พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๙
พลวรรคที่ ๒
๑. อนนุสสุตสูตร
[๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราบรรลุถึงบารมี อันเป็นที่สุดเพราะรู้ยิ่ง ในธรรม ที่ไม่ได้สดับแล้ว ในกาลก่อนจึงปฏิญาณได้ กำลังของตถาคต ๕ ประการนี้ ที่เป็นเหตุให้ ตถาคต ผู้ประกอบแล้ว ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาท ในบริษัท ประกาศพรหมจักร กำลัง ๕ ประการเป็นไฉน คือ
กำลัง คือ ศรัทธา ๑
กำลัง คือ หิริ ๑
กำลัง คือ โอตตัปปะ ๑
กำลัง คือ วิริยะ ๑
กำลัง คือปัญญา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๕ ประการนี้แล ที่เป็นเหตุให้ตถาคต ผู้ประกอบแล้ว ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๙
๒. กูฏสูตร
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระเสขะ ๕ ประการ นี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
กำลัง คือ ศรัทธา ๑
กำลัง คือ หิริ ๑
กำลัง คือ โอตตัปปะ ๑
กำลัง คือ วิริยะ ๑
กำลัง คือ ปัญญา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดากำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้กำลัง คือ ปัญญา เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม สิ่งที่เป็นเลิศ เป็นยอดเป็นที่รวบรวมแห่ง เรือนยอด คือ ยอด ฉันใด บรรดากำลังของ พระเสขะ ๕ ประการนี้ กำลัง คือ ปัญญา ก็เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม ฉะนั้น เหมือนกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเรา จักประกอบด้วยกำลังคือศรัทธา ... กำลัง คือ หิริ ... กำลัง คือ โอตตัปปะ ...กำลังคือวิริยะ ... กำลัง คือ ปัญญา อันเป็นกำลังของพระเสขะ
ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๐
๓. สังขิตสูตร
[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
กำลัง คือ ศรัทธา ๑
กำลัง คือ วิริยะ ๑
กำลัง คือ สติ ๑
กำลัง คือสมาธิ ๑
กำลัง คือ ปัญญา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๐-๑๑
๔. วิตถตสูตร
[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน
คือ
กำลัง คือ ศรัทธา ๑
กำลัง คือ วิริยะ ๑
กำลัง คือ สติ ๑
กำลัง คือสมาธิ ๑
กำลัง คือ ปัญญา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังคือ
ศรัทธาเป็นไฉน อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี ศรัทธา ย่อมเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่ากำลัง คือ ศรัทธา
ก็กำลัง คือ วิริยะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ปรารภความเพียร เพื่อละ อกุศลธรรม ... ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า กำลัง คือ วิริยะ
ก็กำลัง คือ สติเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติ เครื่องรักษาตัว ชั้นเยี่ยม ระลึกตามแม้สิ่งที่ทำ แม้คำที่พูดไว้นานได้ นี้เรียกว่ากำลัง คือ สติ
ก็กำลัง คือ สมาธิเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบไป บรรลุทุติยฌาน อันเป็นความผ่องใสแห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก วิจารมีปีติ และสุข เกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติสิ้นไป เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้ มี อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ อยู่ นี้เรียกว่ากำลัง คือ สมาธิ
ก็กำลัง คือปัญญาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา ที่หยั่งถึงความเกิด และความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส เป็นเครื่องให้ถึงความสิ้นไป แห่งทุกข์ โดยชอบ นี้เรียกว่ากำลัง คือ ปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๑
๕. ทัฏฐัพพสูตร
[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือกำลัง คือ ศรัทธา ๑ กำลัง คือ วิริยะ ๑ กำลัง คือ สติ ๑ กำลัง คือสมาธิ ๑ กำลัง คือ ปัญญา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พึงเห็นกำลัง คือ ศรัทธาในที่ไหน
พึงเห็นใน โสตาปัตติยังคะ [องค์เป็นเครื่องให้บรรลุความเป็นพระโสดา] ๔
พึงเห็นกำลัง คือ ศรัทธาในที่นี้ พึงเห็นกำลัง คือ วิริยะในที่ไหน พึงเห็นในสัมมัปปธาน ๔
พึงเห็นกำลัง คือ วิริยะในที่นี้ พึงเห็นกำลัง คือ สติในที่ไหน พึงเห็นในสติปัฏฐาน ๔
พึงเห็นกำลัง คือ สติในที่นี้ พึงเห็นกำลัง คือสมาธิในที่ไหน พึงเห็นในฌาน ๔ พึงเห็นกำลัง คือ สมาธิในที่นี้ พึงเห็นกำลัง คือ ปัญญาในที่ไหน พึงเห็นในอริยสัจ ๔
พึงเห็นกำลัง คือ ปัญญาในที่นี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๑-๑๒
๖. ปุนกูฏสูตร
[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
กำลัง คือ ศรัทธา ๑
กำลัง คือ วิริยะ ๑
กำลัง คือ สติ ๑
กำลัง คือ สมาธิ ๑
กำลัง คือ ปัญญา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้แล บรรดากำลัง ๕ ประการนี้แล กำลัง คือ ปัญญา เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม เหมือนสิ่งที่เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม แห่งเรือนยอด คือ ยอด ฉันใดบรรดากำลัง ๕ ประการนี้ กำลัง คือ ปัญญาเป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม ฉันนั้นเหมือนกันแล
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๒
๗. หิตสูตรที่ ๑
[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่าปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ผู้อื่น ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยสมาธิ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น ในการถึงพร้อมด้วยปัญญา
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย วิมุตติด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะ ด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น ในการถึงพร้อมด้วย วิมุตติญาณทัสนะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมชื่อว่าปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๒-๑๓
๘. หิตสูตรที่ ๒
[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ชื่อว่าปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยศีล
ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยสมาธิ
ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่น ในการถึงพร้อมด้วยปัญญา
ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย วิมุตติ ด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่น ในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติ
ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะ ด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่น ในการถึงพร้อม ด้วย วิมุตติญาณทัสนะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมชื่อว่าปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๓
๙. หิตสูตรที่ ๓
[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยศีล
ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยสมาธิ
ไม่เป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยปัญญาด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น ในการถึงพร้อมด้วยปัญญา
ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น ในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติ
ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย วิมุตติญาณทัสนะ ด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น ในการถึงพร้อมด้วย วิมุตติญาณทัสนะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่ชื่อว่า ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๓-๑๔
๑๐. หิตสูตรที่ ๔
[๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยสมาธิ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในการถึงพร้อมด้วยปัญญา
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะ ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในการถึงพร้อมด้วย วิมุตติญาณทัสนะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
|