คติ ๕ และอุปมา
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
(170) สารีบุตร ! คติ ๕ ประการเหล่านี้ มีอยู่.
๕ ประการ อย่างไรเล่า ? คือ :-
(๑) นรก
(๒) กำเนิดเดรัจฉาน
(๓) เปรตวิสัย
(๔) มนุษย์
(๕) เทวดา
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งนรก
ทางยังสัตว์ให้ถึงนรก
และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงนรก
อนึ่ง สัตว์ ผู้ปฏิบัติ ประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งกำเนิดเดรัจฉาน
ทางยังสัตว์ให้ถึงกำเนิดเดรัจฉาน
และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึง กำเนิด เดรัจฉาน
อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
ย่อมเข้าถึงกำเนิดเดรัจฉาน
เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งเปรตวิสัย
ทางยังสัตว์ให้ถึงเปรตวิสัย
และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงเปรตวิสัย
อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
ย่อมเข้าถึง เปรตวิสัย
เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งเหล่ามนุษย์
ทางยังสัตว์ให้ถึงมนุษย์โลก
และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงมนุษย์โลก
อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
ย่อมบังเกิด ในหมู่มนุษย์
เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งเทวดาทั้งหลาย
ทางยังสัตว์ให้ถึงเทวโลก
และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงเทวโลก
อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์
เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งนิพพาน
ทางยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน
และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน
อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด
ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน ปัจจุบัน เข้า ถึงแล้วแลอยู่
เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.
อุปมาการเห็นคติ
สารีบุตร ! เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยถ่านเพลิง
ปราศจากเปลว ปราศจากควัน
ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัว อันความร้อนแผดเผา
เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย
มุ่งมาสู่หลุมถ่านเพลิง นั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ ว่า “บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น
และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงหลุมถ่านเพลิงนี้ทีเดียว” โดยสมัยต่อมาบุรุษผู้มีจักษุนั้น
พึงเห็น เขาตกลงในหลุมถ่านเพลิงนั้น
เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้าเผ็ดร้อนโดย ส่วนเดียว แม้ฉันใด.
สารีบุตร ! เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคน ในโลกนี้ ด้วยใจ
ฉันนั้นเหมือนกันว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น
ดำเนิน อย่างนั้น และขึ้นสู่ หนทางนั้น
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก โดยสมัยต่อมา เราได้เห็นบุคคล นั้น เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก
เข้าถึงแล้วซึ่งอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เสวยทุกขเวทนา อันแรงกล้า เผ็ดร้อนโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ มนุษย์.(นรก)
สารีบุตร ! เปรียบเหมือน หลุมคูถ ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ
เต็มไปด้วยคูถ
ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อน
แผดเผา เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย
มุ่งมาสู่หลุมคูถนั้นแหละ
โดยมรรคาสายเดียว
บุรุษผู้มีจักษุ เห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
“บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนิน อย่างนั้น
และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงหลุมคูถนี้ทีเดียว” โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น
พึงเห็นเขาตกลงในหลุมคูถนั้น
เสวยทุกขเวทนา อันแรงกล้า เผ็ดร้อน แม้ฉันใด.
สารีบุตร ! ราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคล บางคน ในโลกนี้ด้วยใจ
ฉันนั้นเหมือนกันว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น
ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่ หนทางนั้น
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
จักเข้าถึงกำเนิดเดรัจฉาน ยสมัยต่อมาเราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก
เข้าถึงแล้วซึ่งกำเนิดเดรัจฉาน เสวยทุกขเวทนา อันแรงกล้า เผ็ดร้อน
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.(กำเนิดเดรัจฉาน)
สารีบุตร ! เปรียบเหมือนต้นไม้เกิดในพื้นที่อันไม่เสมอ มีใบอ่อน
และใบแก่อันเบาบาง มีเงาอันโปร่ง ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อน แผดเผา
เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย
มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ โดยมรรคา สายเดียว
บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น
และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงต้นไม้นี้ ทีเดียว” โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น
พึงเห็นเขานั่ง หรือนอนในเงา ต้นไม้นั้น
เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก แม้ฉันใด
สารีบุตร ! เราย่อม กำหนด รู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ
ฉันนั้นเหมือนกันว่า บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่าง นั้น
ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่ หนทางนั้น
เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก
จักเข้าถึงเปรตวิสัย โดยสมัย ต่อมาเราย่อมเห็นบุคคล นั้น
เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก
เข้าถึงแล้ว ซึ่งเปรตวิสัย
เสวย ทุกขเวทนาเป็นอันมาก
ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. (เปรตวิสัย)
สารีบุตร ! เปรียบเหมือนต้นไม้เกิดในพื้นที่อันเสมอ มีใบอ่อน
และใบแก่อันหนา มีเงาหนาทึบ ลำดับนั้นบุรุษผู้มีตัว อันความร้อน แผดเผา
เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย
มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ
โดยมรรคา สายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น
และขึ้นสู่หนทางนี้ จักมาถึงต้นไม้นี้ ทีเดียว” โดยสมัย ต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น
พึงเห็นเขานั่ง หรือนอนในเงา ต้นไม้นั้น
เสวยสุข เวทนาเป็นอันมาก แม้ฉันใด.
