เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  (4/5) มหานิทานสูตร : อัตตา (ความถือว่าตัวตน) บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา 949
 
  P946 P947 P948 P949 P950
มหานิทานสูตร
ตรัสกับอานนท์
  มหานิทานสูตร ( P 946 ) ตรัสสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทอันลุ่มลึก/เมื่อภพไม่มีเพราะภพดับไป ชาติจะพึงปรากฏได้บ้างไหม
มหานิทานสูตร ( P 947 ) ตรัสสอนเหตุเกิด-เหตุดับของอกุศลธรรมอันลามก อันอาศัยตัณหาเป็นปัจจัยของการแสวงหา
มหานิทานสูตร ( P 948 ) สมุทัยปัจจัยแห่งเวทนา ผัสสะ นามรูป /นามกาย รูปกาย นามรูป /นามรูปปรากฎ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
มหานิทานสูตร ( P 949 ) ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตา ย่อมบัญญัติด้วยเหตุประมาณเท่าไร
มหานิทานสูตร ( P 950 ) เรื่องวิญญาณฐิติ ๗ / อายตนะ ๒ /วิโมกข์ ๘
 
 
P949 (โดยย่อ)
บัญญัติอัตตา

ดูกรอานนท์ บุคคล เมื่อจะบัญญัติอัตตา ย่อมบัญญัติด้วยเหตุประมาณเท่าไร
1. บัญญัติอัตตา
มีรูปเป็นกามาวจร ย่อมบัญญัติว่า อัตตาของเรา มีรูปเป็นกามาวจร*
2. เมื่อบัญญัติอัตตา
มีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่า อัตตาของเรามีรูป หาที่สุดมิได้
3. เมื่อบัญญัติอัตตา
ไม่มีรูป เป็นกามาวจร ย่อมบัญญัติว่า อัตตาของเรา ไม่มีรูปเป็น กามาวจร
4. เมื่อบัญญัติอัตตา
ไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่า อัตตาของเราไม่มีรูปหาที่สุด มิได้
* (กามาวจร ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในกามภพ)

เมื่อไม่บัญญัติอัตตา
ดูกรอานนท์ บุคคล เมื่อไม่บัญญัติอัตตา ย่อมไม่บัญญัติด้วยเหตุ มีประมาณเท่าไร
1. เมื่อไม่บัญญัติอัตตา
มีรูปเป็นกามาวจร ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตาของเรามีรูป เป็น กามาวจร
2. เมื่อไม่บัญญัติอัตตา
มีรูปอันหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตาของเรามีรูปหา ที่สุดมิได้ หรือ
3. เมื่อไม่บัญญัติอัตตา
ไม่มีรูปเป็นกามาวจร ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตาของเราไม่มีรูป เป็นกามาจร
4. เมื่อไม่บัญญัติอัตตา
ไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่บัญญัติว่ าอัตตาของเราไม่มีรูป หาที่สุด มิได้
 
 

ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้าที่ ๕๐ – ๖๔

๒. มหานิทานสูตร (๑๕)
อัตตา (ความถือว่าตัวตน)

        [๖๑] ดูกรอานนท์ บุคคล เมื่อจะบัญญัติอัตตา ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ประมาณเท่าไร ก็เมื่อบุคคลจะ

๑) บัญญัติอัตตา มีรูปเป็นกามาวจร ย่อมบัญญัติว่าอัตตาของเรา มีรูปเป็นกามาวจร*

๒) เมื่อบัญญัติอัตตา
มีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่าอัตตาของเรามีรูป หาที่สุดมิได้

๓) เมื่อบัญญัติอัตตา
ไม่มีรูป เป็นกามาวจร ย่อมบัญญัติว่าอัตตาของเรา ไม่มีรูปเป็น กามาวจร

๔)
เมื่อบัญญัติอัตตา ไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่าอัตตาของเราไม่มีรูปหาที่สุด มิได้
* (กามาวจร ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในกามภพ)

      ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น
(1)  ผู้ที่บัญญัติอัตตามีรูปเป็น กามาวจร นั้นย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่ง สภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือมีความเห็นว่าเราจัก ยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้
      อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาเป็นกามาวจร ย่อมติดสันดาน ผู้มีรูป ที่เป็น อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย

      ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น
(2)  ผู้มีบัญญัติ อัตตามีรูปหาที่สุดมิได้ นั้น ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่ง สภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือมีความเห็นว่าเราจักยังสภาพที่ไม่เที่ยงแท้อันมีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้
      อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมติดสันดาน ผู้มีรูป ที่เป็น
อย่างนี้
เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย

      ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น
(3)  ผู้ที่บัญญัติ อัตตาไม่มีรูปเป็น กามาวจร นั้นย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้หรือบัญญัติ ซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือ มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้ สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้
      อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาเป็นกามาวจร ย่อมติดสันดาน ผู้มี อรูป
ที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย

      ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น
(4)  ส่วนผู้ที่บัญญัติ อัตตาไม่มีรูป ทั้งหาที่สุดมิได้ นั้นย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือ บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือ มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพที่ไม่เที่ยงแท้อันมี อยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพ ที่เที่ยงแท้
      อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมติดสันดาน ผู้มี อรูป
เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย

      ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตาย่อมบัญญัติด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล



บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา


      [๖๒] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา ย่อมไม่บัญญัติด้วยเหตุ  มีประมาณเท่าไร อานนท์

๑) ก็เมื่อบุคคลไม่บัญญัติอัตตา มีรูปเป็นกามาวจร ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตาของเรา มีรูป เป็น กามาวจร

๒) เมื่อไม่บัญญัติอัตตา
มีรูปอันหาที่สุดมิได้  ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตาของเรามีรูปหา ที่สุดมิได้ หรือ

๓) เมื่อไม่บัญญัติอัตตา
ไม่มีรูปเป็นกามาวจร ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตาของเราไม่มีรูป เป็นกามาจร

๔) เมื่อไม่บัญญัติอัตตา
ไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่บัญญัติว่าอัตตาของเราไม่มีรูป หาที่สุด มิได้
* (กามาวจร ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในกามภพ)

       อานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตามีรูปเป็น กามาวจรนั้น  ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้ หรือไม่บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความ เห็นว่า เราจักยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้  อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาเป็นกามาวจร ย่อมไม่ติดสันดานผู้มีรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย

        อานนท์   ผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตามีรูปหาที่สุดมิได้นั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้ หรือ ไม่บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอัน ไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จเพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า  อัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่ติดสันดานผู้มีรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควร กล่าวไว้ด้วย

      ส่วนผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปเป็นกามาวจรนั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้ หรือไม่บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพ   อันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาเป็นกามาวจร ย่อมไม่ติดสันดานผู้มีอรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควร  กล่าวไว้ด้วย

      ผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปหาที่สุดมิได้นั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้หรือไม่ บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอัน ไม่เที่ยงแท้ ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาหาที่สุด มิได้ ย่อมไม่ติดสันดานผู้มีอรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควร กล่าวไว้ด้วยฯ
ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา ย่อมไม่บัญญัติด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล

       [๖๓] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นด้วยเหตุมี ประมาณ เท่าไร ก็บุคคลเมื่อเล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นว่า เวทนา เป็นอัตตา ของเรา ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวย เวทนา อานนท์ หรือ เล็งเห็นอัตตา ดังนี้ว่าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย จะว่าอัตตา ของเราไม่ต้องเสวย เวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะฉะนั้น อัตตาของเรามีเวทนา เป็นธรรมดา

       อานนท์ บรรดาความเห็น ๓ อย่างนั้น ผู้ที่กล่าว อย่างนี้ว่า เวทนาเป็นอัตตา ของเรา เขาจะพึงถูกซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส เวทนา มี ๓ อย่างนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา บรรดาเวทนา ๓ ประการนี้ ท่านเล็งเห็นอันไหน โดยความเป็นอัตตา

