เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 จูฬโคปาลสูตร อุปมานายโคบาลผู้มีปัญญาต้อนวัวแต่ละประเภท ข้ามแม่น้ำคงคาจนถึงฝั่ง
                          โดยสวัสดี)
323  
 
 

(โดยย่อ)

จูฬโคปาลสูตร

เรื่องเคยมีมาแล้ว นายโคบาลผู้มีปัญญาทราม ไม่นึกถึงฤดูสารทในเดือนท้ายฤดูฝน ไม่ตรวจตราดู ฝั่งแม่น้ำคงคา ต้อนฝูงโคข้ามไปฟากโน้นโดยไม่ถูกท่าเลย ทันใดนั้นแล ฝูงโคได้ว่ายเวียนวนใน ท่ามกลางกระแสแม่น้ำคงคา ถึงความวอดวายเสียที่ตรงนั้นเอง ฉันใด.

ภิกษุที่ไม่ฉลาดต่อโลกนี้ ต่อโลกหน้า ไม่ฉลาดต่ออำนาจมาร ไม่ฉลาดต่อสิ่งเหนืออำนาจมาร ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อไร้ประโยชน์แเละทุกข์แก่ชนเหล่านั้น สิ้นกาลนาน เช่นนั้นเหมือนกัน.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อุปมาโค 5 พวก ว่ายข้ามแม่น้ำคงคา

โคพวกที่1 บรรดาโคอุสุภ เป็นโคพ่อฝูง เป็นโคนำฝูงได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดย สวัสดี...ภิกษุอรหันต์ สิ้นอาสวะ หลุดพ้นแล้ว แม้ภิกษุนั้นตัดตรงกระแสมาร แต่ถึงฝั่งโดยสวัสดี

โคพวกที่2  โคที่ใช้การได้และที่พอจะฝึกใช้ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี ... ภิกษุเหล่าใดซึ่งเกิดผุดขึ้น และปรินิพพาน ในชั้น(สุทธาวาส)นั้น ไม่ต้องกลับมาจากโลกนั้น เพราะสิ้นสังโยชน์๕  แม้ภิกษุเหล่านั้น จักตัดตรงกระแสมารแล้ว แต่ถึงฝั่งโดยสวัสดี(อนาคามี)

โคพวกที่3  โคผู้และโคเมียที่รุ่นคนองได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคาถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ภิกษที่เป็นพระ สกทาคามี เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ และทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบาง จักมาสู่โลกนี้อีก คราวเดียว แล้วจักทำที่สุดทุกข์ แม้ภิกษุจักตัดตรงกระแสมาร แต่ถึงฝั่งโดยสวัสดี

โคพวกที่4 ลูกโค(และ)โคที่ซูบผอม ได้(ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุที่เป็นพระ โสดาบัน เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ มีอันไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดาเป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้ต่อไป ข้างหน้า แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็ได้ตรัสตรงกระแสมาร ถึงฝั่งโดยสวัสดี.

โคพวกที่5 ลูกโคอ่อนที่เกิดในวันนั้น ว่ายไปตามเสียงร้อง ของแม่ได้ (ว่าย)ตัดตรง กระแสแม่น้ำคา
ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใด เป็น สัทธานุสารี ธัมมานุสารี แม้ภิกษุเหล่านั้นก็จักตัดตรง กระแสมาร แต่ถึงฝั่งโดยสวัสดี

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒
หน้าที่ ๒๙๖

๔.
  จูฬโคปาลสูตร อุปมานายโคบาลกับสมณพราหมณ์


         [๓๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
         สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำคงคา จังหวัด อุกกเวลา แคว้นวัชชี. คราวนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย พระภิกษุเหล่านั้น จึงรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าพระเจ้าข้า.