สารีบุตร ! เราย่อม กำหนดรู้ใจบุคคล บางคนในโลกนี้
ด้วยใจฉันนั้นเหมือนกันว่า
บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น
ดำเนินอย่างนั้น และขึ้น สู่หนทางนั้น
เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก จักบังเกิดในหมู่มนุษย์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็น บุคคลนั้น
เบื้องหน้า แต่ตาย เพราะกายแตก
บังเกิดแล้วในหมู่มนุษย์
เสวยสุขเวทนาเป็นอันมากด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ มนุษย์. (มนุษย์)
สารีบุตร ! เปรียบเหมือนปราสาท ในปราสาทนั้นมีเรือนยอด
ซึ่งฉาบทาแล้ว
ทั้งภายในและภายนอก
หาช่องลมมิได้
มีวงกรอบ อันสนิท มีบานประตู และหน้าต่างอันปิดสนิทดี
ในเรือนยอดนั้น มีบัลลังก์อันลาด ด้วย ผ้าโกเชาว์ขนยาว ลาดด้วยเครื่องลาด ทำด้วย ขนแกะสีขาว
ลาดด้วย ขนเจียม เป็นแผ่นทึบ
มีเครื่องลาดอย่างดี ทำด้วยหนังชะมด
มีเพดานกั้น ในเบื้องบน
มีหมอนแดงวาง ณ ข้าง ทั้งสอง
ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความ ร้อนแผดเผา
เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย
มุ่งมาสู่ปราสาทนั้นแหละ
โดยมรรคา สายเดียว
บุรุษผู้มีจักษุ เห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น
ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น
จักมาถึงปราสาทนี้ ทีเดียว” โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น
พึงเห็นเขานั่ง หรือนอนบนบัลลังก์ ในเรือนยอด ณ ปราสาทนั้น
เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด.
สารีบุตร ! เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคน ในโลกนี้ด้วยใจ
ฉันนั้น เหมือน กันว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น
ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทาง นั้น
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติ โลกสวรรค์
เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว
ด้วยทิพย จักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.(เทวดา)
สารีบุตร ! เปรียบเหมือนสระโบกขรณี มีน้ำอันเย็น ใสสะอาด
มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์
และในที่ไม่ไกลสระโบกขรณีนั้น มีแนวป่าอันทึบ
ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา
เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย มุ่งมา สู่สระโบกขรณีนั้นแหละ
โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุ เห็นเขาแล้ว
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนิน อย่างนั้น
และขึ้นสู่ หนทางนั้น จักมาถึง สระโบกขรณีนี้ทีเดียว” โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น
พึงเห็นเขาลงสู่สระโบกขรณีนั้น
อาบ และดื่มระงับความ กระวนกระวาย
ความเหน็ดเหนื่อย
และความร้อน หมดแล้ว
ขึ้นไปนั่ง หรือนอนในแนวป่านั้น
เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด.
สารีบุตร ! เราย่อมกำหนดรู้ใจ บุคคล บางคน ในโลกนี้ด้วยใจ
ฉันนั้นเหมือนกันว่า
บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่ หนทางนั้น
จักกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะ มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป (หลุดพ้น-นิพพาน)
ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ โดยสมัยต่อมาเราย่อม เห็นบุรุษนั้น กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญา วิมุตติ
อันหา อาสวะมิได้
เพราะ อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง เองในปัจจุบันเข้าถึงแล้วแลอยู่
เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว.
มู. ม. ๑๒/๑๔๗-๑๕๓/๑๗๐-๑๗๖.
1. คติ : ทางไปของสัตว์. (ที่นำไปสู่ภพ)
2. อบาย ทุคติ วินิบาต นรก : ที่เกิดของสัตว์ตํ่ากว่ามนุษย์ |