เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

มิคชาลวรรค สมิทธิสูตรที่๔ อุปเสนสูตร อุปวาณสูตร ผัสสายตนสูตรที่ ๑ สูตรที่ ๒ สูตรที่ ๓ 1946
 


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๖. สมิทธิสูตรที่ ๔
๗. อุปเสนสูตร
๘. อุปวาณสูตร
๙. ผัสสายตนสูตรที่ ๑
๑๐. ผัสสายตนสูตรที่ ๒
๑๑. ผัสสายตนสูตรที่ ๓

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๙

สมิทธิสูตรที่ ๔

            [๗๕] ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า โลก โลก ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงเป็นโลก หรือบัญญัติว่าโลก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใดโลก หรือการบัญญัติ ว่าโลกก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วย มโนวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็มีอยู่ ณ ที่นั้น

            [๗๖] ดูกรสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด โลกหรือการบัญญัติ ว่าโลกก็ไม่มี ณ ที่นั้น

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓๙-๔๐

อุปเสนสูตร

            [๗๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค และท่านพระสารีบุตร ท่านพระอุปเสนะ อยู่ที่ป่าชื่อสีตวัน ใกล้เงื้อมสัปปโสณฑิกะ ใกล้พระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล อสรพิษ ตัวหนึ่ง ได้ตกลงที่กายของท่านพระอุปเสนะ

            ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปเสนะ เรียกภิกษุทั้งหลายว่า จงมาเถิด ผู้มีอายุ จงยกกายเรานี้ ขึ้นสู่เตียง แล้วนำออกไปในภายนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยรายในที่นี้แล ประดุจกำแกลบ

             เมื่อท่านพระอุปเสนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะ ท่านพระอุปเสนะ ว่า ความที่กายของท่านพระอุปเสนะ เป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวน แห่งอินทรีย์ ของท่านพระอุปเสนะ เราทั้งหลายยังไม่เห็นเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพระอุปเสนะ ยังพูดอย่างนี้ว่า จงมาเถิด ผู้มีอายุ จงยกกายเรานี้ ขึ้นสู่เตียง แล้วนำไปภายนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยราย ณ ที่นี้ ประดุจกำแกลบเล่า

             ท่านพระอุปเสนะ กล่าวว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ผู้ใดพึงมีความตรึกอย่างนี้ว่า เราเป็นจักษุ หรือจักษุ เป็นของเรา ฯลฯ เราเป็นใจ หรือใจเป็นของเรา ความที่กาย เป็นอย่างอื่น หรือ ความแปรปรวน แห่งอินทรีย์ พึงมีแก่ผู้นั้นแน่นอน

            ดูกรท่านพระสารีบุตร เรามิได้มีความตรึกอย่างนี้ว่า เราเป็นจักษุ หรือจักษุเป็น ของเรา ฯลฯ เราเป็นใจหรือใจเป็นของเรา ความที่กายจักกลายเป็นอย่างอื่น หรือความ แปรปรวนแห่งอินทรีย์จักมีแก่เรานั้น ได้อย่างไร

            สา. จริงอย่างนั้น ท่านพระอุปเสนะ ได้ถอนอหังการ มมังการและมานานุสัย ได้เด็ดขาด เป็นเวลานานมาแล้ว ฉะนั้น ท่านพระอุปเสนะ จึงไม่มีความตรึกอย่างนั้น

            ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น ยกกายของท่านพระอุปเสนะ ขึ้นสู่เตียง นำไป ภายนอก กายของท่านพระอุปเสนะ เรี่ยรายในที่นั้นเอง ประดุจกำแกลบ ฉะนั้น

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔๐-๔๒

อุปวาณสูตร

            [๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุ จะพึงเห็นเอง ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรพระธรรม จึงชื่อว่า อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดูควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า

            [๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วย จักษุ แล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความกำหนัด ในรูปอันมีอยู่ ในภายในว่า เรายังมีความกำหนัด ในรูปในภายใน อาการที่ภิกษุเห็นรูป ด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความกำหนัด ในรูป อันมีอยู่ใน ภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน อย่างนี้แลเป็นธรรม อันผู้บรรลุจะพึง เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน พึงรู้ เฉพาะตน

            [๘๐] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ

            [๘๑] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความกำหนัด ในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความกำหนัด ในธรรมารมณ์อันมีอยู่ภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อาการ ที่ภิกษุ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความกำหนัด ในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์ อันมีอยู่ในภายในว่า เรายังมีความ กำหนัดในธรรมารมณ์ ในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

            [๘๒] ดูกรอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูป อันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายใน อาการที่ภิกษุเป็นผู้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูป อันไม่มี ในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดในรูปใ นภายในอย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึง เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้ เฉพาะตน

            [๘๓] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ

            [๘๔] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้ซึ่งธรรมารมณ์ด้วยใจ แล้วเป็นผู้ เสวยธรรมารมณ์ แต่ไม่เสวยความกำหนัด ในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความกำหนัด ในธรรมารมณ์ อันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อาการที่ภิกษุรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยรรมารมณ์ แต่ไม่เสวยความกำหนัด ในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์ อันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความ กำหนัดในธรรมารมณ์ ในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔๒-๔๓

ผัสสายตนสูตรที่ ๑

            [๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ทราบชัด ความเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง พรหมจรรย์ อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายในศาสนานี้ เพราะข้าพระองค์ ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง

            พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ
            ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า

            พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นจักษุ ด้วยอาการอย่างนี้ว่า นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้ว ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง นี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯลฯ

            พ. เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นของเรานั่น เป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ
            ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า

            พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่ เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้ว ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง นี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔๓-๔๔

ผัสสายตนสูตรที่ ๒

            [๘๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ๖ ตามความเป็นจริง พรหมจรรย์อันภิกษุนั้น ไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้

             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ข้าพระองค์ เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้ เพราะข้าพระองค์ ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง

            พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้หรือ
            ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า

            พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่น ไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้ว ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง ด้วยอาการอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ ๑ นี้จักเป็นอันเธอละได้แล้ว เพื่อมิให้ผัสสายตนะนั้น เกิดขึ้นอีกต่อไป ฯลฯ
            ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า

            พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่เป็น เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้ว ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความ เป็นจริง ด้วยอาการอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ ๖ นี้จักเป็นอันเธอละได้แล้ว เพื่อมิให้ ผัสสายตนะ นั้น เกิดขึ้นอีกต่อไป

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔๔-๔๕

ผัสสายตนสูตรที่ ๓

            [๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัด ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้ว ในธรรมวินัยนี้ เพราะข้าพระองค์ ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแ ห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง

            พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า


            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า


            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะ ตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
            ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า


            พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า


            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า


            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะ ตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
            ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า


            พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะ คลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ฯ

-------------------------

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์