เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

วิหารวรรคที่ ๒ เสขสูตร องคคุณ ๘ ของพระเสขะ ปปาทสูตรที่ ๑ ธรรม ๘ ประการ ย่อมมี... 1929
 


วิหารวรรคที่ ๒

เสขสูตร องคคุณ ๘ ของพระเสขะ
ปปาทสูตรที่ ๑ ธรรม ๘ ประการ ย่อมมีเพราะการปรากฏแห่งพระตถาคต
อุปปาทสูตรที่ ๒ ธรรม ๘ ประการ ย่อมมีเพราะพระวินัยของพระสุคต
ปริสุทธิสูตรที่ ๑ ธรรม ๘ ประการ ย่อมเกิดเพราะความปรากฏแห่งพระตถาคต
ปริสุทธิสูตรที่ ๒ ธรรม ๘ ประการ ย่อมบริสุทธิ์เพราะวินัยของพระสุคต
กุกกุฏารามสูตรที่ ๑ มิจฉามรรค ว่าด้วยอพรหมจรรย์
กุกกุฏารามสูตรที่ ๒ ว่าด้วยพรหมจรรย์
กุกกุฏารามสูตรที่ ๓ ว่าด้วยพรหมจรรย์และพรหมจารี

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓

เสขสูตร
องคคุณ ๘ ของพระเสขะ

             [๕๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า พระเสขะๆ ดังนี้ด้วยเหตุเพียงเท่าไร หนอ? จึงจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

             ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นของพระเสขะ ฯลฯ ประกอบด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นของพระเสขะ

             ดูกรภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงจะชื่อว่า เป็นพระเสขะ

จบ สูตรที่ ๓

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓
ปปาทสูตรที่ ๑
ธรรม ๘ ประการ ย่อมมีเพราะการปรากฏแห่งพระตถาคต

             [๕๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏแห่ง พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน? คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ

             ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรม ๘ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏแห่งพระตถาคต อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า.

จบ สูตรที่ ๔

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔

อุปปาทสูตรที่ ๒
ธรรม ๘ ประการ ย่อมมีเพราะพระวินัยของพระสุคต

             [๕๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของพระสุคต ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของพระสุคต.

จบ สูตรที่ ๕

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔

ปริสุทธิสูตรที่ ๑
ธรรม ๘ ประการ ย่อมเกิดเพราะความปรากฏแห่งพระตถาคต

             [๕๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้น นอกจาก ความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน? คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่อง ยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏแห่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

จบ สูตรที่ ๖

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔

ปริสุทธิสูตรที่ ๒
ธรรม ๘ ประการ ย่อมบริสุทธิ์เพราะวินัยของพระสุคต

             [๕๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้น นอกจากวินัยของพระสุคต ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน? คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ

             ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรม ๘ ประการนี้แล บริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของพระสุคต

จบ สูตรที่ ๗

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕

กุกกุฏารามสูตรที่ ๑
มิจฉามรรค ว่าด้วยอพรหมจรรย์

             [๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะอยู่ ณ กุกกุฏาราม ใกล้นครปาฏลีบุตร ครั้งนั้น ท่านพระภัททะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

              ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า อพรหมจรรย์ๆ ดังนี้ อพรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ? ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างหลักแหลม ช่างไต่ถามก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า อพรหมจรรย์ๆ ดังนี้ อพรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ?
             ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ?
             อา. มิจฉามรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มิจฉาสมาธิ นี้แลเป็นอพรหมจรรย์

จบ สูตรที่ ๘

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกหน้าที่ ๑๕

กุกกุฏารามสูตรที่ ๒
ว่าด้วยพรหมจรรย์

             [๕๗] ปาฏลิปุตตนิทาน. ภ. ท่านอานนท์ ที่เรียกว่าพรหมจรรย์ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ? ที่สุดของพรหมจรรย์เป็นไฉน?

             อา. ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างหลักแหลม ช่างไต่ถาม ก็ท่านถาม อย่างนี้หรือว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า พรหมจรรย์ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ? ที่สุดของพรหมจรรย์เป็นไฉน?
             ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.

             อา. อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็นพรหมจรรย์ ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นที่สุดของพรหมจรรย์.

จบ สูตรที่ ๙

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖

กุกกุฏารามสูตรที่ ๓
ว่าด้วยพรหมจรรย์และพรหมจารี

             [๕๘] ปาฏลิปุตตนิทาน. ภ. ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า พรหมจรรย์ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ? พรหมจารีเป็นไฉน? ที่สุดของพรหมจรรย์เป็นไฉน?

             อา. ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างหลักแหลม ช่างไต่ถาม ก็ท่านถาม อย่างนี้หรือว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า พรหมจรรย์ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ? พรหมจารีเป็นไฉน? ที่สุดของพรหมจรรย์เป็นไฉน?

             ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ
             อา. อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แล เป็นพรหมจรรย์ บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เรียกว่า เป็นพรหมจารี ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นที่สุดของพรหมจรรย์.

จบ สูตรที่ ๑๐

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์