เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  พระไตรปิฎกและส่วนต่างๆ ของพระไตรปิฎก (3) N164
 
    N162 N163 N164 N165    
       

  พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับคอมพิวเตอร์
  พระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาไทย
  พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ในประเทศไทย 
    ๑. การพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งแรก 
    ๒. การพิมพ์ครั้งที่ ๒
    ๓. การพิมพ์ครั้งที่ ๓
    ๔. การพิมพ์ครั้งที่ ๔

 ที่มา :สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 



พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับคอมพิวเตอร์

ใน พ.ศ. ๒๕๓๑ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ นำเอาข้อความในพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย เข้าจานแม่เหล็กชนิดแข็ง เพื่อนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเรียก คำไหนก็ได้ในเล่มใด หน้าใด บรรทัดที่เท่าไร ให้มาปรากฏในจอภาพได้ทันที นับเป็นครั้งแรกในโลก ที่ได้มีการนำข้อความภาษาบาลีเข้าในจานแม่เหล็ก ชนิดแข็ง ที่เรียกว่า Hard Disk แต่สามารถเก็บข้อความ ในหนังสือพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม รวมหลายสิบล้านตัวอักษรมาเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ เป็นผลสำเร็จ ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช นับเป็น เกียรติประวัติอย่างสูงของ ประเทศไทย

บุคคลผู้เป็นหัวหน้าคณะดำเนินการ ในเรื่องนี้ คือ ผศ.ดร.ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ ผู้ร่วมคณะคือ ผศ.ดำรัส วงศ์สว่าง รองผู้อำนวยการ น.ส. นันทิกา เบญจเทพานันท์ และ น.ส. จิราภร เกียรติไพบูลย์ ภายใต้การสนับสนุน ของ ศาสตราจารย์ ณัฐ ภมรประวัติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

เรื่องนี้องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ถาวร ในประเทศไทย ได้ทำเป็นประกาศ แจ้งให้สมาชิกองค์การพุทธศาสนิกชนสัมพันธ์ แห่งโลก หลายสิบประเทศ ซึ่งไปร่วมประชุมใหญ่ ครั้งที่ ๑๖ ในนครลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ทราบทั่วกันแล้ว

ได้กล่าวแล้วว่า ประเทศไทยได้ทำงานสำคัญเป็นประเทศแรกในโลก ที่ได้นำ ข้อความ ในพระไตรปิฎกทั้ง ๔๕ เล่ม เข้าบันทึก ในจานแม่เหล็กชนิดแข็งที่เรียก Hard Disk เพื่อนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ แต่ในปัจจุบัน กำลังก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปกว่าเดิม

กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชศรัทธา ได้ พระราชทาน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งดำเนินการเรื่องนี้ มาแต่ต้น ได้เพิ่มข้อความภาษาบาลี ในหนังสืออธิบายพระไตรปิฎก ที่เรียกว่า อรรถกถา และคำอธิบายอรรถกถา ที่เรียกว่า ฎีกา เป็นหนังสือ ๕๓ เล่ม เพิ่มเติมจาก ข้อความในพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม รวมเป็นหนังสือทั้งสิ้น ๙๘ เล่ม ให้สามารถเรียก ข้อความที่ต้องการในพระไตรปิฎก ในอรรถกถา และในฎีกา ซึ่งอธิบายข้อความ ให้ชัดเจน ๓ ระดับ มาปรากฏในจอภาพ และพิมพ์ข้อความนั้น ๆ ออกมาเป็นเอกสาร ให้ได้ศึกษาค้นคว้าได้ ภายในเวลาไม่กี่วินาที ที่ต้องการ ซึ่งงานนี้สำเร็จก่อนวัน เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔

นับเป็นพระราชกรณียกิจ ในการที่ทรงส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา อย่างสำคัญ ยิ่ง เป็นความสำเร็จผลอันยิ่งใหญ่ ที่มีคุณค่าสูงต่อการศึกษาค้นคว้าของวงวิชาการ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มิใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่นักวิชาการทั่วโลก ก็จะได้รับประโยชน์จากงานนี้ด้วย พระมหากรุณาธิคุณครั้งนี้ จะจารึกเป็นประวัติศาสตร์ สำคัญของชาวพุทธ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ และในขณะเดียวกัน ก็เป็นเกียรติประวัติของมหาวิทยาลัยมหิดล และทุกท่านผู้ดำเนินงานนี้

