เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

(3/3) สรุปย่อจากหนังสือโสดาบัน (พุทธวจน) 1773
 
  P1771 P1772 P1773
โสดาบัน  
 
(เรียงลำดับหัวข้อตามหนังสือ)
๔๑ ระวังตายคาประตูนิพพาน (สำคัญผิดว่าน้อมไปนิพพานโดยชอบ แต่ยังประมาทในอายตนะ๖)
  ๔๒ ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยเจ้า (มี ๑๐ ประการ ละนิวรณ์ ๕ วางอุเบกขาเมื่อผัสสะกระทบ..)
  ๔๓ ผู้สามารถละอาสวะทั้งหลาย ในส่วนที่ละได้ด้วยการเห็น คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
  ๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ (ตามคำพระสารีบุตร)
  ๔๔-๑ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ ก. หมวดเนื่องด้วยกุศล-อกุศล
  ๔๔-๒ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ ข. หมวดเนื่องด้วยอาหารสี่
  ๔๔-๓ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ อาหาร ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ?
  ๔๔-๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ ค. หมวดเนื่องด้วยอริยสัจสี่
 
  ๔๔ (๑) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๑ เกี่ยวกับชรามรณะ)
  ๔๔ (๒) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๒ เกี่ยวกับชาติ) P192
  ๔๔ (๓) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ -ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ ( ๓ เกี่ยวกับภพ) P193
  ๔๔ (๔) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๔ เกี่ยวกับอุปาทาน) P194
  ๔๔ (๕) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๕ เกี่ยวกับตัณหา) P196
  ๔๔ (๖) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๖ เกี่ยวกับเวทนา) P198
  ๔๔ (๗) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๗ เกี่ยวกับผัสสะ) P199
  ๔๔ (๘) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๘ เกี่ยวกับสฬายตนะ) P201
  ๔๔ (๙) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๙ เกี่ยวกับนามรูป) P202
  ๔๔ (๑๐) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ -ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๑๐ เกี่ยวกับวิญญาณ) P203
  ๔๔ (๑๑) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๑๑ เกี่ยวกับสังขาร) P205
  ๔๔ (๑๒) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๑๒ เกี่ยวกับ อวิชชา) P207
  ๔๔ (๑๓) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๑๓ เกี่ยวกับ อาสวะ) P208
  ๔๕ คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๑)
  ๔๖ คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๒) เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม๔ ประการ
  ๔๘ คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๔) (โสตาปัตติยังคะ ๔ +มรรค ๘)
  ๔๙ อานิสงส์ของธรรม ๔ ประการ
  ๕๐ ผู้ตั้งอยู่ในเสขภูมิ (ภูมิของผู้กำลังเดินมรรค หรือผู้กำลังปฏิบัติ)
  ๕๑ คุณธรรมของผู้ต่ำกว่าโสตาปัตติมรรค เป็นเหตุให้ไม่ไปสู่อบาย
 

 

๔๑ ระวังตายคาประตูนิพพาน
 

ภิกษุบางรูป สำคัญตนว่าน้อมไปแล้ว ในนิพพาน โดยชอบ ...แต่ตามประกอบในธรรมไม่เป็นที่ สบาย แก่การน้อมไป ในนิพพานโดยชอบ ในการ เห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่น ด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้นถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ (ประมาทใน อายตนะ๖) อันล้วนไม่เป็น ที่สบาย... ราคะก็เสียบแทง จิตของเธอ. เธอมีจิตอันราคะ เสียบแทงแล้ว ย่อมถึงความตาย หรือความทุกข์เจียนตายนี้ฉันใด

เปรียบเหมือนบุรุษถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ แต่ไม่ดูแลแผล และไม่ทำตามคำแนะนำของหมอ
แผลก็บวมขึ้น ก็ถึงความตายบ้าง หรือความทุกข์เจียนตายบ้าง  

(ภิกษุในกรณีนี้ มีการศึกษาดี ตั้งความปรารถนาดี แต่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตนเอง และ ธรรมะ คือ เข้าใจไปว่า ลูกศร คือ ตัณหาเป็นสิ่งที่ละได้โดยไม่ต้องถอน อวิชชา เป็นสิ่งที่เหวี่ยงทิ้งไปได้ โดยไม่ต้อง กำจัดตัดราก และเข้าใจตัวเองว่า น้อมไปแล้ว สู่นิพพาน โดยชอบ ดังนี้ แต่แล้วก็มา กระทำผิดในสิ่งที่ ไม่เป็นที่สบาย แก่การน้อมไป ในนิพพานนั้น ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จนราคะเกิดขึ้นเสียบแทง ถึงแก่ความ ตายในอริยวินัย จึงเรียกว่า เขาล้มลงตายตรงหน้าประตู แห่งพระนิพพานนั่นเอง)

