เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ พหุธาตุกสูตร ที่๕ : ธาตุ18 อย่าง ธาตุ6 อย่าง ธาตุ3 อย่าง 325  
 
 
  (โดยย่อ เรื่องธาตุ)

  ธาตุนี้มี ๑๘ อย่าง (อายตนะภายใน+ภายนอก+วิญญาณ)
      ธาตุคือ จักษุ - รูป - จักษุวิญญาณ
      ธาตุคือ โสต - เสียง - โสตวิญญาณ
      ธาตุคือ ฆานะ - กลิ่น - ฆานวิญญาณ
      ธาตุคือ ชิวหา - รส - ชิวหาวิญญาณ
      ธาตุคือ กาย - โผฏฐัพพะ - กายวิญญาณ
      ธาตุคือ มโน - ธรรมารมณ์ - มโนวิญญาณ

  ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่
     ธาตุคือ ธาตุดิน(ปฐวีธาตุ) ธาตุน้ำ(อาโปธาตุ) ธาตุไฟ(เตโชธาตุ) ธาตุลม(วาโยธาตุ)
               อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ


  ธาตุนี้มี ๖ อย่าง
ได้แก่
      ธาตุคือ สุข-ทุกข์
      ธาตุคือ โสมนัส-โทมนัส
      ธาตุคือ อุเบกขา-อวิชชา

  ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่
      ธาตุคือ กาม-เนกขัมมะ
      ธาตุคือ พยาบาท-ไม่พยาบาท
      ธาตุคือ เบียดเบียน-ไม่เบียดเบียน

  ธาตุนี้มี ๓ อย่าง
ได้แก่
      ธาตุคือ กาม
      ธาตุคือ รูป
      ธาตุคือ อรูป

  ธาตุนี้มี ๒ อย่าง
คือ
    สังขตธาตุ อสังขตธาตุ


ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ

1. พึงเข้าใจ สังขารไรๆโดยความเป็นของเที่ยง นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้
2. พึงเข้าใจ สังขารไรๆ โดยความเป็นสุข นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้
3. พึงเข้าใจ ธรรมไรๆ โดยความเป็นอัตตา นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้
4. พึงปลง ชีวิต มารดา นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้
5. พึงปลง ชีวิต บิดา นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้
6. พึงปลงชีวิต พระอรหันต์ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้
7. มีจิตคิดประทุษร้าย พึงทำโลหิตตถาคตให้ห้อขึ้น เป็นฐานะที่มีได้
8. พึงทำลายสงฆ์ ไม่ใช่ฐานะที่มีได้
9. จะพึงมุ่งหมายศาสดาอื่น ไม่ใช่ฐานะที่มีได้

ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
1. พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ จะอุบัติในโลกธาตุเดียวกัน ไม่ใช่ฐานะที่มีได้
2. จักรพรรดิ ๒ องค์ พึงเสด็จ อุบัติในโลกธาตุเดียวกันไม่ใช่ฐานะที่มีได้
3. สตรีพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ไม่ใช่ฐานะที่มีได้
4. สตรีพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ไม่ใช่ฐานะที่มีได้
5. สตรีพึงสำเร็จเป็นท้าวสักกะ(ดาวดึงส์) ไม่ใช่ฐานะที่มีได้
6. สตรีพึงสำเร็จเป็นมาร ไม่ใช่ฐานะที่มีได้
7. สตรีพึงสำเร็จเป็นพรหม ไม่ใช่ฐานะที่มีได้
......ฯลฯ

ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ
(พหุธาตุกสูตร ที่ ๕)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

          [๒๓๗] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ด้วยเหตุ เท่าไร ฯ พ. ดูกรอานนนท์ ธาตุนี้มี ๑๘ อย่าง แล ได้แก่ ธาตุคือจักษุ ธาตุคือรูป ธาตุคือจักษุวิญญาณ ธาตุคือโสต ธาตุคือเสียง ธาตุคือโสตวิญญาณ ธาตุคือฆานะ ธาตุคือกลิ่น ธาตุคือฆานวิญญาณ ธาตุคือชิวหา ธาตุคือรส ธาตุคือชิวหาวิญญาณ ธาตุคือกาย ธาตุคือโผฏฐัพพะ ธาตุคือกายวิญญาณ ธาตุคือมโน ธาตุคือธรรมารมณ์ ธาตุคือมโนวิญญาณ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๑๘ อย่าง ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตฯ

          [๒๓๘] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า
ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีไหม ฯ พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือดิน ธาตุคือน้ำ ธาตุคือไฟ ธาตุคือลม ธาตุคืออากาศ ธาตุคือวิญญาณ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุฯ

          [๒๓๙] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่นที่ควรเรียกว่า
ภิกษุผู้ฉลาด ในธาตุ จะพึงมีอีกไหม ฯ พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือ สุข ธาตุคือทุกข์ ธาตุคือโสมนัส ธาตุคือโทมนัส ธาตุคืออุเบกขา ธาตุคือ อวิชชา ดูกรอานนท์เหล่านี้แล ธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุฯ

          [๒๔๐] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า
ภิกษุผู้ฉลาด ในธาตุ จะพึงมีอีกไหม ฯ พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือกาม ธาตุ คือเนกขัมมะ ธาตุคือพยาบาท ธาตุคือความไม่พยาบาท ธาตุคือความเบียดเบียน ธาตุคือความไม่ เบียดเบียน ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุ ที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตฯ

          [๒๔๑] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่าภิกษุผู้ฉลาด ในธาตุ จะพึงมีอีกไหม ฯ พ. ดูกรอานนท์
มี ธาตุนี้มี ๓ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือกาม ธาตุคือรูป ธาตุคืออรูป ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๓ อย่าง แม้ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่จึงควรเรียก ได้ว่า

ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ

          [๒๔๒] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า
ภิกษุผู้ฉลาด ในธาตุ จะพึงมีอีกไหม ฯ พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๒ อย่าง คือ สังขตธาตุ อสังขตธาตุ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๒ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า

ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ


          [๒๔๓] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า
ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ ด้วยเหตุเท่าไร ฯ พ. ดูกรอานนท์ อายตนะทั้งภายในและภายนอกนี้ มีอย่างละ ๖ แล คือ จักษุและรูป โสตและเสียง ฆานะและกลิ่น ชิวหาและรส กายและโผฏฐัพพะ มโน และธรรมารมณ์ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล อายตนะทั้งภายในและภายนอกอย่างละ ๖ แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะฯ

          [๒๔๔] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า
ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจ สมุปบาท ด้วยเหตุเท่าไร ฯ พ.

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า
  เมื่อเหตุนี้มีผลนี้จึงมี
  เพราะเหตุนี้เกิดขึ้นผลนี้จึงเกิดขึ้น
  เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี
  เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ คือ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส อย่างนี้เป็น ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

แต่เพราะอวิชชานั่นแลดับด้วยวิราคะ ไม่มีส่วนเหลือ จึงดับสังขารได้
เพราะสังขารดับ จึงดับวิญญาณได้
เพราะวิญญาณดับ จึงดับนามรูปได้
เพราะนามรูปดับ จึงดับสฬายตนะได้
เพราะสฬายตนะดับ จึงดับผัสสะได้
เพราะผัสสะดับ จึงดับเวทนาได้
เพราะเวทนาดับ จึงดับตัณหาได้
เพราะตัณหาดับ จึงดับอุปาทานได้
เพราะอุปาทานดับ จึงดับภพได้
เพราะภพดับ จึงดับชาติได้ เพราะชาติดับจึงดับชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาสได้ อย่างนี้เป็นความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ดูกรอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาทฯ

          [๒๔๕] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาด ในฐานะ และ อฐานะ ด้วยเหตุเท่าไร ฯ

พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(๑) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ พึงเข้าใจ สังขารไรๆโดยความเป็นของเที่ยง นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็น ฐานะมีได้แล คือ ปุถุชน พึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง นั้นเป็นฐานะ ที่มีได้ฯ

(๒) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ พึงเข้าใจ สังขารไรๆ โดยความเป็นสุข นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้ แล คือ ปุถุชนพึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นสุขนั่นเป็นฐานะที่มีได้ฯ

(๓) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ* พึงเข้าใจ ธรรมไรๆ โดยความเป็นอัตตา นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะ มีได้แล คือ ปุถุชนพึงเข้าใจธรรมใดๆ โดยความเป็นอัตตา นั่นเป็นฐานะที่มีได้ฯ

(๔) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ พึงปลง ชีวิต มารดา นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงปลง ชีวิตมารดาได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

(๕) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ พึงปลง ชีวิต บิดา นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือปุถุชนพึง ปลงชีวิต บิดาได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ฯ

(๖) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ พึงปลงชีวิต พระอรหันต์ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่าข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึง ปลงชีวิตพระอรหันต์ได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ฯ

(๗) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ มีจิตคิด ประทุษร้าย พึงทำโลหิตแห่งตถาคตให้ห้อขึ้น นั่นเป็นฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือปุถุชนมีจิตคิดประทุษร้ายพึงทำโลหิตแห่งตถาคต ให้ ห้อขึ้น ได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

(๘) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ พึง ทำลาย สงฆ์ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงทำลาย สงฆ์ได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ฯ

(๙) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ จะพึง มุ่งหมายศาสดาอื่น นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนจะพึงมุ่งหมายศาสดาอื่นได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

(๑๐) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ๒ พระองค์ พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลังกัน นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์เดียว พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียว นั่นเป็นฐานะที่มีได้ฯ

