เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ก็ปริยายที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง เป็นไฉน 1736
  (โดยย่อ)

โพชฌงค์ ๑๔


(๑) สต ิสัมโพชฌงค์
- แม้สติในธรรมทั้งหลาย ในภายใน ก็เป็น สติ สัมโพชฌงค์
- แม้สติในธรรมทั้งหลาย ในภายนอก ก็เป็น สต ิสัมโพชฌงค์

(๒) ธัมมวิจย สัมโพชฌงค์
- แม้ธรรมทั้งหลาย ในภายใน ที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจตรา ถึงความพินิจพิจารณา ด้วยปัญญา ก็เป็น ธัมมวิจย สัมโพชฌงค์
- แม้ธรรมทั้งหลาย ในภายนอก ที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจตรา ถึงความพินิจพิจารณา ด้วยปัญญา ก็เป็น ธัมมวิจย สัมโพชฌงค์

(๓) วิจย สัมโพชฌงค์
-แม้ความเพียร ทางกาย ก็เป็น วิจย สัมโพชฌงค์
-แม้ความเพียร ทางจิต ก็เป็น วิริย สัมโพชฌงค์

(๔) ปีติ สัมโพชฌงค์
-แม้ปีติที่ มีวิตกวิจาร ก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์
-แม้ปีติที่ ไม่มีวิตกวิจาร ก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์

(๕) ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์
-แม้ความ สงบกาย ก็เป็น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
-แม้ความ สงบจิต ก็เป็น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

(๖) สมาธิ สัมโพชฌงค์
-แม้สมาธิที่ มีวิตกวิจาร ก็เป็น สมาธิ สัมโพชฌงค์
-แม้สมาธิที่ ไม่มี วิตกวิจาร ก็เป็น สมาธิ สัมโพชฌงค์

(๗) อุเบกขา สัมโพชฌงค์
-แม้ความวางเฉยในธรรมทั้งหลาย ในภายใน ก็เป็น อุเบกขา สัมโพชฌงค์
-แม้ความวางเฉยในธรรม ทั้งหลาย ในภายนอก ก็เป็น อุเบกขา สัมโพชฌงค์


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๗

โพชฌงค์ ๑๔


          [๕๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง เป็นไฉน ?

(๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย
- แม้สติในธรรมทั้งหลาย ในภายใน ก็เป็น สติสัมโพชฌงค์
- แม้สติในธรรมทั้งหลาย ในภายนอก ก็เป็น สติสัมโพชฌงค์
คำว่า สติสัมโพชฌงค์ ดังนี้ย่อมมาสู่อุเทศ
แม้โดยปริยายนี้ สติสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง

(๒) ดูกรภิกษุทั้งหลาย
- แม้ธรรมทั้งหลาย ในภายใน ที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจตราถึงความพินิจ พิจารณา ด้วยปัญญา ก็เป็นธัมมวิจย สัมโพชฌงค์
- แม้ธรรมทั้งหลาย ในภายนอก ที่บุคคล เลือกเฟ้นตรวจตรา ถึงความพินิจพิจารณา ด้วยปัญญา ก็เป็นธัมมวิจย สัมโพชฌงค์
คำว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ
แม้โดยปริยายนี้ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็น ๒ อย่าง

(๓) ดูกรภิกษุทั้งหลาย
-แม้ความเพียรทางกาย
ก็เป็น วิจยสัมโพชฌงค์
-แม้ความเพียรทางจิต ก็เป็นวิริย สัมโพชฌงค์
คำว่า วิริยสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ
แม้โดยปริยายนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง

(๔) ดูกรภิกษุทั้งหลาย
-แม้ปีติที่มีวิตกวิจาร
ก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์
-แม้ปีติที่ไม่มีวิตกวิจาร
ก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์
คำว่าปีติสัมโพชฌงค์  ดังนี้ ย่อมมาสู่อเทศ
แม้โดยปริยายนี้ปีติสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง

(๕) ดูกรภิกษุทั้งหลาย
-แม้ความสงบกาย ก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
-แม้ความสงบจิต
ก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
คำว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ
แม้โดยปริยายนี้ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็น ๒ อย่าง

(๖) ดูกรภิกษุทั้งหลาย
-แม้สมาธิที่มีวิตกวิจาร ก็เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์
-แม้สมาธิที่ไม่มี วิตกวิจาร
ก็เป็นสมาธิ สัมโพชฌงค์
คำว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ
แม้โดยปริยายนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง

(๗) ดูกรภิกษุทั้งหลาย
-แม้ความวางเฉยในธรรมทั้งหลายในภายใน
ก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์
-แม้ความวางเฉยในธรรม ทั้งหลายในภายนอก ก็เป็น อุเบกขา สัมโพชฌงค์
คำว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ
แม้โดยปริยายนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็น ๒ อย่าง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยปริยายนี้แล ที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง


 





พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์