๔๑
 
๔๒ ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยเจ้า
  1.เป็นผู้ละองค์ห้าได้ขาด (ละนิวรณ์ ๕ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจ วิจิกิจฉา)
2.เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์หก (ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ ในผัสสะ๖)
3.เป็นผู้มีอารักขาอย่างเดียว (ประกอบการรักษาจิต ด้วยสติ)
4.เป็นผู้มีพนักพิงสี่ด้าน (พิจารณาของสิ่งหนึ่งแล้วเสพ..แล้วอดกลั้น..แล้วเว้นขาด..แล้วบรรเทา)
5.เป็นผู้ถอนความเห็นว่าจริงดิ่งไปคนละทางขึ้นเสียแล้ว (โลกเที่ยง-ไม่เที่ยง โลกมีที่สุด-ไม่มี..)
6.เป็นผู้ละการแสวงหาสิ้นเชิงแล้ว (ละแสวงหากาม ละแสวงหาภพ พรหมจรรย์ของเธอก็ระงับ)
7.เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว (ละดำริในกาม ในพยายาท ในทางเบียดเบียน)
8.เป็นผู้มีกายสังขารอันสงบรำงับแล้ว (ละสุขละทุกข์เสียได้ โสมนัสโทมนัสดับไปบรรลุฌาน ๔)
9.เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นด้วยดี (เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วจาก ราคะ โทสะ โมหะ)
10.เป็นผู้มีปัญญาในความหลุดพ้นด้วยดี (ย่อมรู้ชัดว่า เราละราคะโทสะ โมหะเสียแล้ว)
๔๒
 
๔๓ ผู้สามารถละอาสวะทั้งหลาย ในส่วนที่ละได้ด้วยการเห็น (กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ)
 

ธรรมที่ไม่ควรกระทำไว้ในใจ
กามาสวะ (กาม)
ภวาสวะ (ภพ)
อวิชชาสวะ (อวิชชา)
ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น ธรรมเหล่านี้แล เป็นธรรมที่ไม่ควร กระทำไว้ในใจ

ธรรมที่ควรกระทำไว้ในใจ (อริยสัจสี่)
ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้
ทางดำเนินให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์เป็น อย่างนี้ (พิจารณาอริยสัจสี่)
เมื่ออริยสาวกนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคายอยู่อย่างนี้ สังโยชน์สาม คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมละไป

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่าอาสวะทั้งหลายจะพึงละเสียด้วยการเห็น

๔๓
 
 
๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ (ตามคำพระสารีบุตร) (หน้า 181)
   
๔๔-๑ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ ก. หมวดเนื่องด้วยกุศล-อกุศล (หน้า 181)
 
(รู้ว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล รู้ว่า โลภะ โทสะ โมหะ เป็น อกุศลมูล)

เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอกุศล และอกุศลมูลด้วย รู้ชัดซึ่งกุศล และกุศลมูลด้วย แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขา ดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้ว ด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

อกุศล
(อกุศลกรรมบถ ๑๐)
สิ่งที่เรียกว่า อกุศล นั้นเป็นอย่างไรเล่า?
การทำสัตว์มีชีวิต ให้ตกล่วง เป็นอกุศล, การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้, การประพฤติผิด ในกาม, การกล่าวเท็จเป็นอกุศล วาจาส่อเสียด, วาจาหยาบคาย, การกล่าวคำเพ้อเจ้อ, อภิชฌา, พยาบาท, มิจฉาทิฏฐิ เป็นอกุศล

อกุศลมูล

สิ่งที่เรียกว่า อกุศลมูล นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
โลภะ เป็น อกุศลมูล
โทสะ เป็น อกุศลมูล
โมหะ เป็น อกุศลมูล
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
กุศล (กุศลกรรมบถ๑๐)
สิ่งที่เรียกว่า กุศล นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
เจตนาเว้นจากปาณาติบาต เป็นกุศล, เจตนาเว้นจากอทินนาทาน, เจตนา เว้นจากกาเม, เว้นจาก มุสา, เว้นจากปิสุณาวาท, เว้นจากผรุสวาท, เว้นจากสัมผัปปลาปวาท, อนภิชฌา เป็นกุศล, อัพ๎ยาปาท เป็นกุศล, สัมมาทิฏฐิ เป็นกุศล

