เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  มหาราหุโลวาทสูตร เรื่องพระราหุล 910
 
  P910 P911 P912 P913  
รวมพระสูตร เรื่องพระราหูล  
 
(เนื้อหาพอสังเขป)
(๑)
อุปมา 1
(น้ำน้อยในภาชนะ)
อุปมา 2
(งวงช้าง)
อุปมา 3
(ชำระ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม)

สรุป กรรม ๓
(สมณะในอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ก็จะพิจารณาตามที่กล่าวมา แล้วจึง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม)

 
 

 

ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๑๓

เรื่องพระราหุล (จูฬราหุโลวาทสูตร)

          [๑๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์.

ก็สมัยนั้นแล ท่านพระราหุลอยู่ ณ ปราสาทชื่อว่าอัมพลัฏฐิกา.

ครั้งนั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นอยู่แล้ว เสด็จเข้าไปยัง อัมพลัฏฐิกาปราสาท ที่ท่านพระราหุลอยู่.

ท่านพระราหุลได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล จึงปูลาดอาสนะ และตั้งน้ำ สำหรับล้างพระบาทไว้.

พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แล้วทรงล้างพระบาท.

ท่านพระราหุลถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

อุปมา 1 (น้ำน้อยในภาชนะ)

          [๑๒๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเหลือน้ำไว้ในภาชนะน้ำหน่อยหนึ่ง แล้ว ตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล เธอเห็นน้ำเหลือหน่อยหนึ่งอยู่ในภาชนะน้ำนี้ หรือ? ท่านพระราหุลกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า.

ดูกรราหุล สมณธรรมของบุคคล ผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสา ทั้งรู้อยู่ ก็มีน้อยเหมือนกันฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเทน้ำที่เหลือหน่อยหนึ่งนั้นเสีย แล้วตรัสกะท่าน พระราหุลว่า ดูกรราหุล เธอเห็นน้ำหน่อยหนึ่งที่เราเทเสียแล้วหรือ? รา. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูกรราหุล สมณธรรมของบุคคล ผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสา ทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของที่เขาทิ้งเสียแล้วเหมือนกันฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงคว่ำภาชนะน้ำนั้น แล้วตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุลเธอเห็นภาชนะน้ำที่คว่ำนี้หรือ? เห็น พระเจ้าข้า.

ดูกรราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของที่เขาคว่ำเสียแล้วเหมือนกันฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหงายภาชนะน้ำนั้นขึ้น แล้วตรัสกะท่านพระราหุลว่า
ดูกรราหุล เธอเห็นภาชนะน้ำอันว่างเปล่านี้หรือ? เห็น พระเจ้าข้า.

ดูกรราหุล สมณธรรมของบุคคล ผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสา ทั้งรู้อยู่ก็เป็นของว่างเปล่า เหมือนกันฉะนั้น.

--------------------------------------------------------------------------

อุปมา 2 (งวงช้าง)

                [๑๒๗] ดูกรราหุล เปรียบเหมือนช้างต้น มีงาอันงอนงาม เป็นพาหนะ ที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม ช้างนั้นเข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรม ด้วยเท้า หน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่ งวง เท่านั้น.

เพราะการที่ช้างรักษาแต่งวง นั้น ควานช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ช้างต้นนี้แลมีงา อันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้างด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น ชีวิตชื่อว่าอันช้างต้นยังไม่ยอมสละแล.

ดูกรราหุล เมื่อใดแลช้างต้นมีงาอันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลัง ทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง.

เพราะการที่ช้างทำกรรมด้วยงวงนั้น ควานช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ก็ช้างต้นนี้แล มีงาอันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนักมีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง ชีวิตชื่อว่าอันช้างต้นยอมสละแล้ว บัดนี้ไม่มีอะไรที่ช้างต้นจะพึงทำไม่ได้ ฉันใด.

ดูกรราหุล เรากล่าวว่าบุคคลผู้ไม่มีความละอาย ในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทำ บาปกรรม แม้น้อยหนึ่งไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้นแหละ ราหุล เธอพึงศึกษาว่า เราจักไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น ดูกรราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์