เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

(2/3) สรุปย่อจากหนังสือโสดาบัน (พุทธวจน) 1772
 
  P1771 P1772 P1773
โสดาบัน  
 
(เรียงลำดับหัวข้อตามหนังสือ)
๒๑ ผลแห่งความเป็นโสดาบัน
  ๒๒ ความเป็นโสดาบันประเสริฐกว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
  ๒๓ ความเป็นโสดาบัน ไม่อาจแปรปรวน (ในความศรัทธาที่มีต่อ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์)
  ๒๔ สิ่งที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (โสดาบัน) ทำไม่ได้โดยธรรมชาติ
  ๒๕ ฐานะที่เป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (พระโสดาบัน) นัยที่หนึ่ง
  ๒๗ ฐานะที่เป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (พระโสดาบัน) นัยที่สาม
  ๒๘ อริยมรรคมีองค์แปด (โสดาบันถึงพร้อมด้วยองค์ 8)
  ๒๙ คำที่ใช้เรียกแทนความเป็นโสดาบัน
  ๓๐ สังโยชน์สิบ (โสดาบันละสังโยชน์เบื้อต่ำได้ 3 ข้อ)
  ๓๑ อริยญายธรรม คือ การรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท (เป็นคุณสมบัติของโสดาบัน)
  ๓๒ ฝุ่นปลายเล็บ (พอรู้อริยสัจ ทุกข์เหลือน้อยขนาดฝุ่นปลายเล็บ เทียบกับปฐพี)
  ๓๓ สามัญญผลในพุทธศาสนา เทียบกันไม่ได้ กับในลัทธิอื่น
  ๓๕ โสดาบันกับพระอรหันต์ต่างกันในการเห็นธรรม (รู้ชัดขันธ์5)
  ๓๖ โสดาบันกับพระอรหันต์ต่างกันในการเห็นธรรม (รู้ชัดอินทรีย์6)
  ๓๗ ความลดหลั่นแห่ง อริยบุคคลผู้ปฏิบัติอย่างเดียวกัน
  ๓๘ คนตกน้ำ ๗ จำพวก(ระดับต่างๆ แห่งบุคคลผู้ถอนตัวขึ้นจากทุกข์)
  ๓๙ คนมีกิเลสตกนรกทั้งหมดทุกคนจริงหรือ (บุคคลที่มีเชื้อเหลือ ๙ จำพวก)
  ๔๐ ผลแปดประการอันเป็นภาพรวม ของความเป็นพระโสดาบัน
 

 

๒๑ ผลแห่งความเป็นโสดาบัน
  อานิสงส์แห่งการทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล 6 อย่าง เป็นบุคคลที่
1. เที่ยงแท้ต่อพระสัทธรรม
2. มีธรรมอันไม่รู้เสื่อม 
3. ที่ทุกข์ดับไปทุกตอนแห่งการกระทำ
4. ประกอบด้วย อสาธารณญาณ (ที่ไม่ทั่วไปแก่พวกอื่น)
5. เห็นธรรมที่เป็นเหตุ 
6. เห็นธรรมทั้งหลายที่เกิดมาแต่เหตุ

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล อานิสงส์ ๖ ประการแห่งการทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล
๒๑
 
๒๒ ความเป็นโสดาบันประเสริฐกว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
  ภิกษุทั้งหลาย ! แม้พระเจ้าจักรพรรดิ ได้ครองความเป็นใหญ่ยิ่งแห่งทวีปทั้งสี่ เบื้องหน้าจากการ ตายเพราะการแตก ทำลาย แห่งกาย อาจได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหายอยู่ร่วมกับเหล่า เทวดาชั้นดาวดึงส์ ถูกแวดล้อมอยู่ด้วยหมู่ นางอัปษร ในสวนนันทวัน ท้าวเธอเป็นผู้เอิบอิ่ม เพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า อันเป็นของทิพย์ อย่างนี้ก็ตาม แต่กระนั้นท้าวเธอก็ยังรอดพ้นไป
ไม่ได้จากนรก
จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต และจากอบายทุคติ วินิบาต

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนอริยสาวกในธรรมวินัยนี้แม้เป็นผู้ยังอัตตภาพ ให้พอเป็นไปด้วย คำข้าว ที่ได้มาจาก บิณฑบาต ด้วย ปลีแข้งของตนเอง พันกายด้วยการนุ่งห่ม ผ้า ปอนๆ ไม่มีชาย หากแต่ว่า เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว

ด้วยธรรม 4 ประการ เธอก็ยังสามารถ รอดพ้นเสียได้จากนรก กำเนิดเดรัจฉาน วิสัยแห่งเปรต และจากอบาย ทุคติ วินิบาต

(ธรรม 4 ประการ คือ เลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นผู้ประกอบ พร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลาย ในลักษณะเป็นที่พอใจ ของพระอริยเจ้า)
๒๒
 
๒๓ ความเป็นโสดาบัน ไม่อาจแปรปรวน (ในความศรัทธาที่มีต่อ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์)
  ภิกษุทั้งหลาย ! แม้มหาภูตรูปสี่ กล่าวคือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ยังมีความแปรปรวน เป็นอย่างอื่น ไปได้ แต่อริยสาวก ผู้เลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ในองค์พระธรรม ในองค์พระสงฆ์ ย่อมไม่มีความแปรปรวน

(ถึงแม้จะปรวนแปรไปเป็นเสียอย่างอื่น จนเข้าถึงนรกก็ดี กำเนิดเดรัจฉานก็ดีวิสัยแห่ง เปรตก็ดี ดังนี้นั้น ไม่ใช่เป็นฐานะที่จะมี ได้เลย)
๒๓
 
๒๔ สิ่งที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (โสดาบัน) ทำไม่ได้โดยธรรมชาติ
  ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ 
1.ไม่อาจเข้าถึงสังขารไรๆโดยความเป็นของเที่ยง 
2.ไม่อาจเข้าถึงสังขารไรๆโดยความเป็นของสุข
3.ไม่อาจเข้าถึงธรรมะไรๆโดยความเป็นตัวตน
4.ไม่อาจกระทำอนันตริยกรรม
5.ไม่อาจหวังการถึงความบริสุทธิ์โดยโกตุหลมงคล
6.ไม่อาจแสวงหา ทักขิเณยยบุคคลภายนอกจากศาสนานี้

ทักขิเณยยบุคคล คือ เสขะ (ผู้กำลังศึกษา หรืออริยะบุคคล) กับ อเสขะ(ผู้ไม่ต้องศึกษาหรือ อรหันต์)
๒๔
 
๒๕ ฐานะที่เป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (พระโสดาบัน) นัยที่หนึ่ง
  ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ ของผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ 
1. ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา
2. ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรงในพระธรรม
3. ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรงในพระสงฆ์
4. ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรงในสิกขา
5. ไม่อาจมาสู่อนาคมนียวัตถุ (วัตถุที่ไม่ควรเข้าหา)
6. ไม่อาจยังภพที่แปดให้เกิดขึ้น (โสดาบันสัตตักขัตตุจะเกิดอีกไม่เกิน 7 ภพ จะไม่มีภพที่ 8)
๒๕
 
๒๖ ฐานะที่เป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (พระโสดาบัน) นัยที่สอง
 

ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ ที่ เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (โสดาบัน)
1.จะพึงปลงชีวิตมารดา
2.จะพึงปลงชีวิตบิดา
3.จะพึงปลงชีวิตพระอรหันต์
4.จะพึงคิดประทุษร้ายตถาคตแม้เพียงทำโลหิตให้ห้อ
5.จะพึงทำให้สงฆ์ให้แตกกัน
6.จะพึง ถือศาสดาอื่น (นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)

๒๖
 
๒๗ ฐานะที่เป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (พระโสดาบัน) นัยที่สาม
  ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ 6 ประการ ของผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (โสดาบัน) ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า
1. สุขและทุกข์ตนทำเอง”
2. สุขและทุกข์ผู้อื่นทำให้”
3. สุขและทุกข์ตนทำเองก็มีผู้อื่นทำให้ก็มี”
4. สุขและทุกข์ไม่ต้องทำเองเกิดขึ้นได้ตามลำพัง”
5. สุขและทุกข์ไม่ต้องใครอื่นทำให้เกิดขึ้นได้ตามลำพัง”
6. สุขและทุกข์ไม่ต้องทำเองและไม่ต้องใครอื่นทำให้เกิดขึ้นได้ตามลำพัง”
๒๗
 
