เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ทุกขธรรมสูตร การมีธรรมะเป็นเครื่องอยู่ 341  
 
 

(โดยย่อ)
1) ภิกษุย่อม รู้ทั่วถึงเหตุเกิด และความดับสูญ ของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามความเป็นจริง
2) ภิกษุนั้น เป็นผู้เห็นกาม เมื่อเธอเห็นกามทั้งหลายอยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อน เพราะกาม ...  อุปมาเหมือนตกหลุมถ่านเพลิง ลึกกว่าชั่วบุรุษ
3) ภิกษุ พึงทราบ อสังวร และสังวร
    อสังวร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมน้อมใจไปในรูป อันน่ารัก ย่อมขัดเคือง
              ในรูป อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไป ตั้งกายคตาสติไว้
    สังวร  คือ เห็นรูป ด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปอัน ไม่น่ารัก
             เป็นผู้เข้าไปตั้ง กายคตาสติไว้

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้า ๒๐๕

ทุกขธรรมสูตร
             
             [๓๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุย่อม รู้ทั่วถึงเหตุเกิด และ ความดับสูญ แห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง ก็ในกาลนั้นแล ภิกษุนั้น เป็นผู้เห็นกาม เมื่อเธอเห็นกามแล้ว ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่นความ เร่าร้อนเพราะกาม ในกามทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องอยู่ด้วยอาการใด ก็ธรรมเป็นเครื่อง ประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วยอาการนั้น อกุศลธรรม อันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส ไม่ครอบงำ ภิกษุผู้ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่อง ประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธอ อยู่ด้วยอาการนั้น

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้นและความดับสูญ แห่ง ทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริงอย่างไร

             ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้น และ ความดับสูญ แห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า รูปดังนี้ ความเกิดขึ้น แห่งรูปดังนี้ ความดับสูญแห่งรูป ดังนี้ เวทนาดังนี้... สัญญาดังนี้ สังขารทั้งหลาย ดังนี้... วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้น แห่ง วิญญาณดังนี้ ความดับสูญแห่งวิญญาณดังนี้

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้น และความดับสูญแห่ง ทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง อย่างนี้แล
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

             [๓๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็น ผู้เห็นกาม แล้วอย่างไรเล่า เมื่อเธอเห็นกาม ทั้งหลายอยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อน เพราะกามในกาม ทั้งหลาย ไม่นอนเนื่อง ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่อง ประพฤติ และ ธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ ด้วยอาการนั้น

              ดูกรภิกษุทั้งหลายหลุมถ่านเพลิงลึกกว่าชั่วบุรุษ เต็มด้วยถ่านเพลิง ที่ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ครั้งนั้นแล บุรุษผู้ปรารถนาเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงมา บุรุษผู้มีกำลัง ๒ คน จับบุรุษคนนั้นข้างละแขน แล้วฉุดเข้าไปหา หลุมถ่านเพลิงนั้น บุรุษนั่นพึง น้อมกายนี้แหละเข้าไปด้วยประการ ดังนี้ ข้อนั้น เพราะเหตุอะไรเพราะว่าบุรุษนั้นไม่มีความรู้ว่า เราเห็นหลุมถ่านเพลิงนี้ และจะถึง ความตายหรือความทุกข์แทบตาย เพราะหลุมถ่านเพลิงนั้น เป็นเหตุ แม้ฉันใด

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เห็นกามอันเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ฉันนั้น แล เมื่อเธอเห็นกามทั้งหลายอยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่นความเร่าร้อน เพราะกาม ในกามทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วยอาการนั้น
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

             [๓๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุ อย่างไรเล่า อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ย่อมไม่ครอบงำภิกษุผู้ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรม เป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุด้วยอาการนั้น

              ดูกรภิกษุทั้งหลายบุรุษพึงเข้าไปสู่ป่า ที่มีหนามมาก ข้างหน้าบุรุษนั้น ก็มีหนามข้างซ้ายก็มีหนาม ข้างขวาก็มีหนาม ข้างล่าง ก็มีหนาม ข้างบนก็มีหนาม บุรุษนั้นมีสติก้าวเข้าไปข้างหน้า ถอยกลับข้างหลัง ด้วยคิดว่า หนามอย่าเบียดเบียนเรา แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมคือ ปิยรูป และสาทรูป ในโลก นี้เรากล่าวว่าเป็นหนามในวินัยของพระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกันแล
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

             [๓๓๕] ภิกษุรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว พึงทราบ อสังวร และสังวร ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมน้อมใจไปในรูป อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูป อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไป ตั้งกายคตาสติไว้ มีใจมี ประมาณน้อยอยู่และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ แห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความ เป็นจริง ฯลฯ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมขัด เคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว มีใจ มีประมาณ น้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ แห่ง อกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างนี้แล ฯ