กุศลมูล
สิ่งที่เรียกว่า กุศลมูล นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
อโลภะ เป็นกุศลมูล อโทสะ เป็นกุศลมูล อโมหะ เป็นกุศลมูล
๔๔-๑
 
๔๔-๒ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ ข. หมวดเนื่องด้วยอาหารสี่ (หน้า 185)
  ในกาลใดแลอริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอาหารซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่งอาหารซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง อาหารซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่ง อาหาร

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มี สัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของ เขา ดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่ พระสัทธรรมนี้.
๔๔-๒
 
๔๔-๓ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ อาหาร ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ? (หน้า 185)
  สี่อย่าง คือ
กพฬีการาหาร (ที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง) เป็นที่หนึ่ง
ผัสสาหารเป็นที่สอง
มโนสัญเจตนาหารเป็นที่สาม
วิญญาณาหารเป็นที่สี่.

ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอาหารย่อมมีเพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งตัณหา.
ความดับไม่เหลือแห่งอาหารย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งตัณหา.
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ นั่นเองเป็น ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่ง อาหาร ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบการพูดจา ชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอาหารอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุ เป็นแดน เกิดแห่ง อาหาร อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอาหาร อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึง ซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่งอาหาร อย่างนี้

อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนอนุสัยแห่งทิฏฐิ และมานะว่า เรามี เราเป็น ได้โดยประการทั้งปวง ละอวิชชาแล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้นเธอกระทำที่สุด แห่งทุกข์ได้ ในทิฏฐธรรมนี้ นั่นเทียว

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุแม้เพียงเท่านี้แล อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มี สัมมาทิฏฐิ  ทิฏฐิของเขา ดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในธรรม 
มาสู่พระสัทธรรมนี้
๔๔-๓
 
๔๔-๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ ค. หมวดเนื่องด้วยอริยสัจสี่ (หน้า 186)
  อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งทุกข์ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็น ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขา ดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความ เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
๔๔-๔
 
 
๔๔ (๑) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๑ เกี่ยวกับชรามรณะ) (P190)
  ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแล
อริยสาวกมารู้ชัดซึ่ง ชรามรณะ
ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่ง ชรามรณะ
ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชรามรณะ
ซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่ง ชรามรณะ

ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิ ของเขาดำเนินไปตรงเขา ประกอบแล้ว ด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

รู้ชัดซึ่ง ชาติ รู้ชัดซึ่งเหตเป็นแดนเกิดของชาติ...
รู้ชัดซึ่ง ภพ รู้ชัดซึ่งเหตเป็นแดนเกิดของภพ...อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย
รู้ชัดซึ่ง อุปาทาน รู้ชัดซึ่งเหตเป็นแดนเกิดของอุปาทาน...อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย
รู้ชัดซึ่ง ตัณหา รู้ชัดซึ่งเหตเป็นแดนเกิดของตัณหา...อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย
รู้ชัดซึ่ง เวทนา รู้ชัดซึ่งเหตเป็นแดนเกิดของเวทนา...อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย
รู้ชัดซึ่ง ผัสสะ รู้ชัดซึ่งเหตเป็นแดนเกิดของผัสสะ...อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย
รู้ชัดซึ่ง สฬายตนะ รู้ชัดซึ่งเหตเป็นแดนเกิดของสฬายตนะ...อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย
รู้ชัดซึ่ง นามรูป รู้ชัดซึ่งเหตเป็นแดนเกิดของนามรูป...อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย
รู้ชัดซึ่ง วิญญาณ รู้ชัดซึ่งเหตเป็นแดนเกิดของวิญญาณ...อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย
รู้ชัดซึ่ง สังขารทั้งหลาย รู้ชัดซึ่งเหตเป็นแดนเกิดของสังขารทั้งหลาย..อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย
รู้ชัดซึ่ง อวิชชา รู้ชัดซึ่งเหตเป็นแดนเกิดของอวิชชา..อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทา ปฏิฆานุสัย

อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ... ... ไม่หวั่นไหวในธรรม  มาสู่พระสัทธรรมนี้
๔๔ (๑)
 
  ๔๔ (๒) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๒ เกี่ยวกับชาติ) P192
  ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแล
อริยสาวก มารู้ชัดซึ่ง
ชาติ
ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่ง ชาติ
ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ
ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ


ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิ ของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
... ข้อความเช่นเดียวกับ ชรามรณะ
อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
๔๔ (๒)
 
  ๔๔ (๓) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ -ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ ( ๓ เกี่ยวกับภพ) P193
  ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแล
อริยสาวก มารู้ชัดซึ่ง
ภพ
ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่ง ภพ
ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ภพ
ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง
ภพ

ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิ ของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
... ข้อความเช่นเดียวกับ ชรามรณะ
อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมน
๔๔ (๓)
 
  ๔๔ (๔) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๔ เกี่ยวกับอุปาทาน) P194
  ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแล
อริยสาวก มารู้ชัดซึ่ง
อุปาทาน
ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน
ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง อุปาทาน
ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง
อุปาทาน

ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิ ของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
... ข้อความเช่นเดียวกับ ชรามรณะ
อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
๔๔ (๔)
 
  ๔๔ (๕) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๕ เกี่ยวกับตัณหา) P196
  ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแล
อริยสาวก มารู้ชัดซึ่ง
ตัณหา
ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่ง ชาติ
ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ
ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ


ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิ ของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
... ข้อความเช่นเดียวกับ ชรามรณะ
อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
๔๔ (๕)
 
  ๔๔ (๖) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๖ เกี่ยวกับเวทนา) P198
  ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแล
อริยสาวก มารู้ชัดซึ่ง
ตัณหา
ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่ง ชาติ
ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ
ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ


ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิ ของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
... ข้อความเช่นเดียวกับ ชรามรณะ
อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
๔๔ (๖)
 
  ๔๔ (๗) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๗ เกี่ยวกับผัสสะ) P199
  ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแล
อริยสาวก มารู้ชัดซึ่ง
ตัณหา
ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่ง ชาติ
ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ
ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ


ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิ ของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
... ข้อความเช่นเดียวกับ ชรามรณะ
อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
๔๔ (๗)
 
  ๔๔ (๘) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๘ เกี่ยวกับสฬายตนะ) P201
  ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแล
อริยสาวก มารู้ชัดซึ่ง
ตัณหา
ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่ง ชาติ
ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ
ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ


ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิ ของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
... ข้อความเช่นเดียวกับ ชรามรณะ
อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
๔๔ (๘)
 
  ๔๔ (๙) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๙ เกี่ยวกับนามรูป) P202
  ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแล
อริยสาวก มารู้ชัดซึ่ง
ตัณหา
ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่ง ชาติ
ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ
ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ


ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิ ของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
... ข้อความเช่นเดียวกับ ชรามรณะ
อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
๔๔ (๙)
 
  ๔๔ (๑๐) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ -ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๑๐ เกี่ยวกับวิญญาณ) P203
  ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแล
อริยสาวก มารู้ชัดซึ่ง
ตัณหา
ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่ง ชาติ
ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ
ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ


ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิ ของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
... ข้อความเช่นเดียวกับ ชรามรณะ
อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
๔๔ (๑๐)
 
  ๔๔ (๑๑) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๑๑ เกี่ยวกับสังขาร) P205
  ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแล
อริยสาวก มารู้ชัดซึ่ง
ตัณหา
ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่ง ชาติ
ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ
ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ


ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิ ของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
... ข้อความเช่นเดียวกับ ชรามรณะ
อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
๔๔ (๑๑)
 
  ๔๔ (๑๒) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๑๒ เกี่ยวกับ อวิชชา)
  ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแล
อริยสาวก มารู้ชัดซึ่ง
ตัณหา
ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่ง ชาติ
ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ
ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ


ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิ ของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
... ข้อความเช่นเดียวกับ ชรามรณะ
อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
๔๔ (๑๒)
 
๔๔ (๑๓) สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๑๓ เกี่ยวกับ อาสวะ)
  (รู้ชัดอาสวะ ตามแนวอริยสัจสี่)
ในกาลใดแลอริยสาวก รู้ชัดซึ่งอาสวะ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่ง อาสวะ ซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งอาสวะซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งอาสวะ

