เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

กามสุขัลลิกานุโยค (เมถุนสังโยค ๗) การประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังเกี่ยวพันด้วยเมถุน 1730
  (โดยย่อ)

1. การประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังเกี่ยวพันด้วยเมถุน

(กามสุขัลลิกานุโยค หรือเมถุนสังโยค ๗)
สมณะหรือพราหมณ์บางคนปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ เขาไม่เสพเมถุน กับมาตุคาม ก็จริงแล
1.แต่เขายินดีการลูบคลำ การนวด การอาบ การถูตัว ที่ได้รับจากมาตุคาม
2.แต่เขายังพูดจาซิกซี้ เล่นหัว สัพยอก กับมาตุคาม
3.แต่เขายังสบตา ต่อตา กับมาตุคาม
4.แต่เขายังชอบเสียงของมาตุคาม หัวเราะ พูดจา ขับร้อง ร้องไห้อยู่ก็ดี
5.แต่เขาชอบตามระลึกถึงเรื่องเก่าที่เคยหัวเราะ เล้าโลม เล่นหัวกัน กับมาตุคาม
6.แต่เขาเห็นพวกคหบดีได้รับการบำเรอด้วยกามคุณ ก็ปลาบปลื้ม ยินดี
7.แต่เขาประพฤติพรหมจรรย์โดยปรารถนาเพื่อไปเป็นเทพยดา พวกใดพวกหนึ่ง
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

2. สิ่งที่เรียกว่ากามคุณ และกามสุข
กามคุณ กามคุณ ๕ เป็นไฉน
รูป ที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ชวนให้ กำหนัด
เสียง ที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ...
กลิ่น ที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ...
รส ที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ...
โผฏฐัพพะ ที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจน่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
กามสุข สุขโสมนัส ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัย กามคุณ ๕ เหล่านี้ นี้เราเรียกว่า กามสุข

3. สุขัลลิกานุโยคของ มิจฉาทิฏฐิ
สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นการกระทำที่ตํ่าทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของบุถุชน ไม่ใช่ของ พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด.. คือฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดเท็จ อิ่มเอิบเพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า

4. สุขัลลิกานุโยคของ สัมมาทิฏฐิ
สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว ... ภิกษุ สงัดจากกามและอกุศลธรรม ท. บรรลุฌานที่ ๑ ๒ ๓ บรรลุฌานที่ ๔

5. ผลแห่งสุขัลลิกานุโยคของ สัมมาทิฏฐิ
สิ้นสังโยชน์ ๓ เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา... สิ้นสังโยชน์ ๓ เพราะ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง เป็นสกทาคามี... เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ในเบื้องต่ำ ๕ เป็นอนาคามี กระทำให้แจ้ง ซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ (เป็นอรหันต์)


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


1)
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า 831
- 836

กามสุขัลลิกานุโยค (เมถุนสังโยค ๗)


            พราหมณ์ ในกรณีนี้ ผู้ที่เรียกตนเองว่าสมณะหรือพราหมณ์ บางคนปฏิญญา ตัวว่าเป็นพรหมจารี โดยชอบ เขาไม่เสพเมถุนกับมาตุคาม ก็จริงแล แต่ว่าเขายินดี การลูบคลำ การนวดฟั้น การอาบ การถูตัว ที่ได้รับจากมาตุคาม. เขาปลาบปลื้มยินดี ด้วยการบำเรอเช่นนั้นจากมาตุคาม..เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบการเกี่ยวพันด้วยเมถุน

.....บางคน.... ไม่เสพเมถุนกับมาตุคาม และไม่ยินดีการลูบคลำ การนวดฟั้น เป็นต้น จากมาตุคาม แต่เขายังพูดจาซิกซี้เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคาม. เขาปลาบปลื้ม ยินดี ด้วยการบำเรอเช่นนั้น จากมาตุคาม. .... เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบการเกี่ยวพันด้วยเมถุน.

....บางคน... ไม่เสพเมถุนกับมาตุคาม และไม่ยินดีการลูบคลำ การนวดฟั้น เป็นต้น จากมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีการพูดจาซิกซี้ เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคาม. แต่เขายังสบตา ต่อตากับมาตุคาม แล้วปลาบปลื้มยินดีด้วยการทำเช่นนั้น .... เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติ พรหมจรรย์ ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบการเกี่ยวพันด้วยเมถุน

.....บางคน..... ไม่เสพเมถุนกับมาตุคาม และไม่ยินดีการลูบคลำ การนวดฟั้น เป็นต้น จากมาตุคาม ไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้ เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคาม ทั้งไม่ยินดี ในการสบตาต่อตา กับมาตุคาม แต่เขายังชอบเสียงของมาตุคาม ที่หัวเราะอยู่ก็ดี พูดจาอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดี ข้างนอกฝาก็ตาม นอกกำแพงก็ตาม แล้ว ปลาบปลื้มยินดี ด้วยการฟังเสียงนั้น ....เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบเกี่ยวพันด้วยเมถุน.....

