เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  พระไตรปิฎกและส่วนต่างๆ ของพระไตรปิฎก จำนวน ๔๕ เล่ม (1) N162
 
    N162 N163 N164 N165    
       

  พระไตรปิฎก ทั้งหมด ๔๕ เล่ม
  - พระไตรปิฎกโดยย่อ

  พระไตรปิฎกแบ่งเป็น 3 หมวด
   ๑. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยศีลของภิกษุและ ภิกษุณี (เล่มที่ ๑-๘ รวม ๘ เล่ม)
   ๒. พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนา (เล่มที่ ๙-๓๓ รวม ๒๕ เล่ม)
   ๓. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมะที่ เป็นสาระสำคัญ (เล่มที่ ๓๔-๔๕ รวม ๑๒ เล่ม)

 ที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


ที่มา สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน คลิก

พระไตรปิฎกและส่วนต่างๆ ของพระไตรปิฎก

พระไตรปิฎกแบ่งโดยย่อ

๑. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยศีลของภิกษุและ ภิกษุณี (เล่มที่ ๑-๘ รวม ๘ เล่ม)
๒. พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนา (เล่มที่ ๙-๓๓ รวม ๒๕ เล่ม)
๓. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมะที่ เป็นสาระสำคัญ (เล่มที่ ๓๔-๔๕ รวม ๑๒ เล่ม)

คำว่า พระอภิธรรมปิฎก ตามพื้นฐานภาษาบาลีจะเขียนว่า พระอภิธัมมปิฎก แต่โดยที่ คนไทยนิยมเขียนคำว่า ธรรม พื้นฐานภาษาสันสกฤต จึงเขียนเป็น พระอภิธรรมปิฎก




๑. พระวินัยปิฎก แบ่งเป็น ๕ ส่วน (รวม ๘ เล่ม)

๑. ส่วนที่ว่าด้วยศีลของภิกษุ
๒. ส่วนที่ว่าด้วยศีลของภิกษุณี
๓. ส่วนที่ว่าด้วยเรื่องสำคัญ
๔. ส่วนที่ว่าด้วยเรื่องที่สำคัญรองลงมา
๕. ส่วนที่ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด

ชื่อในภาษาบาลีของ ๕ ส่วนนั้น คือ
๑. ภิกขุวิภังค์ หรือ มหาวิภังค์
๒. ภิกขุนีวิภังค์
๓. มหาวรรค
๔. จุลวรรค และ
๕. บริวาร

วินัยปิฎกมี ๘ เล่ม คือ

ส่วนที่ ๑ ได้แก่เล่ม ๑ - ๒
ส่วนที่ ๒ ได้แก่เล่ม ๓
ส่วนที่ ๓ ได้แก่เล่ม ๔ - ๕
ส่วนที่ ๔ ได้แก่เล่ม ๖ - ๗
ส่วนที่ ๕ ได้แก่เล่ม ๘




๒. พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน (รวม ๒๕ เล่ม)

๑. ส่วนที่ว่าด้วย พระสูตรขนาดยาว
เรียกว่า ทีฆทิกาย มี ๓๔ สูตร ได้แก่ เล่มที่ ๙ -เล่ม ๑๑

๒. ส่วนที่ว่าด้วย พระสูตรขนาดกลาง
เรียกว่า มัชฌิมนิกาย มี ๑๕๒ สูตร ได้แก่ เล่มที่ ๑๒ - เล่มที่ ๑๔

๓. ส่วนที่ว่าด้วยพระสูตรซึ่งประมวล หรือรวมคำสอนประเภทเดียวกันไว้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่า สังยุตตนิกาย มี ๗,๗๖๒ สูตร ได้แก่ เล่มที่ ๑๕ - เล่มที่ ๑๙

๔. ส่วนที่ว่าด้วยธรรมะเป็นข้อๆ ตั้งแต่ ๑ ข้อถึง ๑๑ ข้อ และมากกว่านั้น
เรียกว่า อังคุตตรนิกาย มี ๙,๕๕๗ สูตร ได้แก่เล่มที่ ๒๐ -เล่มที่ ๒๔

๕. ส่วนที่ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด หรือเล็กๆ น้อยๆ ๑๕ หัวข้อ
เรียกว่า ขุททกนิกาย จำนวนสูตรมีมาก จนไม่มีการนับจำนวนไว้ ได้แก่เล่ม ๒๕ - ๓๓




๓. พระอภิธรรมปิฎก แบ่งออกเป็น ๗ ส่วน (รวม ๑๒ เล่ม)

๑. ส่วนที่ว่าด้วย การรวมกลุ่มธรรมะ
เรียกว่า ธัมมสังคณี ได้แก่เล่ม ๓๔

๒. ส่วนที่ว่าด้วย การแยกกลุ่มธรรมะ
เรียกว่า วิภังค์ ได้แก่เล่ม ๓๕

๓. ส่วนที่ว่าด้วย ธาตุ
เรียกว่า ธาตุกถา ได้แก่ส่วนแรกของเล่ม ๓๖

๔. ส่วนที่ว่าด้วยบัญญัติคือ การนัดหมายรู้ทั่วไป เช่น การบัญญัติบุคคล
เรียกว่า บุคลคลบัญญัติ ได้แก่ส่วนหลังของเล่ม ๓๖

๕. ส่วนที่ว่าด้วย คำถามคำตอบทางพระพุทธศาสนา เพื่อชี้ให้เป็นความเข้าใจ ผิดพลาด ต่างๆ เรียกว่า กถาวัตถุ ได้แก่เล่ม ๓๗

๖. ส่วนที่ว่าด้วย ธรรมะเข้าคู่กันเป็นคู่ๆ เรียกว่า ยมก ได้แก่ เล่ม ๓๘ - ๓๙

๗. ส่วนที่ว่าด้วยปัจจัย คือ สิ่งเกื้อกูลให้เกิดผลต่างๆ รวม ๒๔ ปัจจัย
เรียกว่า ปัฏฐาน ได้แก่เล่ม ๔๐ ถึงเล่ม ๔๕ รวม ๖ เล่ม และรวมพระอภิธรรมปิฎกแล้ว เป็นหนังสือ ๑๒ เล่ม

 

 

 

 
หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์