พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๒๔๖ - ๒๕๙
12)
ลงพรหมทัณฑ์
[๖๒๗] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปยังวัดโฆสิตาราม ครั้นแล้ว นั่งบนอาสนะ ที่เขาปูลาดไว้ ท่านพระฉันนะ เข้าไปหาท่านพระอานนท์ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะท่านพระฉันนะผู้นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่งว่า ท่านฉันนะ สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่ท่านแล้ว ฯ
ฉ. ท่านพระอานนท์ ก็พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร
อา. ท่านฉันนะ ท่านปรารถนาจะพูดคำใด พึงพูดคำนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงตักเตือน ไม่พึงพร่ำสอนท่าน
ฉ. ท่านพระอานนท์ ด้วยเหตุเพียงที่ภิกษุทั้งหลาย ไม่ว่ากล่าว ไม่ตักเตือน ไม่พร่ำสอนข้าพเจ้านี้ เป็นอันสงฆ์กำจัดข้าพเจ้าแล้วมิใช่หรือ แล้วสลบล้มลง ณ ที่นั้นเอง
ต่อมา ท่านพระฉันนะ อึดอัด ระอา รังเกียจอยู่ด้วยพรหมทัณฑ์ จึงหลีก ออกอยู่แต่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก ได้ทำ ให้แจ้ง ซึ่งคุณพิเศษอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจาก เรือน บวช โดยชอบ ต้องประสงค์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันนี้แหละ เข้าถึง อยู่แล้ว ได้รู้ชัดแล้วว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี
ก็แล ท่านพระฉันนะ ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง บรรดาพระอรหันต์ ทั้งหลาย ครั้นท่านพระฉันนะ บรรลุพระอรหัตแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์แล้ว กล่าวว่า ท่านพระอานนท์ ขอท่านจงระงับพรหมทัณฑ์ แก่ผมในบัดนี้เถิด
ท่านพระอานนท์ กล่าวว่า ท่านฉันนะ เมื่อใด ท่านทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต แล้ว เมื่อนั้น พรหมทัณฑ์ของท่านก็ระงับแล้ว
[๖๒๘] ก็ในการสังคายนาพระวินัยนี้ มีภิกษุ ๕๐๐ รูป ไม่หย่อนไม่เกิน เพราะฉะนั้นการสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ บัณฑิตจึงเรียกว่า แจง ๕๐๐ ดังนี้แล
ปัญจสติกขันธกะ ที่ ๑๑ จบ
ในขันธกะนี้มี ๒๓ เรื่อง
13)
หัวข้อประจำขันธกะ
[๖๒๙] เรื่องเมื่อพระสัมพุทธปรินิพพานแล้ว พระเถระชื่อกัสสปผู้รักษา พระสัทธรรม ได้ชี้แจงกะหมู่ภิกษุ ถึงถ้อยคำที่พระสุภัททะ กล่าวหมิ่นพระธรรมวินัย เมื่อเดินทางไกล จากเมืองปาวา พวกเราจักสังคายนาพระสัทธรรมในภายหน้า อธรรมจักรุ่งเรือง เรื่องเลือกสรรภิกษุ ๕๐๐ รูปหย่อนหนึ่ง
เรื่องเลือกพระอานนท์
เรื่องอยู่ใกล้ถ้ำอันอุดม เพื่อทำสังคายนาพระธรรมวินัย
เรื่องถามวินัยกะพระอุบาลี
เรื่องถามพระสูตรกะพระอานนท์ผู้ฉลาด
เรื่องพระสาวกของพระชินะเจ้าได้ทำสังคายนาพระไตรปิฎก เรื่องอาบัติเล็กน้อยต่างๆ เรื่องปฏิบัติตามพระบัญญัติ
เรื่องไม่ทูลถาม เรื่องเหยียบ เรื่องให้ไหว้ เรื่องไม่ทูลขอ เรื่องให้มาตุคามบวช เรื่องข้าพเจ้ายอมรับอาบัติทุกกฏ เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย
เรื่องพระปุราณะ เรื่องพรหมทัณฑ์ เรื่องพระมเหสีกับพระเจ้าอุเทน
เรื่องผ้ามาก เรื่องผ้าเก่า เรื่องผ้า ดาดเพดาน เรื่องผ้าปูฟูก เรื่องผ้าลาดพื้น เรื่องผ้าเช็ดเท้า เรื่อง ผ้าเช็ดธุลี เรื่องผ้าขยำกับโคลน เรื่องผ้า ๑๐๐๐ ผืน เกิดแก่พระอานนท์เป็นครั้งแรก
เรื่องพระฉันนะ ถูกลงพรหมทัณฑ์ ได้บรรลุสัจจะ ๔ พระเถระผู้เชี่ยวชาญ ๕๐๐ รูป ฉะนั้น จึงเรียกว่าแจง ๕๐๐
หัวข้อประจำขันธกะ จบ
14)
สัตตสติกขันธกะ
เรื่องพระวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ
[๖๓๐] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาค เสด็จปรินิพพานล่วงได้ ๑๐๐ ปี พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี แสดงวัตถุ ๑๐ ประการในเมืองเวสาลี ว่าดังนี้
๑. เก็บเกลือไว้ในเขนงฉัน ควร
๒. ฉันอาหารในเวลาบ่าย ล่วงสององคุลี ควร
๓. เข้าบ้านฉันอาหารเป็น อนติริตตะ ควร
๔. อาวาสมีสีมาเดียวกัน ทำอุโบสถต่างๆกัน ควร
๕. เวลาทำสังฆกรรม ภิกษุมาไม่พร้อมกันทำก่อนได้ ภิกษุมาทีหลังจึงบอกขออนุมัติ ควร
