เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

เวฬุทวารสูตร ธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตน ภิกษุประกอบพร้อมแล้วด้วยธรรม ๗ ประการ 2108
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙

เวฬุทวารสูตร ว่าด้วยธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตน

ภิกษุประกอบพร้อมแล้วด้วยธรรม ๗ ประการ เพื่อประโยชน์ของธรรม ๔ ประการ
(๑) เราอยากอยู่ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ ผู้ใดจะปลงเราเสียจากชีวิต ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเรา อนึ่งเราพึงปลงคนอื่น ...ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของคนอื่น อริยสาวกพิจารณาแล้ว ตนเอง ย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่องดเว้นจากปาณาติบาตด้วย กล่าวสรรเสริญคุณ แห่งการงดเว้น ปาณาติบาตด้วย กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสา อย่างนี้
(๒) ผู้ใดเอาสิ่งของที่เรามิได้ให้ด้วยอาการขโมย ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา..
(๓) ผู้ใดมีความประพฤติผิดในภริยาของเรา ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา..
(๔) ผู้ใดกล่าวเท็จ ข้อนั้นไม่เป็น ที่รักใคร่ชอบใจของเรา...
(๕) ผู้ใดพึงยุยงให้เราแตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด ข้อนั้นไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา...
(๖) ผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยคำหยาบ ข้อนั้นไม่เป็น ที่รักที่ชอบใจของเรา...
(๗) ผู้ใดพึงพูดกะเรา ด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ข้อนั้น ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเรา...

ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน
อริยสาวกนั้นประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ใน พระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว ... เป็นไปเพื่อสมาธิ พึงพยากรณ์ตน ด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบันมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๕๓-๓๕๖

เวฬุทวารสูตร
ว่าด้วยธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตน

             [๑๔๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เป็นอันมาก เสด็จถึง พราหมณคามของชาวโกศลชื่อเวฬุทวาระ

             [๑๔๕๕] พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวาระได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดม ผู้เป็นโอรส ของ เจ้าศากยะ เสด็จออกผนวชจากศากยสกุล เสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศล ชนบท พร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์ เป็นอันมาก เสด็จถึงเวฬุทวารคามแล้ว ก็กิตติศัพท์ อันงาม ของท่านพระโคดม พระองค์นั้น ขจรไปอย่างนี้ ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไป ดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมพระสมณโคดมพระองค์นั้น ทรงกระทำ โลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่ง ของพระองค์แล้ว ทรงสอน หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดประกาศ พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็น พระอรหันต์ เห็นปานนั้นเป็นความดี.

             [๑๔๕๖] ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวารคาม ได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาค บางพวกได้ปราศรัย กับ พระผู้มีพระภาค บางพวก ประนม อัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค บางพวกประกาศชื่อ และโคตรในสำนัก พระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า

             [๑๔๕๗] ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีความปรารถนา มีความพอใจ มีความประสงค์ อย่างนี้ๆ ว่า ขอเราทั้งหลายพึงแออัดไปด้วยบุตรอยู่ครองเรือน พึงลูบไล้จันทน์ ที่เขานำมาแต่แคว้นกาสี พึงทัดทรงมาลา ของหอม และเครื่องลูบไล้ พึงยินดีทองและเงิน เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ข้าพระองค์ ทั้งหลายจะพึงแออัดไปด้วยบุตร อยู่ครองเรือน ... เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์ ด้วยประการใด ขอท่านพระโคดม โปรดทรงแสดงธรรม ด้วยประการนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้มีความปรารถนา ผู้มีความพอใจ ผู้มีความประสงค์อย่างนั้นๆ เถิด.

             [๑๔๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เราจัก แสดงธรรม ปริยาย อันควรน้อมเข้ามาในตนแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟังธรรม ปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว พราหมณ์และคฤบดีชาวเวฬุทวารคาม ทูลรับพระ ดำรัสพระผู้มีพระภาค แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
-------------------------------------------------------------------

สัทธรรม ๗ เพื่อประกอบพร้อมในสัทธรรม ๔

             [๑๔๕๙] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ธรรมปริยายที่ควรน้อมเข้ามา ในตน เป็นไฉน?
(๑) อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ ผู้ใดจะปลงเราผู้อยาก เป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่งเราพึงปลงคนอื่น ผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ เสียจาก ชีวิต ข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจ แม้ของ คนอื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจ ของเรา ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ แม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ ด้วยธรรมข้อนั้น อย่างไร?
             อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนั้นแล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่องดเว้นจากปาณาติบาตด้วยกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งการงดเว้น ปาณาติบาตด้วย กายสมาจารของ อริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดย ส่วนสาม อย่างนี้

