 |
|
 |
๑ แว่นส่องความเป็นพระโสดาบัน |
|
ธรรมปริยายอันชื่อว่าแว่นธรรม ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใด ได้ประกอบพร้อมแล้ว เมื่อจำนงจะ พยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้ในข้อที่ตนเป็น ผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัย สิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว ในข้อที่ตนเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า ดังนี้
ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยธรรม ๔ ประการ
1) เลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้า (เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดย...)
2) เลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวใน พระธรรม (พระธรรมที่ตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้..)
3) เลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวใน พระสงฆ์ (ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง รู้ธรรมเครื่องออกจากทุกข์..)
4) เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วย ศีลทั้งหลายชนิด เป็นที่พอใจ ของเหล่าอริยเจ้าคือ เป็นศีล ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไท จากตัณหา เป็นศีล ที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญ เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีล ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ
อานนท์ ! ธรรมปริยายอันนี้แล ที่ชื่อว่า แว่นธรรม ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใด ได้ประกอบพร้อมแล้ว เมื่อจำนง จะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้ ดังนี้แล
 |
๑ |
 |
|
|
|
 |
๒ พระโสดาบันเป็นใคร (นัยที่หนึ่ง) |
|
เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วย ธรรม ๔ ประการ นี้เองจึงเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า
1) เลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้า
2) เลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวใน พระธรรม
3) เลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวใน พระสงฆ์
4) เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลที่พอใจ ของเหล่าอริยเจ้า เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
 |
๒ |
 |
|
|
|
 |
๓ พระโสดาบันเป็นใคร (นัยที่สอง) |
|
เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วย ธรรม ๔ ประการ นี้เองจึงเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า
มหานาม ! เปรียบเหมือนต้นไม้น้อมไปในทิศปราจีน โน้มไปสู่ทิศปราจีน เอนไปทางทิศปราจีน ต้นไม้นั้น เมื่อเขาตัดที่ โคนแล้ว มันจะล้มไปทางไหน
“มันจะล้มไปทางทิศที่มันน้อมไปโน้มไปเอนไปพระเจ้าข้า”
มหานาม ! ฉันใดก็ฉันนั้น อริยสาวกประกอบแล้วด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้มีปกติ น้อมไปในนิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน เอนไปทางนิพพานโดยแท้แล
 |
๓ |
 |
|
|
|
 |
๔ พระโสดาบันประกอบพร้อมแล้วด้วยอริยมรรคมีองค์แปด |
|
สารีบุตร ! ถูกแล้ว ถูกแล้ว ผู้ที่ประกอบพร้อมแล้วด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ ถึงเราเองก็เรียก ผู้เช่นนั้น ว่าเป็น พระโสดาบัน ผู้มีชื่ออย่างนี้ๆ มีโคตรอย่างนี้ๆ
มรรค ๘ คือ
ปัญญา (ปัญญาขันธ์)
1. สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ ปัญญาชอบ.. รู้อริยสัจสี่)
2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ คิดชอบ..ความคิดออกจากาม พยาบาท เบียดเบียน)
