เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก (รวม 20 เรื่อง) (เฉพาะพระสูตรที่น่าเชื่อได้ว่าเป็นพุทธวจน) 1622
  P1621 P1622 P1623
รวมพระสูตร เรื่องอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก
  ผู้อาพาธ เทศนาเรื่อง แสดงธรรมโดย ผลจากการฟังธรรม ฉบับหลวง
6 ธนัญชานิพราหมณ์ การแผ่เมตตา
(พรหมวิหาร๔)
พระสารีบุตร ธนัญชานิพราหมณ์
น้อมจิตไว้ในพรหมโลกชั้นต่ำ
เล่มที่ ๑๓ น.๔๗๘
7 ภิกษุรูปหนึ่ง รูป เวทนา สัญญา .. ไม่ใช่ของเรา พระผู้มีพระภาค รู้แจ้งในธรรมว่า สิ่งใดมีความเกิดขึ้น
สิ่งนั้นล้วนมีความดับไป
เล่มที่ ๑๘ น.๔๔
8 พระฉันนะ ธรรมทั้งหลาย
ไม่ใช่ของเรา
พระสารีบุตร พระฉันนะถึงที่สุดแห่งทุกข์
(ปลิดชีวิตด้วยศาสตรา)
เล่มที่ ๑๘ น.๕๖
9 พระมหากัสสป โพชฌงค์ ๗ พระผู้มีพระภาค พระมหากัสสปะหายจากอาพาธ เล่มที่ ๑๙ น.๑๐๖
10 พระโมคคัลลานะ โพชฌงค์ ๗ พระผู้มีพระภาค โมคคัลลานะหายจากอาพาธ
ด้วยโพชฌงค์ ๗
เล่มที่ ๑๙ น.๑๐๗
11 พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์ ๗
(แสดงให้พระจุนทะ)
พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์ดีนัก ทรงหายจาก ประชวรด้วยโพชฌงค์ ๗ เล่มที่ ๑๙ น.๑๐๘
12 พระสารีบุตร พระสารีบุตรปรินิพพาน
ขณะอาพาธ
- พระผู้มีพระภาคสอนพระอานนท์
ความพลัดพรากย่อมเป็นธรรมดา
เล่มที่ ๑๙ น.๑๗๘
13 สิริวัฑฒคฤหบดี เจริญสติปัฏฐาน ๔ พระอานนท์ สิ้นสังโยชน์ ๕ (2)
เป็นอนาคามี
เล่มที่ ๑๙ น.๑๙๓

 


6)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๗๘

ธนัญชานิพราหมณ์อาพาธ (พระสารีบุตรแสดงธรรม)
(หลังทำกาละได้ไปเกิดในพรหมโลก)

           [๖๙๖] ครั้นสมัยต่อมา ธนัญชานิพราหมณ์ เป็นผู้อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก. จึงจึงเรียกบุรุษคนหนึ่งมาว่า บุรุษผู้เจริญ มานี่เถิดท่าน ท่านจง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ จงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคม พระบาทของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า และจงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ แล้วจงไหว้เท้าพระสารีบุตร ตามคำ ของเราว่า

           ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาไหว้เท้าท่าน พระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และจงเรียนท่านอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า ขอโอกาส ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของ ธนัญชานิ พราหมณ์เถิด.

           [๖๙๗] บุรุษนั้นรับคำ ธนัญชานิพราหมณ์แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วได้กราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคม พระบาทของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า แล้วได้ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง. แล้วได้เรียนท่านพระสารีบุตรว่า

            ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาไหว้เท้า ของท่านพระสารีบุตร ด้วยเศียรเกล้า และสั่งมาอย่างนี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอ โอกาส ขอท่าน พระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ ของธนัญชานิ พราหมณ์เถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยอาการดุษณีภาพ.

พระสารีบุตรเข้าไปเยี่ยม

           [๖๙๘] ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปยัง นิเวศน์ ของ ธนัญชานิพราหมณ์ แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย. ได้ถามธนัญชานิ พราหมณ์ว่า ดูกรธนัญชานิท่านยังพอทนได้หรือ พอจะยังชีวิตให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนา ค่อยถอยลงไม่เจริญขึ้นหรือ อาการปรากฏค่อยคลายไม่ทวีขึ้นหรือ?