อุปมานายโคบาลกับสมณพราหมณ์

         [๓๘๙]  ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว นายโคบาลชาวมคธผู้มี มาแล้ว นายโคบาลชาวมคธผู้มีปัญญาทราม ไม่นึกถึงฤดูสารทในเดือนท้าย ฤดูฝน ไม่ตรวจ ตราดูฝั่งแม่น้ำคงคาข้างนี้ เริ่มต้อนฝูงโคข้ามไปฝั่งเหนือแห่งวิเทหรัฐฟากโน้น โดยไม่ถูกท่าเลย ทันใดนั้นแล ฝูงโคได้ว่ายเวียนวนในท่าม กลางกระแสแม่น้ำ คงคา ถึงความวอดวายเสียที่ตรงนั้นเอง ข้อนั้นเป็นเพราะ เหตุไร  ภิกษุทั้งหลาย  ก็เพราะค่าที่นายโคบาลชาวมคธเป็นผู้มีปัญญา ทราม ไม่นึกถึงฤดูสารทในเดือนท้าย ฤดูฝน ไม่ตรวจตราดูฝั่งแม่น้ำคงคา ข้างนี้  เริ่มต้อนฝูงโคให้ข้ามไปฝั่งเหนือแห่ง วิเทหรัฐฟากโน้นโดยไม่ถูกท่าเลย ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ พวกใด พวกหนึ่ง ที่ไม่ฉลาดต่อโลก นี้  ไม่ฉลาดต่อโลกหน้า ไม่ฉลาดต่อสิ่งใต้อำนาจมาร ไม่ฉลาดต่อสิ่งเหนืออำนาจมาร ไม่ฉลาดต่อสิ่งใต้อำนาจมฤตยู ไม่ฉลาดต่อสิ่งเหนือ อำนาจมฤตยู ชนเหล่าใดจักสำคัญสิ่งที่ควรฟังควรเชื่อ ต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้น  ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อไร้ประโยชน์เละทุกข์แก่ชนเหล่านั้นสิ้นกาลนานเช่น นั้นเหมือนกัน.

         [๓๙๐] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว นายโคบาลชาวมคธผู้มีปัญญา  นึกฤดูสารทในเดือนท้ายฤดูฝน ตรวจตราดูฝั่งแม่น้ำคงคาข้างนี้แล้ว เริ่มต้อนฝูงโคให้ข้ามไปฝั่งเหนือแห่งวิเทหรัฐฟากโน้นโดยถูกท่าทีเดียว.
          เขาขับต้อนเหล่า โคอสุภ เป็นโคพ่อสูง เป็นโคนำหน้าฝูงข้ามไปก่อน มัน
ได้(ว่าย)ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคาถึงฝั่งโดยสวัสดี. (อุปมาคือ อรหันต์)
          ต่อนั้นจึงต้อน โคอื่นอีกที่ใช้การได้ ที่พอจะฝึกใช้ได้มันได้(ว่าย) ตัดตรง กระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี. (อุปมาคือ อนาคามี)
          ต่อนั้นจึงไปต้อน โคผู้และโคเมียที่รุ่นคนองมันก็ได้(ว่าย) ตัดตรงกระแส แม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี. (อุปมา สกทาคามี)
          ต่อนั้นไปจึงต้อน ลูกโคและโคที่ซูบผอม มันก็ได้(ว่าย)ตัดตรงกระแส แม่น้ำ คงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี. (อปุมา โสดาบัน)

         ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ลูกโคอ่อนที่เกิดในวันนั้น ว่ายไปตาม เสียงร้อง ของแม่มันก็ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี.  ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เป็นเพราะเขาฉลาดจริงอย่างนั้น นายโคบาลชาวมคธเป็นคน มีปัญญา นึกถึงฤดูสารท ในเดือนท้ายฤดูฝน ตรวจตราดูฝั่งแม่น้ำคงคาข้างนี้แล้ว ขับต้อนฝูงโคให้ข้ามไปฝั่งเหนือ แห่งวิเทหรัฐฟากโน้น โดยถูกท่าทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวก หนึ่ง  ที่ฉลาดต่อโลกนี้  ฉลาดต่อ โลกหน้า ฉลาดต่อสิ่งใต้อำนาจมาร ฉลาดต่อสิ่งเหนือ อำนาจมาร ฉลาดต่อสิ่งที่ใต้ อำนาจมฤตยู ฉลาดต่อสิ่งเหนืออำนาจ มฤตยู ชนเหล่าใด จักสำคัญสิ่งที่ควรฟัง ควรเชื่อ  ต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้นข้อนั้นจักเป็นไป เพื่อประโยชน์ และสุขแก่ชน เหล่านั้นสิ้นกาลนาน เช่นนั้นเหมือนกัน.

