เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
  การสังคายนาพุทธศาสนาครั้งที่ 1 มีพระมหากัสสป เป็นพระธาน (ข้อมูลชุด2/3) 1284
ข้อมูลชุด 1/3 (P1283)
1) ปัญจสติกขันธกะ เรื่องพระมหากัสสปเถระปรารภการทำสังคายนาครั้งที่ ๑
2) สมมติภิกษุ ๕๐๐ รูป พระมหากัสสป เลือกพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป หย่อนอยู่องค์หนึ่ง
3) เรื่องปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรม เพื่อใช้ประชุมสังคายนา
4) พระอานนท์สำเร็จพระอรหันต์ ในราตรีสุดท้ายก่อนประชุมสังคายนา
5) พระอุบาลีวิสัชนาพระวินัย พระมหากัสสปเป็นผู้ถาม ว่า พ.ทรงบัญญัติที่ไหน กับใคร..เรื่องอะไร
6) พระอานนท์วิสัชนาพระธรรม พระมหากัสสปเป็นผู้ถาม พ.ทรงบัญญัติที่ไหน กับใคร
ข้อมูลชุด 2/3 (P1284)
7) เรื่องสิกขาบทเล็กน้อย พระเถระมีความเห็นแตกต่างกัน
8) เรื่องไม่บัญญัติและไม่ถอนพระบัญญัติ ภิกษุพึงสมาทานประพฤติในสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว
9) ปรับอาบัติทุกกฎแก่พระอานนท์
10) เรื่องพระปุราณเถระ พระฉันนะเป็นคนหัวดื้อสอนยาก ถูกพรหมทัณฑ์ ต่อมาได้สำเร็จอรหันต์
11) พระมเหสีพระเจ้าอุเทน ถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืนแก่พระอานนท์ พระเจ้าอุเทน ติเตียนพระอานนท์
 
ข้อมูลชุด 3/3 (P1285)
12) พระฉันนะไม่พอใจที่ถูกลงทัณฑ์ จึงหลีกไปอยู่ผู้เดียว ได้กระทำให้แจ้งจนสำเร็จเป็นอรหันต์
13) หัวข้อประจำขันธกะ
14) สัตตสติกขันธกะ เรื่องพระวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ
15) เรื่องพระยสกากัณฑกบุตร
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๒๔๖ - ๒๕๙

7)

เรื่องสิกขาบทเล็กน้อย


[๖๒๐] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ชี้แจงต่อพระเถระทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อจวนจะปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะข้าพเจ้าว่า ดูกรอานนท์ เมื่อเรา ล่วงไป สงฆ์หวังอยู่จะพึง ถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียก็ได้ พระเถระทั้งหลายถามว่า   ท่านพระอานนท์ ก็ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคหรือเปล่าว่า พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทเหล่าไหน เป็นสิกขาบทเล็กน้อย ท่านพระอานนท์ตอบว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็สิกขาบทเหล่าไหน เป็นสิกขาบทเล็กน้อย

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ นอกนั้นเป็น สิกขาบท เล็กน้อย

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ เว้น อนิยต ๒นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ เว้น อนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ เว้น    อนิยต ๒เว้นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ เว้นปาจิตตีย์ ๙๒ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ เว้น อนิยต ๒เว้นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ เว้นปาจิตตีย์ ๙๒ เว้นปาฏิเทสนียะ ๔ นอกนั้น เป็นสิกขาบท เล็กน้อย ฯ


8)

เรื่องไม่บัญญัติ และไม่ถอนพระบัญญัติ


[๖๒๑] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย  กรรมวาจาว่าดังนี้:

ญัตติทุติยกรรมวาจา

         ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบทของพวกเราที่ ปรากฏแก่ คฤหัสถ์มีอยู่ แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้ว่า สิ่งนี้ควรแก่พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร สิ่งนี้ไม่ควร ถ้าพวกเราจักถอนสิกขาบทเล็กน้อย เสีย จักมีผู้กล่าวว่า พระสมณโคดม บัญญัติสิกขาบท แก่สาวกทั้งหลาย เป็นกาลชั่วคราว พระศาสดาของพระสมณะ เหล่านี้ยังดำรงอยู่ตราบใด สาวกเหล่านี้ยังศึกษาในสิกขาบททั้งหลายตราบนั้น เพราะเหตุที่พระศาสดาของพระ สมณะเหล่านี้ปรินิพพานแล้ว พระสมณะเหล่านี้ จึงไม่ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายใน บัดนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว  สงฆ์ไม่พึงบัญญัติ สิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติไม่พึง ถอนพระบัญญัติ ที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว พึงสมาทานประพฤติ ในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติแล้ว นี้เป็นญัตติ

         ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบทของพวกเราที่ ปรากฏแก่ คฤหัสถ์มีอยู่ แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้ว่า สิ่งนี้ควรแก่พระสมณะเชื้อ สายพระศากยบุตร สิ่งนี้ไม่ควร ถ้าพวกเราจักถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสีย  จักมีผู้กล่าวว่า พระสมณโคดม บัญญัติสิกขาบท แก่สาวกทั้งหลาย เป็นกาลชั่วคราว พระศาสดาของพระสมณะ เหล่านี้ ยังดำรงอยู่ตราบใดสาวก เหล่านี้ยังศึกษาในสิกขาบททั้งหลายตราบนั้น เพราะเหตุที่พระศาสดา ของพระสมณะเหล่านี้ปรินิพพานแล้ว พระสมณะเหล่านี้ จึงไม่ศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ในบัดนี้ สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระ บัญญัติที่ทรงบัญญัติแล้ว สมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ ทรงบัญญัติไว้แล้ว การไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติไม่ถอนพระบัญญัติ ที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลาย ตามที่ทรงบัญญัติแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

          สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติตามที่ทรง บัญญัติแล้ว สมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลาย ตามที่ทรงบัญญัติแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้ นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้


9)

ปรับอาบัติทุกกฎแก่พระอานนท์

         [๖๒๒] ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลาย ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่าน   อานนท์ ข้อที่ท่านไม่ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็สิกขาบท  เหล่าไหน เป็นสิกขาบทเล็กน้อย นี่เป็นอาบัติทุกกฎ แก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติ   ทุกกฎนั้น (อาบัติทุกกฎ หมายถึง เป็นอาบัติเล็กน้อย เป็นโทษเบา)

         ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า เพราะระลึกไม่ได้ ข้าพเจ้าจึงมิได้  ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทเหล่าไหน เป็นสิกขาบท    เล็กน้อย ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่ไม่ได้ทูลถามนั้น ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อ ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฎนั้น

         พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านเหยียบผ้าวัสสิก    สาฎกของพระผู้มีพระภาคเย็บ แม้นี้ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติ ทุกกฎนั้น ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าเหยียบผ้าวัสสิกสาฎกของ พระผู้มีพระภาคเย็บ โดยมิได้เคารพก็หามิได้ ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่เหยียบนั้น ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น

         พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านให้มาตุคามถวาย บังคมพระสรีระของพระผู้มีพระภาคก่อน พระสรีระของพระผู้มีพระภาค เปื้อนน้ำตา ของพวกนางผู้ร้องไห้อยู่ แม้นี้ก็เป็นอาบัติทุกกฎ แก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติ ทุกกฎนั้น

         ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคิดว่ามาตุคามเหล่านี้อย่าได้    อยู่จนเวลาพลบค่ำ จึงให้พวกมาตุคาม ถวายบังคมพระสรีระของพระผู้มีพระภาค ก่อน ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่ให้มาตุคาม ถวายบังคมพระสรีระของพระผู้มีพระภาคนั้น ว่าเป็น  อาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัตินั้น

         พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรง ทำนิมิตอันหยาบ กระทำโอภาสอันหยาบอยู่ ท่านไม่ทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาค    ว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงดำรงอยู่ ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอด กัป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์ สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฎนั้น

         ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกมารดลใจ จึงไม่ได้ทูล อ้อนวอนพระผู้มีพระภาคว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระ  สุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก  เพื่ออนุเคราะห์แก่สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุนั้นว่า เป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่าน   ทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฎนั้น

         พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านได้ทำการ ขวนขวาย ให้มาตุคามบวชในพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว แม้นี้ ก็เป็น อาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฎนั้น

         ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทำการขวนขวายให้ มาตุคาม บวชในพระธรรมวินัยที่ พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ด้วยคิดว่าพระนางมหาปชาบดี โคตมีนี้ เป็นพระเจ้าแม่น้ำของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ประคับประคอง เลี้ยงดู  ทรงประทาน ขีรธารา แก่พระผู้มีพระภาค เมื่อพระพุทธมารดาทิวงคต ได้ยังพระผู้มี พระภาคให้เสวยถัญญธารา ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุนั้นว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อ ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น ฯ


10)

เรื่องพระปุราณเถระ

         [๖๒๓] สมัยนั้น ท่านพระปุราณะ เที่ยวจาริกในชนบททักขิณาคิรี พร้อม   ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป คราวเมื่อพระเถระทั้งหลาย สังคายนา  พระธรรม และพระวินัยเสร็จแล้ว ได้พักอยู่ในชนบท ทักขิณาคิรีตามเถราภิรมย์ แล้ว  เข้าไปหาพระเถระทั้งหลาย ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อ แก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ แล้วได้กล่าวสัมโมทนียะกับพระเถระ ทั้งหลาย แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระเถระทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระปุราณะผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ท่านปุราณะ พระเถระทั้งหลาย ได้สังคายนาพระธรรมและพระ วินัยแล้ว ท่านจงรับรู้พระธรรม และพระวินัยนั้นที่พระเถระทั้งหลายสังคายนาแล้ว

         ท่านพระปุราณะกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พระเถระทั้งหลาย สังคายนา พระธรรม และพระวินัยเรียบร้อยแล้วหรือ แต่ว่า ข้าพเจ้าได้ฟัง ได้รับมาเฉพาะ  พระพักตร์พระผู้มีพระภาค ด้วยประการใด จักทรงไว้ด้วยประการนั้น ฯ

         [๖๒๔] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะพระเถระทั้งหลายว่า ท่าน   เจ้าข้า เมื่อจวนเสด็จปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคตรัสกะข้าพเจ้าอย่างนี้ว่า ดูกร อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เมื่อเราล่วงไปแล้ว สงฆ์จงลง พรหมทัณฑ์(ลงโทษ) แก่ภิกษุ ฉันนะ*
*(ภิกษุหัวดื้อ สอนยาก แต่ต่อมาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์)

         พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า ท่านอานนท์ ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคหรือ ว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร

         พระอานนท์ตอบว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทูลถามพระผู้มีพระภาค แล้วว่า  พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์  ภิกษุฉันนะพึงพูด ตามปรารถนาภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงสั่งสอน ไม่  พึงพร่ำสอนภิกษุฉันนะ

         ท่านพระเถระทั้งหลายกล่าวว่า ท่านอานนท์ ถ้าเช่นนั้น ท่านนั้นแหละจง ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ

         พระอานนท์ปรึกษาว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าจะลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ  ได้อย่างไร เพราะเธอดุร้าย หยาบคาย

         พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า ท่านอานนท์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปกับภิกษุ  หลายๆ รูป ท่านพระอานนท์ รับเถระบัญชาแล้วโดยสารเรือไป พร้อมกับภิกษุ หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ถึงเมืองโกสัมพี ลงจากเรือแล้วได้นั่ง ณ โคนไม้  แห่งหนึ่ง ใกล้พระราชอุทยานของพระเจ้าอุเทน ฯ    


11) 

เรื่องพระเจ้าอุเทน

         [๖๒๕] ครั้งนั้น พระเจ้าอุเทนกับพระมเหสี ประทับอยู่ในพระราช อุทยาน พร้อมด้วยข้าราชบริพาร พระมเหสีของพระเจ้าอุเทน ได้สดับข่าวว่าพระคุณเจ้า อานนท์ อาจารย์ของพวกเรา นั่งอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งใกล้พระราชอุทยาน  จึงกราบทูลพระเจ้าอุเทนว่า ขอเดชะ ข่าวว่าพระคุณเจ้าอานนท์ อาจารย์ของ  พวกหม่อมฉัน นั่งอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง ใกล้พระราชอุทยาน พวกหม่อมฉัน    ปรารถนาจะไปเยี่ยมพระคุณเจ้าอานนท์ พระเจ้าข้า พระเจ้าอุเทนตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงเยี่ยมพระสมณะอานนท์เถิด

         ลำดับนั้น พระมเหสีของพระเจ้าอุเทน ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์  แล้วถวายอภิวาทนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ชี้แจงให้พระมเหสี   ของพระเจ้าอุเทนผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ   ร่าเริงด้วยธรรมีกถา