           [๖๙๙] ธนัญชานิพราหมณ์กราบเรียนว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ข้าพเจ้าทน ไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพเจ้ากล้านัก เจริญขึ้นไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวียิ่งขึ้น ไม่ลดถอย ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษ มีกำลัง เอาเหล็กแหลมคมกดศีรษะ ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้นแล ลมเสียดแทงศีรษะ กล้านัก

           ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนา ของข้าพเจ้ากล้านัก เจริญขึ้น ไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวียิ่งขึ้น ไม่ลดถอย เปรียบเหมือนบุรุษ มีกำลังเอาเส้นเชือกที่เขม็ง มัดรัดศีรษะฉันใด เวทนาในศีรษะ ของข้าพเจ้าก็เหลือทนฉันนั้น ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไป ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพเจ้ากล้านัก เจริญขึ้น ไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวีขึ้น ไม่ลดถอย

           ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร เปรียบเหมือนนายโคฆาต หรือลูกมือนายโคฆาต คนขยัน เอามีดสำหรับเชือดเนื้อโค อันคมมาเชือดท้องฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น ลมเสียดท้อง กล้านัก ข้าพเจ้าทนไม่ไหวจะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนา ของข้าพเจ้ากล้านัก เจริญยิ่งขึ้น ไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวีขึ้น ไม่ลดถอย

           ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังสองคน ช่วยกันจับบุรุษ มีกำลัง น้อยกว่า คนละแขน รมย่างไว้ที่หลุมถ่านเพลิง ฉันใด ในกายของข้าพเจ้า ก็ร้อน เหมือนกัน ฉันนั้น ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนา ของข้าพเจ้ากล้านัก ทวีขึ้นไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวีขึ้น ไม่ลดถอย.

(พระสารีบุตรแสดงธรรม ว่าด้วยทุคติ-สุคติภูมิ

ว่าด้วยทุคติ-สุคติภูมิ

           [๗๐๐] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน นรกกับกำเนิด สัตว์ดิรัจฉาน ไหนจะดีกว่ากัน?
           ธ. กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานดีกว่านรก ท่านพระสารีบุตร.

           สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน กับปิตติวิสัยไหนจะดีกว่ากัน?
           ธ. ปิตติวิสัยดีกว่ากำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ท่านพระสารีบุตร.

           สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน ปิตติวิสัยกับมนุษย์ ไหนจะ ดีกว่ากัน?
           ธ. มนุษย์ดีกว่าปิตติวิสัย ท่านพระสารีบุตร.

           สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน มนุษย์กับเทวดา ชั้นจาตุม มหาราชไหนจะดีกว่ากัน?
           ธ. เทวดาชั้นจาตุมมหาราชดีกว่ามนุษย์ ท่านพระสารีบุตร.

           สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นจาตุม มหาราช กับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ไหนจะดีกว่ากัน?
           ธ. เทวดาชั้นดาวดึงส์ดีกว่าเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ท่านพระสารีบุตร.

           สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นดาวดึงส์ กับเทวดา ชั้นยามา ไหนจะดีกว่ากัน?
           ธ. เทวดาชั้นยามาดีกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ท่านพระสารีบุตร.

           สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นยามากับ เทวดาชั้น ดุสิต ไหนจะดีกว่ากัน?
           ธ. เทวดาชั้นดุสิตดีกว่าเทวดาชั้นยามา ท่านพระสารีบุตร.

           สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นดุสิตกับ เทวดาชั้นนิมมานรดี ไหนจะดีกว่ากัน?
           ธ. เทวดาชั้นนิมมานรดีดีกว่าเทวดาชั้นดุสิต ท่านพระสารีบุตร.

           สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นนิมมานรดี กับ เทวดา ชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ไหนจะดีกว่ากัน?
           ธ. เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีดีกว่าเทวดาชั้นนิมมานรดี ท่านพระสารีบุตร.

           สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นปรนิม มิตวสวัสดี กับพรหมโลก ไหนจะดีกว่ากัน?

           ธ. ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า พรหมโลก ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า พรหมโลก
หรือ?

           ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรมีความดำริว่า พราหมณ์เหล่านี้ น้อมใจไปใน พรหมโลก ถ้ากระไร เราพึงแสดงทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหม แก่ธนัญชานิ พราหมณ์เถิด ดังนี้ แล้วจึงกล่าวว่า ดูกรธนัญชานิ เราจักแสดงทาง เพื่อความเป็น สหายกับพรหม ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดีเราจักกล่าว. ธนัญชานิพราหมณ์รับคำ ท่านพระสารีบุตรแล้ว.

(เทศนาพรหมวิหาร ๔-การแผ่เมตตา)

           [๗๐๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรธนัญชานิ ก็ทางเพื่อความเป็น สหายกับ พรหมเป็นไฉน ดูกรธนัญชานิ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วย เมตตา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวางแผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า เพื่อประโยชน์แก่ สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นทางเพื่อความ เป็นสหายกับพรหม

           ดูกรธนัญชานิ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจ ประกอบด้วย มุทิตา ... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่. ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอด โลก ทั่วสัตว์ ทุกเหล่า เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบ ด้วยอุเบกขา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อยู่นี้แล เป็นทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหม.

           ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงถวายบังคม พระบาทของ พระผู้มี พระภาค ด้วยเศียรเกล้า ตามคำของข้าพเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิ พราหมณ์ป่วย ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคมพระบาท ของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า.

           [๗๐๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ได้ประดิษฐานธนัญชานิพราหมณ์ ไว้ในพรหมโลกชั้นต่ำ ในเมื่อยังมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นได้ แล้วลุกจากอาสนะ หลีกไป. ทันใดนั้น เมื่อท่านพระสารีบุตรหลีกไปไม่นาน ธนัญชานิพราหมณ์ทำกาละ แล้ว ไปบังเกิดยังพรหมโลก.

           ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรนี้ ได้ประดิษฐาน ธนัญชานิพราหมณ์ ไว้ในพรหมโลกชั้นต่ำ ในเมื่อยังมีกิจ ที่จะพึงทำ ให้ยิ่งขึ้นได้ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.

           [๗๐๓] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวาย บังคมพระบาทของ พระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า.

           พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร ทำไมเธอจึงประดิษฐาน ธนัญชานิ พราหมณ์ ไว้ในพรหมโลกชั้นต่ำ ในเมื่อมีกิจอันจะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไปได้ แล้วลุกจากอาสนะ หลีกไปเล่า?

           สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า พราหมณ์ เหล่านี้ น้อมใจไปในพรหมโลก ถ้ากระไร เราพึงแสดงทาง (การแผ่เมตตา-พรหมวิหาร ๔) เพื่อความเป็นสหายกับพรหมแก่ ธนัญชานิพราหมณ์เถิด ดังนี้ พระเจ้าข้า.

           พ. ดูกรสารีบุตร ธนัญชานิพราหมณ์ทำกาละ ไปบังเกิดในพรหมโลกแล้ว ฉะนี้แล.



7)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๔

คิลานสูตรที่ ๑ (ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ใหม่อาพาธ)

           [๘๘] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวิหารโน้น มีภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ใหม่ ไม่ปรากฏนามและ โคตร เป็นผู้อาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอประทาน โอกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงอาศัยความเอ็นดู เสด็จเข้าไปหา ภิกษุนั้นเถิด พระเจ้าข้า

           ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงสดับคำว่า ภิกษุใหม่ และว่าเป็นไข้ ทรงทราบชัดว่า เป็นภิกษุ ไม่ปรากฏชื่อและโคตร เสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุนั้น ได้เห็นพระผู้มี พระภาค เสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว ปูอาสนะไว้ที่เตียง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า อย่าเลยภิกษุ เธออย่าปูอาสนะ ไว้ที่เตียงเลย อาสนะที่เขาจัดไว้ เหล่านี้มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น

           พระผู้มีพระภาค ประทับนั่งบนอาสนะ ซึ่งเขาจัดไว้ครั้นแล้วได้ตรัส ถามภิกษุ นั้นว่า เธอพอทนได้หรือ เธอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาลดน้อยลง ไม่เจริญแก่กล้าหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ

           ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนา ของข้าพระองค์แก่กล้ายิ่งนัก ไม่ลดน้อยไปเลย ความกำเริบปรากฏ ความทุเลา ไม่ปรากฏ พระเจ้าข้า

           พ. ดูกรภิกษุ เธอไม่มีความรังเกียจ ไม่มีความเดือดร้อนไรๆ หรือ
           ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความรังเกียจ มีความเดือดร้อน ไม่น้อยเลย พระเจ้าข้า

           พ. ดูกรภิกษุ เธอไม่ติเตียนตนเองโดยศีลบ้างหรือ
           ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ติเตียนตน โดยศีลเลยพระเจ้าข้า

           พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอไม่ติเตียนตนโดยศีล เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะมีความ รังเกียจ มีความเดือดร้อนเพราะเรื่องอะไรเล่า
           ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่รู้ทั่วถึงธรรม ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง เพื่อสีลวิสุทธิเลย พระเจ้าข้า

           พ. ดูกรภิกษุ ถ้าว่าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรม ที่เราแสดงแล้วเพื่อสีลวิสุทธิ ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้ว ประพฤติเพื่ออะไรเล่า
           ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงแล้ว เพื่อคลายจากราคะ พระเจ้าข้า

           พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่แสดงแล้ว เพื่อ คลายจากราคะ

            ดูกรภิกษุ เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว ล้วนมีความคลาย จาก ราคะ เป็นความมุ่งหมาย

(พระผู้มีพระภาค เทศนา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ นั่นไม่ใช่ของเรา)

           [๘๙] พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
           ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

           พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง
           ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

           พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่าฯ
           ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

           พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
           ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

           พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน จักษุ ฯลฯ แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี

           พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้นชื่นชมยินดี ภาษิตของ พระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ธรรมจักษุ อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ เกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา



8)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๕๖

ฉันนสูตร (พระฉันนะอาพาธ)

           [๑๐๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหา จุนทะ และท่านพระ ฉันนะ อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ สมัยนั้นแล ท่านพระ ฉันนะอาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจาก ที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปหาท่านพระมหาจุนทะถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่าน พระมหาจุนทะว่า

           ดูกรท่านจุนทะ เราจงพากันเข้าไปหาท่านพระฉันนะ ถามถึงความเป็นไข้เถิด ท่านพระมหาจุนทะรั บคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ครั้งนั้นแลท่านพระสารีบุตร และท่าน พระมหาจุนทะ เข้าไปหาท่านพระฉันนะถึงที่ อยู่ แล้วนั่งบนอาสนะที่ปูไว้

           ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้ถามท่านพระฉันนะว่า ดูกรท่านฉันนะ ท่านพอ อดทน ได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนา ลดลง ไม่กำเริบขึ้น ความทุเลา ปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ

           [๑๐๕] ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่ไหว ยังอัตภาพ ให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ลดลงเลย ความกำเริบปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เอาเหล็ก แหลมคมทิ่มศีรษะ ฉันใด ลมอันกล้ายิ่งเข้ากระทบที่ศีรษะของกระผม ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ฯลฯ

           เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เอาเส้นเชือกหนังอันเหนียว ขันที่ศีรษะฉันใด ลมอันกล้า ยิ่งเสียดแทงที่ศีรษะของกระผม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯเปรียบเหมือนนาย โคฆาต หรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ขยัน เอามีดสำหรับแล่เนื้อ โคที่คมกรีดท้อง แม้ฉันใด ลมอันกล้า ยิ่งย่อมเสียดแทงท้องของกระผม ฉันนั้น เหมือนกัน ฯลฯ เปรียบเหมือน บุรุษผู้มีกำลัง ๒ คน จับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่า คนละแขน ลนให้เร่าร้อน บนหลุม ถ่านเพลิง แม้ฉันใด ความเร่าร้อนในกายของ กระผมก็มากยิ่ง ฉันนั้น เหมือนกัน

           ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่ไหว เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนา ของกระผมกำเริบหนัก ไม่ลดลงเลย ความกำเริบปรากฏ ความทุเลา ไม่ปรากฏ ท่านพระฉันนะ กล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรกระผมจักนำศาตรามา ไม่ปรารถนา เป็นอยู่ ดังนี้แล้ว ก็นำศาตรามา

