เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 โอวาทปาติโมกข์ ภิกษุอรหันต์ 1250 รูป มาประชุมโดยมิได้นัดหมาย 340  
 
 


โอวาทปาติโมกข์

พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม โอวาทปาติโมกข์ ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นวันที่เกิด จาตุรงคสันนิบาต คือการประชุมอันประกอบด้วยองค์ ๔ นั่นคือ
     ๑. พระสงฆ์ ๑๒๕๐ รูปมาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย
     ๒. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
     ๓.พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระสงฆ์ที่ได้รับ
เอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าบวชให้)
     ๔. ตรงกับวันเพ็ญ
เดือนมาฆะ (เดือน ๓)

โอวาทปาติโมกข์

“สพฺพปาปสฺส อกรณํ      กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ           เอตํ พุทฺธาน สาสนํ.
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต.
อนูปวาโท อนูปฆาโต      ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ     ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค         เอตํ พุทฺธาน สาสนํ.”

“ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
การไม่ทำบาปทั้งปวง
การทำกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตใจของตนให้ผ่องใส
นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

การไม่กล่าวร้ายผู้อื่น
การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ความสำรวมในปาติโมกข์
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร
การอยู่ในเสนาสนะที่สงัด
การประกอบความเพียรในอธิจิต
นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”

เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ทรงเริ่มเผยแผ่พระศาสนา ทรงวางหลักการปฏิบัติตามคำสอนไว้ ๓ ประการ คือ

๑.สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง ไม่ทำความชั่วทุกอย่าง
หมายถึง การไม่ประพฤติชั่วทางกาย วาจา ใจ
คือไม่ทำสิ่งที่ก่อให้เกิดความ เดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น

๒.กุสะลัสสูปสัมปะทา ทำแต่ความดี
หมายถึง การประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ

คือทำสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุข ความเจริญ แก่ตนเองและผู้อื่น

.สะจิตตะปะริโยทะปะนัง ทำใจให้ผ่องใส
หมายถึง การอบรมจิตใจของตนเอง ให้บริสุทธิ์สะอาด
ปราศจากเครื่องเศร้าหมอง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง

รวมเรียกว่า โอวาทปาติโมกข์



(มหาจุฬา)

พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] หน้าที่ ๕๐-๕๑

ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์

             [๙๐] ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีพุทธเจ้า ทรงแสดงปาติโมกข์ (๑) ในที่ประชุมสงฆ์ที่กรุงพันธุมดีราชธานีนั้นดังนี้
ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า
- นิพพานเป็นบรมธรรม
- ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
- ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
- การไม่ทำบาป (๒) ทั้งปวง
- การทำกุศล (๓) ให้ถึงพร้อม
- การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

การไม่กล่าวร้ายผู้อื่น
การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ความสำรวมในปาติโมกข์
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร
การอยู่ในเสนาสนะที่สงัด
การประกอบความเพียรในอธิจิต
นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เชิงอรรถ :
ปาติโมกข์ ในที่นี้มิได้หมายถึงอาณาปาติโมกข์ (ประมวลพุทธบัญญัติ ที่ทรงตั้งขึ้นเป็น พุทธอาณา ได้แก่ อาทิพรหมจริยกสิกขา ที่มีพระพุทธานุญาตให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ ทุกกึ่งเดือน) แต่หมายถึงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งประกอบด้วยคาถา ๓ คาถามี ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา เป็นต้น ที่พระพุทธเจ้าแต่ละ พระองค์ทรงแสดงเอง
บาป หมายถึงกรรมที่มีโทษซึ่งสหรคตด้วยอกุศลจิต ๑๒ ดวง
กุศล หมายถึงกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๔
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

คำกราบทูลของเทวดา

             [๙๑] ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ควงต้นราชสาละ ป่าสุภควันกรุง อุกกัฏฐะ ขณะที่เรานั้นหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้มีความรำพึงอย่างนี้ว่า ‘เทวโลกชั้น สุทธาวาสที่เราไม่เคยอยู่มาเลยตลอดกาลนานนี้ ไม่ใช่ใครๆ จะเข้าถึงได้โดยง่าย ยกเว้นเหล่าเทพชั้นสุทธาวาส ทางที่ดี เราควรไปหาเหล่าเทพชั้นสุทธาวาส’ จึงได้หายไปจากควงต้นราชสาละนั้นไปปรากฏในเหล่าเทพชั้นอวิหาอย่างรวดเร็ว เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น

ในหมู่เทพนั้น มีเทวดามากมาย จำนวนหลายร้อย หลายพัน เข้ามาหาเราอภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า