             [๓๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูป ด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปอัน ไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้ง กายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณ มิได้อยู่ ย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไป ไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯภิกษุรู้แจ้ง ธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปใน ธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติ ไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไป ไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอตามความ เป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีอย่างนี้แล ฯ

             [๓๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นประพฤติอย่างนี้อยู่อย่างนี้  อกุศลธรรม อันลามก คือ ความดำริอันซ่านไป เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความ หลงลืมแห่งสติ บางครั้ง บางคราว การบังเกิดขึ้นแห่งสติช้า ที่นั้นแล ภิกษุนั้นย่อมละ ย่อมบรรเทาอกุศลธรรมอันลามกนั้น ย่อมกระทำให้พินาศ ย่อมให้ถึง ความไม่มีได้เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลายบุรุษพึงให้หยาดน้ำสอง หรือสามหยาด ตกลงใน กะทะเหล็ก อันร้อนจัดตลอดวัน หยาดน้ำตกลงช้าทีนั้นแล น้ำนั้นพึงถึง ความสิ้นไป เหือดแห้งไป เร็วพลัน แม้ฉันใด

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ อกุศลธรรม อันลามก คือ ความดำริอันซ่านไป เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความ หลงลืมแห่งสติบางครั้งบางคราว การบังเกิดขึ้นแห่งสติช้า ที่นั้นแล ภิกษุนั้นย่อมละ ย่อมบรรเทาอกุศลธรรมอันลามกนั้น ย่อมกระทำให้พินาศ ย่อมให้ถึง ความไม่มีได้เร็ว พลัน ฉันนั้น เหมือนกันแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส ย่อมไม่ ครอบงำ ภิกษุผู้ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็น เครื่องประพฤติและธรรม เป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตาม ภิกษุด้วยอาการอย่างนี้แล ฯ

             [๓๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพระราชา มหาอำมาตย์ แห่งพระราชามิตร อำมาตย์ ญาติ หรือ สาโลหิต พึงปวารณาภิกษุนั้นผู้ประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ เพื่อให้ยินดียิ่ง ด้วยโภคะทั้งหลายว่า ท่านจงมาเถิดบุรุษผู้เจริญ ผ้ากาสาวะเหล่านี้ ยังความเร่าร้อน ให้เกิดขึ้นแก่ท่านมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคนโล้นเที่ยว ถือกระเบื้อง อยู่ทำไม ท่านจงสึก มาบริโภค และจงทำบุญเถิด

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุนั้นประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ จักบอกคืน สิกขาสึก มาเป็น คฤหัสถ์ ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไป หลั่งไป เทไปในทิศปราจีน ถ้าว่ามหาชนพึงเอาจอบ และตะกร้า มาด้วยคิดว่า พวกเราจัก ช่วยกันทำแม่น้ำคงคานี้ ให้ไหล ไปหลั่งไปเทไปข้างหลัง เธอทั้งหลายจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉนหมู่มหาชนนั้น พึงกระทำ แม่น้ำคงคานี้ ให้ไหลไป หลั่งไป เทไปข้างหลังได้บ้างหรือหนอแล

             ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าหามิได้ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะแม่น้ำคงคาไหลไป หลั่งไป เทไปใน  ทิศปราจีนแม่น้ำ คงคานั้น อันบุคคลจะทำให้ไหลไป หลั่งไป เทไปข้างหลัง ไม่ใช่กระทำได้ง่าย ก็หมู่มหาชนนั้นพึงเป็น ผู้มีส่วนแห่งความลำบาก ความคับแค้นเพียงไรแม้ฉันใด

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพระราชา มหาอำมาตย์แห่งพระราชา มิตร อำมาตย์ ญาติ หรือ สาโลหิต พึงปวารณาภิกษุนั้นผู้ประพฤติ อย่างนี้ อยู่อย่างนี้ เพื่อจะให้ยินดียิ่งด้วยโภคะ ทั้งหลายว่า ท่านจงมาเถิด บุรุษผู้เจริญผ้า กาสาวะเหล่านี้ ยังความเร่าร้อนให้เกิดขึ้น แก่ท่านมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคนโล้นเที่ยวถือกระเบื้อง อยู่ทำไม ท่านจงสึกมาบริโภค โภคะ และจงทำบุญเถิด

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นประพฤติ อย่างนี้ อยู่อย่างนี้ จักบอกคืนสิกขา สึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ฉันนั้น เหมือนกันแล ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่าจิตของเธอ น้อมไป เอนไป เงื้อมไปในวิเวก สิ้นกาลนาน ก็จิตนั้นจักเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ

จบสูตรที่ ๗


   
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์