ศีล (ศีลขันธ์)
3. สัมมาวาจา (วาจาชอบ..พูดเท็จ ส่อเสียด หยาบคาย เพ้อเจ้อ)
4. สัมมากัมมันตะ (ประพฤติชอบ..ไม่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ..ไม่ประกอบอาชีพที่ขัดกับศีล5)
สมาธิ (สมาธิขันธ์)
6. สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ..ยับยั้งบาปอกุศลไม่ให้เกิดขึ้น )
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ...รู้สติปัฏฐาน4)
8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตชอบ จิตตั้งมั่น..เข้าฌาน 1 - ฌาน4)
 |
๔ |
 |
|
|
|
 |
๕ หลักเกณฑ์พยากรณ์ภาวะโสดาบันของตนเอง (ผู้เข้าถึงกระแสแห่งนิพพาน) |
|
1. รักษาศีล ๕ ประกอบพร้อมแล้วด้วย โสตาปัตติยังคะสี่ ด้วย อริยญายธรรม (รู้อิทัป-ปฏิจ)
2. เลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
3. เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย ศีลทั้งหลายในลักษณะเป็นที่พอใจของพระอริยเจ้า
4. ย่อมทำไว้ในใจโดยแยบคาย และแทงตลอด ซึ่งกฎอิทัปปัจยตา และปฏิจจสมุปบาท
ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่ก็พยากรณ์ตนด้วยตน นั่นแหละว่า
- เราเป็น ผู้มีนรก สิ้นแล้ว
- มีกำเนิด เดรัจฉานสิ้นแล้ว
- มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว
- มีอบายทุคติวินิบาตสิ้นแล้ว
- เราเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส (แห่งนิพพาน)
- มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
- เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน
- มีการตรัสรู้พร้อม เป็นเบื้องหน้า
ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นปรารถนาอยู่ ก็พยากรณ์ตนด้วยตนนั้นแหละว่า “เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิด เดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายทุคติวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่ง กระแส (แห่งนิพพาน) มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพานมีการตรัสรู้ พร้อม เป็นเบื้องหน้า”
 |
๕ |
 |
|
|
|
 |
๖ พระโสดาบัน รู้จักปัญจุปาทานขันธ์ |
|
รู้จัก ความตั้งอยู่ไม่ได้ ของอุปาทานขันธ์ห้า
รู้จัก รสอร่อย ของอุปาทานขันธ์ห้า
รู้จัก โทษอันร้ายกาจ ของอุปาทานขันธ์ห้า
รู้จัก อุบายที่ไปให้พ้น อุปาทานขันธ์ห้า นี้เสียตามที่ถูกที่จริง
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้นแหละ อริยสาวกนั้นเราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน จักตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า
 |
๖ |
 |
|
|
|
 |
๗ พระโสดาบัน รู้จักอินทรีย์ ๖ |
|
รู้จักอินทรีย์ ๖ จักขุนทรีย์.. โสตินทรีย์
ฆานินทรีย์.. ชิวหินทรีย์
กายินทรีย์.. มนินทรีย์
รู้จัก ความก่อขึ้น แห่งอินทรีย์ทั้งหกเหล่านี้
รู้จัก ความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งอินทรีย์ทั้งหกเหล่านี้
รู้จัก รสอร่อย ของอินทรีย์ทั้งหกเหล่านี้
รู้จัก โทษอันร้ายกาจ ของอินทรียทั้งหกเหล่านี้
รู้จัก อุบายที่ไปให้พ้นอินทรีย์ทั้งหก เหล่านี้ ตามที่ถูก ที่จริง
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้นแหละ อริยสาวกนั้นเราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน จักตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า
(อินทรีย์ แปลว่า อำนาจหรือความเป็นใหญ่ เมื่อรวมกับคำว่า ตา (จักขุนทรีย์) ก็จะหมายถึง ความเป็นใหญ่ ในเรื่องการมองเห็น หรือ ก็คือความเป็นใหญ่ในหน้าที่นั้นๆ (เช่นการได้ยิน การได้กลิ่น ...)
