เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก (รวม 20 เรื่อง) (เฉพาะพระสูตรที่น่าเชื่อได้ว่าเป็นพุทธวจน) 1623
  P1621 P1622 P1623
รวมพระสูตร เรื่องอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก
  ผู้อาพาธ เทศนาเรื่อง แสดงธรรมโดย ผลจากการฟังธรรม ฉบับหลวง
14 มานทินนคฤหบดี ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔
ได้อนาคามิผล
พระอานนท์ สิ้นสังโยชน์ ๕ (1)
ได้อานาคามีผล
เล่มที่ ๑๙ น.๑๙๕
15 พระอนุรุทธะ
(เล่าให้ภิกษท.ฟัง)
สติปัฏฐาน๔
ระงับทุกขเวทนา
พระอนุรุทธ สรีรกายที่บังเกิดขึ้น ไม่ครอบงำจิต เล่มที่ ๑๙ น.๓๐๙
16 ฑีฆาวุอุบาสก ฑีฆาวุอุบาสกอาพาธ พระผู้มีพระภาค สิ้นสังโยชน์ ๕
จะปรินิพพานในภพที่เกิดใหม่
เล่มที่ ๑๙ น.๓๔๕
17 อนาถบิณฑิกคฤบดี จำแนกโสตาปัตติยังคะ ๔ พระสารีบุตร เวทนาของอนาถบิณฑิก
ระงับโดยพลัน
เล่มที่ ๑๙ น.๓๗๘
18 อุบาสกผู้มีปัญญา ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ อุบาสกผู้มีปัญญา ไม่ได้กล่าวถึงผลของการฟังธรรม
แต่สอนใหดับสักกายะทิฐิ
เล่มที่ ๑๙ น.๔๐๖
19 ภิกษุณี บริโภคอาหารเพียงเพื่อ
ระงับความหิว
พระอานนท์ ไม่ได้กล่าวถึงผลของการฟังธรรม
แต่สอนให้ดับเวทนาด้วยอาหาร
เล่มที่ ๒๑ น.๑๔๒
20 ท่านพระคิริมานนท์ สัญญา ๑๐ ประการ พระอานนท์ อาพาธ ระงับโดยพลัน เล่มที่ ๒๔ น.๙๙

 


14)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๕

มานทินนสูตร (มานทินนคฤหบดี อาพาธ/พระอานนท์แสดงธรรม)
ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้อนาคามิผล

           [๗๙๓] ก็สมัยนั้น มานทินนคฤหบดี อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น มานทินนคฤหบดี เรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า มานี่แน่ะ บุรุษผู้เจริญ ท่านจงเข้าไปหาพระอานนท์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จงกราบเท้า ทั้งสอง ของท่าน ด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า

           ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มานทินนคฤหบดี อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอ กราบเท้า ทั้งสอง ของท่านพระอานนท์ ด้วยเศียรเกล้า ดังนี้ และจงเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์ จงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของ มานทินนคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำ มานทินนคฤหบดีแล้ว เข้าไปหาพระอานนท์ ถึงที่อยู่ นมัสการท่านพระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง

           ครั้นแล้ว ได้เรียนท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มานทินนคฤหบดี อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสอง ของท่านพระอานนท์ ด้วยเศียรเกล้า และสั่งให้เรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่าน พระอานนท์อาศัย ความ อนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ ของมานทินนคฤหบดีเถิด ท่านพระอานนท์รับคำ ด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้น เวลาเช้าท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยัง นิเวศน์ ของมานทินนคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะ ที่เขาปูถวาย

           ครั้นแล้วได้ถามมานทินน คฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ท่านพอจะอดทนได้หรือ พอจะยัง อัตภาพ ให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาย่อมคลายลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ ความทุเลา ปรากฏความกำเริบ ไม่ปรากฏหรือ? มานทินนคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของ กระผมยังกำเริบหนัก ไม่เสื่อมคลายไปเลย ความกำเริบยังปรากฏอยู่ ความทุเลา ไม่ปรากฏ

