เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  มหามาลุงโกฺยวาทสูตร โอรัมภาคิยสังโยชน์๕ อุบายเครื่องออก มรรคปฏิปทา 326  
 
  (ย่อ)

มหามาลุงโกฺยวาทสูตร

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
1.สักกายทิฏฐิ 
2.วิจิกิจฉา 
3.สีลัพพตปรามาส 
4.กามราคะ 
5.พยาบาท

อุบายเครื่องละสังโยชน์
ดูกรอานนท์ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้ สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับ แนะนำในธรรม ของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปปุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปปุรุษ ไม่ได้รับแนะนำใน ธรรมของสัปปุรุษ เมื่อมีจิตอันสักกายทิฏฐิ กลุ้มรุมแล้ว ครอบงำแล้ว เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็น เครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐิ นั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทา ไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็น โอรัมภาคิยสังโยชน์ … ส่วน วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ พยาบาท ก็ทำนองเดียวกัน

มรรคปฏิปทาเครื่องละสังโยชน์
บุคคลจักไม่อาศัยมัคคปฏิปทา ที่เป็นไป เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ ได้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ไม่ถากเปลือก ไม่ถากกะพี้ ของต้นไม้ใหญ่ที่ ยืนต้น มีแก่น แล้วจักถากแก่นนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ข้อที่ว่า บุคคลจัก ไม่อาศัย มัคคปฏิปทา ที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ก็ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

รูปฌาน
บรรลุปฐมฌาน บรรลุทุติยฌาน บรรลุตติยฌาน บรรลจัตตุถฌานุ

อรูปสัญญา

บรรลุอากาสานัญจายตน บรรลุวิญญานัญจายตน บรรลุอากิญจัญญายตน



 
 


พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง)เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๒๓ ข้อที่ ๑๕๓-๑๕๙


มหามาลุงโกฺยวาทสูตร

( โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ )


            [๑๕๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น รับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย ยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดงแล้วได้หรือไม่ ?

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตร ได้กราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้ว.

พระผู้มีพระภาคทรงตรัสถามว่า ดูกรมาลุงกยบุตร ก็เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดงแล้วว่าอย่างไร ?

ท่านพระมาลุงกยบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่ง โอรัมภาคิยสังโยชน์ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอย่างนี้.

เมื่อท่านพระมาลุงกยบุตรกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๑๕๔] ดูกรมาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้ ที่เราแสดงแล้ว อย่างนี้ แก่ใครหนอ ?

ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบ ด้วยเด็กนี้ได้ มิใช่หรือว่า แม้แต่ความคิดว่า กายของตน ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมาร อ่อน ผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน

ส่วนสักกายทิฏฐิ อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมตามนอนแก่เด็กนั้น แม้แต่ความคิดว่า ธรรมทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อน ผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความสงสัยในธรรม ทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน

ส่วนวิจิกิจฉา อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมตามนอนแก่เด็กนั้น แม้แต่ความคิดว่า ศีลทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อน ผู้ยังนอนหงายอยู่ สีลัพพตปรามาส ในศีลทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน

ส่วนสีลัพพตปรามาส อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมตามนอนแก่เด็กนั้น แม้แต่ความ คิดว่า กามทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อน ยังนอนหงายอยู่ ก็กามฉันทะ ในกาม ทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน

ส่วนกามราคะ อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมตามนอนแก่เด็กนั้น แม้แต่ความคิดว่า สัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อน ผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความพยาบาท ในสัตว์ ทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน

ส่วนพยาบาทอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมตามนอนแก่เด็กนั้น

ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียงด้วยคำโต้เถียง อันเปรียบด้วย เด็กอ่อนนี้ ได้มิใช่หรือ ? เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เวลานี้เป็นกาลสมควร

ข้าแต่พระสุคต เวลานี้เป็นกาลสมควร ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงแสดง โอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้ากระนั้น เธอจงฟัง จงมนสิการให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์ทูลรับ พระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า.

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อุบายเครื่องละสังโยชน์

            [๑๕๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอานนท์ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้ สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรม ของ พระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปปุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปปุรุษ ไม่ได้รับแนะนำใน ธรรม ของสัปปุรุษ มีจิตอันสักกายทิฏฐิ กลุ้มรุมแล้ว อันสักกายทิฏฐิครอบงำแล้วอยู่

และเมื่อสักกายทิฏฐิ เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความ เป็นจริง สักกายทิฏฐิ นั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็น โอรัมภาคิยสังโยชน์

ปุถุชนนั้น มีจิตอัน วิจิกิจฉา กลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อ วิจิกิจฉา เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบาย เป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง วิจิกิจฉานั้น ก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภา คิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้น มีจิตอันสีลัพพตปรามาส กลุ้มรุมแล้ว อันสีลัพพตปรามาสครอบงำแล้ว อยู่ และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริง สีลัพพตปรามาสนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทา ไม่ได้ แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

ปุถุชนนั้น มีจิตอันกามราคะ กลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อ กามราคะ เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง กามราคะนั้น ก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็น โอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้น มีจิตอันพยาบาท กลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาทครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อ พยาบาท เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง พยาบาทนั้น ก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์.

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดูกรอานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะ เป็นผู้ฉลาดในธรรม ของพระอริยะ ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะดีแล้ว ได้เห็นสัปปุรุษ ฉลาดใน ธรรม ของสัปปุรุษ ได้รับแนะนำในธรรมของสัปปุรุษดีแล้ว มีจิต อันสักกายทิฏฐิ กลุ้มรุม ไม่ได้ อันสักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบาย เป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐิพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวก นั้น ย่อมละได้

อริยสาวกนั้น มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุม ไม่ได้ อันวิจิกิจฉาครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อ วิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริง วิจิกิจฉา พร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้น มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุม ไม่ได้ อันสีลัพพตปรามาสย่อม ครอบงำ ไม่ได้อยู่ และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัด ออก เสียได้ ตามความเป็นจริง สีลัพพตปรามาส พร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้น ย่อมละได้.