 |
๗ |
 |
|
|
|
 |
๘ โสดาปัตติมรรค ๒ จำพวก |
|
สัทธานุสารี
ภิกษุทั้งหลาย ! ตา ห จมูก ลิ้น กายใจ (ธรรม ๖ อย่าง) เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวน เป็นปกติ มีความเปลี่ยน เป็นอย่างอื่นเป็นปกติ
บุคคลใด มีความเชื่อน้อมจิตไปในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็น
สัทธานุสารี
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง)
หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)
ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้ว จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือ เปรตวิสัย และไม่ควรที่จะทำกาละ ก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
ธัมมานุสารี
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อการเพ่ง โดยประมาณอันยิ่งแห่งปัญญา ของบุคคลใด ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารี
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง)
หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)
ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือ เปรตวิสัย และไม่ควรที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
 |
๘ |
 |
|
|
|
 |
๙ โสดาปัตติผล |
|
บุคคลใดย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ด้วยอาการอย่างนี้
- ทรงแสดงอารมณ์แห่งอนิจจังเป็นต้น ด้วยธรรม ๖ อย่าง คือ อายตนะภายในหก
- ทรงแสดง อารมณ์นั้น ด้วยอายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
- ทรงแสดงด้วยวิญญาณ ๖ ก็มี
-
ด้วยสัมผัส ๖ ก็มี
-
ด้วยเวทนา ๖ ก็มี
-
ด้วยสัญญา ๖ ก็มี
- ทรงแสดงด้วยสัญเจตนา ๖ ก็มี
- ด้วยตัณหา ๖ ก็มี
-
ด้วยธาตุ ๖ ก็มี
- ด้วยขันธ์ ๕ ก็มี
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลใดย่อมรู้ ย่อมเห็นซึ่งธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลนี้ เราเรียกว่า โสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้ พร้อมเป็นเบื้องหน้า
 |
๙ |
 |
|
|
|
 |
๑๐ โสดาบันเป็นผู้บริบูรณ์ในศีล (ปาฏิโมกข์) พอประมาณในสมาธิและปัญญา |
|
สิกขาบท ๑๕๐ สิกขาบทนี้ย่อมมาสู่อุทเทส (การยกขึ้นแสดงในท่ามกลางสงฆ์) ทุกกึ่งเดือน
สิกขาสามอย่างนั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
อธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา
- เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำพอประมาณในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา
-
เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง (ทำผิดศีลเล็กน้อยบ้าง)
- เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคงที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ (มั่นคงในศีลแห่งพรหมจรรย์)
เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นโสดาบัน เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้ เที่ยงต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า
 |
๑๐ |
 |
|
|
|
 |
๑๑ พระโสดาบันละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ มี ๓ จำพวก |
|
1. เป็นผู้ สัตตักขัตตุปรมะ ยังต้องไปเกิดในภพเทวดา และมนุษย์อีก ๗ ครั้งเป็น อย่างมาก แล้วจะกระทำที่สุด แห่งทุกข์ได้ (หลุดพ้น)
2. เป็นผู้ โกลังโกละ จะต้องไปเกิดในภพมนุษย์ อีก ๒ หรือ ๓ ครั้ง
แล้วย่อมกระทำ ที่สุดแห่ง ทุกข์ได้
3. เป็นผู้เป็น เอกพีชี คือ จักเกิดในภพมนุษย์อีกหนเดียวเท่านั้น
แล้วย่อมกระทำที่สุด แห่งทุกข์ได้
 |
๑๑ |
 |
|
|
|
 |
๑๒ ละสังโยชน์ ๓ และกรรม ๓ ที่พาไปอบาย คือ โสดาบัน |
|
ภิกษุละธรรม ๖ อย่างแล้ว เป็นผู้ควรกระทำให้แจ้ง ซึ่งทิฏฐิสัมปทา (เป็นโสดาบัน)
1.ละ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าขันธ์ 5 เป็นตัวตน)
2.ละ วิจิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์)
3.ละ สีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรตผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง)
กรรมที่จะพาไปอบาย (ราคะ โทสะ โมหะ)
1.ละ อปายคมนิยราคะ (ราคะ ที่ควรแก่การถึง ซึ่ง อบาย)
2.ละ อปายคมนิยโทสะ (โทสะ ที่ควรแก่การถึงซึ่ง อบาย)
3.ละ อปายคมนิยโมหะ (โมหะ ที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย)
(คุณสมบัติของโสดาบันในกรณีนี้ สิ้นสังโยชน์ได้ 3 ข้อ และละราคะโทสะโมหะซึ่งก็คือสังโยชน์ ตัวที่ 4 คือกามฉันทะ(ราคะ) และสังโยชน์ตัวที่ 5 คือพยาบาท (ความคิดร้าย หรือโทสะโมหะ)
ขณะเดียวกัน นี้ก็เป็นคุณสมบัติของสกทาคามี
คือสิ้นสังโยชน์ 3 +ราคะโทสะโมหะ เบาบาง) ขณะเดียวกันผู้ที่สิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำได้ 5 ข้อ (โดยสมบูรณ์) ก็ยังเป็นคุณสมบัติของอนาคามี ด้วยเช่นกัน
 |
๑๒ |
 |
|
|
|
 |
๑๓ พระโสดาบันมีญาณหยั่งรู้เหตุให้เกิดขึ้น และเหตุให้ดับไป ของโลก |
|
(รู้ปฏิจสายเกิด)
1. อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมไม่มีความสงสัยอย่างนี้ ว่า
(ตั้งคำถาม)
เพราะอะไรมี อะไรจึงมีหนอ
เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น
เพราะอะไรมี นามรูปจึงมี /
เพราะอะไรมี สฬายตนะ จึงมี
เพราะอะไรมี ผัสสะจึงมี /
เพราะอะไรมี เวทนาจึงมี