           [๑๐๖] ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านพระฉันนะ จงเยียวยาอัตภาพ ให้เป็นไปเถิด เราทั้งหลายปรารถนาให้ท่านพระฉันนะ เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปอยู่
ถ้าโภชนะเป็น ที่สบาย มิได้มีแก่ท่านพระฉันนะ ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าเภสัช เป็นที สบายมิได้มี แกท่านพระฉันนะ ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าพวกอุปัฏฐาก ที่สมควร มิได้มี แก่ท่าน พระฉันนะ ผมจักอุปัฏฐากเองท่านพระฉันนะอย่านำ ศาตรามาเลย จงเยียวยาอัตภาพ ให้เป็นไปเถิด เราทั้งหลายปรารถนาให้ท่าน พระฉันนะ เยียวยา อัตภาพให้เป็นไปอยู่

           ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร โภชนะเป็นที่สบายของ กระผม มิใช่ไม่มี โภชนะเป็นที่สบาย ของกระผมมีอยู่ แม้เภสัช เป็นที่สบายของกระผม ก็มิใช่ไม่มีเภสัช เป็นที่สบาย ของกระผมมีอยู่ แม้อุปัฏฐากที่สมควร ของกระผม มิใช่ไม่มี อุปัฏฐาก ที่สมควร ของกระผมมีอยู่ ก็พระศาสดาอันกระผมบำเรอแล้ว ด้วยอาการเป็นที่พอใจ อย่างเดียว ไม่บำเรอด้วยอาการเป็นที่ไม่พอใจ ตลอดกาลนาน มาข้อที่พระสาวก บำเรอพระศาสดา ด้วยอาการเป็นที่พอใจ ไม่บำเรอด้วยอาการเป็นที่ ไม่พอใจ นี้สมควรแก่พระสาวก ความบำเรอนั้น ไม่เป็นไป ฉันนภิกษุจักนำศาตรามา ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ขอท่านจงทรงจำความนี้ไว้อย่างนี้ ดังนี้เถิด

           [๑๐๗] สา. เราทั้งหลาย ขอถามปัญหาบางข้อกะท่านพระฉันนะ ถ้าท่าน พระฉันนะ ให้โอกาสเพื่อจะแก้ปัญหา
           ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร นิมนต์ถามเถิด กระผมฟังแล้วจักให้ทราบ

(พระสารีบุตรแสดงธรรม จักษุ-จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ของเรา)

           สา. ท่านพระฉันนะ ท่านย่อมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณและธรรม ทั้งหลาย ที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน ของเรา ฯลฯ ท่านย่อมพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้ แจ้งด้วยมโน วิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่น เป็นตัวตนของเรา ดังนี้ หรือ

           ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมย่อมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรม ทั้งหลาย ที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ เป็นตัวตนของเรา ฯลฯ กระผมย่อมพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และ ธรรมทั้งหลาย ที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น ไม่ใช่เป็นตัวตน ของเรา

           [๑๐๘] สา. ดูกรท่านพระฉันนะ ท่านเห็นอย่างไร รู้อย่างไร ในจักษุ ในจักษุวิญญาณ และในธรรมทั้งหลาย ที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็น จักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯลฯ ท่านเห็นอย่างไร รู้อย่างไร ในใจ ในมโนวิญญาณ และในธรรมทั้งหลาย ที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณา เห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้ง ด้วยมโนวิญญาณว่านั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา

           [๑๐๙] ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมเห็นความดับ รู้ความดับ ในจักษุ ในจักขุวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณและธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ กระผมเห็นความดับ รู้ ความดับในใจ ในมโนวิญญาณและในธรรมทั้งหลาย ที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลาย ที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

(ที่สุดแห่งทุกข์)

           [๑๑๐] เมื่อท่านพระฉันนะ กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะ ได้กล่าวกะ ท่านพระ ฉันนะว่า ดูกรท่านพระฉันนะ เพราะเหตุนั้นแล แม้ความพิจารณาเห็นนี้ เป็นคำสอน ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ท่านพึงทำไว้ในใจให้ดี ตลอดกาล เป็นนิตย์ไป