(พระอานนท์แสดงธรรมเรื่อง สติปัฏฐาน ๔ )

           [๗๙๔] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอันทุกขเวทนา เห็นปานนี้กระทบแล้ว ย่อมพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัส ในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสีย

           [๗๙๕] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ เหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้ กระผมยังไม่แลเห็นสังโยชน์ข้อใดข้อหนึ่ง ที่ยังละ ไม่ได้แล้วในตน (ไม่แลเห็นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ที่ยังละไม่ได้ แสดงว่าละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้หมดแล้ว)

           ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรคฤหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว อนาคามิผล อันท่านกระทำ ให้แจ้งแล้ว

(1)
(ข้อสังเกตุ : มานทินนคฤหบดี บอกพระอานนท์ว่า เคยฟังพระผู้มีพระภาคที่ทรงแสดง สติปัฏฐาน ๔ จนรู้แจ้ง และเห็นว่า สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ตนเองละได้แล้ว พระอานนท์จึง พยากรณ์ตามคำบอกเล่าของคฤหบดี ...ข้อสงสัยคือ พระอานนท์ซึ่งไม่มีญาณหยั่งรู้ สามารถพยากรณ์ได้หรือไม่ ...หากทำไม่ได้ พระสูตรนี้เป็นอรรถกถาหรือไม่ )



15)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐๙

คิลลานสูตร (ท่านพระอนุรุทธะอาพาธ)
จิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ทุกขเวทนาไม่ครอบงำ
(พระอนุรุธะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ทุกขเวทนาจึงไม่ครอบงำจิต)

           [๑๒๘๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะ อยู่ในป่าอันธวัน ใกล้พระนครสาวัตถี อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปหาท่าน พระอนุรุทธะ ถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะ อยู่ด้วยวิหารธรรมข้อไหน ทุกขเวทนา ในสรีรกายที่บังเกิดขึ้น จึงไม่ครอบงำจิต?

           [๑๒๘๔] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เรามีจิตตั้งมั่นอยู่ใน สติปัฏฐาน ๔ ทุกขเวทนา ในสรีรกายที่บังเกิดขึ้น จึงไม่ครอบงำ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? เราย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

           ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เรามีจิตตั้งมั่นอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล ทุกขเวทนา ในสรีรกายที่บังเกิดขึ้น จึงไม่ครอบงำจิต



16)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๔๕

ฑีฆาวุสูตร (ฑีฆาวุอุบาสกอาพาธ)
องค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา

           [๑๔๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปน สถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ฑีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ได้เชิญคฤหบดีชื่อโชติยะ ผู้เป็นบิดามาสั่งว่า ข้าแต่คฤหบดี ขอท่าน จงไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค แล้วถวายบังคมพระบาททั้งสอง ของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า แล้วกราบทูลตามคำของผมว่า

           ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฑีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคมพระบาททั้งสอง ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และจงกราบทูล อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงพระกรุณาเสด็จไปยัง นิเวศน์ ของฑีฆาวุอุบาสก โชติยคฤหบดีรับคำฑีฆาวุอุบาสกแล้ว เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

           [๑๔๑๗] ครั้นแล้ว โชติยคฤหบดีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฑีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคม พระบาททั้งสอง ของ พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และเขากราบทูลมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงพระกรุณา เสด็จไปยังนิเวศน์ ของฑีฆาวุอุบาสก พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพ

           [๑๔๑๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยัง นิเวศน์ของฑีฆาวุอุบาสก ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ แล้วได้ตรัสถามฑีฆาวุ อุบาสก ว่า ดูกรฑีฆาวุอุบาสก ท่านพอจะอดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ ละหรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลา ย่อมปรากฏ ความกำเริบ ไม่ปรากฏแลหรือ ฑีฆาวุอุบาสกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทน ไม่ได้ เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของพระองค์กำเริบหนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลาย่อมไม่ปรากฏ

           [๑๔๑๙] พ. ดูกรฑีฆาวุ เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ จักเป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ เป็นไปเพื่อ สมาธิ ดูกรฑีฆาวุ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แหละ

