เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕ การเจริญภาวนาธรรม ๖ อย่าง (เรื่องพระราหูล) 913
 
  P910 P911 P912 P913  
รวมพระสูตร เรื่องพระราหูล  
 
(เนื้อหาพอสังเขป)
(๔)
ภาวนาเสมอด้วย ๕ ธาตุ

1.เธอจงเจริญภาวนา เสมอด้วยแผ่นดิน เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจ และ ไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้

2.เธอจงเจริญภาวนา เสมอด้วยน้ำเถิด เพราะเมื่อเธอ เจริญภาวนา เสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำ จิตได้

3. เธอจงเจริญภาวนา เสมอด้วยไฟเถิด เพราะเมื่อเธอ เจริญภาวนาเสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ ครอบงำจิตได้

4 เธอจงเจริญภาวนา เสมอด้วยลมเถิด เพราะเมื่อเธอ เจริญภาวนาเสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตของเธอได้

5.เธอจงเจริญภาวนา เสมอด้วยอากาศเถิด เพราะเมื่อ เธอ เจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้น แล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
.........................................................................................................

การเจริญภาวนาธรรม ๖ อย่าง

1. เธอจงเจริญเมตตาภาวนา  จักละพยาบาทได้
2. เธอจงเจริญกรุณาภาวนา จักละวิหิงสาได้
3. เธอจงเจริญมุทิตาภาวนา จักละอรติได้
4. เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนา จักละปฏิฆะได้
5. เธอจงเจริญอสุภภาวนา  จักละราคะได้
6. เธอจงเจริญอนิจจสัญญาภาวนา จักละอัสมิมานะได้

.........................................................................................................

อานาปานสติภาวนา

ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด
เพราะอานาปานสติ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่

ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้
ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญ อานาปานสติ ทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็นอันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติ ไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.

 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๑๓

(มหาราหุโลวาทสูตร)
ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕

                [๑๔๐] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนา(อบรมจิต) เสมอด้วยแผ่นดิน เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจ และ ไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลาย ทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงที่แผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วย แผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

                [๑๔๑] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำเถิด เพราะเมื่อเธอ เจริญภาวนา เสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำ จิตได้. ดูกรราหุลเปรียบเหมือนคนทั้งหลายล้างของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้างน้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงในน้ำ น้ำจะอึดอัดหรือระอา หรือ เกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใดเธอจงเจริญภาวนา เสมอด้วย น้ำ ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอ เจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและ ไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

                [๑๔๒] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟเถิด เพราะเมื่อเธอ เจริญภาวนาเสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล เปรียบเหมือนไฟที่เผาของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ไฟจะอึดอัด หรือระอา หรือ เกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอ เจริญภาวนา เสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

                [๑๔๓] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลมเถิด เพราะเมื่อเธอ เจริญภาวนาเสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตของเธอได้ ดูกรราหุล เปรียบเหมือนลมย่อมพัดต้องของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้างมูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลมจะอึดอัด หรือระอา หรือเกลียดของนั้น ก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลม ฉันนั้น เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

                [๑๔๔] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศเถิด เพราะเมื่อ เธอ เจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้น แล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล เปรียบเหมือนอากาศไม่ตั้งอยู่ในที่ ไหนๆ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอ ด้วยอากาศฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญ ภาวนาเสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็น ที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ ครอบงำจิตได้.
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การเจริญภาวนาธรรม ๖ อย่าง

ดูกรราหุล
เธอจงเจริญเมตตาภาวนา เถิด
เพราะเมื่อเธอเจริญ เมตตาภาวนาอยู่จักละพยาบาทได้

เธอจงเจริญกรุณาภาวนา เถิด
เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่ จักละวิหิงสาได้

เธอจงเจริญมุทิตาภาวนา เถิด
เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่ จักละอรติได้

เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนา เถิด
เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จักละปฏิฆะได้

เธอจงเจริญอสุภภาวนา เถิด
เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละราคะได้

เธอจงเจริญอนิจจสัญญาภาวนา เถิด
เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่ จักละอัสมิมานะได้

.........................................................................................................


อานาปานสติภาวนา

ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่

ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่?

ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดีอยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว 

เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น

ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ กองลมทั้งปวงหายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขาร หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุข หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุข หายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขาร หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่น หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่น หายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต หายใจเข้า.

ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรม อันปราศจากราคะ หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรม อันปราศจากราคะ หายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรม เป็นที่สละคืน หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรม เป็นที่สละคืน หายใจเข้า

ดูกรราหุล อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญ อานาปานสติ ทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็นอันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติ ไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์