.....บางคน... ไม่เสพเมถุนกับมาตุคาม และไม่ยินดีการลูบคลำ การนวดฟั้น เป็นต้น จากมาตุคาม ไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้ เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคาม ทั้งไม่ยินดี ในการสบตาต่อตากับมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีในการฟังเสียงของมาตุคาม แต่เขาชอบ ตามระลึกถึงเรื่องเก่า ที่เคยหัวเราะ เล้าโลม เล่นหัวกัน กับมาตุคามแล้ว ก็ปลาบปลื้ม ยินดี ด้วยการเฝ้าระลึกเช่นนั้น. ....เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบเกี่ยวพันด้วยเมถุน.....

.....บางคน... ไม่เสพเมถุนกับมาตุคาม และไม่ยินดีการลูบคลำ การนวดฟั้น เป็นต้น จากมาตุคาม ไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้ เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคามทั้งไม่ยินดี ในการ สบตาต่อตา กับมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีในการฟังเสียงของมาตุคาม และทั้งไม่ชอบ ตามระลึก ถึงเรื่องเก่า ที่เคยหัวเราะ เล้าโลม เล่นหัวกัน กับมาตุคาม แต่เขาเห็น พวกคหบดี หรือบุตรคหบดี อิ่มเอิบด้วยกามคุณ ได้รับการ บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ก็ปลาบปลื้มยินดี ด้วยการได้เห็นการกระทำเช่นนั้น ....เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติ พรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบเกี่ยวพันด้วยเมถุน.....

.....บางคน..... ไม่เสพเมถุนกับมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบคลำ การนวดฟั้นเป็นต้น จากมาตุคาม ไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้ เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคาม ไม่ยินดีในการ สบตา ต่อตา กับมาตุคาม ไม่ยินดีในการฟังเสียงของมาตุคาม ไม่ชอบตามระลึก ถึงเรื่องเก่า ที่เคยหัวเราะเล้าโลมเล่นหัว กับ มาตุคาม และทั้งไม่ยินดีที่จะเห็น พวกคหบดี หรือบุตรคหบดีอิ่มเอิบด้วยกามคุณ แล้วตนพลอยนึก ปลื้มใจด้วยก็ตาม แต่เขาประพฤติพรหมจรรย์โดยตั้งความปรารถนา เพื่อไปเป็นเทพยดา พวกใด พวกหนึ่ง ด้วยอธิฐานว่า ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจัก เป็นเทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง ดังนี้. ....

            เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบเกี่ยวพันด้วย เมถุน. ....(การปฏิบัติ ๗ ประการนี้ เรียกโดยทั่วไปว่า เมถุนสังโยค แต่เพราะมีลักษณะ เป็น กามสุขัลลิกานุโยค จึงนำมาใส่ไว้ในหมวดนี้)

2)

สิ่งที่เรียกว่ากามคุณ และกามสุข

            อานนท์ กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ ห้าอย่างอย่างไรเล่า ห้าอย่างคือ รูปอันพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ .... เสียงอันพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ .... กลิ่นรู้อันพึงแจ้งด้วยฆานะ .... รสอันพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา .... โผฏฐัพพะ อันพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันเป็นสิ่งที่น่า ปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เหล่านี้แล ชื่อว่า กามคุณ ๕

            อานนท์ สุขโสมนัสอันใด อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เกิดขึ้น สุข-โสมนัส อันนั้น เรียกว่า กามสุข (ความชุ่มอยู่ในกามสุข เรียกว่ากามสุขัลลิกะ การประกอบตน อยู่ใน กามสุขัลลิกะ เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค จัดเป็นอันตะฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นข้าศึก แก่ มัชฌิมาปฏิปทา)

3)
สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ

ก. สุขัลลิกานุโยคของมิจฉาทิฏฐิ

            จุนทะ อาจจะมีปริพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวก เธออย่างนี้ ว่า พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างตามประกอบด้วย สุขัลลิกานุโยค (ประกอบตน ให้ชุ่มอยู่ด้วยความสุข) ดังนี้

            จุนทะ เมื่อปริพาชกผู้เป็นลัทธิอื่น กล่าวอยู่อย่างนี้ พวกเธอพึงกล่าวกะเขา ว่า อาวุโส สุขัลลิกานุโยค ชนิดไหนกัน ก็สุขัลลิกานุโยค มีอยู่มาก หลายอย่าง หลายประการ ดังนี้

            จุนทะ สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นการกระทำที่ตํ่าทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของชนชั้น บุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับความสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน สี่ อย่าง อย่างไรเล่า สี่อย่างคือ คนบางคนในกรณีนี้ เป็นคนพาล ฆ่าสัตว์มีชีวิต แล้วเลี้ยงตัวเอง ให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๑

            จุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก คนบางคนในโลกนี้ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ ไม่ได้ให้ แล้วเลี้ยงตัวเอง ให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ข้อที่ ๒

            จุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก คนบางคนในกรณีนี้ กล่าวเท็จ แล้วเลี้ยงตัวเอง ให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๓

            จุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก คนบางคนในกรณีนี้ อิ่มเอิบเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ทั้งห้า ให้เขาบำเรออยู่ นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๔

4)

ข. สุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ

            จุนทะ อาจจะมีปริพาชก ผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างตามประกอบด้วย สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านั้น (เป็นแน่) ดังนี้ พวกเธอพึงกล่าว กะ เขาว่า หาใช่อย่างนั้นไม่. ปริพาชก เหล่านั้น ไม่ได้กล่าวแก่พวกเธอโดยชอบ แต่กล่าวตู่พวกเธอด้วยคำไม่จริงไม่แท้

            จุนทะ สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความหน่ายความคลาย กำหนัด เป็นไปเพื่อ ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ พร้อม เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว.

            สี่อย่างเหล่าไหนเล่า?

            จุนทะ สี่อย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรม ท. จึง บรรลุฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ นี้เป็น สุขัลลิกานุโยค ที่หนึ่ง

            จุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึง บรรลุณานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใส แห่งใจในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปิติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่ นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สอง

            จุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ จึงอยู่ อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌาน ที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้ อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข แล้วแลอยู่ นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สาม

            จุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับ หายไป แห่งโสมนัส ท. ในกาลก่อนจึง บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความ มีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้ว แลอยู่

            นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สี่ จุนทะ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้แล เป็นไป เพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ....ฯลฯ.... เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว

            จุนทะ นั่นแหละ คือฐานะที่มีอยู่ คือฐานะที่ปริพพาชกผู้เป็น ลัทธิอื่น ท. จะกล่าวอย่างนี้ ว่า พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างประกอบด้วย สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้ ดังนี้. พวกเธอพึงกล่าว กะเขาว่า อย่างนั้นถูกแล้ว ปริพพาชก เหล่านั้น กล่าวกะพวกเธออยู่อย่างถูกต้อง จะกล่าวตู่พวกเธอ ด้วยคำไม่จริง ไม่แท้ ก็หามิได้

5)
ผลแห่งสุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ

            จุนทะ อาจจะมี ปริพพาชก ผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะ พวกเธอ อย่างนี้ ว่า อาวุโส เมื่อท่านทั้งหลายตามประกอบอยู่ซึ่ง สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้ ท่านหวังผลอะไรหวังอานิสงส์ อะไร . เมื่อพวกเขากล่าวอย่างนี้ เธอพึง กล่าวตอบ เขาว่า อาวุโส พวกเราตามประกอบอยู่ซึ่ง สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้หวังผล ๔ อย่าง หวังอานิสงส์ ๔ อย่าง

            สี่อย่าง อย่างไรเล่า สี่อย่างในกรณีนี้ คือ ภิกษุ เพราะความสิ้นไป แห่ง สังโยชน์สาม เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้านี้เป็น ผลที่หนึ่ง เป็นอานิสงส์ที่หนึ่ง

            อาวุโส ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และ เพราะความที่ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นธรรมชาติเบาบาง เป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้ เพียงครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี่เป็น ผลที่สอง เป็นอานิสงส์ที่สอง

            อาวุโส ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ในเบื้องต่ำ ทั้งห้าอย่าง เป็น โอปปาติกะ (อนาคามี) มีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับ จาก โลกนั้นเป็นธรรมดา นี้เป็น ผลที่สาม เป็นอานิสงส์ที่สาม

            อาวุโส ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ใน ทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ นี้เป็น ผลที่สี่ เป็นอานิสงส์ที่สี่

            อาวุโส เราทั้งหลายตามประกอบซึ่ง สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้อยู่ เพราะหวังผล ๔ อย่างเหล่านี้” ดังนี้

  ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า คำว่า "กามสุขัลลิกานุโยค" กับคำว่า "สุขัลลิกานุโยค"
  มิใช่คำเดียวกัน และมีความหมายแคบกว่ากัน คือ กามสุขัลลิกานุโยคนั้น มุ่งความสุข
  เกิดแต่กามอย่างเดียว ส่วนสุขัลลิกานุโยคนั้น รวมเอาความสุขของคนบาปก็ได้ ของคน
  บริโภคกามก็ได้ ของคนมีความสุข เกิดจากฌานหรือสมาธิก็ได้. กล่า
วได้ว่า
  มีความหมายกว้างกว่า กามสุขัลลิกานุโยค

 





พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์