             [๑๔๖๐] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
(๒)
อริยสาวก ย่อม พิจารณาเห็น ดังนี้ว่า ผู้ใดพึงถือเอาสิ่งของที่เรามิได้ให้ด้วยอาการ ขโมย ข้อนั้น ไม่เป็นที่รักที่ชอบของเรา อนึ่ง เราพึง ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นมิได้ให้ด้วย อาการขโมย ข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ แม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจ ของเรา ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจ ของเรา เราจะพึง ประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
              อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากอทินนาทานด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจาก อทินนาทานด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการ งดเว้น จากอทินนาทานด้วย กายสมาจารของ อริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

             [๑๔๖๑] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
(๓) อริยสาวกย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของเรา ข้อนั้นไม่เป็น ที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึง ถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของ คนอื่น ข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจ ของเรา เราจะพึง ประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
              อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้น จากกาเมสุมิจฉาจาร ด้วย ชักชวนผู้อื่น เพื่อให้งดเว้น จาก กาเมสุมิจฉาจาร ด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการ งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วยกาย สมาจารของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสาม อย่างนี้

             [๑๔๖๒] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
(๔) อริยสาวกย่อม พิจารณา เห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงทำลายประโยชน์ของเราด้วยการ กล่าวเท็จ ข้อนั้นไม่เป็น ที่รักใคร่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงทำลายประโยชน์ของคนอื่น ด้วยการกล่าวเท็จ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ แม้ของคนอื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
              อริยสาวกนั้น พิจารณา เห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากมุสาวาทด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้ งดเว้น จากมุสาวาทด้วย กล่าว สรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจาก มุสาวาทด้วย วจีสมาจารของ อริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสาม อย่างนี้

             [๑๔๖๓] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
(๕) อริยสาวกย่อม พิจารณา เห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงยุยงให้เราแตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด ข้อนั้นไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเราอนึ่ง เราพึงยุยงคนอื่นให้แตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด ข้อนั้นก็ไม่เป็น ที่รักที่ชอบใจ แม้ของคนอื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของ เรา เราจะพึง ประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้น อย่างไร?
              อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย ชักชวนผู้อื่น เพื่อให้เว้น จากปิสุณาวาจา ด้วย กล่าว สรรเสริญคุณ แห่งการงดเว้น จากปิสุณาวาจาด้วย วจีสมาจาร ของอริยสาวก นั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้

             [๑๔๖๔] ดูกรพราหมณ์ และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
(๖) อริยสาวกย่อม พิจารณา เห็น ดังนี้ว่า ผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยคำหยาบ ข้อนั้นไม่เป็น ที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงพูดกะ คนอื่นด้วย คำหยาบ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจ แม้ของคนอื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็น ที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบ ผู้อื่น ไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
              อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้น จากผรุสวาจาด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากผรุสวาจาด้วย กล่าวสรรเสริญคุณ แห่งการงดเว้นจาก ผรุสวาจาด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดย ส่วนสาม อย่างนี้

             [๑๔๖๕] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
(๗) อริยสาวกย่อม พิจารณา เห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงพูดกะเรา ด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ข้อนั้น ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเรา อนึ่ง เราพึงพูดกะ คนอื่นด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจ แม้ของคนอื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเรา ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ แม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่น ไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
              อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจาก สัมผัปปลาปะ ด้วยกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งการงดเว้น จากสัมผัปปลาปะด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
-------------------------------------------------------------------

สัทธรรม ๔ เพื่อความเป็นโสดาบัน พ้นแล้วจากอบาย

             [๑๔๖๖] อริยสาวกนั้นประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ใน พระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว ... เป็นไปเพื่อสมาธิ(สัทธรรม ๔ ประการ)

             [๑๔๖๗] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกประกอบด้วย สัทธรรม ๗ ประการนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ด้วยฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความหวัง ๔ ประการนี้ พึงพยากรณ์ตน ด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบันมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า

             [๑๔๖๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคฤหบดีชาว เวฬุทวารคาม ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ แจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ฯลฯ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้ ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรม และ พระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดม โปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ จนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯลฯ


 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์