เพราะอะไรมี ตัณหาจึงมี / เพราะอะไรมี อุปาทานจึงมี
เพราะอะไรมี ภพจึงมี /
เพราะอะไรมี ชาติจึงมี
เพราะอะไรมี ชรามรณะจึงมี ดังนี้
2. อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า
(กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย เพื่อหาคำตอบ)
เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เพราะวิญญาณมี นามรูปจึงมี /
เพราะนามรูปมี สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี /
เพราะผัสสะมี เวทนาจึงมี
เพราะเวทนามี ตัณหาจึงมี /
เพราะตัณหามี อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานมี ภพจึงมี/
เพราะภพมี ชาติจึงมี
เพราะชาติมี ชรามรณะจึงมี ดังนี้
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า “โลกนี้ย่อมเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
(รู้ปฏิจสายดับ)
3. ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมไม่มีความสงสัยอย่างนี้ ว่า
(ตั้งคำถาม)
เพราะอะไรไม่มี อะไรจึงไม่มีหนอ
เพราะอะไรดับ อะไรจึงดับ
เพราะอะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี /เพราะอะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี
เพราะอะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่มี /เพราะอะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี
เพราะอะไรไม่มี ตัณหาจึงไม่มี /เพราะอะไรไม่มี อุปาทานจึงไม่มี
เพราะอะไรไม่มี ภพจึงไม่มี /เพราะอะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี
เพราะอะไรไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี ดังนี้
4. อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ใน เรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ว่า
(กระทำในใจโดยแยบคาย เพื่อหาคำตอบ)
เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
เพราะวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี /
เพราะนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี
เพราะสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี / เพราะผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี
เพราะเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี /
เพราะตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี
เพราะอุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี /
เพราะภพไม่มี ชาติจึงไม่มี
เพราะชาติไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี ดังนี้
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ ว่า“โลกนี้ย่อมดับด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกย่อมมารู้ประจักษ์ ถึงเหตุเกิดและความดับแห่งโลก ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ในกาลใดในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ว่า
1. ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิ ดังนี้บ้าง
2. ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ ดังนี้บ้าง
3. ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง
4.
ผู้ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ ดังนี้บ้าง
5. ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง
6. ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง
7. ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว ดังนี้บ้าง
8. ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลส ดังนี้บ้าง
9. ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะ ดังนี้บ้าง
 |
๑๓ |
 |
|
|
|
 |
๑๔ โสดาบันเห็นชัดรายปฏิจจสมุปบาทตลอดทั้งสาย โดยนัยแห่งอริยสัจสี่-นัยยะ1 |
|
ภิกษุทั้งหลาย !
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย /
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย /
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป /
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ /
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา /
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ /
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ความแก่ ความคร่ำคร่ำ ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไป แห่งอายุ นี้เรียกว่าชรา (ทุกข์)
การจุติ ความเคลื่อนการแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละ การแตกแห่ง ขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้ง ร่าง การขาดแห่งอินทรีย์ คือชีวิตจากสัตว์ นิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ (ทุกข์) ชรานี้ด้วย มรณะนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ ดังนี้ นี้เรียกว่าชรามรณะ
ความก่อขึ้นพร้อมแห่ง ชรามรณะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ (สมุทัย)
ความดับไม่เหลือแห่ง ชรามรณะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งชาติ (นิโรธ)
มรรค อันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ นั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึง ซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่ง ชรามรณะ (มรรค)
ชาติ เป็นอย่างไรเล่า ?