           [๑๔๒๐] ที. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา ๔ เหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ และข้าพระองค์ ก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น ข้าพระองค์ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ

           พ. ดูกรทีฆาวุ เพราะฉะนั้นแหละ ท่านตั้งอยู่ในองค์แห่งธรรม เป็นเครื่อง บรรลุโสดา๔ เหล่านี้แล้ว พึงเจริญธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป

           [๑๔๒๑] ดูกรทีฆาวุ ท่านจงพิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่า เป็นของ ไม่เที่ยง มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า เป็นทุกข์ มีความสำคัญในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า เป็นอนัตตา มีความสำคัญในการละ มีความสำคัญในความคลายกำหนัด มีความสำคัญในการดับ ดูกรฑีฆาวุ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล

           [๑๔๒๒] ที. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการ เหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ และ ข้าพระองค์ก็เห็นชัดใ นธรรมเหล่านั้น ข้าพระองค์พิจารณาเห็นในสังขาร ทั้งปวงว่า เป็นของไม่เที่ยง มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า เป็นทุกข์ ... มีความสำคัญ ในความดับ อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า โชติยคฤหบดีนี้ อย่าได้ถึง ความทุกข์โดยล่วงไปแห่งข้าพระองค์เลย โชติยคฤหบดี ได้กล่าวว่า พ่อทีฆาวุ พ่ออย่าได้ใส่ใจถึงเรื่องนี้เลย พ่อทีฆาวุ จงใส่ใจพระพุทธพจน์ ที่พระผู้มีพระภาค ตรัสแก่ท่านให้ดีเถิด

           [๑๔๒๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสสอนทีฆาวุอุบาสก ด้วยพระโอวาท นี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน ทีฆาวุ อุบาสก กระทำกาละแล้ว

           [๑๔๒๔] ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีฆาวุอุบาสกที่พระผู้มีพระภาค ตรัสสอน ด้วยพระโอวาทโดยย่อ กระทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพ ของเขาเป็นอย่างไร?

           พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทีฆาวุอุบาสกเป็นบัณฑิต มีปกติพูดจริง ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และไม่ยังตนให้ลำบาก เพราะมีธรรมเป็นเหตุ ทีฆาวุอุบาสก เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพที่เกิดนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้น เป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป



17)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๗๘

ทุสีลยสูตรที่ ๑ (ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี /แสดงธรรมโดยพระสารีบุตร)
จำแนกโสตาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐

           [๑๕๔๘] สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกหฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปเถิด จงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ครั้นแล้ว จงไหว้เท้า ทั้งสองของท่านพระสารีบุตร ด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบเท้าทั้งสอง ของท่าน พระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และท่านจงเรียนอย่างนี้ว่า

           ข้าแต่ท่านผู้เจริญได้โปรดเถิด ขอท่านพระสารีบุตร จงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยัง นิเวศน์ ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด บุรุษนั้น รับคำของท่านอนาถ บิณฑิก คฤหบดี แล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้เรียนว่า

           ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอ กราบเท้า ทั้งสอง ของท่านพระสารีบุตร ด้วยเศียรเกล้า และท่านสั่งมา อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระสารีบุตร จงอาศัยความ อนุเคราะห์ เข้าไป ยังนิเวศน์ ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระสารีบุตร รับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ

           [๑๕๔๙] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร มีท่าน พระอานนท์ เป็นปัจฉาสมณะ(ผู้ติดตาม) เข้าไปยังนิเวศน์ ของท่านอนาถบิณฑิก คฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ถามท่าน อนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ท่านพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนา คลายลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏแลหรือ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอดทนไม่ได้ ยังอัตภาพ ให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบ ย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ

           [๑๕๕๐] สา. ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใส ในพระพุทธเจ้า เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น อยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๕๑] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใส ในพระธรรม เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใส ในพระธรรมเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระธรรมว่าธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบ ระงับโดยพลัน