         [๓๙๑] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาโคอุสุภ เป็นโคพ่อฝูง เป็นโคนำฝูงได้ (ว่าย)  ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดีแม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใด ป็นพระอรหันต์
สิ้นอาสวะ
อยู่จบพรหมจรรย์เสร็จกิจที่ต้องทำ ปลงภาระแล้ว สำเร็จประโยชน์ตน สิ้นสังโยชน์ในภพ หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแม้ภิกษุเหล่านั้นตัดตรง กระแสมารถึงฝั่ง โดยสวัสดี ฉันนั้นและ.

         ภิกษุทั้งหลายโคที่ใช้การได้และที่พอจะฝึกใช้ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแส แม่น้ำ คงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใดซึ่งเกิดผุดขึ้น และปรินิพพาน ในชั้น(สุทธาวาส)นั้น ไม่จำต้องวกกลับมาจากโลกนั้น พราะสิ้นสังโยชน์ เบื้องต่ำ๕(อนาคามี). แม้ภิกษุเหล่านั้น  จักตัดตรงกระแสมารแล้ว ถึงฝั่งโดยสวัสดี.

         ภิกษุทั้งหลาย โคผู้และโคเมียที่รุ่นคนองได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำ คงคา ถึงฝั่ง โดยสวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใด เป็นพระสกทาคามี เพราะสิ้น สังโยชน์ ๓  และ ทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบาง(สกทาคามี) จักมาสู่โลกนี้อีก คราวเดียวแล้วจักทำที่สุดทุกข์ แม้ภิกษุเหล่านั้นก็จักตัดตรงกระแสมาร ถึงฝั่งโดย สวัสดี.

         ภิกษุทั้งหลาย ลูกโค(และ)โคที่ซูบผอม ได้(ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่ น้ำคงคา ถึงฝั่ง โดยสวัสดี  แม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใดเป็น พระโสดาบัน เพราะสิ้น สังโยชน์ ๓ มีอันไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดาเป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ต่อไปข้างหน้า 
แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็ได้ตรัสตรงกระแส มาร ถึงฝั่ง โดยสวัสดี.

         ภิกษุทั้งหลาย ลูกโคอ่อนที่เกิดในวันนั้นว่ายไปตามเสียงร้อง ของแม่ได้(ว่าย)
ตัดตรง กระแสแม่น้ำคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใดซึ่งหน่วงธรรม และศรัทธาเป็นหลัก(สัทธานุสารี ธัมมานุสารี) แม้ภิกษุเหล่านั้นก็จักตัดตรง กระแสมารถึงฝั่งโดยสวัสดีฉันนั้นแหละ. ภิกษุทั้งหลายตัวเราเป็นผู้ฉลาดต่อโลกนี้ 
ฉลาดต่อโลกหน้า ฉลาดต่อ สิ่งใต้อำนาจมาร

ฉลาดสิ่งเหนืออำนาจมาร ฉลาดต่อสิ่งใต้อำนาจมฤตยู ฉลาดต่อสิ่งเหนืออำนาจ มฤตยู ชนเหล่าใด จักสำคัญสิ่งที่ควรฟังควรเชื่อต่อเรานั้น ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์และสุขแก่ชนพวกนั้นตลอดกาลนาน ดังนี้.

         พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเวยยากรณพจน์นี้แล้ว ภายหลังจึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์นี้ ต่อไปว่า โลกนี้ โลกหน้า เรารู้อยู่ ประกาศไว้ดี แล้ว เราผู้เป็นสัมพุทธะ  ทราบชัดโลกทั้งปวง ซึ่งแออัดด้วยมาร  และอ้างว้างจากมฤตยูด้วยปัญญาอันยิ่ง  เปิดประตูอมฤตอันปลอดปร่ง  เพื่อบรรลุพระนิพพาน กั้นกระแสมารผู้ลามก ขจัด  (กิเลส)และกระทำให้หมดมานะ  พวกเธอจง เป็นผู้มากไปด้วย ปราโมทย์ ปรารถนา พระนิพพาน ซึ่งเป็นที่เกษมเถิดภิกษุทั้งหลาย.

จบจูฬโคปาลสูตร  ที่  ๔


   
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์