จึงนับเป็นเรื่องน่านิยมยินดี สมกับที่ประเทศไทย ได้รับยกย่องให้เป็นศูนย์กลางแห่ง พระพุทธศาสนา โดยองค์การพุทธทั่วโลก ได้ลงมติให้ ประเทศไทยเป็นที่ตั้งถาวร แห่งสำนักงานใหญ่ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (The World Fellowship of Buddhists) ตลอดไป


พระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาไทย

เมื่อมีการศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง ผู้รู้ภาษาบาลีก็ได้แปลข้อความต่างๆ ในพระไตรปิฎกออกเป็นภาษาในชาติของตน แพร่หลายขึ้น ในประเทศไทย มีการ ศึกษาพระไตรปิฎกมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และได้มีการแปล บางส่วน แห่งพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยสืบต่อกันมา

จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ แต่มิได้แปลจนจบครบชุด อาจกล่าวได้ว่า การแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย ได้กระทำกันจน ครบชุด ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ นี้เอง เมื่อคณะสงฆ์ปรารภงานฉลอง ๒๕ ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา ได้ตั้ง คณะกรรมการ ขึ้น จัดแปล และพิมพ์ขึ้นสำเร็จสมบูรณ์ทั้ง ๔๕ เล่ม

ภายหลังงานฉลอง พ.ศ. ๒๕๐๐ แห่งพระพุทธศาสนา ต่อมาได้มีการจัดพิมพ์ซ้ำอีก และมีการแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นอกจากนั้น มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็ได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎก พร้อมทั้งคำอธิบายพระไตรปิฎก ที่เรียกว่า อรรถกถา แปลเป็นภาษาไทยรวม ๙๑ เล่ม จบบริบูรณ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ในวโรกาสที่ทรงเจริญ พระชนมพรรษา ๕ รอบ

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ และได้จัดให้พระราชทานแก่ผู้แทนองค์การพระพุทธศาสนาทั่วโลก ซึ่งได้รับเชิญให้มาร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสนี้ อนึ่ง ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช นี้ ยังได้มีผู้จัดทำ และจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับ ย่อความ ให้เหลือแต่สาระสำคัญจากพระไตรปิฎกภาษาบาลี ๔๕ เล่ม ให้รวมเป็น เพียงเล่มเดียวในภาษาไทยอีกด้วย



พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ในประเทศไทย

ต่อมาเมื่อมีการพิมพ์หนังสือเป็นเล่มขึ้น จึงได้มีการนำข้อความใบลานนั้น มาเรียงพิมพ์ จัดทำพระไตรปิฎกเป็นเล่มหนังสือ โดยเฉพาะในประเทศไทย มีการพิมพ์พระไตรปิฎก เป็นเล่มหลายครั้ง ดังต่อไปนี้

๑. การพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งแรก

กระทำในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีการตรวจชำระ และจัดพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๑ - พ.ศ. ๒๔๓๕ จำนวนครบชุด ในครั้งนั้นมี ๓๙ เล่ม นอกจากใช้ประโยชน์ในราชอาณาจักรไทยแล้ว ยังได้ส่งไปยัง สถาบันสำคัญต่างๆ ในต่างประเทศด้วย

๒. การพิมพ์ครั้งที่ ๒

จัดทำในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มีการตรวจ ชำระ สอบทานกับพระไตรปิฎก ที่พิมพ์ในประเทศอื่นๆ และบันทึกไว้เป็นหลักฐานด้วย การพิมพ์ครั้งนี้ มีจำนวนพระไตรปิฎกเพิ่มขึ้นเป็น ๔๕ เล่ม เพิ่มเติมส่วนที่ยัง ขาดอยู่ ในการพิมพ์ครั้งแรก ระยะเวลาตรวจชำระ และจัดพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๓ เมื่อมีผู้ต้องการมากขึ้น จึงได้มีการพิมพ์ซ้ำอีก ๒ ครั้งใน พ.ศ. ๒๕๐๒ และ พ.ศ. ๒๕๒๓ ในการนี้มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งได้รับมอบหมาย จากทางราชการ เป็นฝ่ายดำเนินการ เมื่อจัดพิมพ์ครั้งที่ ๒