           [๑๕๕๒] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีความเลื่อมใส ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ นั้น อยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๕๓] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีล เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความเป็นผู้ทุศีล เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ก็เมื่อท่านเห็นศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบ ระงับโดยพลัน

           [๑๕๕๔] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาทิฏฐิเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านส่วนท่านมีสัมมาทิฏฐิ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาทิฏฐินั้นอยู่ในตน เวทนา จะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๕๕] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสังกัปปะ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสังกัปปะ เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาสังกัปปะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสังกัปปะ นั้น อยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๕๖] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวาจา เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวาจา เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านส่วนท่านมีสัมมาวาจา ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวาจานั้น อยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๕๗] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉากัมมันตะ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉากัมมันตะ เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมากัมมันตะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมากัมมันตะ นั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๕๘] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาอาชีวะ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาอาชีวะ เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาอาชีวะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาอาชีวะ นั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๕๙] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวายามะ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวายามะ เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวายามะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวายามะ นั้น อยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๖๐] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสติเห็นปานใด เมื่อแตก กายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสติเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ ท่านส่วนท่านมีสัมมาสติ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสตินั้นอยู่ในตน เวทนาจะ พึงสงบระงับ โดยพลัน

           [๑๕๖๑] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสมาธิ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสมาธิ เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาสมาธิ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสมาธินั้น อยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๖๒] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาญาณะ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาญาณะ เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาญาณะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาญาณะ นั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๖๓] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวิมุติเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวิมุติเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านส่วนท่านมีสัมมาวิมุติ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวิมุตินั้นอยู่ในตน เวทนา จะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๖๔] ครั้งนั้น เวทนาของท่านอนาถบิณฑิก คฤหบดีสงบระงับแล้ว โดยพลัน ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีอังคาส ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์ ด้วยอาหาร ที่เขาจัดมาเฉพาะตน ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เมื่อท่าน พระสารีบุตร ฉันเสร็จนำมือออกจากบาตรแล้ว จึงถือเอาอาสนะต่ำอันหนึ่ง นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ท่านพระสารีบุตร อนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้

           [๑๕๖๕] ผู้ใดมีศรัทธา ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ในพระตถาคต มีศีลอันงาม ที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็น อันตรง บัณฑิตทั้งหลาย เรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสนชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบตามซึ่งศรัทธา ศีล ความเลื่อมใสและความเห็นธรรม

           [๑๕๖๖] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร ครั้นอนุโมทนา ด้วยคาถาเหล่านี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป

           [๑๕๖๗] ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสถาม ท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เธอมาจากไหนแต่ยังวัน ท่านพระอานนท์ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอน อนาถบิณฑิกคฤหบดี ด้วยโอวาทข้อนี้ๆ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

           ดูกรอานนท์ สารีบุตรเป็นบัณฑิต สารีบุตรมีปัญญามาก ได้จำแนก
โสตาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ๑๐ อย่าง



18)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๐๖

คิลายนสูตร (อุบาสกผู้มีปัญญาอาพาธ/แสดงธรรมโดยอบาสกผู้มีปัญญาเหมือนกัน)
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการ

           [๑๖๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้พระนคร กบิลพัสดุ์แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้น ภิกษุมากรูป กระทำจีวรกรรม ของพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริกโดยล่วง ๓ เดือน พระเจ้ามหานามศากยราช ได้ทรงสดับข่าวว่า ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรม ของพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จหลีกไป สู่ที่จาริกโดยล่วง ๓ เดือน

           ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ยินมาว่า ภิกษุมากรูป กระทำ จีวรกรรม ของพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำจีวร สำเร็จแล้ว จักเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริกโดยล่วง ๓ เดือน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้ หม่อมฉัน ยังไม่ได้ฟัง ยังไม่ได้รับมา เฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า อุบาสกผู้มี ปัญญา พึงกล่าวสอนอุบาสกผู้มีปัญญา ผู้ป่วยได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก

           [๑๖๒๘] พ. ดูกรมหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญา พึงปลอบอุบาสก ผู้มีปัญญา ผู้ป่วยได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการ ว่า ท่านจง เบาใจเถิดว่าท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... มีศีลที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ

           [๑๖๒๙] ดูกรมหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญา ครั้นปลอบอุบาสก ผู้มีปัญญา ผู้ป่วยได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการนี้แล้ว พึงถามอย่างนี้ว่า ท่านมีความห่วงใย ในมารดาและบิดาอยู่หรือ?

           ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความห่วงใยในมารดาและบิดาอยู่ อุบาสกนั้น พึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านผู้เช่นกับเรา ซึ่งมีความตายเป็นธรรมดา ถ้าแม้ท่าน จักกระทำความห่วงใย ในมารดาและบิดา ก็จักตายไป ถ้าแม้ท่านจักไม่กระทำ ความห่วงใยในมารดาและบิดา ก็จักตายไปเหมือนกัน ขอท่านจงละความห่วงใย ในมารดา และบิดาของท่านเสียเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เราละความห่วงใย ในมารดา และบิดาของเราแล้ว

           [๑๖๓๐] อุบาสกนั้นพึงถามเขาอย่างนี้ว่า ก็ท่านยังมีความห่วงใยในบุตร และภริยา อยู่หรือ? ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความห่วงใย ในบุตรและภริยาอยู่ อุบาสกนั้น พึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านผู้เช่นกับเรา ซึ่งมีความตายเป็นธรรมดา ถ้าแม้ท่านจักกระทำความห่วงใย ในบุตรและภริยาก็จักตายไป ถ้าแม้ท่านจักไม่กระทำ ความห่วงใย ในบุตรและภริยา ก็จักตายไปเหมือนกัน ขอท่านจงละความห่วงใย ในบุตร และภริยาของท่านเสียเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เราละความห่วงใยในบุตร และ ภริยาของเราแล้ว

           [๑๖๓๑] อุบาสกนั้นพึงถามเขาอย่างนี้ว่า ท่านยังมีความห่วงใยใน กามคุณ ๕ อันเป็น ของมนุษย์อยู่หรือ? ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความ ห่วงใยในกามคุณ ๕ อันเป็น ของมนุษย์อยู่ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า กามอันเป็นทิพย์ ยังดีกว่า ประณีตกว่า กามอันเป็นของมนุษย์ ขอท่านจงพรากจิต ให้ออกจากกาม อันเป็นของ มนุษย์ แล้วน้อมจิตไปในพวกเทพชั้นจาตุมหาราชเถิด ถ้าเขากล่าว อย่างนี้ว่า จิตของเรา ออกจากกาม อันเป็นของมนุษย์แล้ว จิตของ เราน้อมไป ในพวกเทพ ชั้นจาตุมหาราชแล้ว

           [๑๖๓๒] อุบาสกนั้น พึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ยังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทพชั้นจาตุมหาราช ขอท่านจงพรากจิต ให้ออกจาก พวกเทพ ชั้นจาตุมหาราช แล้วน้อมจิตไปในพวกเทพชั้นดาวดึงส์เถิด
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจาก พวกเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว จิตของเรา น้อมไป ในพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว อุบาสกนั้น พึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า พวกเทพชั้นยามายังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ... พวกเทพชั้นดุสิตยังดีกว่า ประณีตกว่าพวกเทพ ชั้นยามา ... พวกเทพชั้นนิมมานรดียังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทพชั้นดุสิต ... พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตียังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทพชั้นนิมมานรดี ... พรหมโลกยังดีกว่า ประณีตกว่าพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ขอท่านจงพรากจิต ให้ออกจากพวกเทพ ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี แล้วน้อมจิต ไปในพรหมโลกเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพวกเทพ ชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว จิตของเราน้อมไป ในพรหมโลกแล้ว

           [๑๖๓๓] อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ แม้พรหมโลก ก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ยังนับเนื่องในสักกายะ ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพรหมโลก แล้วนำจิตเข้าไปในความดับสักกายะเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจาก พรหมโลก แล้ว เรานำจิตเข้าไปในความดับสักกายะแล้ว

