เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ภิกขุสังยุตต์ (ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖) นันทสูตร ติสสสูตร เถรนามสูตร กัปปินสูตร สหายสูตร 1991
 

ภิกขุสังยุตต์ (พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖)

๘. นันทสูตร(ตรัสกับพระนันทะ)
ข้อที่เธอห่มจีวร ที่ทุบและกลับทุบ แล้วหยอดนัยน์ตา และถือบาตรมีสีใส(มันวาว) ไม่สมควรแก่เธอ
ข้อที่เธอถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร และไม่เพ่งเล็งในกามทั้งหลาย จึงสมควรแก่เธอ

๙. ติสสสูตร (ตรัสกับพระติสสะ)
พ. เธอว่าเขาข้างเดียว แต่เธอไม่อดทนต่อถ้อยคำ ข้อที่เธอว่าเขาข้างเดียว ไม่อดทนต่อถ้อยคำนั้น ไม่สมควรแก่เธอ แต่ข้อที่เธอว่าเขาด้วยอดทนต่อถ้อยคำได้ นั่นสมควรแก่เธอ

๑๐. เถรนามสูตร
ภิกษุชื่อเถระ มีปรกติอยู่ผู้เดียว และสรรเสริญการอยู่ผู้เดียว เธอเป็นผู้เดียวเข้าไปสู่บ้านเพื่อ บิณฑบาต เป็นผู้เดียวเดินกลับ ย่อมนั่งในที่ลับผู้เดียว และย่อมเป็นผู้เดียวอธิษฐานจงกรม

ดูกรเถระ การอยู่คนเดียวที่บริบูรณโดยพิสดารกว่า มีอยู่ คือการกระทำไว้ในใจ สิ่งใดที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละได้แล้ว สิ่งใดยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็สละคืนได้แล้ว ฉันทราคะในการได้อัตภาพที่เป็นปัจจุบัน ถูกกำจัดแล้วด้วยดี การอยู่คนเดียวย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดยพิสดารกว่า อย่างนี้แล

๑๑. กัปปินสูตร
พระผู้มีพระภาค พวกเธอเห็นภิกษุ(พระมหากัปปินะ) ที่กำลังมาหรือไม่ เป็นผู้ขาวโปร่ง จมูกโด่ง
พ.ภิกษุนั่นแลมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก แต่เธอไม่ได้สมาบัติที่เธอไม่เคยเข้าง่ายนัก เธอกระทำให้ แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันยอดเยี่ยม

๑๒. สหายสูตร
พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสถามท่านพระติสสะว่า ไฉนหนอ เธอจึงมานั่งเป็นทุกข์เสียใจ หลั่งน้ำตาอยู่
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลาย กลุ้มรุม เสียดแทง ข้าพระองค์ ด้วยวาจา ดุจประฏัก

ติสสะ เธอว่าเขาข้างเดียว แต่เธอไม่อดทนต่อถ้อยคำนั้น ไม่สมควรแก่เธอ ผู้เป็นกุลบุตรออกบวช
แต่ข้อที่เธอว่าเขาด้วย อดทนต่อถ้อยคำได้ด้วย นั่นแล สมควรแก่เธอ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๗-๓๑๘

ภิกขุสังยุตต์
๘. นันทสูตร (ว่าด้วยพระนันทะ)

            [๗๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระนันทะผู้เป็นบุตร ของพระเจ้าแม่น้าแห่ง พระผู้มีพระภาค* ห่มจีวรที่ทุบ และกลับทุบแล้วหยอดนัยน์ตา ถือบาตรมีสีใส เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้า แล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง
*หมายถึงพระเจ้าแม่น้า คือพระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระภคินีของพระนางสิริมหามายา

            [๗๑๐] ครั้นท่านพระนันทะ นั่งเรียบร้อยแล้วพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสดังนี้ ว่า

            ดูกรนันทะ ข้อที่เธอห่มจีวร ที่ทุบ และกลับทุบแล้ว หยอดนัยน์ตา และถือ บาตรมีสีใส ไม่สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรออกบวช เป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา
             ข้อที่เธอถืออยู่ป่า เป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และไม่ พึงเป็นผู้เพ่งเล็ง ในกาม ทั้งหลายอยู่อย่างนี้ จึงสมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตร ออกบวช เป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา

            [๗๑๑] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า เมื่อไร เราจะพึงได้เห็นนันทะ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโภชนะ ที่เจือปนกัน ผู้ไม่อาลัยในกามทั้งหลาย ดังนี้

            [๗๑๒] ลำดับนั้น ท่านพระนันทะ โดยสมัยต่อมา ได้เป็นผู้อยู่ป่า เป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และไม่อาลัยในกาม


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๘-๓๑๙

๙. ติสสสูตร (ว่าด้วยพระติสสะ)

            [๗๑๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระติสสะผู้เป็นโอรส พระเจ้าอาของ พระผู้มีพระภาค เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไป เฝ้าแล้ว ถวาย อภิวาทแล้ว นั่งเป็นทุกข์เสียใจหลั่งน้ำตาอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง

            [๗๑๔] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสถามท่านพระติสสะว่า ดูกรติสสะ ไฉนหนอ เธอจึงมานั่งเป็นทุกข์เสียใจ หลั่งน้ำตาอยู่

            ท่านพระติสสะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลาย กลุ้มรุม เสียดแทง ข้าพระองค์ ด้วยวาจาดุจประฏัก

            พ. จริงอย่างนั้น ติสสะ เธอว่าเขาข้างเดียว แต่เธอไม่อดทนต่อ ถ้อยคำ ข้อที่เธอว่าเขาข้างเดียว ไม่อดทนต่อถ้อยคำนั้น ไม่สมควรแก่เธอผู้เป็น กุลบุตรออกบวช เป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา แต่ข้อที่เธอว่าเขาด้วย อดทนต่อถ้อยคำ ได้ด้วย นั่นแล สมควรแก่เธอ ผู้เป็นกุลบุตร ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา

            [๗๑๕] พระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า เธอโกรธทำไมหนอ เธออย่าโกรธ ติสสะ ความไม่โกรธ
เป็นความประเสริฐของเธอ แท้จริง บุคคลย่อมประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อกำจัดความ โกรธ ความถือตัว และความ ลบหลู่คุณท่าน ดังนี้


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๙-๓๒๐

๑๐. เถรนามสูตร (ว่าด้วยพระเถรนามกะ)

            [๗๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีชื่อว่าเถระ มี ปรกติอยู่ผู้เดียว และ สรรเสริญ การอยู่ผู้เดียว เธอเป็นผู้เดียว เข้าไปสู่บ้านเพื่อ บิณฑบาต เป็นผู้เดียวเดินกลับ ย่อมนั่งในที่ลับผู้เดียว และย่อมเป็นผู้เดียว อธิษฐานจงกรม ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูป ด้วยกัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

            ครั้นภิกษุเหล่านั้น นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้ มีชื่อว่าเถระ มีปรกติอยู่คนเดียว และมีปรกติกล่าว สรรเสริญการอยู่คนเดียว

            [๗๑๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอจงไปบอกภิกษุชื่อเถระตาม คำของเราว่า พระศาสดารับสั่งให้หา ภิกษุนั้นทูลรับ พระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปหาท่านพระเถระ ถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหา แล้วกล่าวว่า อาวุโส พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ท่านพระเถระรับคำภิกษุนั้น แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

            [๗๑๘] ครั้นท่านพระเถระนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส ถามว่า ดูกรเถระ ได้ยินว่า เธอมีปรกติอยู่คนเดียว และมักสรรเสริญการอยู่คน เดียว จริงหรือ

            พระเถระกราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า

            พ. ดูกรเถระ ก็เธอมีปรกติอยู่คนเดียว และมักกล่าวสรรเสริญการอยู่ คนเดียว อย่างไร

            ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ คือข้าพระองค์คนเดียว เข้าไปสู่บ้าน เพื่อบิณฑบาต เดินกลับคนเดียว นั่งในที่ลับคนเดียว อธิษฐานจงกรมคนเดียว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีปรกติอยู่คนเดียว และมักกล่าวสรรเสริญการ อยู่คนเดียว อย่างนี้แล

