เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ลาภสักการสังยุตต์ ลาภสักการะ ชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน เป็นอันตราย ต่อการบรรลุธรรม 1984
 


ลาภสักการสังยุตต์ วรรค ๑ (พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖)

๑. สุทธกสูตร
ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเกษมจาก โยคะ ซึ่งไม่มี ธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

๒. พฬิสสูตร
ภิกษุบางรูปยินดี พอใจลาภ สักการะ และชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุนี้เรากล่าวว่า กลืนเบ็ดของ มารได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ อันมารใจบาปพึงทำได้ตามความพอใจ

๓. กุมมสูตร
คำว่า "พราน" นี้เป็นชื่อของมารใจบาปคำว่า "ลูกดอก" เป็นชื่อของลาภ สักการะและชื่อเสียง คำว่า "เชือก" นี้เป็นชื่อของนันทิราคะ ภิกษุบางรูปยินดี พอใจ ลาภ สักการะและชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ

๔. ทีฆโลมสูตร
แกะขนยาวเข้าไปสู่ชัฏหนาม มันพึงข้องอยู่ อันหนาม เกี่ยวไว้ ติดอยู่ในที่นั้นๆ ได้รับทุกข์ ถึงความ พินาศในที่นั้นๆ ฉันใดภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ อันลาภ สักการะและชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็ฉันนั้น

๕. เอฬกสูตร
แมลงฉู่ฉี่กินขี้เต็มท้อง และข้างหน้ายังมีกองขี้ใหญ่ มันพึงดูหมิ่นแมลงฉู่ฉี่ เหล่าอื่นว่า เรากินขี้ เต็มท้องแล้ว และเรายังมีกองขี้ใหญ่ อยู่ข้างหน้า อีกฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อันลาภสักการและชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตแล้วก็ฉันนั้น

๖. อสนิสูตร
ขวานฟ้าตกถูกใคร ลาภสักการะและชื่อเสียง ย่อมตามถึงพระเสขะ ผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล คำว่า "ขวานฟ้า" นี้เป็นชื่อของ ลาภสักการะ และชื่อเสียง

๗. ทิฏฐิสูตร
ลูกศรคือทิฐิ ลาภสักการะ และชื่อเสียงย่อมตามถึงพระเสขะ ผู้ยังไม่บรรลุ อรหัตผล คำว่า "ลูกศร" นี้เป็นชื่อของ ลาภสักการะและชื่อเสียง

๘. สิคาลสูตร
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อันลาภสักการและชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว เหมือนสุนัขจิ้งจอกแก่ เป็นโรคอุกกรรณ์ [โรคเรื้อน] อยู่บนบกก็ไม่สบาย อยู่โคนไม้ก็ไม่สบาย

๙. เวรัมภสูตร
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อันลาภสักการและชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว เหมือนลมชื่อว่าเวรัมภา พัดอยู่ในอากาศเบื้องบน ซัดนก ที่บินอยู่ในอากาศนั้น เมื่อมันถูกลมเวรัมภา ซัดเท้าไปข้างหนึ่ง ปีกไปข้างหนึ่ง ศีรษะไปข้างหนึ่ง ตัวไปข้างหนึ่ง

๑๐. สคัยหกสูตร
เราเห็นคนบางคนในโลกนี้
- อันสักการะครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว
- อันความเสื่อมสักการะครอบงำย่ำยีจิตแล้ว
- อันสักการะ และความเสื่อมสักการะทั้งสองอย่างครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว
เมื่อตายไป เพราะกายแตกทำลาย ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๘

ลาภสักการสังยุตต์
ปฐมวรรคที่ ๑

๑. สุทธกสูตร


            [๕๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่าพระเจ้าข้า

            [๕๓๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มี ธรรมอื่นยิ่งไปกว่า เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย จักละลาภสักการะ และชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะและชื่อเสียง ที่บังเกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่ไม่ได้ เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้แหละ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๘-๒๔๙

๒. พฬิสสูตร

            [๕๓๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคายเป็นอันตราย แก่การบรรลุธรรม อันเกษม จากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

            [๕๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปลาบางตัว เห็นแก่เหยื่อ กลืนเบ็ด ที่พรานเบ็ดเกี่ยวเหยื่อหย่อน ลงในห้วงน้ำลึก มันกลืนเบ็ดของพรานเบ็ดอย่างนี้แล้ว ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ พรานเบ็ดพึงทำได้ตามความพอใจ ฉะนั้น