๖. การประพฤติตามอย่าง ที่อุปัชฌาย์และอาจารย์ประพฤติมาแล้ว ควร
๗. ฉันนมสดที่แปรแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมส้ม ควร
๘. ดื่มสุราอ่อน ควร
๙. ใช้ผ้านิสีทนะไม่มีชาย ควร
๑๐. รับทองและเงิน ควร
15)
เรื่องพระยสกากัณฑกบุตร
[๖๓๑] สมัยนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตร เที่ยวจาริกในวัชชีชนบทถึง พระนครเวสาลีข่าวว่า ท่านพระยสกากัณฑก บุตรพักอยู่ที่ กูฏาคาร ศาลาป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลีนั้น ฯ
[๖๓๒] สมัยนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ถึงวันอุโบสถเอาถาดทอง สัมฤทธิ์ ตักน้ำเต็มตั้งไว้ ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ กล่าวแนะนำอุบาสกอุบา สิกาชาวเมืองเวสาลี ที่มาประชุมกันอย่างนี้ว่า
ท่านทั้งหลายจงถวายรูปิยะแก่สงฆ์ กหาปณะหนึ่งก็ได้ กึ่งกหาปณะก็ได้บาทหนึ่ง ก็ได้ มาสกหนึ่งก็ได้ สงฆ์จักมี กรณียะด้วยบริขาร เมื่อพระวัชชีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระยสกากัณฑบุตรจึง กล่าวกะอุบาสกอุบาสิกา ชาวเมืองเวสาลีว่า
ท่านทั้งหลาย พวกท่านอย่าได้ถวาย รูปิยะแก่สงฆ์ กหาปณะหนึ่งก็ตาม กึ่งกหาปณะ ก็ตาม บาทหนึ่งก็ตาม มาสกหนึ่งก็ตาม ทองและเงิน ไม่ควรแก่สมณะ เชื้อสาย พระศากยบุตร พระสมณะเชื้อสาย พระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน พระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตร ไม่รับทอง และ เงิน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร มีแก้ว และ ทองวางเสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน
อุบาสกอุบาสิกา ชาวเมืองเวสาลี แม้อันท่านพระยสกากัณฑกบุตร กล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยังขืนถวายรูปิยะแก่สงฆ์ กหาปณะหนึ่งบ้างกึ่งกหาปณะบ้าง บาทหนึ่งบ้าง มาสกหนึ่งบ้าง
ครั้นล่วงราตรีนั้นแล้ว พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ได้จัดส่วนแบ่ง เงินนั้นตามจำนวนภิกษุแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระยสกากัณฑกบุตรว่า ท่านพระยส เงินจำนวนนี้เป็นส่วนของท่าน ท่านพระยสกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ฉันไม่มีส่วนเงิน ฉันไม่ยินดีเงิน ฯ
[๖๓๓] ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พระยสกากัณฑกบุตรนี้ ด่า บริภาษ อุบาสกอุบาสิกา ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้ เขาไม่เลื่อมใส เอาละพวกเราจะลงปฏิสารณียกรรมแก่ท่าน แล้วได้ลงปฏิสารณีย กรรมแก่พระยสกากัณฑกบุตรนั้น
ครั้งนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตร ได้กล่าวกะพวกพระวัชชีบุตรชาวเมือง เวสาลีว่าท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า สงฆ์พึงให้พระอนุทูต แก่ภิกษุผู้ถูกลงปฏิสารณียกรรม ขอพวกเธอจงให้พระอนุทูตแก่ฉัน จึงพวกพระ วัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีได้สมมติภิกษุรูปหนึ่ง ให้เป็นอนุทูต แก่ท่านพระยสกา กัณฑกบุตร
ต่อมา ท่านพระยสกากัณฑกบุตร พร้อมด้วยพระอนุทูต พากันเข้าไป สู่พระนครเวสาลี แล้วชี้แจงแก่ อุบาสกอุบาสิกา ชาวเมืองเวสาลีว่า
อาตมาผู้กล่าว
สิ่งไม่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม
สิ่งเป็นธรรม ว่าเป็นธรรม
สิ่งไม่เป็นวินัยว่าไม่เป็นวินัย
สิ่งเป็นวินัย ว่าเป็นวินัย
เขาหาว่าด่าบริภาษ ท่านอุบาสกอุบาสิกา ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้ไม่เลื่อมใส
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สถานที่สังคายนา(ถ้ำสัตตบรรณคูหา) |
สาระสำคัญ การสังคายนา |
|
1. การสังคายนา กระทำหลังปรินิพพาน 3 เดือน
2. สถานที่ ถ้ำสัตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์
3. มีภิกษุอรหันต์ 500 รูป เข้าร่วมสังคายนา
4.
พระมหากัสสป(อาวุโสสูงสุดเป็นผู้คัดเลือก)
5. ประธานสังคายนาคือ พระมหากัสสป
6. พระอุบาลี วิสัชนาพระวินัย
7. พระอานนท์ วิสัชนาพระธรรม
8. ใช้เวลาสังคายนา 7 เดือน |
|