๒๘ อริยมรรคมีองค์แปด (โสดาบันถึงพร้อมด้วยองค์ ๘ )
  องค์แปด คือ
ความเห็นชอบ... ความดำริชอบ
วาจาชอบ... การงานชอบ... อาชีวะชอบ
ความเพียรชอบ... ความระลึกชอบ... ความตั้งใจมั่นชอบ

ความเห็นชอบเป็นอย่างไร ?
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์  ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทาง เป็นเครื่องให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์อันใด นี้เราเรียกว่าความเห็นชอบ
๒๘
 
๒๙ คำที่ใช้เรียกแทนความเป็นโสดาบัน
  1. ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิ ดังนี้บ้าง
2. ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ ดังนี้บ้าง
3. ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง
4. ผู้ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ ดังนี้บ้าง
5. ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง
6. ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง
7.
ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว ดังนี้บ้าง
8. ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลส ดังนี้บ้าง
9.
ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะ ดังนี้บ้าง
๒๙
 
๓๐ สังโยชน์สิบ (โสดาบันละสังโยชน์เบื้อต่ำได้ ๓ ข้อ)
  โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ (สังโยชน์เบื้องต่ำ)
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
(สังโยชน์เบื้องสูง)

โอรัมภาคิยสังโยชน์
 ประการ เป็นอย่างไรเล่า
1.สักกายทิฏฐิ
2.วิจิกิจฉา
3.สีลัพพตปรามาส
4.กามฉันทะ
5.พยาบาท (หรือปฏิฆะ)
อุทธัมภาคิยสังโยชน์  ประการ เป็นอย่างไรเล่า
1.รูปราคะ
2.อรูปราคะ
3.มานะ
4.อุทธัจจะ
5.อวิชชา 
๓๐
 
๓๑ อริยญายธรรม คือ การรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท (เป็นคุณสมบัติของโสดาบัน)
 

ก็อริยญายธรรม เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดีแทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อม พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ ดังนี้ว่า ด้วยอาการอย่างนี้
เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป

ข้อนี้ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัยชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส
อุปายาสทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรปู จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแลชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส
อุปายาสทั้งหลายจึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

คหบดี ! อริยญายธรรมนี้แล เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา

๓๑
 
๓๒ ฝุ่นปลายเล็บ (พอรู้อริยสัจ ทุกข์เหลือน้อยขนาดฝุ่นปลายเล็บ เทียบกับปฐพี)
  สำหรับอริยสาวกผู้ถึงพร้อมด้วย(สัมมา)ทิฏฐิ รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ความทุกข์ของท่าน ส่วนที่สิ้นไปแล้ว หมดไปแล้วย่อมมีมากกว่า ความทุกข์ที่ยังเหลืออยู่มีประมาณน้อย 

เมื่อนำเข้าไป เทียบกับ กองทุกข์ที่สิ้นไปแล้ว หมดไปแล้วในกาลก่อน ย่อมไม่ถึงซึ่งการคำนวณ ได้เปรียบเทียบได ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งกะละภาค นั่นคือความทุกข์ของโสดาบัน ผู้สัตตักขัตตุปรมะ ผู้เห็นชัดตามเป็นจริง ว่า “ทุกข์  เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้

เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า“ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนิน ให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้
๓๒
 
๓๓ สามัญญผลในพุทธศาสนา เทียบกันไม่ได้ กับในลัทธิอื่น
  การบรรลุธรรมของลัทธิอื่น เทียบไม่ได้กับการบรรุคุณวิเศษของสาวกตถาคต

การบรรลุคุณวิเศษของสมณพราหมณ์ และปริพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น เทียบไม่ได้กับ การบรรลุคุณวิเศษ ของอริยสาวก ซึ่งเป็นบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย(สัมมา)ทิฏฐิ.. บุคคลผู้ถึงพร้อม ด้วยทิฏฐิ เป็นผู้มีการบรรลุอันใหญ่หลวงอย่างนี้ เป็นผู้มีความรู้ยิ่งอันใหญ่หลวงอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษพึงโยนกรวดหิน มีประมาณเท่าเม็ดถั่วเขียวเจ็ดเม็ด เข้าไปที่ เทือกเขาหลวงชื่อสิเนรุ.. พวกเธอทั้งหลายจะพึงสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร กรวดหินมีประมาณ เท่า เม็ดถั่วเขียวเจ็ดเม็ด ที่บุรุษโยนเข้าไป (ที่เทือกเขาหลวงชื่อสิเนรุ) เป็นสิ่งที่มากกว่า หรือว่า เทือกเขา หลวงชื่อสิเนรุเป็นสิ่งที่มากกว่า
๓๓
 
