เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

จูฬปุณณมสูตร เรื่องสัตตบุรุษและอสัตตบุรุษ 1908
 


สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ ห้อมล้อม ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมี จันทร์เพ็ญ วันนั้น เป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ พระผู้มีพระภาค ทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสถาม ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ หรือไม่ หนอ ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า
ก็อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษไหมเล่า ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า
ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า

ถูกละแม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่าผู้นี้เป็นสัตบุรุษ นั่นก็ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙๓-๙๘

๑๐. จูฬปุณณมสูตร (๑๑๐)

 

             [๑๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกา วิสาขามิคารมารดา ใน พระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ ห้อมล้อม ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมี จันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ

             [๑๓๑] ขณะนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดย ลำดับ จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษหรือไม่หนอ

             ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า

             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ข้อที่อสัตบุรุษ จะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็น อสัตบุรุษ นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษไหมเล่า

             ภิ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า

             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็น สัตบุรุษ นั่นก็ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส

             [๑๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษ ย่อมเป็นผู้ประกอบ ด้วยธรรมของอสัตบุรุษ ภักดีต่ออสัตบุรุษ มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ มีถ้อยคำอย่าง อสัตบุรุษ มีการงานอย่างอสัตบุรุษ มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ ย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ

             [๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ของอสัตบุรุษ อย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะมีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของ อสัตบุรุษ

             [๑๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษ เป็นผู้ภักดี ต่ออสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ ชนิดที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม เป็นมิตร เป็นสหาย
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษ

             [๑๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษ เป็นผู้มีความคิด อย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมคิดเบียดเบียนตนเองบ้าง คิดเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง คิดเบียดเบียน ทั้งตนเอง และผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ

             [๑๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษ เป็นผู้มีความรู้ อย่างอสัตบุรุษอย่างไรคือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง รู้เพื่อ เบียดเบียน ทั้งตนเอง และผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้รู้อย่างอสัตบุรุษ

             [๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษ เป็นผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างไรคือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มักพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ เจรจาเพ้อเจ้อ
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ

             [๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษ เป็นผู้มีการงาน อย่างอสัตบุรุษอย่างไรคือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มักเป็นผู้ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษ

             [๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษ เป็นผู้มีความเห็น อย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผลยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ผลวิบากของกรรม ที่ทำดีทำชั่วแล้ว ไม่มี โลกนี้ ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่ง ด้วยตนเองในโลก ไม่มี
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ

             [๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษ ย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษอย่างไรคือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยไม่เคารพ ให้ทานไม่ใช่ด้วยมือของตน ทำความ ไม่อ่อน น้อมให้ทาน ให้ทานอย่างไม่เข้าใจ เป็นผู้มีความเห็นว่าไร้ผล ให้ทาน
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ

             [๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษนั่นแหละ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ของ อสัตบุรุษอย่างนี้ ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้มีความรู้ อย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีการงานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ ให้ทานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว เมื่อตายไป ย่อมบังเกิด ในคติของอสัตบุรุษ
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คติของอสัตบุรุษคืออะไร คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์ เดียรัจฉาน

             [๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษหรือไม่ หนอ  ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า รู้ พระพุทธเจ้าข้า

             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ข้อที่สัตบุรุษ จะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษ จะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่าผู้นี้เป็น อสัตบุรุษ ไหมเล่า ภิ. รู้ พระพุทธเจ้าข้า

             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ แม้ข้อที่สัตบุรุษ จะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็น อสัตบุรุษ นั่นก็เป็นฐานะที่มีได้

             [๑๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษ ย่อมเป็นผู้ประกอบ ด้วยธรรมของสัตบุรุษ ภักดีต่อสัตบุรุษ มีความคิดอย่างสัตบุรุษ มีความรู้อย่างสัตบุรุษ มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ มีการงานอย่างสัตบุรุษ มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ ย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ

             [๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ของสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมากมีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลสัตบุรุษชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของ สัตบุรุษ

             [๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้ภักดี ต่อสัตบุรุษอย่างไร คือสัตบุรุษ ในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ ชนิดที่มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมากมีความเพียร ปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา เป็นมิตร เป็นสหาย
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่า เป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ

             [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความคิด อย่างสัตบุรุษอย่างไรคือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมไม่คิดเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเบียดเบียน ทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ

             [๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้ อย่างสัตบุรุษอย่างไรคือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมไม่รู้เพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นไม่รู้เพื่อ เบียดเบียน ทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ

             [๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษอย่างไรคือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากคำพูดส่อเสียดงดเว้นจาก คำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลสัตบุรุษ ชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ

             [๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีการงาน อย่างสัตบุรุษอย่างไรคือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจาก กาเมสุมิจฉาจาร
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่า เป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ

             [๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่าง สัตบุรุษอย่างไรคือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีอยู่โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่              ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่า เป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ

             [๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่างไร คือสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยเคารพ ทำความอ่อนน้อมให้ทาน ให้ทานอย่างบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความเห็นว่ามีผล จึงให้ทาน
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลสัตบุรุษชื่อว่าย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ

             [๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษนั่นแหละ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของ สัตบุรุษ อย่างนี้ ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีความรู้อย่าง สัตบุรุษ อย่างนี้ มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีการงานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีความเห็น อย่างสัตบุรุษอย่างนี้ ให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของ สัตบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คติของสัตบุรุษคืออะไร คือ ความเป็นผู้มีตนควรบูชา ในเทวดา หรือความเป็นผู้มีตนควรบูชาในมนุษย์ ฯ

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิต ของ พระผู้มีพระภาคแล

จบ จูฬปุณณมสูตร ที่ ๑๐

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์