ความหวั่นไหวของบุคคลที่มี ตัณหา มานะ และทิฐิ อาศัยอยู่ ยังมีอยู่
ความหวั่นไหว ย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ไม่มีตัณหา มานะ และทิฐิอาศัยอยู่
เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ย่อมมีปัสสัทธิ
(ความสงบระงับ)
เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ไม่มีความเพลิดเพลิน
เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน
ความมา ความไป ก็ไม่มี
เมื่อความมาความไปไม่มี
จุติ และ อุปบัติ ก็ไม่มี
เมื่อจุติ และอุปบัติไม่มี
โลกนี้ และ โลกหน้า ก็ไม่มี
และระหว่างโลกทั้งสอง
ก็ไม่มี
นี้แหละ เป็นที่สุดแห่งทุกข์

           ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหา จุนทะ ครั้นกล่าวสอน ท่านพระฉันนะ ด้วยโอวาทนี้แล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ครั้นเมื่อท่านทั้งสอง หลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระฉันนะก็นำศาตรามา (เพื่อฆ่าตัวตาย)

           [๑๑๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า

           ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระฉันนะ นำศาตรามาแล้ว (ฆ่าตัวตายแล้ว) ท่านมีคติ และ อภิสัมปรายภพ เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรสารีบุตร ความเป็นผู้ไม่ เข้าไป อัน ฉันนภิกษุ พยากรณ์แล้วต่อหน้าเธอมิใช่ หรือ

(พระไตรปิฎก ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ๒๕๔๙ เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๘๐ แปลว่า พระฉันนะ นำศาตนามาฆ่าตัวตาย P1098)



9)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๐๖

คิลานสูตรที่ ๑ (พระมหากัสสปอาพาธ)
พระมหากัสสปหายอาพาธด้วยโพชฌงค์ ๗


           [๔๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสปอาพาธ ไม่สบาย เป็นไข้หนัก อยู่ที่ปิปผลิคูหา.

           [๔๑๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหา ท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถาม ท่านพระมหากัสสปว่า ดูกรกัสสป เธอพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ หรือ ทุกขเวทนาคลายลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบขึ้น ไม่ปรากฏแลหรือ?

           ท่านพระมหากัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ อดทน ไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกเวทนาของพระองค์กำเริบหนัก ยังไม่คลายไป ความกำเริบขึ้นย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ.

(ทรงแสดงธรรมแก่กัสสปด้วย โพชฌงค์ ๗)

           [๔๑๗] พ. ดูกรกัสสป โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โพชฌงค์ ๗เป็นไฉน?

           [๔๑๘] ดูกรกัสสป สติสัมโพชฌงค์ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญ แล้วกระทำ ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

           ดูกรกัสสป โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

           [๔๑๙] ท่านพระมหากัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์ดีนัก ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์ดีนัก พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ท่าน พระมหากัสสปปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค

           ท่านพระมหากัสสป หายจากอาพาธนั้นแล้ว และอาพาธนั้น อันท่าน พระมหากัสสป ละได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล.



10)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๐๗

คิลานสูตรที่ ๒ (พระมหาโมคคัลลานะหายอาพาธ)
พระมหาโมคคัลลานะหายอาพาธด้วยโพชฌงค์ ๗

           [๔๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทก นิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะอาพาธ ไม่สบาย เป็นไข้หนัก อยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ.

           [๔๒๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหา ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสถาม ท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ดูกรโมคคัลลานะ เธอพออด พอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้แลหรือ ทุกขเวทนาคลายลงไม่กำเริบขึ้น แลหรือ ความทุเลา ย่อมปรากฏ ความกำเริบขึ้นไม่ปรากฏแลหรือ?

          ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไป ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์ย่อมกำเริบ หนัก ยังไม่คลายลง ความกำเริบ ย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ

(ทรงแสดงธรรมแก่พระมหาโมคคัลลานะด้วย โพชฌงค์ ๗)

           [๔๒๒] พ. ดูกรโมคคัลลานะ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โพชฌงค์๗ เป็นไฉน?

           [๔๒๓] ดูกรโมคคัลลานะ สติสัมโพชฌงค์ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

           ดูกรโมคคัลลานะ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน.