อาสวะ ๓ อย่างนี้ มีอยู่ คือ  กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอาสวะ
ย่อมมีเพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอวิชชา
ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด ..เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ 
๔๔ (๑๓)
 
๔๕ คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๑)
  โสตาปัตติยังคะ คือ
(๑) การคบสัตบุรุษ
(๒) การฟังพระสัทธรรม
(๓) การทำไว้ในใจโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ)
(๔) การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
๔๕
 
  ๔๖ คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๒) เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม๔ ประการ
 

ผู้ประกอบด้วยธรรม๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
(๑) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า
(๒) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระธรรม
(๓) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระสงฆ์
(๔) มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการ สละควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน (ปุถุชนก็เป็นโสดาบันได้)

๔๖
 
  ๔๗ คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๓) ธรรม ๗ ประการ
 

(๑) อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ตนเองย่อมงดเว้น จากปาณาติบาตด้วย
ชักชวนผู้อื่น เพื่องดเว้นจาก ปาณาติบาต ด้วย
กล่าวสรรเสริญ คุณแห่งการงดเว้นปาณาติบาต
(๒) พิจารณา..ตนเองย่อมงดเว้น จากอทินนาทาน ด้วยชักชวน...กล่าวสรรเสริญ
(๓) พิจารณา..ตนเองย่อมงดเว้นจาก กาเมสุมิจฉาจาร ด้วยชักชวน ...กล่าวสรรเสริญ
(๔) พิจารณา.. ตนเองย่อมงดเว้น จาก มุสาวาท ด้วยชักชวนผู้อื่น...กล่าวสรรเสริญ
(๕) พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ตนเองย่อมงดเว้นจาก ปิสุณาวาจา ด้วยชักชวน...กล่าวสรรเสริญ
(๖) พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ตนเองย่อมงด เว้นจาก ผรุสวาจา ด้วย ชักชวน...กล่าวสรรเสริญ
(๗) ดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ด้วยชักชวนผู้อื่นเพื่อ ให้งดเว้นจาก สัมผัปปลาปะ (เพ้อเจ้อ) ด้วย กล่าว สรรเสริญคุณแห่ง การงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ

อริยสาวกนั้นประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า...ในพระธรรม.. ในพระสงฆ์ .. ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้ารักใคร่แล้ว... เป็นไปเพื่อสมาธิ.

เมื่อใดอริยสาวกประกอบด้วย สัทธธรรม ๗ ประการนี้ ...พึงพยากรณ์ตน ด้วยตนเอง ได้ว่า เรามีนรก กำเนิดดิรัจฉาน วิสัยแห่งเปรต อบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว  เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า

๔๗
 
  ๔๘ คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๔) (โสตาปัตติยังคะ ๔ +มรรค ๘)
 

ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ..พระสารีบุตรอาศัย ความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ ของท่านอนาถบิณฑิก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! กระผมอดทนไม่ได้ ยังอัตตภาพ
ให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผม กำเริบ หนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ


คฤหบดี ! ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานใด เมื่อแตกกาย ตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เห็นปานนั้น ย่อมไม่มี แก่ท่าน  ส่วนท่าน
1.มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า
... เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน
2.มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน
3.มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์
... เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน
4.มีศีลที่พระ อริยเจ้าใคร่แล้วไม่ขาด... เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

1.มีสัมมาทิฏฐิ ก็เมื่อท่าน เห็นสัมมาทิฏฐินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน
2.มีสัมมาสังกัปปะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสังกัปปะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึง สงบระงับ โดยพลัน
3.มีสัมมาวาจา ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวาจานั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน
4.มีสัมมากัมมันตะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมากัมมันตะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน
5.มีสัมมาอาชีวะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาอาชีวะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน
6.มีสัมมาวายามะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวายามะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน
7.มีสัมมาสติ ก็เมื่อท่าน เห็นสัมมาสตินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน
8.มีสัมมาสมาธิ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสมาธินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน
9.มีสัมมาญาณะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาญาณะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน
10.มีสัมมาวิมุตติ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวิมุตตินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

๔๘
 
๔๙ อานิสงส์ของธรรม ๔ ประการ
 
๔ ประการ คือ
1.การคบสัตบุรุษ ๑
2.การฟังพระสัทธรรม ๑
3.การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑
4.การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑.

