เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  พระไตรปิฎกและส่วนต่างๆ ของพระไตรปิฎก (4) N165
 
    N162 N163 N164 N165    
       

  การชำระพระไตรปิฎกในประเทศไทย
  ประเทศไทยมีการตรวจชำระพระไตรปิฎกหลายครั้งตามกาลเวลา
  ข้อความเบื้องต้น ความรู้เรื่อง "พระไตรปิฎก"
  ภาษาที่รองรับพระไตรปิฎก
  จำนวนเล่มของพระไตรปิฎก
  ตัวอักษรที่รองรับพระไตรปิฎก


 ที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 



การชำระพระไตรปิฎกในประเทศไทย

การชำระพระไตรปิฎก บางครั้งท่านใช้คำว่า การสังคายนาตรวจชำระพระไตรปิฎก สังคายนา แปลตามรูปศัพท์ว่า การสวดพร้อมกัน

ตามที่ทราบแล้วว่า พระสงฆ์รักษาคำสอนทางพระพุทธศาสนาด้วยการท่องจำมาก่อน แล้วต่อมาจึงมีการจารึกเป็นตัวอักษร

การท่องจำ การจารึกแล้วคัดลอกต่อๆ กันมา อาจมีข้อบกพร่องในการใช้ถ้อยคำ และมี ปัญหาเรื่องภาษาที่จดต่อๆกันมา ดังนั้นจึงมีการประชุมสงฆ์เป็นครั้งคราวเพื่อสอบทาน คำจารึก และการตีความหมายให้ถูกต้อง ตามคำสอนทางพระพุทธศาสนา ว่า ที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร


ประเทศไทยมีการตรวจชำระพระไตรปิฎกหลายครั้งตามกาลเวลา

ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๐๒๐ พระเจ้าติโลกราช พระเจ้าแผ่นดินแห่งล้านนา ทรงเป็น องค์อุปถัมภ์ ให้มีการสังคายนา ที่เมืองเชียงใหม่

ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๓๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเป็นองค์ อุปถัมภ์ให้มีการสังคายนาตรวจชำระพระไตรปิฎก แล้วจดจารึกข้อความ ที่ถูกต้องลง ในใบลาน

ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ให้มีการสังคายนา และจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มหนังสือ นับเป็นการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นครั้งแรกในประเทศไทย พิมพ์เสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖

ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเปิดโอกาสให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน โดยเสด็จพระราชกุศล จัดพิมพ์พระไตรปิฎก โดยการสอบทาน กับพระไตรปิฎก ฉบับอักษรโรมัน อักษรพม่า และอักษรลังกา พิมพ์สำเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓

ครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรมราชโองการ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๘ ให้มีการสังคายนาตรวจชำระ พระไตรปิฎก ซึ่งได้ดำเนินการสำเร็จทันวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ในศุภวาระดิถี มหามงคล ที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ


ข้อความเบื้องต้น ความรู้เรื่อง "พระไตรปิฎก"

พระไตรปิฎก คือ ตำรา หรือหนังสือ ซึ่งบันทึกคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาไว้ เป็นหลักฐาน

คำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา ในชั้นแรกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ คำสั่งที่เรียก ว่า พระวินัย กับคำสอนที่เรียกว่า พระธรรม แต่ในภาษาพูดใช้คำว่า พระธรรมวินัย โดยนำ พระธรรมมาเรียงไว้หน้าที่พระวินัย

พระวินัยเป็นเรื่องของคำสั่ง หรือศีล หรือระเบียบข้อบังคับ ที่ห้ามทำความชั่ว หรือสิ่ง ที่ไม่เหมาะ ไม่ควรต่างๆ พระธรรม เป็นเรื่องของคำสอน หรือธรรม ที่ให้ทำความดี และให้ชำระจิตใจให้สะอาด

การสอนให้ละเว้นความชั่ว และให้ทำความดี มีสอนกันอยู่ทั่วไป ไม่เฉพาะแต่ใน พระพุทธศาสนา แต่การสอนให้ชำระจิตให้สะอาด ทางพระพุทธศาสนากำหนดไว้ เป็นอีกส่วนหนึ่งอย่างชัดเจน และถือเป็นเรื่องที่เน้นมาก ถัดมาจากข้อละเว้นความชั่ว และทำความดี

ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงแล้วประมาณ ๒๓๔ หรือ ๒๓๕ ปี ในการสังคายนาครั้งที่ ๓ ได้มีการคิดกันในหมู่พระสงฆ์ ผู้รับผิดชอบต่อพระพุทธศาสนาว่า คำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา น่าจะแยกเป็น ๓ ส่วน คือ

เมื่อมีการใช้ตัวหนังสือ และมีการเขียนหนังสือแพร่หลายขึ้น จึงได้มีการจดจารึก ข้อความแห่งพระไตรปิฎกลงใน ใบลาน ใบลานคือ ใบของต้นลาน ซึ่งนอกจาก ใช้สาน ทำหมวก ทำเครื่องใช้อื่นๆ แล้ว ยังใช้แทนกระดาษ ในสมัยที่ยังมิได้คิดทำ กระดาษ ขึ้น

วิธีจดจารึกข้อความลงในใบลานที่เรียกว่า "จาร" นั้น คือ ใช้เหล็กแหลมที่เรียกว่า "เหล็กจาร" เขียนหรือขีดข้อความเป็นตัวหนังสือ ลงไปในแผ่นใบลาน แล้วเอาเขม่า หรือดินหม้อ ซึ่งมีสีดำ ผสมกับน้ำมะพร้าว คนให้เข้ากันดี แล้วทาถูลงไปบนรอย ที่ขีดเขียนนั้น แล้วเอาผ้าเช็ดให้แห้ง

สีดำที่ซึมลงไปในรอยขีดเขียน จะปรากฏเป็นตัวหนังสือ ให้อ่านข้อความได้ตามความ ประสงค์ เมื่อรวมใบลานได้หลายแผ่นแล้ว ถ้าจะทำให้เป็นชุดเดียวกันคล้าย เล่ม หนังสือ ก็เอาเหล็กแหลมเผาไฟ เจาะให้เป็นช่อง เอาด้ายร้อยรวมเป็นผูก แล้วใช้ ผ้าห่อเก็บไว้ให้เป็นชุดติดต่อกัน

การจดจารึกข้อความแห่งพระไตรปิฎกลงในใบลานนี้ กระทำเป็นครั้งแรก ในประเทศ ศรีลังกา เมื่อ พ.ศ. ๔๓๓ สมัยของพระเจ้าวัฏคามณีอภัย บางหลักฐาน ก็ว่าเมื่อ พ.ศ. ๔๕๐


ภาษาที่รองรับพระไตรปิฎก

โดยเหตุที่พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในประเทศอินเดีย ภาษาที่ใช้ในการสั่งสอน พระพุทธศาสนา จึงเป็นภาษาพื้นเมืองของชาวอินเดียในสมัยนั้น ภาษาที่ปรากฎใน พระไตรปิฎก หรือรองรับพระไตรปิฎกเดิมเรียกว่า "มาคธี" หรือ "ภาษาของชาวมคธ" เพราะแคว้นมคธเป็นแคว้นสำคัญ ทั้งในพุทธกาลคือ ในสมัย พระพุทธเจ้า และในสมัย ต่อมา แต่เมื่อมีการศึกษาพระพุทธศาสนา กันแพร่หลายขึ้น จึงเรียกภาษาที่รองรับ พระไตรปิฎกว่า "ภาษาบาลี" คำว่า ภาษาบาลีหมายถึง ภาษาพระไตรปิฎก การที่เรียก อย่างนี้ เพราะนิยมเรียกพระไตรปิฎกว่า "บาลี" เรียกคำอธิบายพระไตรปิฎกว่า

"อรรถกถา" เรียกคำอธิบายอรรถกถาว่า "ฎีกา" เรียกคำอธิบายฎีกาว่า "อนุฎีกา"

แม้ว่าภาษาบาลีจะไม่มีการพูดการใช้ในสมัยปัจจุบัน แต่โดยเหตุที่เป็นภาษารองรับ พระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนา จึงได้มีการศึกษาภาษาบาลีกันอย่างกว้างขวาง ทั้งในประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา ดังจะเห็นได้ว่า ในประเทศอังกฤษได้มีสมาคมบาลีปกรณ์ (Pali Text Society) ตั้งขึ้น เพื่อจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลี และคำแปลเป็น ภาษาอังกฤษ รวมทั้งหนังสืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระไตรปิฎก ทั้งภาษาบาลี และ ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ

การตั้งสมาคมบาลีปกรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ (ค.ศ. ๑๘๘๑) ทำให้พระไตรปิฎกฉบับ ภาษาบาลี และฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ แพร่หลายไปในวงการศึกษา พระพุทธศาสนาทั่วโลก ต้องพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง และที่ควรทราบก็คือ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงมีส่วนสำคัญในการ พระราชทาน พระราชทรัพย์ ช่วยเหลือสมาคมบาลีปกรณ์ในประเทศอังกฤษ ให้แปลพระไตรปิฎก เป็นภาษาอังกฤษรวม ๓ เล่ม ซึ่งตรงกับพระไตรปิฎกเล่ม ๙, ๑๐ และ ๑๑ ที่พิมพ์ในประเทศไทย

แม้ในปัจจุบันหนังสือพระไตรปิฎกทั้ง ๓ เล่มนั้น จะขาดคราว และต้องพิมพ์ซ้ำ อีกหลายครั้ง ก็ยังพิมพ์ข้อความแสดงพระเกียรติยศของ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงอุปถัมภ์การแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษนั้น จนถึงสมัยปัจจุบัน


จำนวนเล่มของพระไตรปิฎก

พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ที่จัดพิมพ์ขึ้นในประเทศต่างๆ นั้น แม้จะมีข้อความ เป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่ในบางประเทศ เช่น พม่า ได้เพิ่มหนังสือบางเรื่อง ที่แต่งขึ้นในสมัยหลังเข้าชุดไปด้วย อาจจะมีจำนวนเล่มแตกต่างกันบ้าง

เช่น ประเทศไทยจัดพิมพ์ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ มี ๓๙ เล่ม แต่การพิมพ์ตั้งแต่ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ เป็นต้นมา ได้กำหนดให้มี ๔๕ เล่ม เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวน ๔๕ ปี ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา ภายหลังที่ตรัสรู้แล้ว จนถึง ปรินิพพาน

ข้อความในพระไตรปิฎกภาษาบาลีที่จัดพิมพ์ขึ้นในประเทศต่างๆ นั้น ตรงกัน เป็นส่วนมาก จะมีผิดเพี้ยนเล็กๆ น้อยๆ แต่ในการจัดพิมพ์ของฉบับอักษรไทย จะอ้างอิงไว้ตลอดว่า คำที่อาจผิดเพี้ยนกันเล็กๆ น้อยๆ นั้น ในฉบับอักษรลังกา พม่า ยุโรป เป็นอย่างไร เพราะในการจัดพิมพ์ได้มีการนำพระไตรปิฎกฉบับอักษรต่างๆ แต่อ่านเป็นภาษาบาลีได้ตรงกันนั้น มาสอบทาน และบันทึกว่า อักษรตัวไหน ผิดแผกไปอย่างไรบ้าง

ตัวอักษรที่รองรับพระไตรปิฎก

เมื่อทราบว่า การจดจารึกข้อความในพระไตรปิฎกลงในใบลานกระทำเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๓๓-๔๕๐ ในประเทศศรีลังกา อักษรที่รองรับพระไตรปิฎก จึงเป็นอักษรของศรีลังกา หรืออักษรสีหล และเมื่อมีการส่งพระไตรปิฎก ฉบับอักษร สีหล ไปสู่ประเทศต่างๆ เช่น ไทย มอญ พม่า แล้วก็มีการถ่ายทอดจากอักษรสีหล ลงสู่อักษรที่ประเทศนั้นใช้กัน

ในชั้นแรกประเทศไทยได้ใช้อักษรขอม สำหรับบันทึกข้อความในพระไตรปิฎก แม้ใน สมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ยังใช้อักษรขอมจารึกพระไตรปิฎกอยู่ ตามเดิม เมื่อพิมพ์พระไตรปิฎกขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงได้ใช้อักษรไทยรองรับ พระไตรปิฎก และใช้ตลอดมาถึงทุกวันนี้

 

 

 

 

 
หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์