พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗
มิจฉัตตสูตร
ความเห็นผิด-ความเห็นถูก
[๕๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงมิจฉัตตะ (ความผิด) และสัมมัตตะ (ความถูก) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉัตตะเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่นผิดนี้เรียกว่า มิจฉัตตะ.
[๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมัตตะเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สัมมัตตะ.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗
อกุศลธรรมสูตร
อกุศลธรรม-กุศลธรรม
[๖๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอกุศลธรรม และกุศลธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อกุศลธรรมเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่นผิด นี้เรียกว่า อกุศลธรรม.
[๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กุศลธรรมเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า กุศลธรรม.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗ - ๑๘
ปฏิปทาสูตรที่ ๑
มิจฉาปฏิปทา-สัมมาปฏิปทา
[๖๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิปทา และสัมมาปฏิปทาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่นผิด นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา.
[๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗
ปฏิปทาสูตรที่ ๒
ว่าด้วยญายธรรม
[๖๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทา ของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมไม่ยังญายธรรม อันเป็นกุศล ให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติผิดเป็นตัวเหตุ ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่นผิดนี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์ หรือบรรพชิต คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมไม่ยังญายธรรม อันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะ ความปฏิบัติผิดเป็นตัวเหตุ.
[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์ หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมยังญายธรรม อันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติชอบเป็นตัวเหตุ
ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์ หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมยังญายธรรม อันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติชอบเป็นตัวเหตุ.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘-๑๙
อสัปปุริสสูตรที่ ๑
ว่าด้วยอสัตบุรุษ-สัตบุรุษ
[๗๐] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและสัตบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี ความเห็นผิด ดำริผิด เจรจาผิด ทำการงานผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจมั่นผิดบุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ.
[๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบตั้งใจมั่นชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙
อสัปปุริสสูตรที่ ๒
ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่า
[๗๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษ และอสัตบุรุษ ที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัตบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ ตั้งใจมั่นผิด บุคคลเหล่านี้เรียกว่า อสัตบุรุษ.
[๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าอสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ ตั้งใจมั่นผิด รู้ผิด พ้นผิด บุคคลนี้ เรียกว่า อสัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ.
[๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ.
[๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ รู้ชอบ พ้นชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัตบุรุษ.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙-๒๐
กุมภสูตร
ธรรมเครื่องรองรับจิต
[๗๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อ ที่ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก.
[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเครื่องรองรับจิต อริยมรรค อันประกอบ ด้วยองค์๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เป็นเครื่องรองรับจิต.
[๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อ ที่ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไป ได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีเครื่อง รองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐
สมาธิสูตร
ว่าด้วยสัมมาสมาธิอันประเสริฐ
[๘๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ อันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุ พร้อมทั้งเครื่องประกอบ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุ พร้อมทั้ง เครื่องประกอบเป็นไฉน? คือความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ.
[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ความที่จิตมีเครื่อง ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการเหล่านี้นั้น เรียกว่าสัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุบ้าง พร้อมทั้งเครื่องประกอบบ้าง.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐
เวทนาสูตร
เจริญอริยมรรคเพื่อกำหนดรู้เวทนา
[๘๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ ๓ ประการ เป็นไฉน?คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ เวทนา ๓ ประการนี้แล.
[๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้แล.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑
อุตติยสูตร
เจริญอริยมรรคเพื่อละกามคุณ ๕
[๘๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์หลีกออกเร้น อยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจ อย่างนี้ว่า กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว กามคุณ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเป็นไฉนหนอ?
[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ อุตติยะ กามคุณ ๕ เหล่านี้ เรากล่าวไว้แล้ว กามคุณ ๕ เป็นไฉน? คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่น่ารัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด ดูกรอุตติยะ กามคุณ ๕ เหล่านี้แล เรากล่าวไว้แล้ว.
[๘๘] ดูกรอุตติยะ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อละ กามคุณ ๕ เหล่านี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อละกามคุณ ๕ เหล่านี้แล.
|