(ดูอาการจิตของมนุษย์ทั้ง ๖๒ ทิฐิ)
(๑) สัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ
๑. เห็นว่าตัวตน (อัตตา)และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้ ตั้งแต่ชาติเดียวจน ถึงแสนชาติ
๒. เห็นว่าตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้เป็นกัปป์ๆ ตั้งแต่กัปป์เดียวถึง สิบกัปป์
๓. เห็นว่าตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้มากกัปป์ ตั้งแต่สิบกัปป์ถึง สี่สิบกัปป์
๔. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่าโลกเที่ยง (คิด ตริตรึก)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวงเล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค หน้าที่ ๑๑ - ๔๔
ทิฏฐิ ๖๒ (กลุ่ม ๑)
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังมีธรรมอย่างอื่นอีกแลที่ลึกซึ้งเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยากสงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าว ชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่านั้นเป็นไฉน?
ก. ปุพพันตกัปปิกาทิฏฐิ ๑๘ (ความเห็นปรารภเบื้องต้น, ๑๘ ลัทธิ)
[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นไปตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๑๘ ประการก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไรปรารภอะไร จึงกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นไปตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๑๘ ประการ.
สัสสตทิฏฐิ ๔ ลัทธิ (4 ความเห็น)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา และ โลก ว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ?
ปุพเพนิวาสานุสสติ (ลัทธิ๑)
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียร เครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการคือ ตามระลึกชาติได้ หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้างสี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้างร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้นเสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้น แล้วได้มาบังเกิด ในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัย อยู่ใน กาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขาตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่า สัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิดแต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ คงมี อยู่แท้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาทอาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุ เจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน ได้หลายประการ คือ ตามระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้างสามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพัน ชาติบ้างหลายแสนชาติบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียง เท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้นมีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด อายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ ที่เคยอาศัยอยู่ใน กาลก่อน ได้หลายประการพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ ด้วยการได้บรรลุ คุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิดแต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้
ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยงย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
สัสสตทิฏฐิ ๔ (ลัทธิ๒)
[๒๘] ๒. อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือ พราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความ ไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุ เจโตสมาธิ อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน ได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน ได้สังวัฏฏ วิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่อ อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้นมีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไปย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สังวัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้างว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้นเสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้นแม้ในกัปนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตา และโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขาตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิดแต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
[๒๙] ๓. อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภ อะไร จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือ พราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเป็นเครื่อง เผากิเลส อาศัยความเพียรที่ ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึง ขันธ์ ที่เคยอาศัยอยู่ใน กาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ ที่เคยอาศัย อยู่ในกาลก่อนได้ สิบสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ว่าในกัป โน้น เรามีชื่ออย่าง นั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียง เท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัย อยู่ใน กาลก่อน ได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ คงมีอยู่แท้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสอาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุ เจโตสมาธิ อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน
ได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน ได้สิบสังวัฏฏ วิกัฏฏ กัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตร อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด อายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่าง นั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุ เพียงเท่านั้นครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคย อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ ด้วยการได้ บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นฐานะที่ ๓ ซึ่งสมณ พราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้วปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง.
[๓๐] ๔. อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภ อะไร จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะ หรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด กล่าวแสดงปฏิภาณ ของตน ตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้อย่างนี้ว่า อัตตาและ โลกเที่ยง คงที่ตั้งอยู่มั่น ดุจยอด ภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยว ไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกนั้นมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตา และโลก ว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ นี้แล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่มีทิฏฐิว่าเที่ยง จะบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้นหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ อันบุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้า อย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่น ความรู้ชัดนั้น ด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้นความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้ เฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคต ตามความเป็นจริง โดยชอบ.
จบภาณวารที่หนึ่ง.
........................................................................................................
พระสูตรโดยย่อ
(๑) หมวดเห็นว่าเที่ยง (สัสสตทิฏฐิ) ๔
๑. เห็นว่าตัวตน (อัตตา)และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้ ตั้งแต่ชาติเดียวจน ถึงแสนชาติ
๒. เห็นว่าตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้เป็นกัปป์ๆ ตั้งแต่กัปป์เดียวถึง สิบกัปป์
๓. เห็นว่าตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้มากกัปป์ ตั้งแต่สิบกัปป์ถึง สี่สิบกัปป์
๔. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่าโลกเที่ยง (คิด ตริตรึก) |