‘ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์นับจากกัปนี้ ถอยหลังไป ๙๑ กัป พระวิปัสสีพุทธเจ้า ได้เสด็จ อุบัติขึ้นในโลก มีพระชาติเป็นกษัตริย์ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในตระกูลกษัตริย์ มีพระโคตรว่าโกณฑัญญะ มีพระชนมายุประมาณ ๘๐,๐๐๐ ปี ตรัสรู้ที่ควงต้นแคฝอย ทรงมีคู่พระอัครสาวก เป็นคู่ที่เจริญ ได้แก่พระขัณฑะและพระติสสะ มีการประชุม พระสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑มีภิกษุ ๑๖๘,๐๐๐ รูป ครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ครั้งที่ ๓ มีภิกษุ๘๐,๐๐๐ รูป พระสาวกที่เข้าประชุมทั้ง ๓ ครั้ง ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ มีภิกษุอโสกะเป็นอุปัฏฐาก เป็นอัครอุปัฏฐาก มีพระเจ้าพันธุมาเป็นพระบิดา พระนาง



(วิกิพีเดีย)

คาถาโอวาทปาติโมกข์
นำ  (หันทะ  มะยัง  โอวาทะปาติโมกขะคาถาโย  ภะณามะ  เส)

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง, การไม่ทำบาปทั้งปวง
กุสะลัสสูปะสัมปะทา, การทำกุศลให้ถึงพร้อม,
สะจิตตะปะริ โยทะปะนัง, การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ,
เอตัง พุทธานะสาสะนัง, ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,
ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา, ขันติ คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลส อย่างยิ่ง,
นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา, ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง,
นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี, ผู้กำจัดสัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย,
สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต, ผู้ทำลายสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ เลย,
อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต, การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย,
ปาติโมกเข จะ สังวะโร, การสำรวมในปาติโมกข์,
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง, ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค,
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง, การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด,
อะธิจิตเต จะ อาโยโค, ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง,
เอตัง พุทธานะสาสะนัง, ธรรม ๖ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,

ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ

นำ (หันทะ มะยัง ปัจฉิมะพุทโธวาทะปาฐัง ภะณามะ เส)
หันทะทานิ ภิกขะเว, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือน,
อามันตะยามิโว, ท่านทั้งหลายว่า
วะยะธัมมา สังขารา, สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา,
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ, ท่านทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด,
อะยัง ตะถาคะตัสสะ นี้เป็นพระวาจาในครั้งสุดท้าย ของพระตาถาคต.

ปัจฉิมาวาจา.
ปัญจอภิณหปัจจเวขณปาฐะ

ชะราธัมโมมหิ, (อ่านว่า ธัม-โมม-หิ) เรามีความแก่เป็นธรรมดา,
ชะรัง อะนะตีโต (ตา) ล่วงความแก่ไปไม่ได้,
พะยาธิธัมโมมหิ, เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา,
พะยาธิง อะนะตีโต, (ตา) ล่วงความเจ็บไข้ไปไม่ได้,
มะระณะธัมโมมหิ, เรามีความตายเป็นธรรมดา,
มะระณัง อะนะตีโต (ตา), ล่วงความตายไปไม่ได้,
สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ, เราละเว้นเป็นต่าง ๆ คือว่า พลัดพราก
นานาภาโว วินาภาโว, ของรัก ของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง,
กัมมัสสะโกมหิ, เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ ตน,
กัมมะทายาโท, เป็นผู้รับผลของกรรม,
กัมมะโวยนี, เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด,
กัมมะพันธุ, เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์,
กัมมะปะฏิสะระโณ, เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย,
ยัง กัมมัง กะริสสามิ, จักทำกรรมอันใดไว้,
กัลยาณัง วา ปาปะกังวา, ดีหรือชั่ว,
ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสานิ, จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น,
เอวัง อัมเหหิ อะภิณหัง, เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนือง ๆ
ปัจจะเวกขิตัพพัง. อย่างนี้แล

ความหมายของโอวาทปาติโมกข์
โอวาทปาติโมกข์มักถูกกล่าวถึงในแง่หลักธรรม 3 อย่างเดียวว่าเป็นหัวใจของ พระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง อาจสรุปใจความได้ เป็นสามส่วน คือ หลักการ 3, อุดมการณ์ 4, และวิธีการ 6 ดังนี้

พระพุทธพจน์คาถาแรก
ทรงกล่าวถึงอุดมการณ์อันสูงสุดของพระภิกษุ และบรรพชิตในพระพุทธศาสนานี้ อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น อันอาจเรียกได้ว่า อุดมการณ์ 4 ของพระพุทธศาสนา ได้แก่ ความอดทนอดกลั้นเป็นสิ่งที่นักบวชในศาสนานี้พึงยึดถือ และเป็นสิ่งที่ต้องใช้ เมื่อประสบกับสิ่ง ที่ไม่ชอบใจทุกอย่าง ที่ต้องเจอในชีวิตนักบวช เช่น ประสงค์ร้อนได้เย็น ประสงค์เย็นได้ร้อน การมุ่งให้ถึงพระนิพพาน เป็นเป้าหมายหลัก ของผู้ออกบวช มิใช่สิ่งอื่นนอกจากพระนิพพาน พระภิกษุ และบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้ (เช่นภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา) ไม่พึงทำผู้อื่นให้ลำบาก ด้วยการเบียดเบียนทำความทุกข์กาย หรือทุกข์ทางใจ ไม่ว่าจะในกรณีใดๆ พึงเป็นผู้มีจิตใจสงบ จากอกุศลวิตก ทั้งหลาย มีความโลภ โกรธ หลง เป็นต้น

