เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  เวทนา ..เวทนา6 ..ความหมาย..และอุปมา 364  
 
 

(โดยย่อ)

ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเวทนาหกเหล่านี้คือ
1. เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทาง ตา
2. เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทาง หู
3. เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทาง จมูก
4. เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทาง ลิ้น
5. เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทาง กาย
6. เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทาง ใจ

อุปมาแห่งเวทนา 
เมื่อฝนเมล็ดหยาบ ตกในสรทสมัย (ท้ายฤดูฝน) ต่อมนํ้า ย่อมเกิดขึ้น และ แตกกระจายอยู่บนผิวน้ำ จึงหาแก่นสารอะไรไม่ได้ (เกิดขึ้นและดับไป)

อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น
คือ เวทนาใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเวทนาที่เป็นอดีต อนาคตหรือปัจจุบัน ภิกษุ ย่อมพิจารณา โดยแยบคาย ว่า เวทนานั้น ย่อมปรากฏเป็น ของว่างของเปล่า เป็นของที่หาแก่นสารอะไรไม่ได้ (ตัวตนมีชั่วคราว)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) ภาค1 หน้า 161

วิภาคแห่งเวทนาขันธ์



เวทนาหก
 

ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? 
ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเวทนาหกเหล่านี้คือ เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางตา เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางหู เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางจมูก เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางกาย และ เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางใจ.

ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า เวทนา. 


ความหมายของคำว่า “เวทนา” 

ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “เวทนา” เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ? 
ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้สึก (ต่อผลอันเกิดจากผัสสะ) ได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา. สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ซึ่งอะไร ? สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นสุขบ้าง, ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นทุกข์บ้าง และย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง(ดังนี้เป็นต้น). 
ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้สึก(ต่อผลอันเกิดจากผัสสะ)ได้มีอยู่ ในสิ่งนั้น(เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา. 


อุปมาแห่งเวทนา 

ภิกษุ ท. ! เมื่อฝนเมล็ดหยาบ ตกในสรทสมัย (ท้ายฤดูฝน) ต่อมนํ้าย่อมเกิดขึ้น และ แตกกระจายอยู่บนผิวน้ำ. บุรุษผู้มีจักษุ (ตามปกติ) เห็นต่อมน้ำนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณา โดยแยบคาย. เมื่อบุรุษนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่ ต่อมนํ้านั้น ย่อมปรากฏ เป็นของว่างของเปล่า และปรากฏ เป็นของหาแก่นสารมิได้ไป.
ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในต่อมน้ำนั้นจะพึงมีได้อย่างไร
อุปมานี้ฉันใด 

ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ เวทนา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่จะเป็นอดีต อนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม ภิกษุรู้สึกในเวทนานั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย.

เมื่อภิกษุนั้นรู้สึกอยู่เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่ เวทนานั้น ย่อมปรากฏเป็น ของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป.
ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในเวทนานั้นจะพึงมีได้อย่างไร.

 

   
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์