           ดูกรมหาบพิตร อาตมภาพไม่กล่าวถึงความต่างอะไรกันของ อุบาสก ผู้มีจิต พ้นแล้ว อย่างนี้ กับ ภิกษุผู้พ้นแล้วตั้งร้อยปี คือ พ้นด้วยวิมุติเหมือนกัน (ผู้หลุดพ้นเสมอกันด้วยวิมุตติ ไม่ว่าจะหลุดพ้นมานานแค่ไหน)



19)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๒

(พระอานนท์ แสดงธรรมให้กับภิกษุณี ผู้อาพาธ)


           [๑๕๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้นแล ภิกษุณีรูปหนึ่งเรียกบุรุษคนหนึ่งมาว่าบุรุษผู้เจริญ พ่อจงมา พ่อจงเข้าไปหา พระผู้เป็น เจ้าอานนท์ จงไหว้เท้าพระผู้เป็นเจ้าอานนท์ด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเรา ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ภิกษุณีชื่อนี้กำลังอาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก นางย่อมไหว้เท้าของพระผู้เป็นเจ้าอานนท์ ด้วยเศียรเกล้าและพ่อจงกล่าวอย่างนี้ว่า

           ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส ขอพระผู้เป็นเจ้าอานนท์ จงอาศัยความ อนุเคราะห์ เข้าไปหาภิกษุณีนั้น ยังสำนักของภิกษุณีนั้นด้วยเถิด บุรุษนั้นรับคำภิกษุณี นั้นแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่งณ ที่ควรข้างหนึ่ง

           ครั้นแล้วได้กราบเรียน ท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุณีชื่อนี้ กำลังอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก นางไหว้เท้าของพระผู้เป็นเจ้าอานนท์ ด้วยเศียรเกล้า และกล่าว อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส ขอพระผู้เป็นเจ้า อานนท์ จงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปหาภิกษุณีนั้น ยังสำนักของนางภิกษุณี ด้วยเถิดท่าน พระอานนท์ รับคำด้วยดุษณีภาพ

           ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ครองผ้าในเวลาเช้า ถือบาตรและจีวรเข้าไปยัง สำนัก ของนางภิกษุณีภิกษุณีนั้น ได้เห็นท่านพระอานนท์ มาแต่ไกลแล้ว จึงนอน คลุมผ้า ตลอดศีรษะอยู่บนเตียง ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปหาภิกษุณีนั้น แล้วนั่ง บนอาสนะที่แต่งตั้งไว้ ครั้นแล้วได้กล่าวกะภิกษุณีนั้นว่า

(พระอานนท์แสดงธรรม ไม่บริโภคอาหารเพื่อเล่น แต่บริโภคเพียงเพื่อความตั้งอยู่ แห่งกายนี้ เพื่อระงับความหิวกระหาย)

           ดูกรน้องหญิง
กายนี้เกิดขึ้นด้วยอาหาร อาศัยอาหารแล้ว พึงละอาหารเสีย
กายนี้เกิดขึ้นด้วยตัณหา อาศัยตัณหาแล้ว พึงละตัณหาเสีย
กายนี้เกิดขึ้นด้วยมานะ อาศัยมานะแล้ว พึงละมานะเสีย
กายนี้เกิดขึ้นด้วยเมถุน ควรละเมถุนเสีย
การละเมถุน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เสตุฆาต (ตัดขาดจากเมถุน)

           ดูกรน้องหญิง ก็คำที่เรากล่าวว่า กายนี้เกิดขึ้นด้วย อาหาร อาศัยอาหารแล้ว พึงละอาหารเสีย ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

           ดูกรน้องหญิงภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว บริโภคอาหาร ไม่บริโภค เพื่อเล่น ไม่บริโภคเพื่อมัวเมา ไม่บริโภคเพื่อประเทืองผิว ไม่บริโภค เพื่อประดับ บริโภคเพียงเพื่อความตั้งอยู่แห่งกายนี้ เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป เพื่อระงับ ความหิว กระหาย เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า ด้วยการบริโภคนี้เราจัก กำจัด เวทนาเก่าได้ด้วย และจักไม่ยังเวทนาใหม่ให้เกิด ความดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษ และความผาสุก จักมีแก่เรา