๓. การพิมพ์ครั้งที่ ๓

จัดทำตามพระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ประกาศสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก ลงวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เพื่อให้มีการตรวจชำระ และจัดพิมพ์พระไตรปิฎก เนื่องในมงคล ดิถี ที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ การดำเนินงาน ในครั้งนี้มีเวลา ๒ ปี และได้พิมพ์แล้วเสร็จ ทั้งฉบับภาษาบาลี และ ฉบับแปลเป็นภาษาไทย โดยกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นฝ่ายดำเนินงาน

๔. การพิมพ์ครั้งที่ ๔

มิใช่เป็นของทางราชการ แต่เป็นผลงานของมหาวิทยาลัยสงฆ์ คือ มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งทำงานติดต่อกันมาเป็นเวลา กว่า ๓๐ ปี และ พิมพ์ได้สำเร็จใน พ.ศ. ๒๕๓๔ รวม ๔๕ เล่มชุด

และในขณะเดียวกัน นอกจากจะพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีแล้ว มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ยังได้จัดพิมพ์คำอธิบายพระไตรปิฎกที่เรียกว่า อรรถกถา ด้วย การดำเนินงานของอาจารย์ท่านหนึ่งแห่งมหาวิทยาลัยสงฆ์นี้ มีการริเริ่มหาทุน จัดตั้งคณะทำงาน ในที่สุดก็จัดพิมพ์ได้สำเร็จชุดแรก ๓๔ เล่ม และจะพิมพ์เพิ่มเติมอีก ให้สมบูรณ์ อาจารย์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ท่านนั้น คือ นายพร รัตนสุวรรณ

ในขณะเดียวกันทางคณะสงฆ์คือ มหาเถรสมาคม มีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จ พระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นพระประมุข ได้ดำเนินการจัดพิมพ์คำ อธิบาย พระไตรปิฎกที่เรียกว่า อรรถกถา ให้ครบชุดสมบูรณ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสเฉลิมพระชน พรรษา ๕ รอบ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วย

รวมความว่าในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ นี้ เป็นระยะเวลาที่ตำราทางพระพุทธศาสนา คือ พระไตรปิฎกภาษาบาลี และที่ แปลเป็นไทย รวมทั้งคำอธิบายพระไตรปิฎกที่เรียกว่า อรรถกถา ทั้งภาษาบาลี และ ภาษาไทย ได้มีการจัดพิมพ์ขึ้นสมบูรณ์

การแปลพระไตรปิฎก และคำอธิบายภาษาบาลี เป็นภาษาไทย รวมกัน ๙๑ เล่ม อันเป็นผลงาน ของมหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงเจริญพระชนม พรรษา ๕ รอบนั้นจะกล่าวถึง ในส่วนที่ว่าด้วยพระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาไทย ในลำดับต่อไปจากเรื่องภาษา ที่รองรับพระไตรปิฎก มีข้อที่ควรกล่าวในที่นี้อีกเล็กน้อย คือ

ในปัจจุบันประเทศที่จัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลีสมบูรณ์แล้ว คือ ประเทศไทย ประเทศอินเดีย (พิมพ์เป็นตัวอักษรเทวนาครี) ประเทศพม่า (พิมพ์เป็นตัวอักษรพม่า) ประเทศอังกฤษ (พิมพ์เป็นตัวอักษรโรมัน)

พระไตรปิฎกภาษาบาลี ที่พิมพ์ในประเทศศรีลังกา (พิมพ์เป็นตัวอักษรลังกา หรือ สีหล) เคยใช้เป็นหนังสืออ้างอิงในการพิมพ์พระไตรปิฎกของไทย ในสมัย รัชกาลที่ ๗ ในสมัยปัจจุบันคงหายาก เพราะเท่าที่สอบถามพระภิกษุในประเทศ ศรีลังกา กลับปรากฏว่า ท่านใช้พระไตรปิฎก ฉบับอักษรไทย เป็นหลักในการศึกษา ค้นคว้าของท่าน

พระไตรปิฎกฉบับตัวอักษรรามัญ หรือมอญ ฉบับตัวอักษรพม่า ฉบับตัวอักษร ขอม พิมพ์ในประเทศเขมร และฉบับตัวอักษรลังกา ยังพอหาได้ใน ห้องสมุดบางแห่ง ในประเทศไทย เช่น ของสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์

 

 

 

 

 
หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์