เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 โลกกามคุณสูตรที่ ๑ และสูตรที่๒ ที่สุดของโลกคือการดับแห่งอายตนะทั้ง ๖ 1248
 

(โดยย่อ)

เรามิได้กล่าวว่าที่สุด ของโลกอัน บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อมไม่กล่าว การกระทำที่สุดทุกข์

ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลกด้วยธรรม อันใด
ธรรมนี้ เรียกว่าโลกในวินัยของพระอริยะ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมี ความสำคัญ ในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยธรรม อะไรเล่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยจักษุ ...ด้วยหู... ด้วยจมูก... ด้วยลิ้น... ด้วยกาย... ด้วยใจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ อายตนะ อันบุคคลจำต้องรู้ไว้ คือ
  จักษุ ดับ ณ ที่ใด   รูปสัญญา (หมายรู้รูป) ก็สิ้นไป ณ ที่นั้น
  หู ดับ ณ ที่ใด   สัททสัญญา (หมายรู้เสียง) ก็สิ้นไป ณ ที่นั้น
  จมูก ดับ ณ ที่ใด   คันธสัญญา (หมายรู้กลิ่น) ก็สิ้นไป ณ ที่นั้น
  ลิ้น ดับไป ณ ที่ใด  รสสัญญา (หมายรู้รส) ก็สิ้นไป ณ ที่นั้น
  กาย ดับ ณ ที่ใด   โผฏฐัพพสัญญา (หมายรู้สัมผัสทางกาย) ก็สิ้นไป ณ ที่นั้น
  ใจ ดับ ณ ที่ใด  ธรรมสัญญา (หมายรู้อารมณ์ทางใจ) ก็สิ้นไป ณ ที่นั้น

- เมื่ออายตนะธาตุทั้ง ๖ ดับไป สัญญาในอายตนะธาตุทั้ง ๖ นั้นก็ดับไปเช่นกัน
- การดับสัญญา และใจ (ที่หมายรู้) คือที่สุดแห่งทุกข์


พระพุทธวจนะ นั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงภาษิต หมายเอาความ ดับ แห่งอายตนะ ๖ ข้อ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอุเทศโดยย่อ  ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจาก พุทธอาสน์ เข้าไปสู่พระวิหารเสีย


พระสูตรอื่นที่เกี่ยวข้อง
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า 440
โรหิตัสสสูตร โรหิตัสสเทวบุตร(เทวดา) เข้าเฝ้า P 677

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ หน้าที่ ๙๙

โลกกามคุณสูตรที่ ๑


            [๑๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรามิได้กล่าวว่าที่สุดของโลกอัน บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึง ด้วยการไป และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อมไม่กล่าวการกระทำ ที่สุดทุกข์

ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จ ลุกขึ้น จากพุทธอาสน์เข้าไปสู่ พระวิหาร
----ฯลฯ ----

ภิกษุเข้าพบพระอานนท์ เพื่อขอให้ขยายความ


            [๑๗๑] อา. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย จงคอยฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ จึงกล่าวว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนก เนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสียนั้น ผมทราบแล้ว

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผมย่อมทราบเนื้อความแห่งอุเทศที่--- พระผู้มีพระภาคทรง แสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้

ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลกด้วยธรรม อันใด ธรรมนี้ เรียกว่าโลกในวินัยของพระอริยะ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมี ความสำคัญ ในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยธรรม อะไรเล่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยจักษุ ...ด้วยหู... ด้วยจมูก... ด้วยลิ้น... ด้วยกาย... ด้วยใจ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนก เนื้อความให้พิสดารว่า เรามิได้กล่าวว่า ที่สุดของโลกอันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึง ด้วยการไป และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้วย่อมไม่กล่าวการกระทำที่สุดทุกข์ ดังนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสียนั้น

ผู้มีอายุทั้งหลาย พระพุทธวจนะ นั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงภาษิต หมายเอา ความดับ แห่งอายตนะ ๖ ข้อ ที่พระผู้มี พระภาค ทรงแสดงอุเทศโดยย่อ  ไม่ทรง จำแนกเนื้อความให้พิสดารเสด็จ ลุกจาก พุทธอาสน์ เข้าไปสู่พระวิหารเสีย นั้น ผมรู้เนื้อความแห่งอุเทศ ที่ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร นี้ โดยพิสดารอย่างนี้แล

ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายประสงค์ความแจ่มแจ้ง พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถาม เนื้อความข้อนั้น  พระองค์ทรงพยากรณ์ แก่ท่านทั้งหลายอย่างไรท่าน ทั้งหลาย พึงทรงจำข้อที่ตรัสนั้นไว้อย่างนั้นเถิด ฯ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผมย่อมทราบเนื้อความแห่งอุเทศที่ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรง จำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ประสงค์ความแจ่มแจ้ง พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถาม เนื้อความข้อนั้นเถิด พระองค์ทรงพยากรณ์แก่พวกท่านอย่างไร ก็พึงทรงจำ ข้อที่ตรัสนั้น อย่างนั้นเถิด ฯ

( จากนั้นภิกษุเข้าเฝ้าพระศาสดา)


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โลกกามคุณสูตรที่ ๒


            [๑๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนตรัสรู้ เมื่อเราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ ตรัสรู้ ได้มีความปริวิตกว่า เบญจกามคุณของเรา ที่เราเคยสัมผัสด้วยใจมาแล้ว ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว จิตของเราเมื่อเกิด พึงเกิดขึ้นในเบญจ กามคุณ ที่เป็นปัจจุบันมาก หรือที่เป็นอนาคตน้อย

ลำดับนั้น เราคิดว่า เบญจกามคุณของเรา ที่เราเคยสัมผัสด้วยใจมาแล้ว ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว เราปรารถนาประโยชน์แก่ตน พึงทำความ ไม่ประมาท ในเบญจกามคุณนั้น และสติ ให้เป็นเครื่องรักษาจิต

เพราะเหตุนั้นแหละ เบญจกามคุณ แม้ของท่านทั้งหลาย ที่ท่านทั้งหลาย เคยสัมผัสด้วยใจมาแล้ว ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว จิตของท่าน ทั้งหลาย เมื่อเกิด พึงเกิดขึ้นในเบญจกามคุณ ที่เป็นปัจจุบันมาก หรือที่เป็นอนาคต น้อย (เช่นเดียวกัน)

เพราะเหตุนั้นแหละ เบญจกามคุณ แม้ของท่านทั้งหลาย ที่ท่านทั้งหลายเคย สัมผัส ด้วยใจมาแล้ว ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ท่านทั้งหลาย ปรารถนา ประโยชน์แก่ตน พึงทำความไม่ประมาท ในเบญจกามคุณนั้น และสติ ให้เป็น เครื่องรักษาจิต

แล้วพระองค์ตรัสต่อไปอีกว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ อายตนะ อันบุคคลจำต้องรู้ไว้ คือ
  จักษุ ดับ ณ ที่ใด   รูปสัญญา (หมายรู้รูป) ก็สิ้นไป ณ ที่นั้น
  หู ดับ ณ ที่ใด   สัททสัญญา (หมายรู้เสียง) ก็สิ้นไป ณ ที่นั้น
  จมูก ดับ ณ ที่ใด   คันธสัญญา (หมายรู้กลิ่น) ก็สิ้นไป ณ ที่นั้น
  ลิ้น ดับไป ณ ที่ใด  รสสัญญา (หมายรู้รส) ก็สิ้นไป ณ ที่นั้น
  กาย ดับ ณ ที่ใด   โผฏฐัพพสัญญา (หมายรู้สัมผัสทางกาย) ก็สิ้นไป ณ ที่นั้น
  ใจ ดับ ณ ที่ใด  ธรรมสัญญา (หมายรู้อารมณ์ทางใจ) ก็สิ้นไป ณ ที่นั้น

   - เมื่ออายตนะธาตุทั้ง ๖ ดับไป สัญญาในอายตนะธาตุทั้ง ๖ นั้นก็ดับไปเช่นกัน
   - การดับสัญญา และใจ (การหมายรู้) คือที่สุดแห่งทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต มีปัญญามากหากท่านทั้งหลาย พึงถาม เนื้อความข้อนั้นกะเรา แม้เราพึงพยากรณ์ปัญหานั้น เหมือนอย่างที่ อานนท์พยากรณ์ แล้วนั้นแหละ นั่นเป็นเนื้อความแห่งอุเทศนั้น ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความ นั้นไว้อย่างนั้นเถิด ฯ 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๔๔๐

สิ่งนั้น” หาพบในกายนี้

         แน่ะเธอ ! ที่สุดโลก แห่งใด อันสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ เราไม่กล่าวว่าใคร ๆ อาจรู้ อาจเห็น อาจถึง ที่สุดแห่งโลกนั้น ด้วยการไป.

         แน่ะเธอ ! ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้ ที่ยังประกอบด้วยสัญญา และ ใจ นี่เอง เราได้บัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก ความ ดับสนิทไม่เหลือ ของโลก และทางดำเนิน ให้ถึงความดับสนิทไม่เหลือ ของโลก ไว้ ดังนี้แล.






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์