๓๔ ลักษณะแห่งผู้เจริญอินทรีย์ขั้นอริยะ (อยู่ได้แม้ผัสสะจะกระทบกับสิ่งที่เป็นปฏิกูล)
 
(เมื่อผัสสะกระทบ ให้มองทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ทำจิตให้เป็นกลาง ไม่ให้รู้สึกพอใจ หรือไม่พอใจทั้งสองกรณี นี่คือจิตของผู้มีอินทรีย์อันเจริญแล้ว ในขั้นอริยะ)

1.จงเป็นผู้อยู่อย่างมีความรู้สึกว่า ไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ เป็นปฏิกูล
2.จงเป็นผู้อยู่อย่างมีความรู้สึกว่า ปฏิกูล ในสิ่งที่ ไม่เป็นปฏิกูล
3.จงเป็นผู้อยู่อย่างมีความรู้สึกว่า ไม่ปฏิกูล ทั้งในสิ่งที่เป็นปฏิกูล และไม่เป็นปฏิกูล
4.จงเป็นผู้อยู่อย่างมีความรู้สึกว่า ปฏิกูล ทั้งในสิ่งที่ไม่เป็นปฏิกูล และสิ่งที่เป็นปฏิกูล
5.จะเป็นผู้อยู่อย่างมีความรู้สึกว่า ปฏิกูล และไม่ปฏิกูล โดยอยู่อย่างอุเบกขา มีสติ

อานนท์ ! ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้วในขั้นอริยะเป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ในกรณีนี้ ความพอใจ ความไม่พอใจ ความพอใจและไม่พอใจเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะเห็นรูปด้วยตา... ฟังเสียงด้วยหู... ดมกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องสัมผัส ด้วยผิวกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจ
๓๔
 
๓๕ โสดาบันกับพระอรหันต์ต่างกันในการเห็นธรรม (รู้ชัดขันธ์๕ )
 

(รู้ชัด ความเกิดขึ้นของขันธ์5 ความตั้งอยู่ไม่ได้ รู้รสอร่อย รู้โทษ รู้อุบายเครื่องสลัดออก)

โสดาบัน

1.รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่งความเกิดขึ้น แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า
2.ความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า
3.รสอร่อย  แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า
4.โทษอันต่ำทราม แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า
5.อุบายเป็นเครื่องสลัดออก  แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า

พระอรหันต์
1.รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า
2.ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า
3.ซึ่งรสอร่อย แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า
4.ซึ่งโทษอันต่ำทราม แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า
5.ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า
6.เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะไม่มีความยึดมั่น (แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า)

๓๕
 
๓๖ โสดาบันกับพระอรหันต์ต่างกันในการเห็นธรรม (รู้ชัดอินทรีย์๖)
  (รู้ชัดอินทรีย์ 6 จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์)
(อินทรีย์ 6 คือ อายตนะภายใน ประกอบด้วย
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

โสดาบัน
1.รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่งความเกิดขึ้น แห่งอินทรีย์หก
2.ความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งอินทรีย์หก
3.รสอร่อย แห่งอินทรีย์หก
4.โทษอันต่ำทราม แห่งอินทรีย์หก
5.อุบายเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์หก

พระอรหันต์
1.รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่งความเกิดขึ้น แห่งอินทรีย์หก
2.ความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งอินทรีย์หก
3.รสอร่อย แห่งอินทรีย์หก
4.โทษอันต่ำทราม แห่งอินทรีย์หก
5.อุบายเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์หก
6.เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะไม่มีความยึดมั่น (แห่งอินทรีย์หก)

๓๖
 
๓๗ ความลดหลั่นแห่ง อริยบุคคลผู้ปฏิบัติอย่างเดียวกัน
  สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.