การเกิด การกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏ ของขันธ์ ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้นๆ ของสัตว์ ทั้งหลาย เหล่านั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ
ความก่อขึ้น พร้อมแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ
ความดับ ไม่เหลือแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งภพ
มรรค อันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งชาติ
ภพ อุปาทาน ตัณหา เวทนา ผัสสะ สฬายตนะ นามรูป วิญญาณ สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไรเล่า (ก็แจกแจงโดยละเอียด เช่นเดียวกัน)
ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้น ว่า (คือเห็นปฏิจจตลอดทั้งสาย สามารถแจกแจงในรายละเอียดได้ )
1. ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิ ดังนี้บ้าง
2. ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ ดังนี้บ้าง
3. ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง
4.
ผู้ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ ดังนี้บ้าง
5. ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง
6. ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง
7. ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว ดังนี้บ้าง
8. ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลส ดังนี้บ้าง
9. ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะ ดังนี้บ้าง
 |
๑๔ |
 |
|
|
|
 |
๑๕ โสดาบันเห็นชัดรายปฏิจจสมุปบาทตลอดทั้งสาย โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ นัยยะ2 |
|
(รู้หลักการทั้ง ๑๑ อาการ เช่นชรามรณะคืออะไร (รู้ทุกข์) /เหตุเกิดคืออะไร(สมุทัย) /เหตุดับ คืออะไร (นิโรธ) /รู้ข้อปฏิบัติ (มรรค)
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ
รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ
รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ
รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ
(รู้ในรายละเอียดของวงจรปฏิจจทุกขั้นตอน)
ชรามรณะ เป็นอย่างไร
ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไปๆ แห่งอายุ ความแก่รอบ แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลาย เหล่านั้นๆ นี้เรียกว่าชรา (รู้นัยยะของชรารู้ทุกข์)การจุติการเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การตาย การทำกาละ การแตกแห่งขันธ์ จากสัตวนิกาย นั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ (รู้นัยยะของมรณะ รู้ทุกข์) ชรานี้ด้วย มรณะนี้ด้วยย่อมมีอยู่ นี้เรียกว่าชรามรณะ
ความก่อขึ้นพร้อม แห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ (รู้เหตุเกิด)
ความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ ย่อมมีเพราะ ความ ดับไม่เหลือแห่งชาติ (รู้เหตุดับ)
มรรค อันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่ง ชรามรณะ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบความดำริชอบ การพูดจา ชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ (รู้ปฏิปทา)
 |
๑๕ |
 |
|
|
|
 |
๑๖ ผู้รู้ปฏิจจแต่ละสายโดย อริยสัจสี่ ทั้งปัจจุบัน อดีต อนาคต (ญาณวัตถุ ๔๔) |
|
ญาณวัตถุ ๔๔ อย่าง คือ
1.
ญาณ คือ ความรู้ ใน ชรามรณะ (ทุกข์)
ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้น แห่งชรามรณะ (สมุทัย)
ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ (นิโรธ)
ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ (มรรค)
2. ญาณ คือ ความรู้ ใน ชาติ / ในเหตุเกิด / ในความดับ / ในข้อปฏิบัติ
๓. ญาณ คือ ความรู้ ใน ภพ / ในเหตุเกิด / ในความดับ / ในข้อปฏิบัติ
4. ญาณ คือ ความรู้ ใน อุปาทาน / ในเหตุเกิด / ในความดับ / ในข้อปฏิบัติ
5. ญาณ คือ ความรู้ ใน ตัณหา / ในเหตุเกิด / ในความดับ / ในข้อปฏิบัติ
6. ญาณ คือ ความรู้ ใน เวทนา / ในเหตุเกิด / ในความดับ / ในข้อปฏิบัติ
7. ญาณ คือ ความรู้ ใน ผัสสะ / ในเหตุเกิด / ในความดับ / ในข้อปฏิบัติ
8. ญาณ คือ ความรู้ ใน สฬายตนะ / ในเหตุเกิด / ในความดับ / ในข้อปฏิบัติ
9. ญาณ คือ ความรู้ ใน นามรูป / ในเหตุเกิด / ในความดับ / ในข้อปฏิบัติ
10. ญาณ คือ ความรู้ ใน วิญญาณ / ในเหตุเกิด / ในความดับ / ในข้อปฏิบัติ
11. ญาณ คือ ความรู้ ใน สังขารทั้งหลาย / ในเหตุเกิด / ในความดับ / ในข้อปฏิบัติ
ในกาลนั้น ความรู้นี้ของ มีชื่อว่า ญาณในธรรม (ธัมมญาณ หรือญาณในปัจจุบัน)
ในกาลแห่งอดีต ในกาลแห่งอนาคต ความรู้นี้มีชื่อว่า ญาณในการรู้ตาม (อันวยญาณ หรือญาณในอดีต และอนาคต)
ญาณทั้งสอง คือ ธัมมญาณ และ อัน๎วยญาณ เหล่านี้ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ในกาลใด
1. ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิ ดังนี้บ้าง
2. ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ ดังนี้บ้าง
3. ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง
4.