            [๕๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า "พรานเบ็ด" นี้เป็นชื่อของมารใจบาปคำว่า "เบ็ด" เป็นชื่อของลาภ สักการะและชื่อเสียง ภิกษุบางรูปยินดี พอใจลาภ สักการะ และชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุนี้เรากล่าวว่า กลืนเบ็ดของมารได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ อันมารใจบาปพึงทำได้ตามความพอใจ ภิกษุทั้งหลายลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่น ยิ่งไปกว่า อย่างนี้แล

            [๕๔๑] เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักละ ลาภ สักการะและชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภ สักการะและชื่อเสียงที่บังเกิด ขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเราทั้งหลาย ตั้งอยู่ไม่ได้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๙-๒๕๐

๓. กุมมสูตร

            [๕๔๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคายเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

            [๕๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในห้วงน้ำแห่งหนึ่ง มีตระกูล เต่าใหญ่อยู่อาศัยมานาน ครั้งหนึ่ง เต่าตัวหนึ่งเข้าไปหาเต่าอีกตัวหนึ่ง พูดว่าพ่อเต่า เจ้าอย่าได้ไปยังประเทศนั้นนะ

            เต่าตัวนั้นได้ไปยังประเทศนั้นแล้ว ถูกนายพรานยิงด้วยลูกดอก ลำดับนั้น เต่าตัวที่ถูกยิงเข้าไปหาเต่าตัวนั้น เต่าตัวนั้นได้เห็นเต่าตัวที่ถูกยิง กำลังมาแต่ไกล จึงถามว่า พ่อเต่า เจ้าไม่ได้ไปยังประเทศนั้นหรือ

            เต่าตัวที่ถูกยิงตอบว่า พ่อเต่า ฉันได้ไปยังประเทศนั้นมาแล้ว

            เต่าตัวนั้นถามว่า พ่อเต่า เจ้าไม่ได้ถูกทุบถูกตีดอกหรือ

            เต่าตัวที่ถูกยิงตอบว่า ฉันไม่ได้ถูกทุบถูกตี แต่ฉันมีเชือกเส้นหนึ่งติดหลังมานี้

            เต่าตัวนั้นกล่าวว่า พ่อเต่า เจ้าไม่ได้ถูกทุบถูกตีก็ดีละ พ่อเต่า บิดามารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้าได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ เพราะเชือกเส้นนี้แหละ ไปเดี๋ยวนี้ เจ้าไม่ใช่ พวกของเราแล้ว

            [๕๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า "พราน" นี้เป็นชื่อของมารใจบาปคำว่า "ลูกดอก" เป็นชื่อของลาภ สักการะและชื่อเสียง คำว่า "เชือก" นี้เป็นชื่อของนันทิราคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปยินดี พอใจ ลาภ สักการะและชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ เพราะลาภ สักการะและชื่อเสียง ดุจลูกดอก ถูกมารทำได้ตามความพอใจ ลาภสักการะ และชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๐-๒๕๑

๔. ทีฆโลมสูตร

            [๕๔๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตราย แก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

            [๕๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แกะขนยาวเข้าไปสู่ชัฏหนาม มันพึงข้องอยู่ อันหนาม เกี่ยวไว้ ติดอยู่ในที่นั้นๆ ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศในที่นั้นๆ ฉันใดภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ อันลาภ สักการะและชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตแล้วก็ฉันนั้น เวลาเช้านุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม เธอข้องอยู่ อันปัจจัยเกี่ยวไว้ ผูกไว้ ในที่นั้นๆ ย่อมได้รับทุกข์ ถึงความพินาศในที่นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะและ ชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๑

๕. เอฬกสูตร

            [๕๔๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคายเป็นอันตราย แก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

            [๕๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แมลงฉู่ฉี่กินขี้เต็มท้อง และข้างหน้ายังมีกองขี้ใหญ่ มันพึงดูหมิ่นแมลงฉู่ฉี่ เหล่าอื่นว่า เรากินขี้เต็มท้องแล้ว และเรายังมีกองขี้ใหญ่ อยู่ข้างหน้า อีกฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อันลาภสักการะ และชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็ฉันนั้น เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต ยังบ้านหรือ นิคม ฉันอยู่ ณ ที่นั้น พอแก่ความต้องการแล้ว และทายกนิมนต์เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น

            แม้บิณฑบาตของเธอจะเต็มแล้ว เธอไปอารามแล้ว อวดอ้างที่ท่ามกลาง หมู่ภิกษุว่า ผมฉันพอแก่ความต้องการแล้ว ทายกยังนิมนต์เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น บิณฑบาตของผมก็เต็ม และยังจะได้จีวร บิณฑบาตเสนาสน ะและคิลานปัจจัย เภสัชบริขารอีก ส่วนภิกษุเหล่าอื่นนี้มีบุญน้อย มีศักดิ์น้อย จึงไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร เธออันลาภสักการะ และชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ย่อมดูหมิ่นภิกษุเหล่าอื่น ผู้มีศีลเป็นที่รัก ข้อนั้นของโมฆบุรุษนั้น ย่อมเป็นไป เพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๒