ภิกษุนั้น ได้กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความ สิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลายด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่
อันตราปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง
(สะเกิดไฟลอยไปยังไม่ตกพื้น)
อุปหจัจปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด
อสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง
สสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง
อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปถึงอกนิฏฐภพ
สกทาคามี
ยังจะมาสู่ เทวโลก นี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เอกพีชี คือ จัก เกิดในภพ แห่ง
มนุษย์อีกหนเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
โกลังโกละ จักต้อง ท่องเที่ยวไป
สู่สกุลอีกสองหรือสามครั้ง แล้วย่อมกระทำที่สุด แห่งทุกข์ได้
สัต ตัก ขัตตุ ปรมะ ยัง ต้องท่องเที่ยวไปในภพแห่ง
เทวดาและมนุษย์อีกเจ็ดครั้งเป็นอย่างมาก แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
๓๗
 
๓๘ คนตกน้ำ ๗ จำพวก (ระดับต่างๆ แห่งบุคคลผู้ถอนตัวขึ้นจากทุกข์)
  (๑) บุคคลบางคน จมน้ำคราวเดียวแล้วก็จมเลย  (สร้างอกุศลธรรมฝ่ายเดียว)
(๒) บุคคลบางคน ผุดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วจึงจมเลย (ศรัทธาดีในกุศลธรรม แต่ไม่มั่นคง)
(๓) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ลอยตัวอยู่ (ศรัทธาในกุศลธรรม แต่แค่ทรงตัวไม่เสื่อมไม่เจริญ)
(๔) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว เหลียวดูรอบ ๆ อยู่ (เป็นโสดาบัน มีธรรมอันไม่ตกต่ำ)
(๕) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง (สกทาคามี สิ้นสังโยชน์3 ราคาโทสะโมหะเบาบาง)
(๖) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว เดินเข้ามาถึงที่ ตื้นแล้ว (อนาคามีเป็นผู้ไม่เวียนกลับมา)
(๗) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ถึงฝั่งข้ามขึ้นบกแล้วเป็นพราหมณ์ยืนอยู่ (อรหันต์ แจ้งซึ่งวิมุตติ)
๓๘
 
  ๓๙ คนมีกิเลสตกนรกทั้งหมดทุกคนจริงหรือ (บุคคลที่มีเชื้อเหลือ ๙ จำพวก)
อนาคามี 5 สกทาคามี 1 โสดาบัน 3
 
(๑)เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในศีล เต็มที่ในสมาธิ พอประมาณในปัญญา เพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต้น ๕
บุคคลนั้น เป็นอนาคามีผู้จะปรินิพพานในระหว่าง อายุยังไม่ทันถึงกึ่ง (อันตราปรินิพายี)

(๒) เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในศีล เต็มที่ในสมาธิ พอประมาณในส่วนปัญญา เพราะสิ้นสังโยชน์ เบื้องต้น ๕ บุคคลนั้น เป็นอนาคามีผู้จะปรินิพพานเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้ว จวนถึงที่สุด (อุปหัจจ-ปรินิพพายี)

(๓) เป็นผู้ทำได้เต็มที่ศีล เต็มที่ในสมาธิ แต่พอประมาณในปัญญา. เพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต้น ๕
บุคคลนั้น เป็นอนาคามีผู้จะปรินิพพาน โดยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง (อสังขาร-ปรินิพพายี)

(๔) เป็นผู้ทำได้เต็มที่ศีล เต็มที่ในสมาธิ แต่พอประมาณในปัญญา. เพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕
บุคคลนั้น เป็น อนาคามีผู้จะปรินิพพาน โดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง (สสังขาร-ปรินิพพายี)

(๕) เป็นผู้ทำได้เต็มที่ศีล เต็มที่ในสมาธิ แต่พอประมาณในปัญญา. เพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕
บุคคลนั้นเป็น อนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปถึงอกนิฏฐภพ (อุทธังโสโต-อกนิฏฐคามี) 

(๖) เป็นผู้ทำได้เต็มที่ศีล เต็มที่ในสมาธิ แต่พอประมาณในปัญญา. เพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕
และเพราะมี ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางน้อยลงเป็น สกทาคามี  ยังจะมาสู่เทวโลกนี้อีกครั้งเดียว เท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