ผู้ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ ดังนี้บ้าง
5. ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง
6. ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง
7. ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว ดังนี้บ้าง
8. ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลส ดังนี้บ้าง
9. ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะ ดังนี้บ้าง
 |
๑๖ |
 |
|
|
|
 |
๑๗ ผู้รู้ปฏิจจแต่ละสายถึงเหตุเกิดเหตุดับทั้งปัจจุบันอดีตอนาคต (ญาณวัตถุ ๗๗) |
|
ญาณวัตถุ ๗๗ อย่างนั้น คือ
(หมวด 1)
1. ญาณ คือความรู้ว่า เพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ
2. ญาณ คือความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะ ย่อมไม่มี
3. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ
4. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อชาติไม่มี ชรามรณะย่อมไม่มี
5. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมี ชรามรณะ
6. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อชาติไม่มี ชรามรณะ ย่อมไม่มี
7. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไป จางไปดับไป เป็นธรรมดา
2. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ (เมื่อภพไม่มีชาติย่อมไม่มี แม้กาล ในอดีต-ในอนาคตก็เช่นกัน และย่อมดับ.)
3. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ (เมื่ออุปทาทานไม่มีภพ ย่อม ไม่มี แม้กาลในอดีต-ในอนาคตก็เช่นกัน.. )
4. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน (เมื่อตัณหาไม่มีอุปาทาน ย่อม ไม่มี แม้กาลในอดีต-ในอนาคต..)
5. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา (เมื่อเวทนาม่มีตัณหา ย่อม ไม่มี แม้กาลในอดีต ในอนาคตก็เช่นกัน.)
6. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา(เมื่อผัสสะม่มีเวทนาย่อมไม่มี แม้กาล ในอดีตในอนาคตก็เช่นกัน..)
7.ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ(เมื่อสฬายตนะไม่มีผัสสะย่อมไม่มี แม้กาลในอดีต-ในอนาคต...)
8. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมี สฬายตนะ (เมื่อนามรูปไม่มี ฬายตนะย่อม ไม่มี แม้กาลในอดีต-อนาคต ..)
9. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป (เมื่อวิญญาณไม่มีนามรูปย่อม ไม่มี แม้กาลในอดีต-ในอนาคต ..)
10. ญาณ คือความรู้ว่า เพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ (เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณ ย่อม ไม่มี แม้กาลในอดีตอนาคตก็เช่นกัน...)
11. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย (เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารย่อมไม่มี แม้กาลในอดีต...)
 |
๑๗ |
 |
|
|
|
 |
๑๘ ผู้มีธัมมญาณ และ อัน๎วยญาณ (คือพระโสดาบัน) |
|
ผู้รู้ปฏิจจแต่ละสายโดย อริยสัจสี่ ทั้งปัจจุบัน อดีต อนาคต (รู้ญาณวัตถุ ๔๔) คือพระโสดาบัน ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้น ว่า
1. ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิ ดังนี้บ้าง
2. ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ ดังนี้บ้าง
3. ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง
4.
