เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

เอกธัมมาทิบาลี (เอกธัมมบาลี) วรรค ๒ 1934
 


เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง
ซึ่งจะเป็นเหตุให้
อกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือ อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เหมือนกับ มิจฉาทิฐิ นี้เลย

เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง
ซึ่งจะเป็นเหตุให้
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือ กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไป เพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง เหมือนกับ
สัมมาทิฐิ นี้เลย

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๙ - ๔๒
เอกธัมมาทิบาลี (เอกธัมมบาลี)
วรรค ๒

            [๑๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือ อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เหมือนกับมิจฉาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นผิด อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง

            [๑๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือ กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง เหมือนกับสัมมาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นชอบ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง

            [๑๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุ ให้กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป เหมือนกับ มิจฉาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นผิด กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป

            [๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุ ให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป เหมือนกับ สัมมาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นชอบ อกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป

            [๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้ มิจฉาทิฐิที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือมิจฉาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น เหมือนกับการทำในใจ โดยไม่แยบคายนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยไม่แยบคาย มิจฉาทิฐิที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และมิจฉาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น ฯ

            [๑๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุ ให้สัมมาทิฐิ ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือสัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น เหมือน การทำในใจโดยแยบคายนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจ โดยแยบคาย สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และสัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น

            [๑๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก เหมือนกับมิจฉาทิฐิ นี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฐิ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

            [๑๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุ ให้สัตว์ทั้งหลายเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เหมือนกับ สัมมาทิฐิ นี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฐิ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

(กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ)

            [๑๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่สมาทาน ให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ วจีกรรม ที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์

            ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฐิเลวทราม ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมล็ด สะเดาก็ดี เมล็ดบวบขมก็ดี เมล็ดน้ำเต้าขมก็ดี บุคคลหมกไว้ในดินที่ชุ่มชื้น รสดิน รสน้ำ ที่มันถือเอาทั้งหมด ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นของขม เพื่อเผ็ดร้อน เพื่อไม่น่ายินดี

            ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพืชเลว ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่ สมาทาน ให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ มโนกรรม ที่สมาทาน ให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฐิ เลวทราม ฉันนั้นเหมือนกันแล

            [๑๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่สมาทาน ให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ วจีกรรม ที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ ตามทิฐิ ๑ เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความเห็นชอบ ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผล ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

            ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฐิเจริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพันธุ์อ้อย ก็ดี พันธุ์ข้าวสาลีก็ดี พันธุ์ผลจันทน์ก็ดี บุคคลหมกไว้ในดินที่ชุ่มชื้น รสดิน รสน้ำ ที่มันถือเอาทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของหวาน น่ายินดี น่าชื่นใจ

            ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพืชพันธุ์ดี ฉันใดกายกรรม ที่สมาทานให้บริบูรณ์ ตามทิฐิ ๑ วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ ตามทิฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทา นให้บริบูรณ์ ตามทิฐิ ๑ เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความ เห็นชอบ ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผล ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฐิเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน แล

จบวรรคที่ ๒

 

 



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์