ธรรม ๔ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
-ย่อมเป็นไป เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล
-ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา เป็นเครื่องชำแรกกิเลส

ธรรม ๔ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง สกทาคามิผล
ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล
ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล

ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา
เพื่อความเจริญแห่งปัญญา
เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา
เป็นผู้มีปัญญาใหญ่
เป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา
เป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์
เป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง
เป็นผู้มีปัญญาประมาณมิได้
เป็นผู้มีปัญญ เพียงดังแผ่นดิน
เป็นผู้มีปัญญามาก
เป็นผู้มีปัญญาเร็ว
เป็นผู้มีปัญญาเบา
เป็นผู้มีปัญญาร่าเริง
เป็นผู้มีปัญญาไว
เป็นผู้มีปัญญาคม
๔๙
 
๕๐ ผู้ตั้งอยู่ในเสขภูมิ (ภูมิของผู้กำลังเดินมรรค หรือผู้กำลังปฏิบัติ)
  ภิกษุผู้เป็นเสขะ(ยังศึกษา) ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา.. ปริยายแม้นี้แลที่ภิกษุผู้เป็นเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่าเรา เป็นพระเสขะ

อีกประการหนึ่งภิกษุผู้เป็นเสขะย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ภายนอกจากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดง ธรรมที่จริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาค ไม่มี

เสขะ (ผู้กำลังปฏิบัติ) ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ
สัทธินทรีย์ ๑
วิริยินทรีย์ ๑
สตินทรีย์ ๑
สมาธินทรีย์ ๑
ปัญญินทรีย์ ๑

นี่คือคุณสมบัติของ เสขะบุคคล ที่ได้ความเป็นโสดาบัน คือ
- รู้ชัด อริยสัจสี่
- รู้ว่าไม่มีสมณะพราหมณ์เหล่าอื่นจะรู้ธรรมเทียบเท่าพระพุทธเจ้าได้
- รู้ชัดอินทรีย์ ๕
๕๐
 
๕๑ คุณธรรมของผู้ต่ำกว่าโสตาปัตติมรรค เป็นเหตุให้ไม่ไปสู่อบาย
  ลักษณะของผู้ไม่ไปสู่อบาย (นัยที่ ๑)
มหาราช ! ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ...ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลมและไม่ประกอบด้วยวิมุตติ แต่ว่า เขามีธรรมเหล่านี้ คือสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ และ ธรรม ทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้วย่อมทนต่อการเพ่งด้วยปัญญาของเขา(ยิ่ง)กว่า ประมาณบุคคล แม้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดเดรัจฉาน วิสัย แห่ง เปรตอบาย ทุคติ วินิบาต.

ลักษณะของผู้ไม่ไปสู่อบาย (นัยที่)
มหาราช ! ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ...ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลมและไม่ประกอบด้วยวิมุตติ แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ และเขามี ศรัทธามีความรักในพระตถาคตพอประมาณ บุคคลแม้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิด เดรัจฉาน วิสัยแห่ง เปรตอบาย ทุคติ วินิบาต.
๕๑
 
๕๒ ธรรม ๗ ประการของผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
  ธรรม ๖ ประการนี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความ สงเคราะห์กัน

1. ภิกษุมี กายกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ

2. ภิกษุมี วจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วม ประพฤติพรหมจรรย์ ทั้ง ในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ

3. ภิกษุมี มโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วม ประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ

4. ภิกษุมี ลาภใดๆ เกิดโดยธรรม ได้แล้วโดยธรรม ที่สุดแม้ เพียงอาหารติดบาตร ก็บริโภค โดยไม่เกียดกันไว้เพื่อตน ย่อมเป็นผู้บริโภคเฉลี่ย ทั่วไปกับเพื่อน ร่วมประพฤติพรหมจรรย์

5. ภิกษุเป็น ผู้มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกทิฏฐิ ครอบงำ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ และถึงความเป็นผู้มีศีลเสมอกันในศีล

6. ภิกษุเป็น ผู้มีทิฏฐิอันเป็นอริยะ อันเป็นเครื่องนำออก (นิยฺยานิก) นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม และถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิเสมอกัน ในทิฏฐิเช่นนั้นกับเพื่อนร่วมประพฤติ พรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ

ก็ทิฏฐิอันเป็นอริยะ อันเป็นเครื่องนำออก นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่ผู้ กระทำตาม เป็นอย่างไร ?
๕๒
   
   
 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์