         ครั้งนั้น พระมเหสีของพระเจ้าอุเทน อันท่านพระอานนท์ชี้แจงให้เห็นแจ้ง  สมาทานอาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วได้ถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืน แก่ ท่านพระอานนท์ ครั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระอานนท์ แล้วลุกจากอาสนะ    ถวายอภิวาท ทำประทักษิณ แล้วเข้าไปเฝ้าพระเจ้าอุเทน ฯ

         [๖๒๖] ครั้งนั้น พระเจ้าอุเทนได้ทอดพระเนตร เห็นพระมเหสีเสด็จมา แต่ไกลเทียวครั้นแล้ว ได้ตรัสถามว่า พวกเธอเยี่ยมพระสมณะอานนท์แล้วหรือ
พระมเหสีกราบทูลว่า พวกหม่อมฉันได้เยี่ยมพระคุณเจ้าอานนท์แล้ว พระเจ้าข้า
อุ. พวกเธอได้ถวายอะไร แก่พระสมณะอานนท์บ้าง
ม. พวกหม่อมฉันได้ถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืน แก่พระคุณเจ้าอานนท์พระเจ้าข้า

พระเจ้าอุเทนทรงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะอานนท์ จึงรับ จีวรมาก ถึงเพียงนั้น พระสมณะอานนท์จักทำการค้าขายผ้า หรือจักตั้งร้านค้า  แล้วเสด็จเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ทรงปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการ ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วตรัสถามว่าท่านพระอานนท์ มเหสีของข้าพเจ้ามาหาหรือ
อา. พระมเหสีของพระองค์มาหา มหาบพิตร

อุ. ก็พระนางได้ถวายอะไร แก่ท่านพระอานนท์บ้าง
อา. ได้ถวายผ้าห่มแก่อาตมภาพ ๕๐๐ ผืน มหาบพิตร

อุ. ก็ท่านพระอานนท์จักทำอะไรกะจีวรมากมายเพียงนั้น
อา. อาตมภาพจักแจกให้แก่ภิกษุทั้งหลาย ที่มีจีวรคร่ำคร่า มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ก็ท่านจักทำอย่างไรกะจีวรที่เก่าคร่ำเหล่านั้นต่อไป
อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านั้นให้เป็นผ้าดาดเพดาน มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าดาดเพดานเก่าเหล่านั้น
อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านั้นให้เป็นผ้าปูฟูก

อุ. ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าปูฟูกที่เก่าเหล่านั้น
อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านั้นให้เป็นผ้าปูพื้น มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าปูพื้นที่เก่าเหล่านั้น
อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านั้นให้เป็นผ้าเช็ดเท้า มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าเช็ดเท้าที่เก่าเหล่านั้น
อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านั้นให้เป็นผ้าเช็ดธุลี มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าเช็ดธุลีที่เก่าเหล่านั้น
อา. อาตมภาพจักโขลกผ้าเหล่านั้น ขยำกับโคลนแล้วฉาบทาฝา มหาบพิตร

         ครั้งนั้น พระเจ้าอุเทน ทรงพระดำริว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ทั้งหลาย นำผ้าไปแยบคายดี ไม่เก็บผ้าเข้าเรือนคลัง แล้วถวายผ้าจำนวน ๕๐๐ ผืน แม้อื่นอีกแก่ท่านพระอานนท์ ก็ในคราวนี้บริขาร คือจีวรบังเกิดแก่ท่าน พระอานนท์ เป็นครั้งแรก คือผ้า ๑๐๐๐ ผืน เกิดขึ้นแล้ว
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สถานที่สังคายนา(ถ้ำสัตตบรรณคูหา) สาระสำคัญ การสังคายนา
1. การสังคายนา กระทำหลังปรินิพพาน 3 เดือน
2. สถานที่ ถ้ำสัตบรรณคูหา  กรุงราชคฤห์
3. มีภิกษุอรหันต์ 500 รูป เข้าร่วมสังคายนา
4. พระมหากัสสป(อาวุโสสูงสุดเป็นผู้คัดเลือก)
5. ประธานสังคายนาคือ พระมหากัสสป
6. พระอุบาลี วิสัชนาพระวินัย
7. พระอานนท์ วิสัชนาพระธรรม
8. ใช้เวลาสังคายนา 7 เดือน

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์