๖. อสนิสูตร

            [๕๔๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

            [๕๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขวานฟ้าตกถูกใคร ลาภสักการะและชื่อเสียง ย่อมตามถึงพระเสขะ ผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล คำว่า "ขวานฟ้า" นี้เป็นชื่อของ ลาภสักการะ และชื่อเสียง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และชื่อเสียงทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๒

๗. ทิฏฐิสูตร

 

            [๕๕๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตราย แก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

            [๕๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อะไรแทงใครด้วยลูกศรคือทิฐิ ลาภสักการะ และ ชื่อเสียงย่อมตามถึงพระเสขะ ผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล คำว่า "ลูกศร" นี้เป็นชื่อของ ลาภสักการะและชื่อเสียง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และชื่อเสียงทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๒-๒๕๓

๘. สิคาลสูตร

 

            [๕๕๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตราย แก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

            [๕๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย เห็นสุนัขจิ้งจอกแก่ซึ่งอยู่ในกลางคืน ตลอดถึงเช้าตรู่หรือหนอ

            ภิ. เห็นพระเจ้าข้า

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอกแก่ตัวนั้น เป็นโรคอุกกรรณ์ [โรคเรื้อน] อยู่บนบกก็ไม่สบาย อยู่โคนไม้ก็ไม่สบาย อยู่ในที่แจ้งก็ไม่สบาย เดินยืน นั่ง นอน ในที่ใดๆ ก็ไม่สบาย เป็นทุกข์ในที่นั้นๆ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันลาภสักการะและชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตแล้วอยู่ที่เรือนว่างก็ไม่สบาย อยู่ที่โคนไม้ ก็ไม่สบาย อยู่ในที่แจ้งก็ไม่สบาย เดินยืน นั่ง นอนในที่ใดๆ ก็ไม่สบาย เป็นทุกข์ในที่นั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึง ศึกษา อย่างนี้แหละ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๓-๒๕๔

๙. เวรัมภสูตร

 

            [๕๕๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตราย แก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

            [๕๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลมชื่อว่าเวรัมภาพัดอยู่ในอากาศเบื้องบน ซัดนก ที่บินอยู่ในอากาศนั้น เมื่อมันถูกลมเวรัมภา ซัดเท้าไปข้างหนึ่ง ปีกไปข้างหนึ่ง ศีรษะ ไปข้างหนึ่ง ตัวไปข้างหนึ่ง

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันลาภ สักการะ และชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว เวลาเช้านุ่งแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไป บิณฑบาต ยังบ้านหรือนิคม ไม่รักษากายวาจา จิต ไม่ดำรงสติ ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นมาตุคาม ที่นุ่งห่มผ้าลับๆ ล่อๆในบ้านหรือนิคมนั้น

            ครั้นเห็นแล้ว ราคะย่อมครอบงำจิต เธอมีจิตอันราคะครอบงำแล้ว ย่อมลาสิกขา สึกออกมา ภิกษุพวกหนึ่งเอาจีวรของเธอไป พวกหนึ่งเอาบาตร พวกหนึ่งเอาผ้านิสีทนะ พวกหนึ่งเอากล่องเข็ม เปรียบดังนกถูกลมเวรัมภาซัดไป ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะและชื่อเสียงทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๔-๒๕๕

๑๐. สคัยหกสูตร

            [๕๕๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตราย แก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

            [๕๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ อันสักการะครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว เมื่อตายไป เพราะกายแตกทำลาย ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก อนึ่ง เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ อันความเสื่อมสักการะครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เมื่อตายไป เพราะกายแตกทำลาย ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก เราเห็นคนบางคน ในโลกนี้ อันสักการะ และความเสื่อมสักการะทั้งสองอย่างครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว เมื่อตายไป เพราะกายแตกทำลาย ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯเธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้แหละ

            [๕๕๙] พระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสคำไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

            สมาธิของผู้ใด ที่เขาสักการะ อยู่ด้วยผล สมาธิหาประมาณ มิได้ ไม่หวั่นไหว ด้วยสักการะ และความเสื่อมสักการะ ผู้ นั้นเพ่งอยู่ ทำความเพียรเป็นไปติดต่อ เห็นแจ้ง ด้วยทิฐิ อย่างละเอียด ยินดีในพระนิพพานเป็นที่สิ้นอุปาทาน บัณฑิต ทั้งหลายเรียกว่า สัปปุรุษ ดังนี้

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์