อริยสาวกนั้น มีจิตอันกามราคะกลุ้มรุม ไม่ได้ อันกามราคะครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อ กามราคะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง กามราคะพร้อมทั้งอนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้น มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุม ไม่ได้ อันพยาบาทครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อ พยาบาทเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง พยาบาทพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้ ดังนี้แล.

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

มรรคปฏิปทาเครื่องละสังโยชน์

            [๑๕๖] ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมัคคปฏิปทา ที่เป็นไป เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ ได้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ไม่ถากเปลือก ไม่ถากกะพี้ ของต้นไม้ใหญ่ที่ ยืนต้น มีแก่น แล้วจักถากแก่นนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัย มัคคปฏิปทา ที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ก็ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมัคคปฏิปทา อันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น และจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นั้นได้ เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ถากเปลือก ถากกะพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น แล้วจึงถากแก่นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมัคคปฏิปทา อัน เป็นไป เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย พึงมา ด้วยหวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำ คงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดังนี้ เขาจะไม่อาจว่ายตัดขวางกระแสน้ำ แห่งแม่น้ำ คงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด ดูกรอานนท์ เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใด ผู้หนึ่ง เพื่อดับความเห็นว่า กายของตน จิตของตน จิตของผู้นั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่มั่นคง ไม่พ้น ฉันนั้นเหมือนกัน. บุรุษผู้มีกำลังน้อยนั้น ฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้นบุรุษมีกำลัง พึงมาด้วยหวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดังนี้ เขาอาจจะว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด ดูกรอานนท์ เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง เพื่อดับ ความเห็นว่า กายของตน จิตของตน จิตของผู้นั้นแล่นไป เลื่อมใส มั่นคง พ้นแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน. บุรุษมีกำลัง นั้นฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้น เหมือนกัน.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รูปฌาน ๔

            [๑๕๗] ดูกรอานนท์ มัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นอย่างไร ? ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เพราะอุปธิวิเวก เพราะละอกุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้ โดยประการ ทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่

เธอพิจารณาเห็น ธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น โดยความเป็น ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความ ลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ ตัวตน.

เธอย่อมเปลื้องจิต จากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิต จากธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบ สังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้.

เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไป แห่ง อาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมเป็น โอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเพราะความ ยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะความสิ้นไปแห่ง โอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕

ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิด แต่สมาธิอยู่

เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของ ว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตัวตน.

เธอย่อมเปลื้องจิต จากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบ สังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้.

เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไป แห่ง อาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมเป็น โอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความ ยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข ด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌาน นี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข.

เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ใน ภายในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดัง ลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็นของ มิใช่ตัวตน.

เธอย่อมเปลื้องจิต จากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อม น้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบ สังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้.

เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไป แห่ง อาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรม เป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมเป็น โอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความ ยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ใน ภายในสมาบัตินั้น เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตัวตน.

เธอย่อมเปลื้องจิต จากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบ สังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้.

เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไป แห่ง อาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรม เป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมเป็น โอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความ ยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อรูปฌาน (อรูปสัญญา)

            [๑๕๘] ดูกรอานนท์ ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตน ด้วยมนสิการว่า อากาศ ไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการ นานัตต สัญญา โดยประการทั้งปวง

เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่มีตัวตน.

เธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้ นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหาธรรมธาติ อันเป็นอมตะว่า นั่นมีอยู่ นั่นประณีต คือ การสงบสังขาร ทั้งปวง การสละคืนอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะ ดับสนิท นิพพานดังนี้

เธอตั้งอยู่ในธรรมนั้น ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ บรรลุธรรม เป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ด้วยความ เพลิดเพลินในธรรมนั้น ด้วยความยินดีในธรรมนั้นแล

ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ดูกรอานนท์ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วง อากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญานัญจายตน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่.

เธอย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้น คือ เวทนา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในสมาบัติ นั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความ ลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่มีตัวตน.

เธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น แล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหาธรรมธาติ อันเป็นอมตะว่า นั่นมีอยู่ นั่นประณีต คือ การสงบ สังขาร ทั้งปวง การสละคืนอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะ ดับสนิท นิพพานดังนี้

เธอตั้งอยู่ในธรรมนั้น ย่อมบรรลุธรรม เป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในภพ นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เพราะความ เพลิดเพลินในธรรมนั้น เพราะความยินดีในธรรมนั้นแล

ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ดูกรอานนท์ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วงวิญญานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า หน่อยหนึ่งย่อมไม่มีอยู่.

เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่มีตัวตน.

เธอให้จิต ดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น แล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหาธรรมธาตุ อันเป็นอมตะว่า นั่นมีอยู่ นั่นประณีต คือ การสงบ สังขาร ทั้งปวง การสละคืนอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะ ดับสนิท นิพพาน ดังนี้.

ธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงการสิ้นอาสวะ ถ้าไม่ถึงการสิ้นอาสวะ ย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เพราะความเพลิดเพลินในธรรม เพราะความยินดี ในธรรมนั้นนั่นแล.

ดูกรอานนท์ มรรคนี้แล ปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๑๕๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล พระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละ โอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ จึงเป็น เจโตวิมุติ บางพวกเป็นปัญญาวิมุติเล่า.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชม พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.


จบ มหามาลุงโกฺยวาทสูตร ที่ ๔.

พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง)เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๒๓ ข้อที่ ๑๕๓-๑๕๙


 
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์