|
(โดยย่อ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไรเล่า ?
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี.
เพราะเหตุที่ พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
คือ ความตั้งอยู่ แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา)
คือ ความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา)
คือ ความที่เมื่อมี สิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา)
ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก แจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ
เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น
อัน
เป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น
เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็น อย่างนั้น
เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่ เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)
|
|