            [๗๑๙] พ. ดูกรเถระ การอยู่คนเดียวนี้มีอยู่ เราจะกล่าวว่าไม่มีก็หาไม่ เถระ อนึ่ง การอยู่คนเดียวของเธอ ย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดยพิสดารกว่าด้วยประการใด เธอจงฟังประการนั้น จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระเถระ ทูลรับ พระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสดังต่อไปนี้

            [๗๒๐] ดูกรเถระ ก็การอยู่คนเดียว ย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดยพิสดาร กว่าอย่างไร ในข้อนี้ สิ่งใดที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละได้แล้ว สิ่งใดยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็สละคืนได้แล้ว ฉันทราคะในการได้อัตภาพ ที่เป็นปัจจุบันถูกกำจัดแล้วด้วย ดี การอยู่คนเดียว ย่อมเป็น อันบริบูรณ์โดยพิสดารกว่า อย่างนี้แล

            [๗๒๑] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า เราย่อมเรียกนรชน ผู้ครอบงำขันธ์ อายตนะ ธาตุ และไตรภพ ทั้งหมดได้ ผู้รู้ทุกข์ทุกอย่าง ผู้มีปัญญาดี ผู้ไม่แปดเปื้อนในธรรม ทั้งปวง ผู้ละสิ่งทั้งปวงเสียได้ ผู้หลุดพ้น ในเพราะ นิพพานเป็นที่สิ้นตัณหา ว่าเป็นผู้มีปรกติอยู่คนเดียว ดังนี้


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒๑

๑๑. กัปปินสูตร (ว่าด้วยพระมหากัปปินะ)

            [๗๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะเข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ

            [๗๒๓] พระผู้มีพระภาค ได้ทอดพระเนตรเห็น ท่านพระมหากัปปินะ ผู้มา แต่ไกล แล้วจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ เห็นภิกษุ ที่กำลังมานั่น หรือไม่ เป็นผู้ขาวโปร่ง จมูกโด่ง

            ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั่นแลมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก แต่เธอ ไม่ได้ สมาบัติที่เธอไม่เคยเข้าง่ายนัก เธอกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อัน ยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลาย ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการนั้น ด้วย ปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

            [๗๒๔] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า ในชุมนุมชน ที่ยังรังเกียจกันด้วยโคตร กษัตริย์เป็น ผู้ประเสริฐ ในเทวดาและมนุษย์ ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐ พระอาทิตย์ ย่อมแผดแสงในกลางวัน พระจันทร์ ส่องสว่างในกลางคืน กษัตริย์ผู้ผูก สอดเครื่องรบ ย่อมมีสง่า พราหมณ์ผู้เพ่งฌาน ย่อมรุ่งเรือง ส่วนพระพุทธเจ้าย่อม รุ่งโรจน์ ด้วยเดชานุภาพตลอดวัน และคืนทั้งหมด ดังนี้


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒๑-๓๒๓

๑๒. สหายสูตร (ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นเพื่อนกัน)

            [๗๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เป็นเพื่อนกัน ๒ รูป ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริก ของท่าน พระมหากัปปินะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ

            [๗๒๖] พระผู้มีพระภาค ได้ทอดพระเนตรเห็นเธอทั้ง ๒ มาอยู่แต่ไกล จึงตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นภิกษุ สหาย ๒ รูป ผู้เป็นสัทธิวิหาริก ของมหากัปปินะ กำลังมาอยู่นั่นหรือไม่

            ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๒ รูปนั่นแล มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก แต่ไม่ได้สมาบัติ ที่เธอไม่เคยเข้าง่ายนัก เธอทั้ง ๒ กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่ง พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกบวช เป็นบรรพชิตโดยชอบต้อง การนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

            [๗๒๗] พระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า ภิกษุเหล่านี้เป็นสหายกัน เป็นผู้มีความรู้คู่เคียงกันมา ตลอด กาลนาน สัทธรรมของเธอเหล่านั้น ย่อมเทียบเคียงได้ในธรรม ที่พระพุทธเจ้า ประกาศแล้ว เธออันกัปปินะแนะนำดีแล้ว ในธรรมที่พระอริยเจ้า ประกาศแล้ว เธอทั้งสองชำนะมารพร้อม ทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมทรงไว้ซึ่งอัตภาพมีในที่สุด ดังนี้

 

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์