       อานนท์ ในสมัยใด อัตตา เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้น ไม่ได้เสวย ทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา คงเสวยแต่สุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น อานนท์ ใน สมัยใดอัตตาเสวยทุกขเวทนาไม่ได้ เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวย อทุกขมสุข เวทนา คงเสวยแต่ทุกขเวทนาอย่างเดียว เท่านั้น ในสมัยใด อัตตาเสวย อทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา คงเสวยแต่ อทุกขมสุขเวทนา อย่างเดียวเท่านั้น

      ดูกรอานนท์ เวทนาแม้ที่เป็นสุขก็ดี แม้ที่เป็นทุกข์ก็ดี แม้ที่เป็นอทุกขมสุขก็ดี ล้วนไม่เที่ยง เป็นเพียงปัจจัยปรุงแต่งขึ้น มีความสิ้นความเสื่อม ความ คลาย และ ความดับไปเป็นธรรมดา

เมื่อเขาเสวยสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่อสุขเวทนา อันนั้น ดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเรา ดับไปแล้ว เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่อทุกขเวทนาอันนั้น แลดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว

เมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่ออทุกขมสุข เวทนา อันนั้นแลดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า  เวทนาเป็นอัตตา ของเรานั้น

เมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นเวทนาอันไม่เที่ยง เกลื่อนกล่นไปด้วยสุข และทุกข์ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นอัตตาในปัจจุบันเท่านั้น

       เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะ เล็งเห็นว่าเวทนาเป็นอัตตา ของเรา แม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของ เราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา เขาจะพึง ถูกซักอย่างนี้ว่า ในรูปขันธ์ล้วนๆ ก็ยังมิได้มีความเสวยอารมณ์อยู่ทั้งหมด ใน รูปขันธ์นั้น ยังจะเกิดอหังการว่าเป็นเรา ได้หรือ
        ไม่ได้ พระเจ้าข้า
------------------------------------------------------------------------------------

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า ถ้าเวทนา ไม่เป็น อัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา แม้ด้วยคำดังกล่าว แล้วนี้ ส่วนผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย อัตตาของเราไม่ต้องเสวย เวทนา ก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่า อัตตาของ เรามีเวทนา เป็นธรรมดา เขาจะพึงถูกซักอย่างนี้ว่า อาวุโส ก็เพราะเวทนาจะต้องดับไปทั้งหมด ทั้งสิ้น ไม่เหลือเศษ เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ เวทนาดับไป ยังจะเกิดอหังการว่า เป็นเราได้หรือ ในเมื่อขันธ์นั้นๆ ดับไปแล้ว
        ไม่ได้ พระเจ้าข้า
------------------------------------------------------------------------------------

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า เวทนา ไม่เป็น อัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาเลยก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้อง เสวย เวทนาอยู่เพราะว่า อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา แม้ด้วยคำ ดังกล่าวแล้วนี้

        [๖๔] ดูกรอานนท์ คราวใดเล่า ภิกษุไม่เล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ไม่เล็งเห็น อัตตาว่าไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ไม่เล็งเห็นว่าอัตตายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่า
อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา ภิกษุนั้นเมื่อเล็งเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ
ในโลก และเมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะทกสะท้าน เมื่อไม่ สะทกสะท้าน ย่อมปรินิพพาน ได้เฉพาะตน ทั้งรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

        อานนท์  ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ทิฐิว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์ยังมีอยู่ ว่าเบื้องหน้า แต่ตาย สัตว์ไม่มีอยู่ ว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย ว่าเบื้องหน้า แต่ตาย สัตว์มีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ ดังนี้ กะภิกษุผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้ การกล่าวของ บุคคลนั้นไม่สมควร
        ข้อนั้น เพราะเหตุไร

        ดูกรอานนท์ ชื่อ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ บัญญัติ ทางแห่งบัญญัติ การแต่งตั้ง ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญา วัฏฏะยังเป็นไปอยู่ตราบใด วัฏฏสงสาร ยังคงหมุนเวียนอยู่ ตราบนั้นเพราะรู้ยิ่ง วัฏฏสงสารนั้น ภิกษุจึงหลุดพ้น ข้อที่มี ทิฐิว่า ใครๆ ย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นภิกษุผู้หลุดพ้น เพราะรู้ยิ่งวัฏฏสงสารนั้น นั้นไม่สมควร    

   
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์