พระพุทธพจน์คาถาที่สอง
ทรงกล่าวถึง "หลักการอันเป็นหัวใจสำคัญ เพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา แก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ" หรือ หลักการ 3 กล่าวกันเป็นการสรุปรวบยอด หลักธรรมทางพระพุทธศาสน าอันเป็นแนวทางที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติ ได้แก่
1.การไม่ทำบาปทั้งปวง
2.การทำกุศลให้ถึงพร้อม
3.การทำจิตใจให้บริสุทธิ์

มีผู้อธิบายว่าทั้งสามข้อนี้อาจอนุมานเข้ากับ ศีล สมาธิ และปัญญา

พระพุทธพจน์คาถาที่สาม

หมายถึงวิธีการที่ธรรมทูตผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นกลยุทธ พระภิกษุที่ออก เผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ให้ใช้วิธีการ เหมือนกัน เพื่อจะได้เป็นไป ในแนวทางเดียวกัน และถูกต้องเป็นธรรม ได้แก่
วิธีการทั้ง 6
1.การไม่กล่าวร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่กล่าวร้ายโจมตีดูถูกความเชื่อผู้อื่น)
2.การไม่ทำร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่ใช้กำลังบังคับข่มขู่ด้วยวิธีการต่างๆ)
3.ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ (รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส)
4.ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค (เสพปัจจัยสี่อย่างรู้ประมาณพอเพียง)
5.นั่งนอนในที่อันสงัด (สันโดษไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ)
6.ความเพียรในอธิจิต (พัฒนาจิตใจด้วยสมถะและวิปัสสนาเสมอ มิใช่ว่าเอาแต่สอน แต่ตนเองไม่กระทำตามที่สอน)
...........................................................................................................................

ธรรม ที่พระพุทธเจ้าแสดง เมื่อวันมาฆบูชา เมื่อ 2500 กว่าปีล่วงมาแล้ว

โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็น "ปาติโมกข์" ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงตลอดปฐมโพธิกาล คือ 20 พรรษาแรก เฉพาะครั้งแรกในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน 3) หลังจากตรัสรู้แล้ว 9 เดือน เป็นการแสดงปาติโมกข์ที่ประกอบด้วยองค์ 4 เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ซึ่งมีเพียงครั้งเดียวในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งๆ
(อรรถกถาแสดงไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" นี้ ด้วยพระองค์เอง ท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ ตลอด 20 พรรษาแรก หลังจากนั้นทรงบัญญัติ ให้พระสงฆ์ แสดง "อาณาปาติโมกข์" แทน)

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง-การไม่ทำบาปทั้งปวง
กุสะลัสสูปะสัมปะทา-การทำกุศลให้ถึงพร้อม
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง-การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ
เอตัง พุทธานะสาสะนัง-ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา-ขันติ คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง
นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา-ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง
นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี-ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย
สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต-ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย
อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต-การไม่พูดร้าย การไม่ทำร้าย
ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร-การสำรวมในปาติโมกข์
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัส์มิง-ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง-การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด
อะธิจิตเต จะ อาโยโค-การหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง
เอตัง พุทธานะสาสะนัง-ธรรม ๖ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

โอวาทปาติโมกข์ ประกอบด้วยหลักการ 3 คือ

การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลด ละเลิก ทำบาป ทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่ว มีสิบประการ อันเป็นความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ
       - ความชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม
       - ความชั่วทางวาจา ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ การพูด เพ้อเจ้อ
       - ความชั่วทางใจ ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความ เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดี ทุกอย่าง ซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ อย่าง อันเป็นความดี ทางกาย ทางวาจาและทางใจ
       - การความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น มีแต่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
       - การทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียดไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อพูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวาน พูดคำให้เกิดความสามัคคี และพูดถูก กาลเทศะ
       - การทำความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่น มีแต่คิดเสียสละ การไม่ผูกอาฆาตพยาบาทมีแต่คิดเมตตาและปรารถนาดี และมีความเห็นความรู้ความ เข้าใจที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนิวรณ์ ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบมี ๕ ประการ ได้แก่
- ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)
- ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)
- ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)
- ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ)
- ความลังเลสงสัย (วิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดี ความชั่วว่ามีผลจริงหรือไม่

มีอุดมการณ์ 4
- ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกายวาจา ใจ
- ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้ายรบกวน หรือเบียดเบียนผู้อื่น
- ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ
- นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จาก การดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘

มีวิธีการ 6

ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใครไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎ กติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีของสังคมรู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหาร หรือการใช้สอยสิ่งต่างๆอยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ ฝึกหัดชำระจิตให้สงบ มีสุขภาพ คุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี 

 


   
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์