เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ทิฏฐิ ๖๒ (กลุ่ม ๒/๕) ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕ เห็นสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน 742
 
  ทิฏฐิ 62
Page ปุพพันตกัปปิกะ (ความเห็นปรารภเบื้องต้น, ๑๘ ลัทธิ)
733 (๑) สัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ
734 (๒) เอกัจจสัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ
735 (๓) อันตานันติกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ
736 (๔) อมราวิกเขปิกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ
737 (๕) อธิจจสมุปปันนิกะ มี ๒ ลัทธิ
  รวม 18 ลัทธิ  
  อปรันตกัปปิกะ ผู้ปรารภเบื้องปลาย ได้แก่ส่วนที่เป็นอนาคต มี ๕ กลุ่ม แบ่งย่อยออกเป็น ๔๔ สำนัก
738 (๑) เห็นว่ามีสัญญา (สัญญีทิฏฐิ) ๑๖
739 (๒) เห็นว่าไม่มีสัญญา (อสัญญีทิฏฐิ) ๘
740 (๓) เห็นว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ (เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ) ๘
741 (๔) เห็นว่า ขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ๗
742 (๕) เห็นสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ) ๕
  รวม 44 ลัทธิ
743 ฐานะของผู้ถือทิฏฐิ  
     
 
 

(ดูอาการจิตของมนุษย์ทั้ง ๖๒ ทิฐิ)

(๕) หมวดเห็นสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน(ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ)๕
๕๘. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
๕๙. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๑ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
๖๐. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๒ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
๖๑. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๓ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
๖๒. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๔ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค หน้าที่ ๑๑  -  ๔๔

ทิฏฐิ ๖๒ (กลุ่ม ๒)

ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕ ลัทธิ


                [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า นิพพาน ในปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่านิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการ ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมี ทิฏฐิว่านิพพาน ในปัจจุบัน บัญญัติว่านิพพานปัจจุบัน เป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๕ ประการ?

                ๕๘. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มี วาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญเพราะอัตตานี้ เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม เพลิดเพลิน อยู่ด้วยกามคุณห้า ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรม อย่างยิ่ง. พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ ผู้ปรากฏ อยู่อย่างนี้.

                ๕๙. (๒) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์ พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่า ไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุ เพียงเท่านี้หามิได้.

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่ากามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา เพราะกามทั้งหลายแปรปรวนเป็นอย่างอื่น จึงเกิดความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส และความคับใจ ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอัน บรรลุนิพพานปัจจุบัน อันเป็นธรรมอย่างยิ่ง พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบัน เป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่อย่างนี้.

                ๖๐. (๓) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์ พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่า ไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุ เพียงเท่านี้หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเพราะเหตุว่าปฐมฌานนั้น ท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยยังมีวิตกและวิจารอยู่ ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส แห่งจิตในภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มี วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน อันเป็นธรรม อย่างยิ่ง พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ของสัตว์ผู้ปรากฏ อยู่อย่างนี้.

                ๖๑. (๔) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์ พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่า ไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุ เพียงเท่านี้หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเพราะเหตุว่าทุติยฌานนั้น ท่านกล่าวว่า หยาบ ด้วยยังมีปีติเป็นเหตุให้จิตกระเหิมอยู่ เพราะอัตตานี้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติเสวยสุขอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอัน บรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบัน เป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.

                ๖๒. (๕) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์ พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่า ไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุ เพียงเท่านี้หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเพราะเหตุว่า ตติยฌานนั้น ท่านกล่าวว่า หยาบ ด้วยจิตยังคำนึงถึงสุขอยู่ เพราะอัตตานี้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่งพวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.

....................................................................................................

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่านิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๕ ประการนี้เท่านั้นหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจาก นี้ไม่มี.

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิ หลายชนิด ด้วยเหตุ ๔๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตมีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดสมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าว ด้วยเหตุ ๔๔ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี ...?

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็น ตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำ แสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ๖๒ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็น ตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำ แสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าวด้วยเหตุ ๖๒ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้นความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง จึงทราบความ ดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีตจะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคต ตามความ เป็นจริงโดยชอบ.

จบทิฏฐิ ๖๒.

........................................................................................................

พระสูตรโดยย่อ

หมวดเห็นสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ) ๕
๕๘. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
๕๙. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๑ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
๖๐. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๒ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
๖๑. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๓ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
๖๒. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๔ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์