           [๔๒๔] ท่านพระโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์ ดีนัก ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์ดีนัก พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค

           ท่านพระมหา โมคคัลลานะ หายจากอาพาธนั้นแล้ว และอาพาธนั้น อัน ท่านพระมหาโมคคัลลานะละได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล



11)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๐๘

คิลานสูตรที่ ๓
(พระผู้มีพระภาค)
พระผู้มีพระภาคหายประชวรด้วยโพชฌงค์ ๗

           [๔๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงประชวร ไม่สบาย เป็นไข้หนัก

           [๔๒๖] ครั้งนั้น ท่านพระมหาจุนทะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะ ท่านพระจุนทะ ว่า ดูกรจุนทะ โพชฌงค์จงแจ่มแจ้งกะเธอ.

           จ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ ตรัสรู้ เพื่อนิพพานโพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?

           [๔๒๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สติสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ ตรัสรู้ เพื่อนิพพานฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

           [๔๒๘] ดูกรจุนทะ โพชฌงค์ดีนัก ดูกรจุนทะ โพชฌงค์ดีนัก ท่านพระมหา จุนทะ ได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย พระผู้มีพระภาค ทรงหาย จากประชวรนั้นและอาพาธนั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงละแล้ว ด้วยประการ ฉะนี้แล.



12)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๘

จุนทสูตร (พระสารีบุตรอาพาธ)
ว่าด้วยการปรินิพพานของพระสารีบุตร
(พระสารีบุตรปรินิพพานด้วยอาพาธ)

           [๗๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็ในสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร อยู่ ณ บ้านนาฬกคามในแคว้นมคธ อาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา สามเณร จุนทะ เป็นอุปัฏฐากของท่าน ครั้งนั้นท่านพระสารีบุตร ปรินิพพานด้วย อาพาธ นั่นแหละ

           [๗๓๔] ครั้งนั้น สามเณรจุนทะ ถือเอาบาตร และจีวรของท่านพระสารีบุตร เข้าไปหา พระอานนท์ ยังพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนคร สาวัตถี นมัสการท่านพระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าว กะท่านพระอานนท์ว่า

           ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว นี้บาตรและ จีวรของท่าน ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรอาวุโสจุนทะ นี้เป็นมูลเรื่องที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค มีอยู่ มาไปกันเถิด เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลเนื้อความ นั้น แด่พระองค์ สามเณรจุนทะรับคำ ของท่านพระอานนท์แล้ว

           [๗๓๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ กับสามเณรจุนทะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สามเณรจุนทะรูปนี้ ได้บอกอย่างนี้ว่า ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว นี้บาตรและจีวรของท่าน

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายของข้าพระองค์ประหนึ่งจะงอมงมไป แม้ทิศ ทั้งหลาย ก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์ แม้ธรรมก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์ เพราะได้ฟัง ว่า ท่านพระสารีบุตร ปรินิพพานแล้ว

           [๗๓๖] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ สารีบุตรพาเอาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ปรินิพพาน ไปด้วยหรือ?

           ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตร มิได้พา ศีลขันธ์ ปรินิพพาน ไปด้วย ฯลฯ มิได้พาวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ปรินิพพานไปด้วย ก็แต่ว่า ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้กล่าวแสดงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ไม่เกียจคร้านในการแสดงธรรม อนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ข้าพระองค์ ทั้งหลายมาตามระลึกถึง โอชะแห่งธรรมธรรมสมบัติ และการอนุเคราะห์ ด้วยธรรมนั้น ของท่านพระสารีบุตร

           [๗๓๗] พ. ดูกรอานนท์ ข้อนั้น เราได้บอกเธอทั้งหลาย ไว้ก่อนแล้วไม่ใช่ หรือว่า จักต้องมีความจาก ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่น จากของรักของชอบใจ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น จะพึงได้ในของรักของชอบใจนี้แต่ที่ไหน? สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้น อย่าทำลาย ไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้

           [๗๓๘] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนเมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่น ตั้งอยู่ ลำต้นใด ซึ่งใหญ่กว่า ลำต้นนั้นพึงทำลายลง ฉันใด เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ซึ่งมีแก่น ดำรงอยู่ สารีบุตร ปรินิพพานแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จะพึงได้ในข้อนี้แต่ที่ไหน?

           สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้วปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลยดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะฉะนั้น แหละ เธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่งอย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรม เป็นเกาะ มีธรรม เป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด

           [๗๓๙] ดูกรอานนท์ ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่น เป็นที่พึ่ง คือมีธรรม เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่อย่างไร?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (สติปัฏฐาน๔)
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชญา และโทมนัสในโลกเสีย
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...
ย่อมพิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่ ...
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโลกเสีย

           ดูกรอานนท์ ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง อยู่อย่างนี้แล

           [๗๔๐] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่ง ในบัดนี้ก็ดี ในกาลที่เราล่วงไป ก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรม เป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ พวกภิกษุเหล่านี้นั้น ที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักเป็นผู้เลิศ.



13)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๓

สิริวัฑฒสูตร (สิริวัฑฒคฤหบดี อาพาธ)
ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้อนาคามิผล

           [๗๘๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น สิริวัฑฒคฤหบดีอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นสิริวัฑฒคฤหบดี เรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า มานี่แน่ะ บุรุษผู้เจริญ ท่านจงเข้าไปหา ท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จงกราบเท้าทั้งสอง ของท่านด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า

           ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สิริวัฑฒคฤหบดี อาพาธได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบเท้า ทั้งสอง ของท่านพระอานนท์ ด้วยเศียรเกล้า ดังนี้ และจงเรียน อย่างนี้ว่า

           ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์ จงอาศัยความ อนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ ของสิริวัฑฒคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำสิริวัฑฒคฤหบดี แล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ นมัสการท่านพระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้เรียนท่านพระอานนท์ว่า

           ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สิริวัฑฒคฤหบดีอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอ กราบเท้า ทั้งสอง ของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า และสั่งให้เรียน อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์ จงอาศัยความ อนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของสิริวัฑฒคฤหบดีเถิด ท่านพระอานนท์รับคำ ด้วยดุษณีภาพ

           [๗๘๘] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไป ยังนิเวศน์ ของสิริวัฑฒคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย ครั้นแล้ว ได้ถามสิริวัฑฒคฤหบดี ว่า

           [๗๘๙] ดูกรคฤหบดี ท่านพอจะอดทนได้หรือ พอจะยังอัตภาพให้เป็นไป ได้หรือ ทุกขเวทนา ย่อมคลายลงไม่กำเริบขึ้นหรือ ความทุเลาปรากฏ ความกำเริบ ไม่ปรากฏหรือ? สิริวัฑฒคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่เสื่อมคลายไปเลย ความกำเริบปรากฏอยู่ ความทุเลาไม่ปรากฏ

(พระอานนท์แสดงธรรมเรื่อง สติปัฏฐาน ๔ )

           [๗๙๐] อา. ดูกรคฤหบดี เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจัก พิจารณา เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และ โทมนัส ในโลกเสีย จักพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... จักพิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่ ... จักพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสีย ดูกรคฤหบดีท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล

           [๗๙๑] สิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมคือสติปัฏฐาน ๔ เหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในกระผม และกระผมย่อมเห็นชัด ในธรรมเหล่านั้น ก็กระผมย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

           [๗๙๒] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ เหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ กระผมยังไม่แลเห็นสังโยชน์ ข้อใดข้อหนึ่ง ที่ยังละ ไม่ได้แล้วในตน

           อา. ดูกรคฤหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว อนาคามิผล อันท่าน กระทำให้แจ้งแล้ว

(2)
(ข้อสังเกตุ : สิริวัฑฒคฤหบดี บอกพระอานนท์ว่า เคยฟังพระผู้มีพระภาคที่ทรงแสดง สติปัฏฐาน ๔ จนรู้แจ้ง และเห็นว่า สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ตนเองละได้แล้ว พระอานนท์จึง พยากรณ์ตามคำบอกเล่าของคฤหบดี ...ข้อสงสัยคือ พระอานนท์ซึ่งไม่มีญาณหยั่งรู้ สามารถพยากรณ์ได้หรือไม่ ...หากทำไม่ได้ พระสูตรนี้เป็นอรรถกถาหรือไม่ )


ดูหน้าถัดไป   

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์