ผู้ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ ดังนี้บ้าง
5. ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง
6. ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง
7. ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว ดังนี้บ้าง
8. ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลส ดังนี้บ้าง
9. ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะ ดังนี้บ้าง
ธัมมญาณ หรือญาณในธรรม ญาณในปัจจุบัน(ความรู้ในปัจจุบัน)
อันวยญาณ หรือญาณในการรู้ตาม ญาณในกาลแห่งอดีต ในกาลแห่งอนาคต
 |
๑๘ |
 |
|
|
|
 |
๑๙ ผู้สิ้นความสงสัย (พระโสดาบัน) ในกรณีของการยึดถือตัวตน |
|
รู้ว่า....รูปไม่เที่ยง
รู้ว่า... สิ่งไม่เที่ยง สิ่งที่แปรปรวนนั้นเป็นทุกข์ (ไม่ได้เป็นสุข)
รู้ว่า ...สิ่งไม่เที่ยง สิ่งที่แปรปรวนนั้นเป็นทุกข์ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
ทิฏฐิ อย่างนี้จะเกิดขึ้นได้ไหม ว่า ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์ และ พระอาทิตย์ ก็ไม่ขึ้น ไม่ตก แต่ละอย่างๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสา ระเนียด .. ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า
ในกาลใดแล ความสงสัย (กังขา)ในฐานะทั้งหลาย ๖ ประการ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ อริยสาวก ละ ขาดแล้ว ในกาลนั้น ก็เป็นอันว่าความสงสัยแม้ใน ทุกข์ แม้ในเหตุให้เกิดทุกข์ แม้ในความ ดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ แม้ในข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ก็เป็นสิ่งที่ อริยสาวก ละขาด แล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นอริยสาวกผู้เป็นโสดาบันมีอันไม่ ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า ดังนี้ แล
(ทิฐิที่ว่าสรรพสิ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตั้งอยู่มั่นคงนั้น เป็นความเห็นผิด
สรรพสิ่งย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แม้แต่ตัวเรา
ที่ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นกัน)
 |
๑๙ |
 |
|
|
|
 |
๒๐ ผู้สิ้นความสงสัย (พระโสดาบัน) กรณีความเห็นที่เป็นไปในลักษณะขาดสูญ |
|
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไป สู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า “ไม่มีทานอันบุคคลบริจาคแล้ว ไม่มียัญญะ (การบวงสรวง บูชา) อันบุคคล ประกอบแล้ว ไม่มีโหตระ อันบุคคลบูชาแล้ว ไม่มี ผลวิบาก แห่งกรรม อันบุคคล กระทำดีแล้ว กระทำชั่วแล้ว ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกอื่น ไม่มีมารดา ไม่มีบิดา ไม่มีสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นโอปปาติกะ ไม่มีสมณะ และพราหมณ์ ผู้ไปแล้วถูกต้อง ผู้ปฏิบัติแล้วถูกต้อง ผู้ทำให้แจ้ง ซึ่งโลกนี้ และโลกอื่น ด้วยปัญญาอัน ยิ่งเอง แล้วประกาศอยู่ในโลก
..........................
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อ รูปนั่นแล มีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่ง รูป เพราะปักใจ เข้าไปสู่รูป ทิฏฐิ
จึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า “ไม่มีทานอันบุคคลบริจาคแล้ว ไม่มียัญญะ (การบวงสรวง บูชา) อันบุคคล ประกอบแล้ว ไม่มี โหตระ อันบุคคล บูชาแล้ว ไม่มีผล วิบาก แห่งกรรม อันบุคคลกระทำดีแล้ว กระทำชั่วแล้ว ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกอื่น ไม่มีมารดา ไม่มีบิดาไม่มีสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นโอปปาติกะ ไม่มีสมณะ และพราหมณ์ ผู้ไป แล้วถูกต้อง ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง แล้ว ประกาศอยู่ในโลก
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใดแลความสงสัย(กังขา) ในฐานะทั้งหลาย๖ประการเหล่านี้เป็นสิ่ง ที่อริยสาวก ละขาดแล้วในกาลนั้น ก็เป็นอันว่าความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ทุกข์ แม้ในความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ แม้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ ก็เป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นละขาดแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็นอริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้าดังนี้ แล
 |
๒๐ |
 |
|
|
|
|
|