20)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙๙

อาพาธสูตร (ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ)


           [๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมานนท์ อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึง ที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์ อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาสขอพระผู้มีพระภาค ได้โปรด อนุเคราะห์ เสด็จเยี่ยมท่าน พระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า

           พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหา แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการ แก่ คิริมานันทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานันท ภิกษุจะพึงสงบระงับ โดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้

(พระอานนท์เทศนาเรื่องสัญญา 10 ประการ)

           สัญญา ๑๐ ประการเป็นไฉน
คือ อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ อสุภสัญญา ๑ อาทีนวสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา ๑ อนาปานัสสติ ๑

           ดูกรอานนท์ (๑) ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่า ก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนา ไม่เที่ยงสัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ด้วยประการ อย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอนิจจสัญญา

           ดูกรอานนท์ (๒) ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตาหูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตาโผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ด้วยประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา

           ดูกรอานนท์ (๓) ก็อสุภสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น กายนี้นั่นแล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็นกระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่อาหารเก่า ดี เสลดหนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อมูตรย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่งามในกายนี้ ด้วยประการ ดังนี้ ดูกรอานนท์นี้เรียกว่าอสุภสัญญา

           ดูกรอานนท์ (๔) ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่า ก็ดีอยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กายนี้ มีทุกข์มาก มีโทษมากเพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือโรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกายโรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปากโรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึมโรคในท้องโรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลากโรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละออง บวมโรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธ มีเสมหะ เป็นสมุฏฐาน อาพาธ มีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาตอาพาธ อันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่ การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ ความเพียร เกินกำลัง อาพาธ อันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหายปวด อุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็น โดยความ เป็นโทษในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอาทีนวสัญญา

           ดูกรอานนท์ (๕) ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตก อันเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึง ความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดีย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้ หมดสิ้นไป ย่อมให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไปย่อมให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย อันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้วดูกรอานนท์นี้ เรียกว่าปหานสัญญา

           ดูกรอานนท์ (๖) ก็วิราคสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืน อุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส ธรรมชาติ เป็นที่ดับกิเลส และ กองทุกข์ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าวิราคสัญญา

           ดูกรอานนท์ (๗)นิโรธสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาติ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืน อุปธิ ทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับ โดยไม่เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับ กิเลส และกองทุกข์ ดูกรอานนท์นี้เรียกว่า นิโรธสัญญา

           ดูกรอานนท์ (๘) สัพพโลเกอนภิรตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละอุบาย และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และเป็น อนุสัยแห่งจิต ย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา

ดูกรอานนท์ (๙) สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชัง แต่สังขารทั้งปวง ดูกรอานนท์นี้เรียกว่า สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ฯ

           ดูกรอานนท์ (๑๐) อานาปานัสสติเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้าเธอ เป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือ
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น

ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง(ลมหายใจ) หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง หายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร (เวทนา) หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขาร หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่น หายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่น หายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิต หายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิต หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิต หายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความคลายกำหนัด หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความคลายกำหนัด หายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความดับสนิท หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความดับสนิท หายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความสลัดคืน หายใจเข้า

           ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอานาปานัสสติ

           ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้ว กล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้แก่ คิริมานนทภิกษุ ไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานนท ภิกษุจะพึงสงบระงับ โดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ

           ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ในสำนัก ของ พระผู้มีพระภาคแล้ว ได้เข้าไปหา ท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระคิริมานนท์

           ครั้งนั้นแล อาพาธนั้น ของท่านพระคิริมานนท์สงบระงับ โดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ ท่านพระคิริมานนท์ หายจากอาพาธนั้น ก็แล อาพาธนั้น เป็นโรค อันท่านพระคิริมานนท์ ละได้แล้วด้วยประการนั้นแล


ไปหน้าแรก   

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์