เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 เหตุปัจจัยอะไร ที่ทำให้สัตว์ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน และ ปรินิพพานในปัจจุบัน 1249
 

(โดยย่อ)

สักกสูตร ปัญจสิขสูตร และสูตรอื่นๆ รวม 8 สูตร

1. เหตุปัจจัยอะไร ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวก ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน
2. เหตุปัจจัยอะไร ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวก
ปรินิพพานในปัจจุบัน

ตรัสว่า
รูป ที่เห็นด้วยจักษุ อันน่าพอใจ น่ารัก ชวนให้กำหนัดมีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน พัวพันรูป วิญญาณ อันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นก็ย่อมมี ภิกษุผู้ยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน
(ในทางตรงกันข้าม หากภิกษุไม่เพลินเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันในรูป วิญญาณอาศัยตัณหา ย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหาย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน)

ธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้งด้วยใจอันน่าพอใจ น่ารัก ชวนให้กำหนัดมีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นก็ย่อมมี ภิกษุผู้ยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน
(ในทางตรงกันข้าม หากภิกษุ ไม่เพลินเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันในธรรมารมณ์ วิญญาณอาศัย ตัณหาย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหาย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน)


รวมพระสูตร เรื่องปรินิพพาน ไม่ปรินิพพาน

๑) สักกสูตร.. ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดา ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนคร ราชคฤห์
๒) ปัญจสิขสูตร.. ปัญจสิข เทพบุตร ผู้เป็นบุตรแห่งคนธรรพ์ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนคร ราชคฤห์
๓) วัชชีสูตร.. อุคคคฤหบดี ชาวบ้านหัตถิคาม ใกล้แคว้นวัชชี
๔) นาฬันทสูตร.. อุบาลีคฤหบดี ณ ปาวาริกัมพวัน ใกล้เมือง นาฬันทา
๕) เวสาลีสูตร.. อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี
๖) โสณสูตร.. บุตรแห่งคฤหบดีชื่อว่า โสณะ ณ พระวิหารเวฬุวัน
๗) นกุลบีตุสูตร.. นกุลบิดา คฤหบดี ณ เภสกฬาวัน
๘) พระอานนท์ ถาม พระสารีบุตร (พระสารีบุตรตอบคนละแนวกับพระผู้มีพระภาค)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๐๓

๑) สักกสูตร

          [๑๗๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนคร ราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย เสด็จเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับอยู่ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอ ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง เหตุปัจจัยอะไร ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ

          [๑๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรท่านผู้เป็นจอมเทพ
รูป ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุ เพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพัน รูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้น ก็ย่อมมี ภิกษุผู้ยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน ฯลฯ

ธรรมารมณ์ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุ เพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอ เพลิดเพลิน หมกมุ่นพัวพัน ธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหา นั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุผู้ยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน

           ดูกรท่านผู้เป็นจอมเทพ เหตุปัจจัยนี้แล ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ

          [๑๗๙] ดูกรท่านผู้เป็นจอมเทพ
รูป ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้น ย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้น ย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ฯลฯ

ธรรมารมณ์ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ ใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิด เพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์ นั้น เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น วิญญาณอันอาศัย ตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทาน อันอาศัยตัณหานั้น ย่อมไม่มีภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน

           ดูกรท่านผู้เป็นจอมเทพ เหตุปัจจัยนี้แล ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๐๓ หน้าที่ ๑๐๔

๒) ปัญจสิขสูตร

          [๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนคร ราชคฤห์ ครั้งนั้น ปัญจสิข เทพบุตรผู้เป็นบุตรแห่งคนธรรพ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเหตุปัจจัยอะไรหนอ ที่เป็นเครื่อง ให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน เหตุปัจจัยอะไร ที่เป็นเครื่อง ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ

          [๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปัญจสิขะ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจน่ารักชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่นพัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอ เพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้น ย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้น ย่อมมี ภิกษุยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน

          ดูกรปัญจสิขะ เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพาน ในปัจจุบัน ฯ

          [๑๘๒] ดูกรปัญจสิขะ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจน่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุ ไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่นไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัย ตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน

           ดูกรปัญจสิขะ เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๑๓

๓) วัชชีสูตร

          [๑๙๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หัตถิคามใกล้แคว้นวัชชี ครั้งนั้นแล อุคคคฤหบดี ชาวบ้านหัตถิคาม ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไร หนอแล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง เหตุ ปัจจัยอะไร เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอยู่แล คฤหบดี รูปทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วย จักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุ เพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น อยู่วิญญาณอันอาศัย ซึ่งตัณหานั้น ย่อมมีอุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้น ย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด

           หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่ง ตัณหานั้น ย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ ปรินิพพาน

          ดูกรคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แลเป็นเครื่องให้สัตว์ บางพวก ในโลกนี้ไม่ ปรินิพพาน ในปัจจุบัน ฯ

          ดูกรคฤหบดี รูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่  น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้นอยู่ วิญญาณ อันอาศัยซึ่งตัณหา นั้น ย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด

           หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์ นั้น เมื่อภิกษุนั้น ไม่ เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่นไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณ อันอาศัย ซึ่งตัณหา นั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน

          ดูกรคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ปรินิพพาน ในปัจจุบัน ฯ


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๑๔

๔) นาฬันทสูตร



          [๑๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่  ณ ปาวาริกัมพวัน ใกล้เมือง นาฬันทา ครั้งนั้นแล อุบาลีคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล เป็นเครื่อง ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน

           อนึ่งเหตุปัจจัยอะไรเป็นเครื่องให้สัตว์ บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานใน ปัจจุบัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอยู่แล คฤหบดี รูปทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่า ภิกษุเพลิดเพลินหมกมุ่น พัวพันรูปนั้น  เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลินหมกมุ่น พัวพันรูปนั้น อยู่ วิญญาณอันอาศัย ซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้น ก็ย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพานฯลฯ

          ธรรมารมณ์ อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลินหมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่ง ตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหา นั้น ย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ ปรินิพพาน ดูกรคฤหบดีเหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่อง ให้สัตว์ บางพวกในโลกนี้ไม่ ปรินิพพาน ในปัจจุบัน ฯ

          ดูกรคฤหบดี รูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน รูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัย ซึ่งตัณหานั้น ย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ฯลฯ

          ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด  หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์ นั้น เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่นไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอัน อาศัยซึ่งตัณหานั้น ย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มี อุปาทานย่อมปรินิพพาน

          ดูกรคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพาน ในปัจจุบัน ฯ


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๑๒

๕) เวสาลีสูตร


          [๑๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล อุคคคฤหบดี ชาวเมืองเวสาลี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ ไม่ปรินิพพาน ในปัจจุบัน อนึ่ง เหตุปัจจัยอะไร เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ ปรินิพพานใน ปัจจุบัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอยู่แล

          คฤหบดี รูปทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัดหากว่า ภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่นพัวพัน รูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหา นั้น ย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้น ก็ย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ ปรินิพพาน ฯลฯ

           ธรรมารมณ์อันบุคคล พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่นพัวพัน ธรรมารมณ์ นั้น เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่ง ตัณหานั้น ย่อมมีอุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้น ก็ย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ ปรินิพพาน

          ดูกรคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ ปรินิพพาน ในปัจจุบัน ฯ

          [๑๙๒] ดูกรคฤหบดี รูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา  น่าใคร่ น่าพอใจน่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน  ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้นเมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้นอยู่ วิญญาณ อันอาศัยซึ่งตัณหานั้น ย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มี อุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ

          ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ชวนให้กำหนัด หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์ นั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอัน อาศัย ซึ่งตัณหานั้น ย่อมไม่มีอุปาทานอันอาศัยซึ่ งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มี อุปาทานย่อมปรินิพพาน

          ดูกรคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพาน ในปัจจุบัน ฯ


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ หน้าที่ ๑๑๗

๖) โสณสูตร



          [๑๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล บุตรแห่งคฤหบดีชื่อว่า โสณะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง

          ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัย อะไรหนอแล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน และเหตุ ปัจจัยอะไร เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มีอยู่แล คฤหบดีบุตร ฯลฯ
(เหมือนสูตรที่ ๑ ข้อที่ ๑๙๑ และ ๑๙๒)


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ หน้าที่ หน้าที่ ๑๒๐

๗) นกุลบีตุสูตร


          [๒๐๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน อันเป็นที่ พระราชทาน อภัยแก่มฤค ใกล้สุงสุมารคิรินคร ในภัคคชนบท ครั้งนั้นแล นกุลบิดา คฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ

           ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเหตุปัจจัย อะไรหนอแล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน เหตุปัจจัยอะไร เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน

           พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่ามีอยู่แลคฤหบดี ฯลฯ
(เหมือนสูตรที่ ๑ ข้อที่ ๑๙๒)

          [๒๐๔] อนึ่ง มีอยู่แล คฤหบดี ฯลฯ (เหมือนสูตรที่ ๑ ข้อที่ ๑๙๑และ ๑๙๒)


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๖๑

๘) พระอานนท์ ถาม พระสารีบุตร


           [๑๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่  ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า

           ดูกรอาวุโสสารีบุตร อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า

           ดูกรอาวุโสอานนท์ สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า นี้หานิภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายเสื่อม) นี้ฐิติภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายดำรงอยู่) นี้วิเสสภาคิยสัญญา(สัญญาฝ่ายวิเศษ) นี้นิพเพธภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายชำแรก กิเลส) ดูกรอาวุโสอานนท์ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์ บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ

           อา. ดูกรอาวุโสสารีบุตร ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ

           สา. ดูกรอาวุโสอานนท์ สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมทราบชัด ตามความ เป็นจริง ว่า นี้หานิภาคิยสัญญา นี้ฐิติภาคิยสัญญา นี้วิเสสภาคิยสัญญา นี้นิพเพธภาคิยสัญญา

           ดูกรอาวุโสอานนท์ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ











พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์