(๑๑) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ
พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ องค์ พึงเสด็จ อุบัติในโลกธาตุเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลังกันนั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็น ฐานะมีได้แล คือ พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์เดียว พึงเสด็จอุบัติ ในโลกธาตุเดียว นั่น เป็นฐานะที่มีได้ฯ

(๑๒) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ
สตรีพึงเป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธนั่น ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุรุษพึงเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ฯ

(๑๓) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ
สตรีพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ นั่น ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุรุษพึงเป็นพระเจ้า จักรพรรดิ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ฯ

(๑๔) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ
สตรีพึงสำเร็จเป็นท้าวสักกะ นั่น ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือบุรุษพึงสำเร็จเป็นท้าว สักกะ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

(๑๕) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ
สตรีพึงสำเร็จเป็นมาร นั่น ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุรุษพึงสำเร็จเป็นมาร นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

(๑๖) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ
สตรีพึงสำเร็จเป็นพรหม นั่น ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือบุรุษพึงสำเร็จเป็น พรหม นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

(๑๗) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่งกายทุจริต พึงเกิด เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็น ฐานะมีได้แล คือ วิบากแห่งกายทุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

(๑๘) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่งวจีทุจริต พึงเกิดเป็น ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะ มีได้แล คือ วิบากแห่งวจีทุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

(๑๙) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่งมโนทุจริตพึงเกิด เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็น ฐานะมีได้แลคือ วิบากแห่งมโนทุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า พอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

(๒๐) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่งกายสุจริต พึงเกิด เป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แลคือ วิบากแห่งกายสุจริต พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

(๒๑) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่งวจีสุจริต พึงเกิด เป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ วิบากแห่งวจีสุจริต พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

(๒๒) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่งมโนสุจริต พึงเกิด เป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะที่มีได้แล คือ วิบากแห่งมโนสุจริต พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

(๒๓) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกาย ทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกายทุจริตนั้นเป็นเหตุ เป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก เพราะกายทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

(๒๔) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย วจีทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะวจีทุจริตนั้นเป็นเหตุ เป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุคคล ผู้พรั่งพร้อมด้วยวจีทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก เพราะวจีทุจริต นั้นเป็นปัจจัย นั่นเป็น ฐานะที่มีได้ ฯ

(๒๕) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย มโนทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะมโนทุจริตนั้นเป็นเหตุ เป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก เพราะมโนทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

(๒๖) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกาย สุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกายสุจริตนั้น เป็นเหตุ เป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกาย สุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกายสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

(๒๗) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย วจี สุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะวจีสุจริตนั้น เป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวจี สุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะวจีสุจริตนั้นเป็นเหตุ เป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

(๒๘) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย มโนสุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะมโนสุจริต นั้นเป็นเหตุ เป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโน สุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะมโนสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ ดูกรอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาด ในฐานะและอฐานะ ฯ

          [๒๔๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ ได้ทูลพระผู้มี พระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลยธรรม บรรยาย นี้ชื่อไร พระพุทธเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำ ธรรมบรรยายนี้ไว้ ว่าชื่อ พหุธาตุก (ชุมนุมธาตุมากอย่าง) บ้าง ว่าชื่อ จตุปริวัฏฏ (แสดงอาการเวียน ๔ รอบ)บ้าง ว่าชื่อ ธรรมาทาส (แว่นส่องธรรม) บ้าง ว่าชื่อ อมตทุนทุภี (กลองบันลือ อมฤต) บ้าง ว่าชื่อ อนุตตรสังคามวิชัย (ความชนะสงคราม อย่างไม่มี ความชนะอื่น ยิ่งกว่า) บ้าง ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดีพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ พหุธาตุกสูตร ที่ ๕

........................................................................................................

สรุปเรื่องธาตุ (41 ธาตุ)

ธาตุนี้มี ๑๘ อย่าง
      ธาตุคือจักษุ รูป จักษุวิญญาณ (อายตนะภายใน+ภายนอก+วิญญาณ)
      ธาตุคือโสต เสียง โสตวิญญาณ
      ธาตุคือฆานะ กลิ่น ฆานวิญญาณ
      ธาตุคือชิวหา รส ชิวหาวิญญาณ
      ธาตุคือกาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ
      ธาตุคือมโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ

ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ

ธาตุนี้มี ๖ อย่าง
ได้แก่
      ธาตุคือ สุข-ทุกข์
      ธาตุคือ โสมนัส-โทมนัส
      ธาตุคือ อุเบกขา-อวิชชา

ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่
      ธาตุคือกาม-เนกขัมมะ
      ธาตุคือพยาบาท-ไม่พยาบาท
      ธาตุคือเบียดเบียน-ไม่เบียดเบียน

ธาตุนี้มี ๓ อย่าง
ได้แก่ ธาตุคือกาม ธาตุคือรูป ธาตุคืออรูป

ธาตุนี้มี ๒ อย่าง
คือ สังขตธาตุ อสังขตธาตุ

   
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์