เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัย อันสืบมาจากบิดาของตน 1708
  (ย่อ)

เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัย อันสืบมาจากบิดาของตน
เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปใน โคจร ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน จักเจริญทั้งด้วยอายุ จักเจริญทั้งด้วยวรรณะ จักเจริญ ทั้งด้วยสุข จักเจริญทั้งด้วยโภคะ จักเจริญทั้งด้วยพละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
1.ใน
เรื่อง อายุ ของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร
    เจริญอิทธิบาท ประกอบด้วย ฉันทะสมาธิปธานสังขาร  วิริยะสมาธิ จิตตสมาธิ วิมังสาสมาธิ

2.ใ
นเรื่อง วรรณะ ของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร
   เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร เห็นภัยในโทษ    แม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบท

3.ในเรื่อง สุข ของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร
   ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุปฐมฌาน บรรลุทุติยฌาน บรรลุตติยฌาน บรรลุจตุตถฌาน

4.ใน
เรื่อง โภคะ ของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร
  มีจิตประกอบด้วยเมตตา ด้วยกรุณา ด้วยมุทิตา ด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทุกทิศ

5.ใน
เรื่อง พละ ของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร
  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป
  ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 
 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๘-๗๐

ภิกษุจงเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน

           [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัย อันสืบมาจากบิดาของตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน จักเจริญทั้งด้วยอายุ จักเจริญทั้งด้วยวรรณะ จักเจริญ ทั้งด้วยสุข จักเจริญทั้งด้วยโภคะ จักเจริญทั้งด้วยพละ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย (1) ในเรื่องอายุของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร
           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เจริญอิทธิบาทประกอบด้วย ฉันทะสมาธิปธานสังขาร
เจริญอิทธิบาทประกอบด้วย วิริยะสมาธิปธานสังขาร
เจริญอิทธิบาทประกอบด้วย จิตตสมาธิปธานสังขาร
เจริญอิทธิบาทประกอบด้วย วิมังสาสมาธิปธานสังขาร
           เธอนั้น เพราะเจริญอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เพราะกระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท๔ เหล่านี้ เมื่อปรารถนาก็พึงตั้งอยู่ได้ถึงกัป ๑ หรือเกินกว่ากัป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องอายุของภิกษุ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย (2) ในเรื่องวรรณะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระ ปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่อง วรรณะของภิกษุ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย (3) ในเรื่องสุขของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแก่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไปไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่ สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ ตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ โสมนัส โทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็น อธิบาย ในเรื่องสุขของภิกษุ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย (4) ในเรื่องโภคะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร
           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
มีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไป ตลอดทิศ ๑ อยู่ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไป ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน

ด้วยมีจิตประกอบด้วยกรุณา
แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยกรุณา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไป ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน

ด้วยมีจิตประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยมุทิตา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไป ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน

ด้วยมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยอุเบกขา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไป ตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่อง โภคะของภิกษุ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย (5) ในเรื่องพละของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร
           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ และ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในทิฐธรรมเทียวเข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องพละของภิกษุ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นแม้กำลังสักอย่างหนึ่งอื่น อันข่มได้แสนยาก เหมือนกำลังของมารนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้จะเจริญขึ้นได้อย่างนี้ เพราะเหตุ ถือมั่นกุศลธรรมทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วดังนี้แล

จบ จักกวัตติสูตร ที่ ๓

 

 





พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์