(๗) เป็นผู้ทำได้เต็มที่ศีล เต็มที่ในสมาธิแต่พอประมาณในปัญญา เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ บุคคลนั้น เป็น โสดาบัน จักเกิดในภพแห่งมนุษย์อีกหนเดียว แล้วกระทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้ (เอกพีชี)

(๘) เป็นผู้ทำได้เต็มที่ศีล เต็มที่ในสมาธิ แต่พอประมาณในปัญญา เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ บุคคล ผู้นั้นเป็น โสดาบันผู้ต้องท่องเที่ยวไปสู่สกุลอีก ๒ หรือ ๓ ครั้ง แล้วกระทำที่สุด แห่งทุกข์ได้ (โกลังโกละ)

(๙) เป็นผู้ทำได้เต็มที่ศีล เต็มที่ในสมาธิ แต่พอประมาณในปัญญา เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓
บุคคลนั้นเป็นโสดาบัน ผู้ต้องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อีก ๗ ครั้ง เป็นอย่างมาก แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ (สัตตักขัตตุปรมะ)
๓๙
 
๔๐ ผลแปดประการอันเป็นภาพรวม ของความเป็นพระโสดาบัน
  (โสดาบันจะกล่าวแต่สิ่งที่รู้เอง เห็นเอง รู้สึกเองแล้ว เท่านั้น)

เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับสิ่งนี้ย่อมดับ กล่าวคือ
เพราะมีความดับแห่งอวิชชา จึงมีความดับแห่งสังขาร
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทาน ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ
โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

1) ภิกษุทั้งหลายจะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอเมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จึงพึงแล่นไปสู่  ทิฏฐิอันปรารภที่สุด ในเบื้องต้น (ความเห็นที่นึก ถึงขันธ์ในอดีต) ว่า “ในกาล ยืดยาวนาน ฝ่ายอดีตเราได้มีแล้ว หรือ หนอ เราไม่ได้มีแล้วหรือหนอ เราได้เป็นอะไรแล้ว หนอ เราได้เป็น อย่างไรแล้วหนอ เราเป็นอะไรแล้ว จึงได้เป็นอะไรอีกแล้วหนอ” ดังนี้ ?
ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !”
(ย่อ)
2) จะแล่นไปสู่ทิฏฐิ อันปรารภที่สุดในเบื้องปลาย (นึกถึงขันธ์ในอนาคต) (ข้อนั้นหามิได้)
3) จะพึง
สงสัยเกี่ยวกับตน ปรารภกาลอันเป็นปัจจุบัน (ข้อนั้นหามิได้)
4) จะกล่าวว่า พระศาสดาเป็นครูของพวกเรา จึงต้องกล่าวอย่างที่ท่านกล่าวเพราะความเคารพ
(ข้อนั้นหามิได้) (นัยยะนี้การกล่าวตามไม่ใช่เพราะการเคารพ แต่เพราะเห็นสัจจะความจริง)
5) พระสมณะกล่าวแล้วอย่างนี้ แต่สมณะทั้งหลายและพวกเราจะกล่าวอย่างอื่น (ข้อนั้นหามิได้)
6) จะพึงนับถือศาสดาอื่น (ข้อนั้นหามิได้)
7) จะประพฤติ ซึ่งวัตตโกตูหลมงคล ตามแบบของสมณพราหมณ์เหล่าอื่น (ข้อนั้นหามิได้)
8) ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอ จะกล่าวแต่สิ่งที่พวกเธอรู้เอง เห็นเอง รู้สึกเองแล้ว เท่านั้น มิใช่หรือ “อย่างนั้น พระเจ้าข้า ”

(โดยสรุป)
1.ไม่มีทิฏฐิอันปรารภ ถึงขันธ์ในอดีต
2.ไม่มีทิฏฐิอันปรารภ ถึงขันธ์ในอนาคต
3.มีความสงสัยเกี่ยวกับตน ปรารภกาลอันเป็นปัจจุบัน
4.นับถือพระศาสดาเป็นครูของพวกเรา
5.จะไม่เชื่อคำกล่าวของสมณะอื่น
6.จะไม่นับถือศาสนาอื่น
7.จะไม่ทำวัตตโกตูหลมงคล
8.จะกล่าวแต่สิ่งที่พวกเธอรู้เอง เห็นเอง รู้สึกเองแล้ว เท่านั้น
๔๐
   
 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์