลเห็นปานนี้ละธรรมฝ่ายบาปอกุศลที่เกิด เพราะโทสะ ได้แล้ว ฯลฯละธรรมฝ่ายบาปอกุศลที่เกิดเพราะโมหะได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ย่อมอยู่เป็นสุขใน ปัจจุบัน ไม่มีทุกข์ ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อน ปรินิพพานในปัจจุบันนี้เอง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นสาละ ต้นตะแบกหรือต้นสะคร้อ ถูกเครือเถา ย่านทราย ๓ ชนิดคลุมยอด พันจนรอบ คราวนั้น บุรุษพึงถือเอาจอบและ ตะกร้ามา เขาตัดเครือเถาย่านทรายนั้นที่ราก แล้วพึงขุดจนรอบ แล้วถอนเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เพียงเท่าต้นหญ้าคา เขาพึงหั่นเครือเถาย่านทรายนั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วผ่า แล้วเอารวมกันเข้าแล้วผึ่งที่ลมและแดด แล้วพึ่งเอาไฟเผาแล้วทำให้ เป็นเขม่า และพึงโปรยที่ลมพาลุ หรือพึงลอยเสียในแม่น้ำที่มีกระแสไหลเชี่ยว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครือเถาย่านทรายเหล่านั้น ถูกบุรุษนั้นตัดรากขาด ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดาฉันใด

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมฝ่ายบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแต่โลภะ บุคคลเห็นปานนี้ละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ย่อมอยู่เป็นสุขในปัจจุบันไม่มีทุกข์ ไม่คับแค้น ปรินิพพานในปัจจุบันนี้เอง ที่เกิดแต่โทสะบุคคลเห็นปานนี้ละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ย่อม อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ไม่มีทุกข์ ไม่คับแค้น ปรินิพพานในปัจจุบันนี้เอง ที่เกิดแต่โมหะ บุคคลเห็นปานนี้ละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ย่อมอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ไม่มีทุกข์ ไม่คับแค้น ปรินิพพานในปัจจุบันนี้เอง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลมูล ๓ อย่างนี้แล

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์